ที่มา มติชน
เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และสมาชิกบ้านเลขที่ 11 ได้โพสต์ข้อความลงในทวิตเตอร์-เฟซบุ๊กส่วนตัว โดยมีเนื้อหาเสนอแนะและวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัย ดังนี้
"ตั้งแต่นครสวรรค์ลงมาถุงทรายช่วยได้กรณีกัน น้ำท่วมเล็กๆน้อยๆ ที่ใช้สู้กับน้ำที่มาเป็นผืนใหญ่ไม่ปรากฏว่าสู้กับน้ำได้เลย จุดใดที่จะต้องรับมือกับน้ำที่มาเป็นหน้ากระดานจึงไม่อาจหวังว่าจะสู้ได้ มีแต่ต้องเตรียมรับผลเมื่อกระสอบหรือพนังกั้นสู้ไม่ไหวแล้วจะทำอย่างไร"
"การจะให้น้ำลดเร็วๆเป็นเรื่องใหญ่ สำคัญและยากมาก ต้องวางแผนอย่างเป็นระบบโดยผู้เชี่ยวชาญที่ต้องปรึกษากันและต้องอาศัยความ ร่วมมือหลายฝ่าย และยังต้องมีเครื่องมือมากที่ขณะนี้ยังไม่มีเช่นเครื่องสูบน้ำ ถุงทรายจำนวนมาก หากไม่ทำจริงจังจะมีคนจำนวมากต้องอยู่กับน้ำต่อไปอีกเป็นเดือนๆ"
"การที่น้ำก้อนใหญ่กำลังจะมาถึงกทม.เวลาเดียว กับน้ำทะเลจะหนุนสูงสุดยิ่งกว่าตอนน้ำท่วมอยุธยา หยุดราชการอย่างเดียวไม่พอแล้ว มาช่วยกันคิดครับ"
"เมื่อนึกถึงภาพวันที่ 26-29 ต.ค. แล้วการที่เราสู้กับน้ำอยู่ตามคันคลองต่างๆหรือประตูน้ำบางแห่งเป็นเรื่อง จิ๊บจ๊อยมาก ผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวนมากต้องคิดกันใหม่ ให้เข้าใจว่ากำลังสู้กับอะไร และจะเตรียมการอย่างไร จะให้ประชาชนเตรียมตัวอย่างไร"
"ไม่มีใครปล่อยน้ำเข้ากทม. ไม่มีใครตั้งใจให้น้ำท่วมกทม. ที่ท่วมคือเอาไม่อยู่ แต่ที่ระบายผ่านทางคลองผ่านกทม.ไม่ทำให้ท่วมกลับจะช่วยให้ท่วมน้อยลง"
"เมื่อน้ำก้อนใหญ่ลงมา ที่กั้นๆกันอยู่อาจเอาไม่อยู่เลยเหมือนที่เอาไม่อยู่มาตลอดทาง ขณะที่น้ำทะเลหนุนสูงสุดจะทำให้เวลาน้ำขึ้น น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะสูงกว่าวันนี้อีกมาก"
"ใน1-2 วันมานี้พนังกั้นน้ำริมเจ้าพระยาหลายแห่งก็เริ่มมีอาการเอาไม่อยู่บ้างแล้ว เมื่อน้ำเจ้าพระยาสูงกว่านี้อีกมากจะเป็นอย่างไร ใครจะรับประกันว่า เอาอยู่"
"ที่ผมเสนอความเห็นอยู่นี้เป็นความเห็นในฐานะ ประชาชนคนหนึ่งที่ห่วงใยประชาชนด้วยกันทั้งในจังหวัดต่างๆที่อยู่ในเส้นทาง และในกทม. รวมทั้งกทม.ชั้นใน"
"ส่วนที่เสนอความเห็นให้ศปภ.ได้เสนอไปพอสมควร แล้วและพรุ่งนี้จะพยายามเสนออีกครั้ง แต่ผมจะรอศปภ.เข้าใจเรื่องนี้ไม่ได้ คิดว่าควรสื่อกับปชช."
"ผมคิดว่าศปภ.และกทม.ยังไม่เข้าใจ หลักการแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการเตือนภัยและชี้แจงเพื่อการเตรียมความพร้อมของ ประชาชน ทำให้การชี้แจงที่ผ่านมายังสับสน"
"ศปภ.เน้นเรื่องการกลัวประชาชนตื่น ตระหนกซึ่งเป็นการหลงประเด็น ที่จริงคือประชาชนเขาต้องการรู้ว่าอาจจะเกิดอะไรจะต้องเตรียมตัวอย่างไร เมื่อไร"
"ผมพูดอย่างนี้แล้วศปภ.บางคนอาจจะโกรธผมก็ขอ ให้โกรธไป แต่ถ้ายังอยากฟังคำแนะนำจากผมก็ขอให้บอกมา ยินดีจะไปให้คำแนะนำอีก แต่ศปภ.ต้องปรับความคิดด่วน"
"ขอให้ข้อมูลว่าการระบายน้ำผ่านคลองต่างๆ ของกรุงเทพฯทำได้น้อยกว่าเป้ามาก ส่วนการระบายไปทางตะวันออกที่หวังกันนั้น ถึงเมื่อเช้านี้น้ำยังไม่ไปฉะเชิงเทราและสมุทรปราการ ไม่มีน้ำให้สูบลงแม่น้ำบางปะกงและทะเล"
"ขอถามศปภ.ว่าแล้วน้ำก้อนใหญ่จะหายไปเองได้อย่างไร และจะไม่ลงมาหากรุงเทพฯซึ่งเป็นที่ต่ำหรือ"
"หลักของการเตือนภัยก็คือต้องให้ภาพ ว่าถ้าสถานการณ์เลวร้ายที่สุดอาจเป็นอย่างไร ทุกฝ่ายควรเตรียมตัวอย่างไร ซึ่งถ้าไม่เกิดก็ไม่เป็นไร แต่ต้องเตรียม"
"การเตรียมรับสึนามิเขาต้องมีไว้ตลอด คนจึงรู้สึกปลอดภัยไม่ใช่ตระหนกเพราะมีแผน พอเกิดแผ่นดินไหวในทะเลบางที่เขาให้อพยพคนขึ้นที่สูงทันที แต่เมื่อไม่มีผลกระทบก็กลับบ้าน ที่เขาเดือดร้อนที่ต้องอพยพกันโกลาหลเขาก็ไม่โกรธ"
"ต้องตั้งโจทย์ใหม่ว่าถ้ากรุงเทพฯเป็นแบบ นครสวรรค์บวกบางบัวทอง จะเตรียมรับกันอบ่างไร มีแผนรับมืออย่างไรและประชาชนจะเตรียมตัวอย่างไร ไม่ใช่บอกแต่ว่ากรุงเทพฯจะไม่เป็นไร"
"ข่าวว่าศปภ.มีแผนเตรียมรับกรณีน้ำ ท่วมกทม.ทุกด้านแล้ว ถ้ามีควรจัดชี้แจงให้ประชาชนทราบ ไม่ต้องกลัวว่าชี้แจงแล้วคนจะตระหนก คนเขากลัวว่าจะไม่มีแผน"
"บางคนว่าผู้รับผิดชอบยังมีความเห็น ต่างกันในเรื่องน้ำจะท่วมกทม.มากน้อยแค่ไหน ฝ่ายที่คิดว่าคงไม่หนักจึงไม่อยากเตือนให้น่ากลัวเกินไปซึ่งเป็นการหลง ประเด็น"
"ที่ถูกคือเมื่อเห็นว่าน้ำท่วมรุนแรง มาตลอดทางและมีบางฝ่ายเห็นว่าอาจรุนแรงมาก จะต้องเตือนให้เห็น worst case scenario (สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดที่เป็นไปได้) และเตรียมรับมือ"
"ผมไม่ได้บอกว่าศปภ.ไม่พูดความจริง แต่ศปภ.ไม่เข้าใจหลักว่าด้วยการเตือนภัยกับการชี้แจงเพื่อให้ประชาชนเตรียมตัว"
"ขอพักก่อนครับ ฝากประเด็นส่งท้ายช่วงนี้ ทราบว่าศปภ.กำลังปรับการเตือนภัยและคงดีขึ้นๆ แต่ระหว่างนี้คนในศปภ.ที่เตือนประชาชนอย่างเป็นประโยชน์ที่สุดคือคุณปลอดประสพครับ"