WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, October 24, 2011

ปันประสบการณ์จากญี่ปุ่น กรณีภัยพิบัติ ประชาชน และรัฐ และสื่อควรทำอย่างไรในภาวะวิกฤต

ที่มา ประชาไท

ผู้เขียนซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในประเทศญี่ปุ่นมากว่า 10 ปี และผ่านสถานการณ์วิกฤตกรณีสึนามิถล่มประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดความเสียหาย และแพร่กัมมันตรังสีเมื่อต้นปีที่ผ่านมา เขาเขียนสเตตัสบนเฟซบุ๊กเพื่อแชร์ประสบการณ์ที่ประชาชนและรัฐบาลญี่ปุ่น เผชิญกับภัยพิบัติในครั้งนั้น โดยตั้งข้อสังเกตคร่าวๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติตนของประชาชน และแนวทางการจัดการของรัฐบาล ประชาไทขออนุญาตนำขอความของเขาที่โพสต์ต่อเนื่องกันหลายวันมาเผยแพร่เพื่อ ประโยชน์แก่การทำความเข้าใจ และแนวทางการปฏิบัติตัวของประชาชนทั่วไป

000

: "การช่วยให้ประเทศญี่ปุ่นฟื้น ไม่ใช่การไปเป็น"อาสาสมัคร" ทุกคน แต่ทุกคนควรทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด นักธุรกิจก็ทำธุรกิจ พ่อค้าก็ค้าขาย นักโฆษณาก็ชวนคนออกเที่ยว

งานรื่นเริงก็ควรจัดตามปกติ คนที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ประสบภัยก็ควรดำเนินชีวิตตามปกติ หากประเทศโดยรวมเป็นปกติ เศรษฐกิจก็เดินได้ รัฐก็มีภาษีเข้า หากทุกคนไปเป็นอาสาสมัคร รัฐจะเดินไปได้อย่างไร งานต่างๆให้ข้าราชการ ทหาร ซึ่งรับเงินเดือนราชการลงไปทำ

คนทั่วไปทำอาสาสมัครเท่าที่ไม่กระทบต่องานประจำก็พอ...เงินส่วนหนึ่ง บริจาคแต่อีกส่วนหนึ่งก็นำไปเที่ยวตามปกติ หากทุกคนงดเที่ยวธุรกิจท่องเที่ยวก็เจ๊ง จะเอาภาษีไหนเข้ารัฐ

: งานอาสาสมัครที่ผมทำอยู่ในญี่ปุ่นเพื่อช่วยเมืองไทย...เข้าไปคอมเมนท์กระทู้ น้ำท่วมที่ญี่ปุ่น เขียนและบอกว่า"น้ำไม่ได้ท่วมประเทศไทย"

"น้ำท่วมบางจังหวัดและท่วมกรุงเทพบางส่วน" อย่ายกเลิกทริปไปเที่ยวเมืองไทย ภาคใต้เรามีชายทะเลสวยงาม น้ำไม่ได้ท่วม

อีสานก็มีสถานที่ท่องเที่ยวอีกมากมาย หากกังวลเรื่องรถวิ่งได้ไม่ได้ก็เน้นนั่งเครื่องบินไปก็ได้...น้ำไม่ได้ท่วม ทั้งประเทศไทย คือข้อความที่ผมบอกคนต่างชาติทุกคน...

สิ่งหนึ่งที่ผมเรียนรู้จากสึนามิและวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์คือ การนำเสนอภาพข่าวที่เจาะจงเฉพาะนิวเคลียร์ทำให้ผู้คนทั่วโลกต่างเข้าใจผิด คิดว่านิวเคลียร์ปกคลุมไปทั่วท้องฟ้าประเทศญี่ปุ่นทั้งประเทศ ทั้งๆที่จริงๆแล้วมันเป็นเพียงแค่บางส่วนของประเทศญี่ปุ่น ความเข้าใจผิดของต่างชาติทำให้จังหวัดที่อยู่ห่างไกลออกไปเกือบ600กิโลเมตร ก็ได้รับผลกระทบทางธุรกิจเพราะนักท่องเที่ยวยกเลิกการเดินทางทั้งหมด

ดังนั้นการประโคมข่าวเรื่องน้ำท่วมจนละเลยการนำเสนอสภาพเมืองที่ไม่ได้ รับผลกระทบก็สามารถสร้างความเข้าใจผิดให้กับต่างประเทศได้เช่นกัน

: ในภาวะวิกฤติสื่อมวลชนควรทำหน้าที่ "นำเสนอข่าว" ไม่ใช่ทำหน้าที่เป็น "หน่วยกู้ภัย" เพราะการทำหน้าที่เป็น "หน่วยกู้ภัย"

ทำให้สื่อมีแนวโน้มที่จะเสนอแต่เรื่องราวกิจกรรมของตัวเองหรือภาคธุรกิจ ที่มีความสัมพันธ์อันดีกับตัวเองเท่านั้น ทำให้ประชาชนได้ข่าวไม่ครบถ้วน...สื่อมวลชนทำหน้าที่ของตัวเองในการเสนอ ข้อมูลข่าวอย่างรอบด้าน ประชาชน อาสาสมัคร
หน่่วยงานที่รับผิดชอบจะได้ทราบว่าที่ไหนกำลังขาดแคลนอะไรและต้องการอะไร และในสถานการณ์ปัจจุบันควรทำอะไร...

: ในช่วงสึนามิ ญี่ปุ่นไม่อนุญาตให้รถทั่วไปขึ้นทางด่วน เพราะจะสงวนเอาไว้สำหรับการส่งความช่วยเหลือ อาหารสิ่งของจำเป็น เข้าไปในพื้นที่ให้เร็วที่สุด รถที่จะอนุญาติให้เข้าไปในพื้นที่ต้องได้รับการอนุมัติทั้งหมดและจะติดป้าย พิเศษไว้ว่า"รถขนสิ่งของสำหรับนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย"

: ในสภาวะวิกฤต ปากคนญี่ปุ่นก็บ่นรัฐบาลแต่ในขณะเดียวกันก็ให้ความร่วมมือกับรัฐบาล รัฐบาลสั่งให้อพยพมาแต่ตัว ห้ามเอาของออกมาและขึ้นรถที่กำหนด ทุกคนก็ยอมทำตามแม้จะไม่เห็นด้วย

รัฐบาลอนุญาตให้กลับไปเก็บของได้คนละไม่เกินหนึ่งกระสอบทุกคนก็ทำตาม

: ในสภาวะวิกฤตในการอพยพประชาชน ญี่ปุ่นจะเน้นอพยพกันเป็นชุมชน ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับว่าใครอยากไปศูนย์ไหน ก็ได้และการช่วยเหลือ ก็จะให้การช่วยเหลือผ่านชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่นมีหน้าที่ในการประสานกับชุมชนและองค์กรอาสาสมัครและคอย รับคำสั่งจากรัฐบาลเพื่อกระจายสู่คนในชุมชน ในกรณีที่ไม่ไม่มีจุดลี้ภัยในเทศบาลตัวเองก็จะติดต่อไปยังพื้นที่ใกล้เคียง สรุปการเคลื่อนย้ายประชาชนจะทำเป็นชุมชนโดยเทศบาลเป็นหัวหน้าหลัก อาสาสมัครและทหารก็ทำงานตามกรอบที่เทศบาลนั้นวางไว้

: สาเหตุที่ท้องถิ่นต้องเป็นคนประสานงานหลัก เพราะท้องถิ่นมีรายชื่อลูกบ้านทุกคนและทำงานในท้องที่ และประชาชนมีความคุ้นเคยกับการติดต่อกับองค์กรปกครองท้องถิ่นอยู่แล้ว และข้าราชการขององค์กรปกครองท้องถิ่นคือกลุ่มคนที่รู้จักชุมชนในท้องถิ่น มากกว่า ข้าราชการส่วนกลางที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้าไปตามระยะเวลาแล้วย้ายออกไป

: ในสภาวะวิกฤตรัฐบาลญี่ปุ่นจะใช้กองทัพเป็นแนวหน้าในการลงไปกู้ภัยเพราะกอง ทัพเป็นหน่วยงานรัฐที่สามารถเคลื่อนพลได้เร็วและมีความสามารถในการดูแลตัว เองได้ตั้งแต่เรื่องการกิน การถ่าย และที่พัก รวมทั้งมีอุปกรณที่เพรียบพร้อม กำลังพลไม่ต้องไปฝากท้องกับพื้นที่ประสบภัย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่จะเห็นทหารมากกว่าพลเรือนที่ลงไปกู้ภัย เพราะกองทัพถูกฝึกมาในด้านนี้

แต่กองทัพก็จะทำงานตามคำสั่งของรัฐบาล เพราะรัฐบาลเป็นเจ้าภาพใหญ่ ส่วนพลเรือนอาสาสมัครทุกคนก็มีความสำคัญไม่แพ้ทหาร เพียงแต่ทำงานกันคนละอย่าง สรุปก็คือในภาวะวิกฤติ ทุกฝ่ายก็ควรได้รับการชมเชย เพราะทุกฝ่ายต่างก็ทำหน้าที่หนุนกัน เพื่อให้ผ่านวิกฤต ทั้งทหาร ข้าราชการพลเรือน. อาสาสมัคร ทุกคนคือฮีโร่ที่ เท่ากัน

: ปกติ หากประเทศชาติ สามารถฝ่าฟันอุปสรรคไปได้. รัฐบาลจะได้หน้า. ในฐานะผู้บริหาร. รัฐบาลได้หน้า. ประชาชนของรัฐบาลนั้น ก็ได้หน้าเช่นกัน ....