ที่มา thaifreenews
โดย bozo
เรื่องนี้เกิดขึ้นในช่วงที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล
มีนายกรณ์ จาติกวณิช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้น
และมีนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ที่ดูแลโรงงานยาสูบอยู่ในขณะนั้น
งามหน้าจริงๆ กับกรณีผลงานระดับโบว์ดำที่ทะยอยโผล่ขึ้นมา
แล้วทำให้ได้รู้ว่า ในช่วงที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล
หรือเป็นผู้ว่าการกรุงเทพมหานครนั้น มีอะไรบ้างที่ประชาชนยังไม่รู้
อย่างกรณีรถดับเพลิง – เรือดับเพลิง ของ กทม.
ที่จนวันนี้ยังคงจอดตากแดดตากฝนให้สนิมกิน
โดยที่ยังไม่สามารถที่จะนำมาใช้งานได้ ก็เป็นผลงานอัปยศที่เกิดขึ้น
ในช่วงรอยต่อที่มีนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าฯกทม.
และเป็นคนแก้ไขเอกสารในแฟกซ์ที่ตอบโต้กับธนาคารกรุงไทย
เพื่อขอให้ดำเนินการเปิดแอล/ซี ให้ด้วยตัวเอง
ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักฐานสำคัญที่ทำให้
ทางคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ตัดสินใจชี้มูลความผิดของนายอภิรักษ์ อยู่ในเวลานี้
ล่าสุดก็มามีกรณี กล้องวงจรปิด หรือ CCTV ฉาว
ที่เป็นเพียงกล้องหลอกลวงประชาชนให้เชื่อว่าหรือเข้าใจผิดมาโดยตลอดว่า
มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ซึ่งแม้ว่าผู้ว่า กทม.คนปัจจุบัน ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร
จะวิพากษ์วิจารณ์การทำงานงานของ กทม.ในยุคนั้นกับการสั่งซื้อกล้องหลอก
ว่าเป็นเรื่องของความโง่ แต่ไม่ใช่เรื่องของการทุจริตก็ตาม
แต่สำหรับประชาชน โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯแล้ว
นี่คือการหลอกลวงที่สร้างความเสียหายทั้งในด้านของความรู้สึก
และในด้านของการเสียเงินงบประมาณไปเปล่าๆกับกลารซื้อกล้องหลอกลวง
ซึ่งเมื่อถึงเวลาก็ต้องซื้อกล้องจริงมาติดแทนที่
แต่กว่าที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์จะรู้ว่ามีการซื้อกล้องหลอกลวงติดไว้เกลื่อน กทม.
ก็เมื่อเหลือเทอมการทำงานอีกแค่ 14 เดือนแล้วเท่านั้นเอง ตลอดเวลา
ที่ เดินหน้าประกาศผลงานว่าจะติดตั้งกล้องให้ครบ 10,000 ตัว
แล้วมาขยายเป็น 20,000 ตัวนั้น
ไม่มีใครกระซิบบอกเลยสักนิดว่า
ของเก่าน่ะมีกล้องหลอกลวงอยู่เป็นพันตัวเลยทีเดียว
ต้องให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์มารู้จากประชาชน
เอาไปตั้งกระทู้ประจานถามนั่นแหละ เรื่องจึงแดงขึ้นมา
นี่หรือคือผลงานของพรรคประชาธิปัตย์ ที่คุยนักคุยหนามาโดยตลอด
ในส่วนของผลงานรัฐบาลเอง ช่วงที่บริหารประเทศ
ก็มีโครงการไทยเข้มแข็งออกมาสร้างผลงานทุจริตคอรัปชั่นฉาวกันไปทั่วประเทศมาแล้ว
แต่สุดท้ายก็เล่นงานเพียงแค่ระดับปลาซิวปลาสร้อย ส่วนตัวใหญ่หลุดกันหมด
แต่ก็น่าประหลาดใจตรงที่ว่า
ในขณะที่ประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล ข่าวทุจริตอื้อฉาวโฉ่ไปทั่วนั้น
ทำไมหน่วยงานอิสระอย่าง TDRI ถึงไม่ออกมาแสดงความเป็นห่วงเป็นใยบ้านเมืองบ้าง
หลายๆเรื่องที่เกิดขึ้นในช่วงที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล
จึงดูเหมือนจะเป็นความดำมืดที่ไม่ค่อยจะถูกขุดคุ้ย
หรือหลายๆเรื่องก็เป็นปริศนาคาใจ
หรือไม่เช่นนั้นก็เป็นเรื่องที่ถูกดองถูกหมก เพื่อรอเวลาให้จางหายเป็นคลื่นกระทบฝั่ง
อย่าง กรณีโครงการก่อสร้างโรงงานยาสูบแห่ง ใหม่ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัดกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ก็เป็นอีกหนึ่งตำนานอัปยศ ที่ส่อแววเป็นมหากาพย์ที่จะถูกดองเรื่องการตรวจสอบไปเรื่อยๆ
แล้วก็ใช้วิธีการไขสือทำไม่รู้ไม่ชี้ เดินหน้าผลักดันโครงการไปเรื่อย
ทั้งๆที่เรื่องนี้คณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต
และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ได้มีการพิจารณาโดยละเอียดแล้วว่า
เรือ่งการจัดซื้อที่ดินเพื่อการก่อสร้างโรงงานยาสูบ ณ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้นมีมูล
จึงได้ส่งเรื่องไปให้กับทางสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ หรือ ปปช.
รับไปดำเนินการ และยังส่งเรื่องให้กับสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน แล้วด้วยเช่นกัน
โดยทาง คณะกรรมาธิการ มีหนังสือออกมาตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2553 โน่นแล้ว
แต่ว่าโครงการก่อสร้างโรงงานยาสูบ
ซึ่งมีร่อยรอยไม่ปกติมาตั้งแต่แรกเริ่มดำเนินการแล้ว
กลับยังคงมีความพยายามที่จะเดินหน้าโครงการไปให้ได้
เรื่องนี้เกิดขึ้นในช่วงที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล
มีนายกรณ์ จาติกวณิช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้น
และมีนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังที่ดูแลโรงงานยาสูบอยู่ในขณะนั้น
ทางสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจยาสูบ ได้มีการต่อสู้เรื่องนี้มาโดยตลอด
แต่บรรดาผู้ใหญ่ในกระทรวงการคลังในยุคนั้นต่างทำเหมือนไม่ได้ให้ความสำคัญหรือใส่ใจเลย
ทั้งๆที่กว่าจะตัดสินใจเลือกที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะ
ต้องมีการล้มการจัดซื้อที่ดินถึง 2 ครั้ง มีการแก้ไข TOR จนกระทั่งมาจบในครั้งที่ 3
แล้วหวยมาออกที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะในที่สุด
ทั้งๆที่ตามข้อมูลของ คณะกรรมาธิการฯที่ปรากฏ พบว่าการจัดซื้อครั้งแรกไม่มีใครผ่านเกณ์
เพราะผู้ที่เข้ายื่นซองมีปัญหาเรื่องมีถนนสาธารณะผ่านที่ดิน
จึงต้องมีการจัดซื้อครั้งที่ 2 ซึ่งก็ปรากฏว่ามีผู้ยื่นประกวดราคา 2 ราย คือ
บริษัท เหมราช อีสเทิร์น กับสวนอุตสาหกรรมโรจนะ
ซึ่งเมื่อเปิดซองด้านเทคนิค
สวนอุตสาหกรรมโรจนะ ไม่ตรง TOR ไม่มีใบจัดสรรที่ดิน และไม่มี EIA ท
ำให้ บริษัท เหมราชฯ ได้รับการพิจารณาเพื่อไปต่อรองราคา
แต่พิสดารเหลือเชื่อ เพราะสุดท้ายบริษัทที่ รยส. จ้างมาประเมินราคา
เพื่อทำการต่อรองราคา กลับไปแจ้ง รยส. ว่า ที่ดินที่เหมราชเสนอขายนั้น
มีสนามหญ้าเป็นแนวเล็กๆกั้นระหว่งถนนกับแปลงที่ดิน ซึ่งผิด TOR
แม้ทางเหมราช ร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรม จะแจ้ง รยส. ว่า
สามารถย้ายสนามหญ้าออกไปที่อื่นได้ภายในแค่ 3 วันเท่านั้น
แต่บอร์ดโรงงานยาสูบก็มีมติให้ยกเลิกการประกวดราคา
และทำการจัดซื้อใหม่ครั้งที่ 3 จนกระทั่งมาได้เป็นสวนอุตสาหกรรมโรจนะ ในที่สุด
โดยบอร์ด รยส. มีมติอนุมัติให้ซื้อที่ดินสวนอุตสาหกรรมโรจนะเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2552
ตลกร้ายก็คือตอนที่เหมราชชนะประกวด มีการอ้าง TOR อย่างเข้มข้น
แม้แต่สนามหญ้าที่ย้ายทิ้งได้ใน 3 วันก็ยังไม่ยอมผ่อนปรน
แต่รายของ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ กลับมีการผ่อนปรน TOR หลายเรื่อง
เช่นเรื่องสร้างระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า ประปา ระบบระบายน้ำและถนนให้ถึงแปลงที่ดิน
ก็ผ่อนปรนให้ถึง 6 เดือน นับจากวันลงนามสัญญา และจะสร้างให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ภายใน 2 ปี
ระบบบำบัดน้ำเสียก็อยู่ใกล้กับที่ดิน
ซึ่งจะมีปัญหาเรื่องกลิ่นกับการผลิตบุหรี่อย่างร้ายแรงตาม TOR
ก็กลับมาการผ่อนปรนให้ย้ายที่บ่อน้ำเสียได้
ซึ่งเทียบกับเรื่องที่ไม่ยอมเรื่องย้ายสนามหญ้าแล้ว ถือว่าผิดปกติอย่างมาก
สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องหมักหมมมาโดยตลอด
เพราะวันนี้ รยส. ยังพยายามเดินหน้าโครงการต่อไปให้ได้
แม้ว่าทางสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจยาสูบ จะทักท้วง
และยื่นหนังสือขอให้เลื่อนการดำเนินการอย่างไรก็ไม่ได้รับการทบทวน
นายวินนท์ แสงมาน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจยาสูบ ตั้งข้อสังเกตุว่า
ทางคณะผู้บริหารโรงงานยาสูบจะเร่งรัดในการลงนามในสัญญา
เพื่อที่จะเร่งเปิดประมูลงานในส่วนของเครื่องจักรต่อไป
โดยไม่รอให้มีการชี้ขาดจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
หรือปปช.นั้น ถือเป็นการกระทำที่เสี่ยงต่อความเสียหาย
ที่อาจจะเกิดขึ้นต่อโรงงานยาสูบอย่างมากมายมหาศาลในอนาคตข้างหน้า
ทางคณะผู้บริหารโรงงานยาสูบใช้ดุลยพินิจใด
ในการพิจารณาลงนามในสัญญาก่อสร้าง โรงงานยาสูบแห่งใหม่
ที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะ ก่อนคำตัดสินของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญในการไต่สวนและวินิจฉัย
ทำให้คำวินิจฉัยมีผลผูกพันกับองค์กรนั้น
อีกทั้งการที่ ปปช. ซึ่งได้มีมติว่า มีมูลแห่งความผิด โดยได้รับเรื่องไว้พิจารณานั้น
โดยผู้เสียหายกำลังรอคำวินิจฉัย เพื่อนำผลของคำวินิจฉัยมีผลผูกพันกับองค์กร
ซึ่งรวมถึงองค์กรศาล ไปฟ้องร้อง
ซึ่งอาจถึงขั้นเพิกถอนที่ดินเนื่องจากการขยายผลออกไปจากคำวินิจฉัย
ของคณะ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ทางสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจยาสูบ ขอถามทางคณะผู้บริหารโรงงานยาสูบ ว่า
หากคำวินิจฉัย ออกมาว่า มีความผิด ถ้าผิดและไม่ถูกต้อง ก็ต้องมีความเสียหาย
ถึงตรงจุดนั้น หากถูกขยายความเสียหายออกมา
ถ้าโรงงานยาสูบแห่งใหม่ ได้เริ่มก่อสร้างไปแล้ว
คณะผู้บริหารโรงงานยาสูบคนใดจะเป็นผู้รับผิดชอบ
ดังนั้น เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ในฐานะรัฐมนตรีที่เข้ามาเป็นรัฐบาลชุดใหม่
ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คือ
ทั้งนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
และนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ที่ดูแลกรมสรรพสามิต ควรจะต้องเข้ามาสะสางเรื่องนี้โดยด่วนที่สุด
อย่าปล่อยให้เป็นมหากาพย์ที่พิสดารอีกต่อไป
เพราะเรื่องนี้ไม่ได้น้อยหน้า กล้อง CCTV ลวงโลกเลยทีเดียว
http://www.bangkok-today.com/node/10442