WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, November 28, 2011

'ประชาธิปไตยของขอทาน' (?)

ที่มา ประชาไท

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
(ที่มา: http://www.facebook.com/prfile.php?id=100002500442297&ref=tn_tnmn)

กรณีศาลตัดสินจำคุก “อากง” 20 ปี ในความผิด ม.112 เนื่องจากส่งข้อความหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์และพระราชินีผ่าน SMS ไปยังโทรศัพท์มือถือของเลขาฯ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำให้เกิดการตั้งคำถามอย่างกว้างขวาง เช่น

1) ทำไมการทำผิดด้วย “คำพูด” หรือ “ข้อความ” จึงต้องติดคุกถึง 20 ปี หากกฎหมายมีไว้เพื่อรักษา “ความยุติธรรม” เราจะอธิบายอย่างไรว่าการทำผิดกับการลงโทษในกรณีดังกล่าวมีความยุติธรรม อย่างไร ไม่ใช่เพียงอธิบายไม่ได้ว่ามันยุติธรรมอย่างไรแก่ผู้ถูกลงโทษเช่นอากงเป็น ต้นเท่านั้น มันยังอธิบายไม่ได้ในทางหลักการว่า การที่รัฐออกกฎหมายให้ลงโทษประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอย่างหนักเกิน ไปเช่นนี้มันยุติธรรมแก่ประชาชนทั้งประเทศอย่างไร และยังอธิบายไม่ได้ด้วยว่าทำไมสถาบันกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยจึงสมควรได้ รับการปกป้องให้ดำรง “สถานะอันศักดิ์สิทธิ์” บน “ความอยุติธรรม” ที่ประชาชนต้องแบกรับอย่างหนักหนาสาหัสเช่นนี้

2) ข้อความที่ศาลตัดสินว่าหมิ่นประมาททำให้พระมหากษัตริย์และพระราชินีอาจถูก เกลียดชัง และกระทบต่อความมั่นคงของราชอาณาจักรนั้น เป็นข้อความที่สาธารณชนไม่มีโอกาสได้รับรู้เลย เป็นแค่ข้อความที่ส่งไปทางโทรศัพท์มือถือส่วนตัวของบุคคลผู้หนึ่งเท่านั้น และไม่มีประจักษ์พยานว่าอากงเป็นผู้ส่งข้อความนั้นจริง ผู้พิพากษาอาศัยเพียงพยานแวดล้อมก็สรุป “เจตนาภายใน” เพื่อตัดสินจำคุกชายชราสุขภาพแย่ถึง 20 ปี จึงเกิดคำถามต่อการใช้ดุลพินิจของศาลไทยเป็นอย่างยิ่งว่า สังคมจะเชื่อมั่นได้อย่างไรว่าดุลพินิจของศาลยึด “ความยุติธรรม” แก่ประชาชนอย่างสูงสุดเป็นหลัก

นั่นคือปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นฯ กับระบบตุลาการที่คนจำนวนไม่น้อยรู้สึกอายต่อชาวโลก สื่อและนักวิชาการต่างชาติเขามองอย่างตระหนกและงวยงงว่า ในยุคที่โลกเน้นความสำคัญของ “สิทธิมนุษยชน” มากขนาดนี้ ประเทศที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตยอย่างไทยยังมีกฎหมายแบบนี้ มีดุลพินิจของศาลออกมาแบบนี้ได้อย่างไร

นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของคำถาม แต่ยังมีคำถามที่สำคัญไม่น้อยกว่ากันคือ คำถามต่อบทบาทของ “ผู้นำ นปช.” ดังที่สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ตั้งคำถามข้างต้น

หากยังจำกันได้หลังเกิดการสลายการชุมนุมวันที่ 10 เมษายน 2553 สมศักดิ์ออกมาเตือนสติแกนนำ นปช.ในเวลานั้นตรงๆ ว่า “อย่าว่าแต่ 25 ศพ เลย แม้แต่ประชาชนเสียชีวิตเพียง 1 คน ก็ไม่คุ้มหากเป้าหมายการต่อสู้เพียงเพื่อให้ได้การเลือกตั้ง” แต่ ณ เวลานั้นแกนำตั้งธงแน่วแน่ว่าจะต้องสู้เอาชนะให้ได้ วาทกรรม “โค่นอำมาตย์” ถูกตอกย้ำอย่างหนักแน่นจริงจังจนฝังอยู่ในจิตสำนึกของผู้คน

แต่ผลที่สุดคือคนตายร่วมร้อยและไม่ได้การเลือกตั้งในทันที ที่พูดเรื่องนี้ขึ้นมาไม่ใช่ผมต้องการ “ฟื้นฝอยหาตะเข็บ” เพียงแต่ต้องการย้ำให้เห็นภาพความเอาจริงเอาจัง ความต้องการเอาชนะให้ได้ของ “แกนนำ” ในเวลานั้น ทั้งที่เป็นฝ่ายเสียเปรียบขนาดนั้น ยังทุ่มเทยอมเสี่ยงขนาดนั้น แต่เวลานี้ชนะเลือกตั้งแล้ว มีอำนาจรัฐอยู่ในมือแล้ว ความเอาจริงเอาจัง ทุ่มเท กล้าเสี่ยงเพื่อให้ได้มาซึ่ง “ประชาธิปไตย” ตามที่เคยประกาศเป็นสัญญาประชาคมหายไปไหน?!

ผมเข้าใจความซับซ้อนของปัญหาและความจำเป็นต้องรอบคอบของรัฐบาลเพื่อไทย ทักษิณ และแกนนำ นปช. ครับ แต่ว่าในเมื่อพวกคุณเป็นผู้นำมวลชน ประกาศแก่ประชาชนว่าต่อสู้เพื่อ “ประชาธิปไตย” พวกคุณจะยอมให้การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยตกอยู่ในสภาพ “ประชาธิปไตยของขอทาน” ตลอดไปได้อย่างไร (1) ขอทานการเลือกตั้งที่ต้องแลกด้วยชีวิตประชาชนร่วมร้อยศพ (2) ขอทานให้อีกฝ่ายลืมอดีต ขอทานความปรองดอง ขอทานความยุติธรรม ในขณะที่เพื่อนร่วมชะตากรรมยังติดคุก ไม่ได้ประกันตัว และถูกตัดสินจำคุก 20 ปี บ้าง 30 ปี บ้าง ด้วยข้อหาผิด ม.112 และข้อหาก่อการร้าย และ (3) ถึงชนะเลือกตั้งแล้วก็ยังเป็นรัฐบาลที่ถูกอีกฝ่ายข่ม และขากถุยอยู่ทุกวัน ทั้งที่พยายามอดทนพินอบพิเทาอย่างยิ่ง

แต่เราจะอยู่ในสภาพของขอทาน พินอบพิเทา อดทน ไปเรื่อยๆ (ไม่รู้จะไปได้ยืดแค่ไหน?) ทั้งๆ ที่เพื่อนร่วมชะตากรรมไม่ได้รับความยุติธรรม และถูกกระทำอย่างอยุติธรรมคนแล้วคนเล่าเช่นนั้นหรือ?

ขณะที่ยังไม่ได้อำนาจรัฐยังกล้าเสี่ยงแม้ต้องแลกด้วยชีวิต ประชาชน แต่เมื่อมีอำนาจรัฐแล้วทำไมไม่กล้าเสี่ยงแม้แต่จะรับข้อเสนอของกลุ่มนิติ ราษฎร์ไปดำเนินการต่อ แม้แต่จะรับข้อเรียกร้องการแก้ ม.112 ไปดำเนินการต่อ มีอะไรบ้างครับที่ไม่ต้องเสี่ยง ขอทานความยุติธรรม ขอทานความปรองดองอย่างพินอบพิเทาอย่างที่ทำๆ อยู่มันไม่เสี่ยงจริงหรือ?

ถ้าไม่ทำอะไรเรื่อง ม.112 แต่อีกฝ่ายทำอยู่เรื่อยๆ จนมาถึงกรณีอากง แล้วไงครับผู้นำประชาชนต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เห็นประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยถูกตัดสินติดคุก 20 ปี เพราะความผิดจากการใช้ “ข้อความหมิ่นฯ” ซึ่งไม่ทำให้ใครต้องมีแม้แต่ “บาดแผลบนผิวหนัง” กฎหมายอย่างนี้ยุติธรรมไหม เป็นประชาธิปไตยไหมครับ การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยหากไม่แก้กฎหมาย แก้ระบบให้เป็นประชาธิปไตย มันก็เป็นการต่อสู้ที่ไม่มีผลเป็นรูปธรรม การชุมนุมกลางถนนเพื่อขอทานประชาธิปไตยกับพวกที่มีปืน มีรถถัง มีกำลังทหารในอยู่มือก็ไม่มีวันสิ้นสุด

มันคงเป็นเรื่อง “ตลกร้าย” อย่างยิ่ง ถ้าการต่อสู้ของประชาชนในประเทศนี้ที่มีสัญญาประชาคมตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2475 แล้วว่าพวกเขาคือเจ้าของอำนาจอธิปไตย เป็นเจ้าของแผ่นดิน หรือประชาชนทุกคนมีสิทธิเป็นเจ้าของแผ่นดินนี้อย่างเท่าเทียม แต่ในความเป็นจริงพวกเขาถูกทำให้เชื่อว่าพวกตนเป็นเสมือน “ผู้อาศัย” ในแผ่นดินที่มีเจ้าของ และการเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ ประชาธิปไตยของพวกเขาก็อยู่ในสภาพเสมือนดัง “ขอทาน” (ขอทานยังไม่ต้องแลกด้วยชีวิต แต่นี่แลกมาหลายครั้งแล้ว)

อยากถามทักษิณ รัฐบาลเพื่อไทย ผู้นำ นปช.ว่า ในฐานะที่พวกคุณได้อำนาจรัฐมาด้วยการเสียสละชีวิตของประชาชน พวกคุณยังจะขอทานความปรองดอง ความยุติธรรม อย่างพินอบพิเทา เช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ หรือ ขณะที่เพื่อนร่วมชะตากรรมของพวกคุณถูกกระทำอย่างอยุติธรรม พวกคุณมีคำตอบหรือไม่ว่าจะช่วยพวกเขาให้ได้รับความยุติธรรมอย่างไร อำนาจรัฐที่ได้มาจะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบเพื่อให้สังคมเป็น ประชาธิปไตยตามที่สัญญาไว้แก่มวลชนอย่างไร

ผมเข้าใจว่าพวกคุณยังมีความ “กล้าหาญที่จะเสี่ยง” เพราะพวกคุณไม่มีวันหลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้อยู่แล้ว พวกคุณต้องเสี่ยงตลอดเวลา แต่ทำไมเมื่อความอยุติธรรมไล่ล่าประชาชนขนาดนี้ พวกคุณจึงไม่กล้าเสี่ยงเพื่อประชาชน ทำไมไม่ทำให้การเสี่ยงเพื่อประชาชน เพื่อประชาธิปไตย กับเสี่ยงเพื่อทักษิณไปด้วยกันได้อย่างมีเหตุมีผลที่อธิบายต่อมโนธรรมทาง สังคมได้!