WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, October 28, 2011

‘ดี-ชั่ว’ ที่ผูกติดกับ ‘รัก-เกลียด’

ที่มา ประชาไท

หลายครั้งที่เราได้ฟังแกนนำมวลชน สื่อ นักวิชาการบางคนพยายามอธิบายว่า ความขัดแย้งที่เป็นอยู่ในบ้านเราไม่เกี่ยวกับ “ความเกลียดชัง” ตัวบุคคล แต่เป็นเรื่องของการมีความคิดเห็นต่างกัน เนื่องจากยึดหลักการ อุดมการณ์ ต่างกัน

แต่เมื่อสังเกตปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริง จะเห็นว่า มันมีเรื่องของ “ความรัก-ความเกลียดชัง” เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างสัมพัทธ์กับการเพิ่ม-ลด “ดีกรี” ของความขัดแย้งและความรุนแรงอย่างมีนัยสำคัญ หมายความว่า มันมีการสร้างความเกลียดชังตัวบุคคล กลุ่มคน ฝ่าย หรือ “สี” ผ่านสื่อต่างๆ ในหลากหลายรูปแบบอยู่เสมอตลอดมา นับแต่การสร้างปีศาจทักษิณ เสื้อแดงนิยมความรุนแรง ขบวนการล้มเจ้า หมู่บ้านแดงคอมมิวนิสต์ ฯลฯ
กระทั่งปัจจุบัน ปรากฏการณ์ของ social media ในท่ามกลางวิกฤตน้ำท่วม ก็มีแม้กระทั่งพระสงฆ์บางรูปโพสต์ข้อความว่า คนเสื้อแดงที่เคยด่า “ทหารเป็นฆาตกร” ไม่น่าจะยื่นมือมาขอรับความช่วยเหลือจากทหาร ไม่ต้องพูดถึงการโพสต์ด่านายกฯ ว่ามีมากเพียงใด อีกทั้งสื่อทีวีที่ยืนอยู่ฝ่ายตรงข้ามก็ตามกัดเป็นรายวัน เหมือนจงใจใช้ “วิกฤตมหาอุทกภัย” ทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาลที่พวกตนเกลียดชัง โดยไม่ต้องสนใจเหตุผลว่า ในภาวะวิกฤตเช่นนี้ทุกฝ่ายควรหันมาช่วยเหลือกันและกันอย่างไร
แม้กระทั่งเมื่อเช้านี้ (27 ต.ค.) ในรายการ “เก็บตกจากเนชั่น” กนก รัตน์วงสกุล กับ ธีระ ญัญญไพบูลย์ ก็ยังแสดงความเห็นว่า มีน้องๆ ที่ไปช่วยแพ็คของที่ ศปภ.ดอนเมือง บอกว่า มีคนบอกให้ใส่เสื้อแดง แล้วก็พูดตลอดว่า พวกเราคนเสื้อแดงต้องช่วยคนเสื้อแดงด้วยกัน มันเป็นบรรยากาศที่รับไม่ได้ เสียความรู้สึกมาก จนต้องหนีกลับมา กนกยังพูดอีกว่า มีนักการเมืองบางคนให้ติดชื่อตนเองบนห่อของที่รับบริจาคก่อนนำไปแจกชาวบ้าน ภายใน ศปภ.ตอนนี้มันเละจนรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ต้องขอนายกฯ ให้ทหารเข้าไปบริหารจัดการแทน
แล้วกนกก็เชลียร์ทหารต่อว่า “ทหารเข้าไปช่วยเหลือชาวบ้านที่เดือดร้อนเรื่องน้ำท่วมอย่างเต็มที่ ตอนนี้ทหารเป็นฮีโร่ของชาวบ้านไปแล้ว ที่จริงทหารเค้าก็เป็นฮีโร่มาตลอด แต่นักการเมืองนับวันจะตกต่ำลง ไม่รู้คิดได้หรือยัง ถ้าคิดได้ตอนนี้ก็ยังกลับตัวทัน”
ตัวอย่างที่ยกมาเป็นต้นนี้ สะท้อนว่าความเกลียดชังมันฝังลึก จนยากที่จะประสานรอยร้าวให้สนิทไม่ว่าจะเผชิญภาวะวิกฤตขนาดไหนก็ตาม จึงน่าคิดว่า ความเกลียดชังฝังลึกที่ส่งผลเป็นความแตกร้าวเกินเยียวยาเช่นนี้มันเกิดขึ้น ได้อย่างไร
หากพิจารณา “วาทกรรมความขัดแย้ง” ในบ้านเราอย่างตรงไปตรงมา จะเห็นว่าเป็นการเถียงกันเรื่องถูก-ผิด แต่ว่าความหมายของ “ถูก-ผิด” ที่สังคมเรานิยมใช้กันมันไม่ใช่เรื่องถูก-ผิดในเชิงการปฏิบัติตามนโยบายของ รัฐบาล ประสิทธิภาพในการทำงาน และมันไม่ใช่การเถียงกันอย่างจริงจังว่า หลักการ อุดมการณ์อะไรถูกหรือผิด ไม่ได้จริงจังด้วยซ้ำว่า มันเป็นเรื่องของกากระทำที่ถูกหรือผิดในทางกฎหมาย หลักความยุติธรรม หรือหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย
แต่ถูก-ผิดที่เราใช้ฟาดฟันกันอย่างเอาเป็นเอาตายนั้น เป็นเรื่องของ “ความถูก-ผิดทางจริยธรรม” ทว่าปัญหาคือ “วัฒนธรรมความคิดทางจริยธรรม” ในบ้านเรา เป็นวัฒนธรรมความคิดที่มีอิทธิพลจากความเชื่อทางศาสนาซึ่งเป็นจริยธรรมเชิง ปัจเจก ไม่ใช่จริยธรรมภาคสาธารณะ (social morality) ฉะนั้น ถูก-ผิด ที่เราใช้ฟาดฟันกัน จึงไม่ชัดว่าเป็นเรื่องของถูก-ผิดตามหลักการของจริยธรรมภาคสาธารณะ คือหลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ความยุติธรรม แต่เราขับเน้นถูก-ผิดในความหมาย “ดี-ชั่ว” ของตัวบุคคล แล้วก็นำเรื่องดี-ชั่วของตัวบุคคลไปผูกติดกับ “ความรัก-ความเกลียดชัง” และใช้ความรัก-ความเกลียดชังนั้นเป็นเงื่อนไขของการแบ่งฝ่าย และการต่อสู้ทางการเมือง
ภายใต้วัฒนธรรมความคิดทางจริยธรรมเช่นนี้ สังคมเราจึงสร้างกระแสความรักความศรัทธาในตัวบุคคลที่ถูกยกย่องกันว่าเป็น “คนดี” หรือเป็น “ผู้มีคุณธรรมจริยธรรมสูงส่ง” อย่างไม่ลืมหูลืมตา และสร้างกระแสความเกลียดชังตัวบุคคลที่ถูกสังคมพิพากษาว่าเป็น “คนเลว” หรือคนไม่มีคุณธรรมจริยธรรม อย่างสุดโต่ง
ฉะนั้น สำหรับคนที่ถูกยกย่องว่า เป็นคนดีมีคุณธรรมสูงส่งและเป็นที่รักของผู้คน เราจึงไม่สนใจวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ ขณะที่คนที่ถูกสังคมพิพากษาว่าเป็นคนเลว หรือเป็นพวกเดียวกับคนเลวและผู้คนเกลียด ไม่ว่าเขาจะขยับตัวทำอะไรก็ผิดไปหมด จะต้องถูกตรวจสอบ ถูกจับผิด ถูกวิจารณ์ ถูกด่าอยู่ตลอดไป
วัฒนธรรมความคิดทางจริยธรรมที่เอาเรื่อง “ดี-ชั่วผูกโยงกับความรัก-ความเกลียดชัง” ดังกล่าว สะท้อให้เห็นว่า ความเชื่อทางจริยธรรม หรือความเชื่อเรื่องดี-ชั่ว ของสังคมเราไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความมีเหตุผลและหลักการเชิงสังคม แต่อยู่บนพื้นฐานของความรัก-ความเกลียด หรือความศรัทธา-ไม่ศรัทธาในตัวบุคคลเป็นหลัก
ฉะนั้น เวลาเราพูดถึง “ความดี” หรือการกระทำที่ดี เราจึงไม่มี “จินตภาพ” ของความดี หรือการทำดีในความหมายที่เป็นการกระทำเพื่อปกป้องหลักการเชิงสังคม ป้องคุณค่าความเป็นมนุษย์ หรือประโยชน์สุขเชิงสาธารณะ เช่นการกระทำตามหรือการปกป้องสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ความยุติธรรม จึงไม่ใช่ความดีหรือการกระทำที่ดี ที่ภาครัฐ ระบบการศึกษา สื่อ ฯลฯ โปรโมท กระตุ้นเตือน หรือรณรงค์ให้ประชาชนเห็นคุณค่า และถือเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำ หรือยึดถือปฏิบัติเป็นวิถีชีวิต
แต่ความดีหรือการกระทำที่ดีที่สังคมนี้โปรโมท รณรงค์ให้คนทุกเพศทุกวัยกระทำคือ “ความดีเชิงปัจเจก” เช่น การ “ทำดีเพื่อพ่อ” ซึ่งหมายถึงคุณจะทำอะไรก็ได้ที่เกิดประโยชน์กับตัวคุณ(และทำให้คุณเพิ่มพูน ศรัทธาใน “พ่อ” มากขึ้น) เช่น ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า ออกกำลังกาย กระทั่ง “อ่านหนังสือสอบเพื่อพ่อ” ร้องเพลงเพื่อพ่อ ถ้าเป็นการทำดีเชิงสาธารณะเพื่อพ่อก็มักจะเป็นเรื่องเก็บขยะ ปลูกป่า ฯลฯ แต่ไม่เคยมีการทำความดีด้วยการต่อสู้เรียกร้องเสรีภาพ ความเสมอภาค ประชาธิปไตย “เพื่อพ่อ” เลย (มีแต่การอ้างพ่อเพื่อจัดการกับคนที่ออกมาเรียกร้องเรื่องดังกล่าว)
นอกจากนี้ ก็เป็นเรื่องของการโปรโมทความดี หรือการทำดีตามความเชื่อทางศาสนา ซึ่งมักเน้นเรื่องทำบุญทำทาน การรักษาศีล ปฏิบัติธรรม เพื่อความสุขความเจริญของชีวิตในชาตินี้และชาติหน้า แต่มุมมองทางศีลธรรมศาสนานิยมปลูกฝังกัน ก็มักจะมองการกระทำหรือพฤติกรรมของมนุษย์ผ่าน “กรอบโลกทัศน์แบบขาว-ดำ” เป็นหลัก
ภายใต้บริบทของสังคมที่ถูกครอบงำด้วยวัฒนธรรมความคิดทางจริยธรรมดัง กล่าวนี้ ทัศนะทางการเมืองก็ถูกทำให้เป็น “ทัศนะแบบขาว-ดำ” ไปด้วย จึงทำให้การถกเถียงเรื่องปัญหาทางการเมืองกลายเป็นเสมือนเรื่องทางศาสนาเข้า ไปทุกที เพราะฝ่ายที่เห็นต่างกันไม่สามารถถกเถียงกันได้ด้วยเหตุผลอย่างถึงที่สุดภาย ใต้บรรยากาศของการมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างแท้จริง เนื่องจากทั้งตัวบุคคลและทัศนะของเขาง่ายที่จะ “ถูกจับยัด” เข้าไปใน “กรอบ” ของ “ดี-ชั่ว” อย่างสัมบูรณ์ (absolutely) ตาม concept ที่ว่า “คนดี” คือ “คนที่ต้องจงรักภักดี” ความดี หรือการกระทำที่ดี คือการกระทำที่สนับสนุน ส่งเสริม ปกป้องความจงรักภักดี และ “คนชั่ว” คือ “คนที่ไม่ (หรือถูกสงสัยว่าไม่) จงรักภักดี” ความชั่ว หรือการกระทำที่ชั่ว คือการกระทำที่ไม่สนับสนุน ไม่ส่งเสริม ไม่ปกป้องความจงรักภักดี รวมทั้งการกระทำที่เป็นการตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบบุคคล หรือสถาบันที่สังคมจงรักภักดี
นี่คือปัญหาหลักอันเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมความคิด ที่ทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองแทนที่จะเป็นเรื่องของการถกเถียงกันด้วย เหตุผลอย่างถึงที่สุด เพื่อแสวงหาอุดมการณ์ หลักการ กติกาที่ยุติธรรมที่สุดแก่สมาชิกของสังคมทุกคนอย่างเสมอภาคที่สุดเท่าที่จะ เป็นไปได้ กลับกลายเป็นเรื่องของการสร้างความเกลียดชัง สร้าง “มายาคติ” เรื่อง “ดี-ชั่ว” ของตัวบุคคลให้เป็นเงื่อนไขของความแตกแยก และความรุนแรงไม่สิ้นสุด
แม้กระทั่งในภาวะที่ประเทศต้องเผชิญ “วิกฤตมหาอุทกภัย” ร่วมกัน การสร้างความเกลียดชังก็ยังคงดำเนินต่อไป!