WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, September 25, 2011

19 ก.ย.2549 เส้นแบ่ง ยุคสมัย การเมืองไทย

ที่มา มติชน


(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 23 กันยายน 2554)


รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ได้กลายเป็น "จุดตัด" และ "เส้นแบ่ง" ในทางประวัติศาสตร์ที่ทรงความหมาย

ความโกรธเกรี้ยวต่อ "คณะนิติราษฎร์" คือรูปธรรมซึ่งร้อนแรงยิ่ง

แถลงการณ์แสดงสภาวะ "เน่าเสีย" อันดำรงอยู่ภายในกระบวนการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เหมือนการเทน้ำเกลือราดลงไปบนแผล

แผลอันเกิดจากรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

อาการ ดิ้น ร้องเร่า ด้วยความปวดเจ็บ ไม่ว่าจะมาจากนายทหารแห่ง คมช. ไม่ว่าจะมาจากพรรคการเมืองเก่าแก่บางพรรค ไม่ว่าจะมาจากปัญญาชน นักวิชาการ

สะท้อนว่าน้ำเกลือที่มาจาก "คณะนิติราษฎร์" ทรงพลานุภาพ

ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงแล้ว ในสายตาของปัญญาชน นักวิชาการ ที่เคยเห็นชอบด้วยกับการรัฐประหารเมื่อ 5 ปีก่อน มีบทสรุปตรงกันว่าเป็นรัฐประหารที่เสียของ หน่อมแน้ม

แต่ก็ยอมไม่ได้เมื่อได้ยินเสียงวิจารณ์จาก "คณะนิติราษฎร์"

ผล จากกระบวนการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 อาจเป็นความเลวร้าย ฉุดรั้งพัฒนาการแห่งระบอบประชาธิปไตย กระนั้น ในความเลวร้ายก็เป็นครูด้านกลับในลักษณะแห่งบทเรียน

นั่นเห็นได้จาก ลักษณะอันเป็นจุดตัดและเส้นแบ่งในทางประวัติศาสตร์

ลักษณะประวัติศาสตร์ หนึ่ง อยู่ที่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นเส้นแบ่งอย่างมีนัยสำคัญในทางการเมือง

เป็นเส้นแบ่งในทางความคิด

นั่นก็คือ แบ่งระหว่างฝ่ายที่เห็นด้วย กับ ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย อันเป็นผลสะเทือนอย่างสำคัญต่อการประเมินคนคนหนึ่งในกาลต่อมา

เหมือนประเมินบทบาทของแต่ละคนในสถานการณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2516

เหมือนประเมินบทบาทของแต่ละคนในสถานการณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2519

เหมือนประเมินบทบาทของแต่ละคนในสถานการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2535

ความ น่าสนใจเป็นอย่างมากก็คือ การเลือกข้างแบ่งฝ่ายจากสถานการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 นำไปสู่การเลือกข้างแบ่งฝ่ายจากสถานการณ์สลายการชุมนุมในเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553

ความสัมพันธ์ของสถานการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 กับ สถานการณ์สลายการชุมนุมเดือนเมษายน พฤษภาคม 2553 นี้เองที่กำลังกลายเป็นตลกร้ายในทางการเมือง

นำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554

นำไปสู่การประเมินและสรุปถึงความรุ่งโรจน์และเลวร้ายอันเนื่องจากวาระครบรอบ 5 ปี แห่งสถานการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549

ปฏิกิริยาต่อแถลงการณ์ "คณะนิติราษฎร์" ไม่ว่าจะมาจากผู้ที่เคยทำรัฐประหาร ไม่ว่าจะมาจากผู้ที่ร่วมมือและได้รับผลพวงจากกระบวนการรัฐประหาร

ด้านหนึ่ง ปฏิเสธบทบาทและความหมายของ "คณะนิติราษฎร์"

ขณะเดียวกัน ด้านหนึ่ง เท่ากับเป็นการยอมรับต่อบทบาทและความหมายของ "คณะนิติราษฎร์" ที่ดำรงอยู่ในทางความคิด ในทางการเมือง และในทางการจัดตั้ง

เท่ากับการปฏิเสธด้วยว่าการดำรงอยู่ของ "รัฐประหาร" มีผลสะเทือน ลึกซึ้ง

ทั้งๆ ที่บทบาทและความหมายของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นเรื่องเลวร้าย ล้มเหลว แม้กระทั่งในสายตาของผู้ที่เคยมีส่วนร่วมในการปูทาง สร้างเงื่อนไข และเคยชโยโห่ร้องต้อนรับ ขานรับ และเข้าร่วม ก็เห็นด้วย

เห็นด้วยว่าการเลือก พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มาเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นการเลือกที่ผิด

เห็นด้วยว่าการผลักดัน ลงทุนลงแรง สนับสนุนให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มาเป็นนายกรัฐมนตรี โดยจัดตั้งในค่ายทหาร เป็นการเลือกที่ผิด

เพราะหากเป็นการเลือกที่ถูก การเลือกตั้งเดือนธันวาคม 2550 คงไม่แพ้

เพราะหากเป็นการเลือกที่ถูกต้อง เหมาะสม การเลือกตั้งเดือนกรกฎาคม 2554 คงไม่แพ้อย่างหมดรูป

ทั้งหมดนี้คือเสียงยืนยันว่าเสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการ "รัฐประหาร"

ความเห็นต่างในเรื่องรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จะยังคงมีอยู่และเด่นชัดมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ

การศึกษา การทำความเข้าใจต่อเรื่องราวอันเกิดขึ้นก่อนและหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จึงมีความจำเป็นและมีความสำคัญเป็นอย่างสูง

เพราะหากไม่ทำความเข้าใจก็อาจจะทำความผิดซ้ำขึ้นมาอีกเหมือนที่เกิดเมื่อ 5 ปีก่อน