WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, October 27, 2011

ร้าวลึกการเมืองเรื่องน้ำท่วมนับถอยหลังพังกันไปข้าง

ที่มา Thai E-News

การ ไม่หยุดปัดแข้งปัดขาแม้ในสภาวะวิกฤตที่สุดของชาติ แสดงให้เห็นถึงความจริงข้อหนึ่งของประเทศไทย ที่ว่าความแตกแยกในสังคมไทยตอนนี้มันบาดลึกยากเยียวยา เสียจนทำให้ ความเชื่อทางการเมือง สามารถอยู่เหนือ ความรับผิดชอบต่อสาธารณะ และ ความฉุกเฉินในการเยียวยาประเทศได้


ประเทศไทยไม่ได้เป็นประเทศที่ประชาชนยินดีที่จะทิ้งความแตกแยกไว้ข้างหลัง แล้วจับมือฟันฝ่ามหันตภัยไปด้วยกันอีกต่อไปแล้ว การอาศัยภัยภิบัติของชาติเพื่อกำจัดศัตรูทางการเมืองจึงกลายเป็นสิ่งที่ยอม รับได้ในปัจจุบัน-ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์’ นักวิจัยจากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาแห่งสิงคโปร์


ความขัดแย้งทางการเมืองในหลายปีที่ผ่านมา ยัง "ร้าวลึก" เพราะขนาดน้ำท่วมระดับ "หายนะ" เช่นนี้ ความขัดแย้งก็ยังแสดงออกรุนแรงมาก...ลำพังการชูเรื่อง "ปรองดอง" นี่ มันคงไมใช่คำตอบจริงๆ..
เรื่อง น่าเศร้าคือ ในประวัติศาสตร์ เมื่อมีความขัดแย้งในลักษณะ "มูลฐาน" (fundamental) เช่นที่เรากำลังเห็นในขณะนี้ มันต้องลงเอย หรือ "ยุติ" ลงด้วยการที่ ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง "พัง" ไป-ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
***********

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์: แม้แต่หายนภัยของประเทศ ก็ไม่วายถูกใช้เป็นอาวุธทางการเมือง

‘ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์’ นักวิจัยจากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาแห่งสิงคโปร์ เขียนบทความวิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วมในไทย ที่ได้กลายเป็น ‘อาวุธทางการเมือง’ ที่ฝ่ายตรงข้ามนำมาโจมตีนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และสะท้อนถึงความแตกแยกอันร้าวลึกในสังคมไทย

"แม้แต่หายนภัยของประเทศ ก็ไม่วายถูกใช้เป็นอาวุธทางการเมือง"

เว็บไซต์ประชาไท แปลจาก Pavin Chachavalpongpun. Even this national disaster is being used as a political weapon. ตีพิมพ์ครั้งแรกในนสพ. The Nation, 26/10/54
http://www.nationmultimedia.com/opinion/Even-this-national-disaster-is-being-used-as-a-pol-30168516.html

เธอมันชะนีปัญญาทึบ

เธอโง่เหมือนควาย, สวยไร้สมอง, บาร์บี้หัวกลวง , ผู้นำหญิงเป็นกาลกิณี ทำให้เกิดหายนะของชาติฯลฯ

นี่คือสิ่งที่เหล่าบรรดาขาประจำชนชั้นกลาง-สูงกำลังเรียกขานนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อยู่ในเวลานี้

พื้นที่บางส่วนของประเทศไทยได้กลายเป็นทะเลมาระยะหนึ่งแล้ว กรุงเทพฯเองก็กำลังเตรียมตัวรับน้ำก้อนใหญ่นี้ ในไม่ช้ามหานครแห่งนี้อาจจะไม่แคล้วกลายเป็นสระว่ายน้ำยักษ์ ขณะเดียวกันยิ่งลักษณ์ก็กำลังจมจวนขาดใจภายใต้สายวาีรีการเมือง นี่ไม่ใช่แค่เรื่องของมหันตภัยธรรมชาติอีกต่อไป แต่มันกลายเป็นเกมการเมืองอันบ้าคลั่ง

การวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่อง "ความโง่" กลายเป็นที่แพร่หลายอย่างไม่หยุดหย่อน ภาพลักษณ์ของยิ่งลักษณ์ถูกทำให้กลายเป็นตัวแทนของ "ความโง่" โดยมีเป้าหมายที่เดาไม่ยากคือทำลายความน่าเชื่อถือส่วนตัว และ ทำให้ความพยายามในการแก้ปัญหากลายเป็นเหมือนเรื่องเด็กเล่น

แต่การจะใช้เรื่องของระดับสติปัญหา "ความโง่" มาประเมินผลงานของยิ่งลักษณ์ จะต้องตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าปกติการเมืองไทยเป็นอาณาจักรแห่งคนอัจฉริยะ ซึ่งก็น่าสงสัยว่าแล้วเหตุไฉน ผู้นำในอดีตเกือบทั้งหมดต่างก็ล้มเหลวในการแก้ปัญหาเรื้อรังอันเนื่องมาจาก ภัยน้ำท่วม

ถ้าเราจะตัดสินยิ่งลักษณ์ด้วยคำสักคำ บางทีคำว่า "อ่อนแอ" น่าจะเหมาะสมกว่าสำหรับการบ่งชี้ภาวะผู้นำของเธอ เป็นเรื่องจริงที่ว่าเธอตอบสนองต่อปัญหาน้ำท่วมได้ช้าไม่ทันท่วงที ถึงแม้การลงพื้นที่อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยจะแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่น แต่ในยามวิกฤตอย่างนี้เธอกลับล้มเหลวในการบรูณาการหาทางผ่อนหนักให้เป็นเบา แต่เนื่องจากมันง่ายกว่าที่จะโทษคนอื่นในยามวิกฤต ทุกคนจึงพากันโทษไปที่ยิ่งลักษณ์กับการขาดความสามารถในการบริหารจัดการวิกฤต ของเธอ

แต่มันยุติธรรมหรือเปล่าทีจะโยนความผิดทั้งหมดไปให้กับยิ่งลักษณ์ เธอควรจะรับผิดเพียงผู้เดียวต่อผลจากอุทกภัยครั้งประวัติการณ์นี้หรือ? แล้ว ทำไมกรมชลประทานจึงยังกักเก็บน้ำไว้ในเขื่อนที่สำคัญในช่วงต้นฤดูฝน และไม่ยอมระบายน้ำออกทั้งที่มีพายุฝนกระหน่ำต่อเนื่องในปีนี้? ทำไมรัฐบาลก่อนหน้าซึ่งก็พึ่งเผชิญหน้ากับปัญหาอุทกภัยมาจึงไม่ได้วางระบบ การบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ?

ข่าวลือ ข่าวลวง ข่าวเท็จ ที่เกี่ยวกับน้ำท่วมครั้งนี้มากมายในโซเชียลเนทเวิร์กต่างๆ ภาพซึ่งถูกถ่ายไว้ตั้งแต่ช่วงหาเสียงเลือกตั้งของยิ่งลักษณ์ขณะกำลังใช้ โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพจากเฮลิคอปเตอร์ถูกส่งต่อไปทั่วในเฟสบุ๊คโดยมีคำ อธิบายว่า
"ประเทศกำลังวิกฤติ แต่ชีกลับแฮปปี้แก้มปริ"
นอกจากนี้ภาพของสาวฟิลิปปินส์ที่ดูเผลินๆคล้ายยิ่งลักษณ์ ขณะกำลังปาร์ตี้และกระดกวิสกี้จากขวด ก็ถูกแชร์ไปทั่วอินเตอร์เนท

ข่าวเรื่องพระราชดำรัสของในหลวงที่ว่าถ้าหากน้ำท่วมกรุงเทพฯให้ปล่อยน้ำให้ ท่วมวังจิตรดาได้เลยไม่ต้องป้องกัน ที่สุดท้ายกลายเป็นเรื่องโอละพ่อ ถูกปฏิเสธโดยสำนักพระราชวัง

ภาพขณะที่พระเทพฯทรงพระราชทานถุงยังชีพในปีที่แล้ว (2553) ก็ถูกแพร่กระจายอย่างตั้งใจที่จะทำให้คนไทยเข้าใจผิด

นี่จะเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมกันโจมตียิ่งลักษณ์โดยมีจุดหมายที่การทำลาย ความเชื่อมั่นในรัฐบาลหรือไม่? แน่นอนที่สุดว่าพรรคฝ่ายค้านอย่างประชาธิปัตย์กำลังสารวลในการแย่งความชอบ ธรรมจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หัวหน้าพรรคอย่างอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเองก็ผลักดันอย่างสุดลิ่มทิ่มประตูให้ประกาศ พรก.ฉุกเฉิน เพื่อสู้กับภัยน้ำท่วม ภายใต้พรก.นี้ กองทัพจะได้รับอำนาจให้สามารถปฏิบัติการได้อย่างที่กองทัพต้องการ ซึ่งในบางเรื่องอาจจะไม่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลขณะนี้ อย่างไรก็ตามอภิสิทธิ์ไม่ได้อธิบายว่ากองทัพจะสามารถรับมือกับปัญหาน้ำท่วม ได้ดีกว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้อย่างไร

อภิสิทธิ์ยังได้ทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับ มรว.สุขุมพันธ์ (บริพัตร) เพื่อ"แข่งขัน" ไม่ใช่ "ร่วมมือ" กับรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ถูกหลายคนตราหน้าว่า "โง่" แต่ขณะเดียวกันสุขุมพันธ์ก็แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาในพิธีกรรมที่มีรากมา จากขอมเพื่อ "ไล่น้ำ" ว่าเป็นหนึ่งในมาตรการป้องกันมหานครจากน้ำท่วม เขายังแสดงความหวงพื้นที่อย่างมาก จนคราหนึ่งถึงกับประกาศกร้าวว่า
"ขอให้ทุกคนฟังผมคนเดียวเท่านั้น ผมจะเป็นคนบอกให้อพยพเอง"

ในเวลาเดียวกัน ภาพของทหารที่ลงไปในพื้นที่เพื่อช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมเป็นที่ประทับใจอย่างมาก แต่ทหารก็เช่นเดียวกับผู้ว่า กทม. คือ ทำงานอย่างเป็นอิสระจากรัฐบาล แสดงให้เห็นภาพของการแข่งขันอย่างดุเดือดระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายตรงข้าม และเสียงวิจารณ์ที่แรงที่สุดคือการขอให้ยิ่งลักษณ์ลาออก

ในขณะที่ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลก็ตีความภาพการแก่งแข่งชิงผลงาน และ แรงกดดันให้นายกลาออก เป็นส่วนหนึ่งของแผนการ "รัฐประหารด้วยน้ำ"

การไม่หยุดปัดแข้งปัดขาแม้ในสภาวะวิกฤตที่สุดของชาติ แสดงให้เห็นถึงความจริงข้อหนึ่งของประเทศไทย ที่ว่าความแตกแยกในสังคมไทยตอนนี้มันบาดลึกยากเยียวยา เสียจนทำให้ ความเชื่อทางการเมือง สามารถอยู่เหนือ ความรับผิดชอบต่อสาธารณะ และ ความฉุกเฉินในการเยียวยาประเทศได้

ประเทศไทยไม่ได้เป็นประเทศที่ประชาชนยินดีที่จะทิ้งความแตกแยก ไว้ข้างหลังแล้วจับมือฟันฝ่ามหันตภัยไปด้วยกันอีกต่อไปแล้ว การอาศัยภัยภิบัติของชาติเพื่อกำจัดศัตรูทางการเมืองจึงกลายเป็นสิ่งที่ยอม รับได้ในปัจจุบัน

การทุ่มเทสรรพกำลังทั้งหมดเพื่อป้องกันเมืองหลวงจากการจมอยู่ใต้น้ำนี้ยัง สะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติที่นึกถึงแต่ตัวเองของชาวกรุง กรุงเทพที่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของความขัดแย้งทางการเมือง ในขณะที่จังหวัดอื่นต่างต้องทนทุกข์อยู่ใต้น้ำที่ไม่มีวี่แววว่าจะลดมานาน มันแสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำอย่างมากระหว่างคนต่างจังหวัดกับคนเมือง หลวง

ตอนนี้ดูเหมือนว่า คนที่บ่นมากที่สุด โวยวายเสียงดังที่สุด กลับกลายเป็นคนกรุงเทพ ทั้งที่สวรรค์เป็นใจให้กว่าสองเดือนมาแล้ว พื้นที่ส่วนใหญ่ในเมืองกรุงยังถูกปกป้องให้คงความแห้งสนิทไว้ได้ ยิ่งลักษณ์เองกำลังตกอยู่ในกับดักความเหลื่อมล้ำทางการเมือง เธอเข้าใจถึงความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องป้องกันกรุงเทพไว้เพื่อเอาใจ เหล่าขาประจำชาวกรุง

แต่การทำงานที่ล่าช้าก่อนหน้านี้ไม่สามารถป้องกันจังหวัดรอบข้างไม่ให้จมอยู่ใต้น้ำได้

**********

สมศักดิ์ เจียมฯ:ลึกๆลงไปในการเมืองเรื่องน้ำท่วม
ความ ขัดแย้งทางการเมืองในหลายปีที่ผ่านมา ยัง "ร้าวลึก" เพราะขนาดน้ำท่วมระดับ "หายนะ" เช่นนี้ ความขัดแย้งก็ยังแสดงออกรุนแรงมาก...ลำพังการชูเรื่อง "ปรองดอง" นี่ มันคงไมใช่คำตอบจริงๆ.. เรื่องน่าเศร้าคือ ในประวัติศาสตร์ เมื่อมีความขัดแย้งในลักษณะ "มูลฐาน" (fundamental) เช่นที่เรากำลังเห็นในขณะนี้ มันต้องลงเอย หรือ "ยุติ" ลงด้วยการที่ ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง "พัง" ไป

ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เขียนลงในเฟซบุ๊คสมศักดิ์ เจียมธีรสกุลว่า ทุกคน คงเห็นกันแล้วว่า ความขัดแย้งทางการเมืองในหลายปีที่ผ่านมา ยัง "ร้าวลึก" เพราะขนาดน้ำท่วมระดับ "หายนะ" เช่นนี้ ความขัดแย้งก็ยังแสดงออกรุนแรงมาก โดยเฉพาะในสังคมระดับ "ในเมือง" และ "ออนไลน์" ทั้งหลาย

ผมเห็นคุณ @Apichet Piyasri โพสต์ไว้ที่ไหนสักแห่ง ว่า เป็นเพราะคุณยิ่งลักษณ์เป็นผู้หญิง

ผมคิดว่า ปัญหามัน "ลึก" กว่านั้นนะครับ (ผมว่า ถ้า ตอนนี้ ปชป. เป็นรัฐบาล และมีผุ้นำเป็นผู้หญิง ก็คงไม่มีปัญหาออกมาในลักษณะนี้)

อย่างที่แสดงออกเรื่อง คนระดับ อ.จุฬา ออกมาพูดเรื่อง "ต้องใส่เสื้อแดงถึงเข้าไปที่ ศปภ ได้" แล้ว ทีสำคัญ มีคนเชื่อเยอะมาก (ผมดูจาก Twitter คนที่มาเชียร์คุณ ปรเมศวร์ หลายคน ยังยกเรื่องนี้ขึั้นมาพูด ทั้่งๆที่ ประชาไท และสื่อเสื้อแดงหลายแห่ง เอาหลักฐานมาแสดงให้เห็นว่า ไม่จริง แล้ว หลายวัน)

หรือกรณีที่ มีการเชียร์ทหารพร้อมๆกับการด่ายิ่งลักษณ์ไปด้วย (แม้แต่กรณีคุณ ปรเมศวร์ เอง)


เดี๋ยวจะหาว่า ผมชอบโยงเข้าเรือ่ง "สถาบัน" อยู่เรื่อย แต่ผมว่า ความขัดแย้งที่ร้าวลึกนี้ ในที่สุด มันมี "เส้นแบ่ง" สำคัญ ตรงนี้จริงๆ

คือระหว่าง การยอมรับ อำนาจที่มาจากการเมืองเปิด ทีให้คนเลือกตั้ง คนส่วนใหญ่ตัดสิน

หรืออำนาจ ที่ไม่ได้มาจากการเลือก แต่มาจากการสร้างระบบบังคับ "โปรแกรม" ให้จงรักภักดี

นี่คือ "ทวิอำนาจ" หรือ Dual Power ที่ผมเคยพูดถึงบ่อยๆว่า เป็น "สาเหตุ" พื้่นฐานที่สุด ของรัฐประหาร 19 กันยา และวิกฤต 5 ปีทีผ่านมา

ผมคิดว่า ถ้าพูดกันให้ถึงที่สุด ระหว่าง "2 ฟาก" ที่เถียงๆกันอยู่นี้ ในทีสุด จะมา "ลง" ที่เรื่องนี้แหละ

(ผมไม่นับเรื่อง "ทหาร" เพราะ ดังที่ผมพูดหลายครั้งแล้วว่า ผมว่า "ทหาร" ในปริบทประวัติศาสตร์ปัจจุบัน ไมใช่พลังการเมืองที่เป็นเอกเทศ ทีสามารถแสดงบทบาทนำทางการเมืองได้แท้จริง เอาง่ายๆนะ บรรดา คนที่ออกมาเชียร์ทหาร ด่ายิ่งลักษณ์ ตอนนี้ ถ้าถามว่า ให้ตั้งรัฐบาลทหารเต็มที่เลยไหม ผมว่า พวกเขาก็ไม่เอา และไม่นับว่า ทหารเอง ก็ไม่มีความสามารถในการตั้งรัฐบาลเองด้วย .... อย่าง 19 กันยา นี่ รัฐบาลทหาร ที่ไหน "รัฐบาลพระราชทาน" นายกฯ มาจากองคมนตรี ต่างหาก)

ทีผมพยายามคิดคือ ในการเมืองปัจจุบัน ทีมีลักษณะ "มวลชน" สูง ทั้ง 2 ฝ่าย คือ ไม่ใช่เรื่องทีระดับ "นำๆ" จะไป ตกลง หรือ ทำอะไรกันเองได้เฉยๆ แต่มีคนระดับธรรมดาๆ - เอาง่ายๆทีเห็นๆกัน คนเล่น fb เป็นแสนเป็นล้าน - เข้ามามีส่วนร่วมด้วยอยู่นี้

อย่างการเลือกตั้งครั้งหลัง ฝ่าย เพื่อไทย นี่ชนะ "ถล่มทลาย" จริง แต่ถ้าเราดูตัวเลข ที่ ปชป. ได้รับเลือกตั้ง ก็หมายถึงคนเป็นสิบล้านเช่นกัน

จริงๆ ถ้าในสถานการณ์อื่น การมีพรรค หรือ "ฟาก" การเมืองใหญ่ 2 ฟาก แล้วมีคนสนับสนุนกันเยอะๆ เป็นสิบๆล้าน ในแต่ละฟาก (นึกถึงอังกฤษ หรือ อเมริกา หรือ ประเทศ ตต.จำนวนมาก)

ก็คงไม่เป็นไร ใครชนะเลือกตั้ง ก็เป็นรัฐบาลไป คนอีกเป็น 10 ล้าน อีกฟากที่แพ้ ถึงไม่ชอบ ก็ไม่มีปัญหาอะไร

แต่ปัญหาคือ ในสถานการณ์ประเทศไทย อย่างที่ผมเสนอข้างต้นว่า ความขัดแย้งนี้ มีลักษณะที่เป็น "มูลฐาน" หรือ fundamental มากๆ .. ปัญหา จะยอมรับ อำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง เป็นอำนาจนำของประเทศ หรือจะยังคง ยืนยันให้อำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ที่รวมศูนย์ที่สถานะ/อำนาจ ของสถาบันฯ เป็นอำนาจทีนำประเทศ

ปัญหาลักษณะ fundamental หรือ "มูลฐาน" ระดับนี้ ถ้าเกิดเป็นความขัดแย้ง อย่างทีเราเห็นในปัจจุบัน

ลำพัง เลือกตั้งแล้ว ใครชนะ เป็นรัฐบาล จะไม่สามารถทำให้เกิดภาวะ "ปกติ" ได้

อย่างที่เห็นว่า แม้แต่ วิกฤติหายนะ ระดับน้ำท่วมใหญ่ขนาดนี้ ยังไม่ทำให้ปัญหาลดความรุนแรงแหลมคมลงไปแต่อย่างใด ....


ในที่สุดแล้ว เราจะ "อยู่ร่วมกัน" อย่างไรดี?


คือ ถ้าเราดูย้อนไปก่อน น้ำท่วม นิดหนึ่ง ช่วงดีเบต เรื่อง "ข้อเสนอนิติราษฎร์" ความจริง ก็มีลักษณะคล้ายๆกัน คือเหมือนพูดกันคนละภาษา คนละเรื่อง (คนละประเทศ) อะไรขนาดนั้นเลยจริงๆ

หลายวันนี้ ผมคิดถึงเรื่องนี้เยอะนะว่า ต้องยอมรับว่า ในภาวะสังคม "ปกติ" ไม่ว่าประเทศไหน ก็มีความแตกต่างทางการเมืองอยู่ อย่างที่ผมเขียนไปว่า ในประเทศตะวันตก เราเองก็เห็น การแบ่งเป็นเสียงสนับสนุนพรรคการเมือง หรือ ขั้วการเมืองใหญ่ๆ 2 พรรคหรือ 2 ขั้ว โดยทัวไป

แต่ว่า ในภาวะปกติ ไม่ว่าจะเชียร์พรรคไหน หรือขั้วไหน ท้ัง 2 ฟาก จะมี "จุดร่วม" ที่ยอมรับร่วมกันบางอย่างอยู่

ปัญหาประเทศไทยตอนนี้ และลักษณะที่ แหลมคม และ "ลึก" และเป็น "มูลฐาน" ของความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้คือ

มันไม่มี "จุดร่วม" ทียอมรับร่วมกันจริงๆ โดยเฉพาะ คือ "จุดร่วม" ที่มีลักษณะผมเรียกว่า fundamental หรือ "มูลฐาน"

คือ เรื่อง "อำนาจ" แบบไหน จะถือเป็นอำนาจในการนำประเทศ (อย่างใน ตะวันตก ในยามปกติ ไม่ว่า เชียร์พรรคไหน ทุกฝ่าย ก็ยอมรับ อำนาจทีมาจากกติกาเลือกตั้ง รัฐสภา และ ระบบศาล อันเดียวกัน)

คือตอนนี้ ในประเทศเรา ไมมีจุดที่ "ยอมรับร่วมกันได้" จริงๆ ในเรื่อง "มูลฐาน" เชิงอำนาจทีว่านี้

ไล่เรียงกันมาเลย ตั้งแต่ปัญหาสถานะสถาบันฯ ถึงศาล ถึง กองทัพ (และทีแสดงออกรวมศูนย์ คือ เรื่อง รัฐประหาร)

ผมว่า ในที่สุด ภาวะนี้ มันต้องหาทางออก หรือไม่งั้น ก็ต้องเสี่ยงลงเอยทีการปะทะ และความรุนแรงอีก

และที่แนๆ ลำพังการชูเรื่อง "ปรองดอง" นี่ มันคงไมใช่คำตอบจริงๆ
******
อันนี้ เป็น "สรุป" - ไมใช่คำตอบนะครับ


Bad News หรือ "ข่าวร้าย" หรือ "เรื่องน่าเศร้าคือ ในประวัติศาสตร์ ไม่ว่า ในประเทศไทยหรือประเทศไหนๆ เมื่อมีความขัดแย้งในลักษณะ "มูลฐาน" (fundamental) เช่นที่เรากำลังเห็นในประเทศไทยขณะนี้

มันต้องลงเอย หรือ "ยุติ" ลงด้วยการที่ ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง "พัง" ไป

อย่างครั้งสุดท้าย ในประเทศไทย ที่มีความขัดแย้ง "มูลฐาน" ทำนองนี้ ยืดเยื้อเป็น 10-20 ปี คือ ระหว่างรัฐ กับ ขบวนการปฏิวัติ ที่นำโดย พคท. และแนวร่วมต่างๆ

ในที่สุด ความขัดแย้งที่มีลักษณะ "มูลฐาน" นั้น ก็ยุติ ลงด้วยการที่ฝ่ายหลัง "พัง" ไป

ไม่เคยมีการ "ประนีประนอม" ที่ "ลงตัว" ในลักษณะ "แบ่งๆกันไป" ได้เลย เพราะความขัดแย้งมันมีลักษณะ "มูลฐาน" เกินกว่าจะ "แบ่งๆกันไป" ได้ - อันนี้ ไม่ได้แปลว่า ต้อง "รุนแรง" หรือ เปลี่ยนอย่างสันติ ไม่ได้นะครับ อย่างกรณี อัฟริกาได้ ในที่สุด ระบอบ Apartheid ก็ "พัง" ไป และ เปลี่ยนเป็น majority rule หรือ ระบอบปกครองโดยคนส่วนมาก ช่วง "เปลียน" ก็เรียกว่า "สันติ" แม้ว่า ก่อนหน้าน้น หลายสิบปี ก็เสียชีวิตผู้คนไปนับไม่ถ้วน


ความขัดแย้งในปัจจุบัน จะ "ยุติ" อย่างไร?


(ภาพประกอบชื่อภาพ facing a crossroad หรือ "เมื่อมาถึงทางแยก" เครดิตภาพ http://arnel113.wordpress.com/2009/12/05/at-the-crossroad-proverbs-14-12/ ได้มาจากการสุ่ม search Google)