ที่มา ข่าวสด
คอลัมน์ เหล็กใน
มันฯ มือเสือ
ความหวังในการป้องกันกรุงเทพฯ ให้รอดพ้นอภิมหาอุทกภัยหมื่นล้านลูกบาศก์เมตร
ยิ่งนานวันยิ่ง"ริบหรี่"เหมือนหิ่งห้อยใกล้ขาด ใจตาย
ถึงตอนนี้หลายคนได้ข้อสรุปว่าการ "ทำใจ" ยอมรับอย่างสงบเยือกเย็นคือต้นทุนเดียวที่ยังเหลืออยู่
แต่ อีกด้านหนึ่งเป็นธรรมชาติของคนกรุงอีกจำนวนไม่น้อย ที่มักจะรับมือกับปัญหาใหญ่ๆ แบบนี้ได้ไม่ค่อยดีนัก อาจเป็นเพราะกรุงเทพฯ ไม่ค่อยเกิดน้ำท่วมใหญ่บ่อยๆ
ครั้งสุดท้ายเมื่อพ.ศ.2538 นาน 15 ปีมาแล้ว ทำให้การเตรียมรับมือในปัจจุบันถลำเลยเส้นความตื่นตัว จนกลายเป็นความตื่นตระหนก
มีดัชนีหลายตัวชี้วัดความตื่นตระหนกของคนกรุง
เช่น การนำรถยนต์ส่วนตัวขึ้นไปจอดทิ้งไว้บนสะพานข้ามแยกต่างๆ รวมถึงทางด่วน หรือการเข้าไปกวาดซื้อของกินของใช้จนเกลี้ยงฉาดซูเปอร์มาร์เก็ตไม่ว่าจะใน ห้างเล็กห้างใหญ่
ตอนนี้จะหาซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดสักขวด ยากยิ่งกว่างมเข็มในบางบัวทองเสียอีก
แน่ นอน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะโรงงานน้ำดื่มตั้งอยู่ในเขตพื้นที่น้ำท่วมหนัก เช่น อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี เป็นต้น จึงจำเป็นต้องหยุดพักการผลิตไว้ชั่วคราว
แต่อีกเหตุผลหนึ่งที่ขาดแคลนเป็นเพราะคนแห่ซื้อกักตุน
ด้วย กฎกติกาง่ายๆ คือใครมาก่อนได้ก่อน ใครมาหลังก็อดไป รอแย่งชิงใหม่รอบหน้า จะซื้อมากซื้อน้อยแล้วแต่ทุนทรัพย์ และพละกำลังในการแบกกลับบ้าน
นอก จากน้ำดื่มขวดแล้วของบริโภคประเภทปลากระป๋อง อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมปัง ไข่ไก่ ข้าวสาร อาหารแห้ง ฯลฯ ก็เป็นเหมือนกัน
บางอย่างเริ่มขาดตลาด หาซื้อยาก บางอย่างหาซื้อไม่ได้มานานตั้งแต่น้ำท่วมนครสวรรค์ใหม่ๆ ก็ยังหาซื้อไม่ได้จนบัดนี้
แต่น่าเจ็บใจที่สุดคือสินค้าที่พอมีเหลืออยู่บ้างตามร้านชำในตรอกซอกซอย หรือตามแผงริมฟุตปาธ พ่อค้าแม่ค้าก็ยึดหลักแปรวิกฤตเป็นโอกาส
โก่งราคาเพิ่มหลายเท่าตัว
โดย เฉพาะอาวุธต่อสู้น้ำท่วม เสื้อชูชีพสีส้มๆ แพงขึ้น 1-2 เท่า จาก 300 เป็น 600 ถุงบรรจุทราย-ทรายบรรจุถุง ไม่ใช่แค่แพงแต่ยังหายาก อิฐบล็อกก้อนละ 7 บาท ตอนนี้ 30-35 บาท
ประมาณการกันว่าหลังน้ำท่วม คนขายตั้งตัวส่งลูกเรียนเมืองนอกได้เลย
นี่แหละ วิกฤตซ้ำวิกฤตของแท้