WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, December 1, 2011

ยุติธรรม เมตตาธรรม ตุลาการ

ที่มา ประชาไท

จะกล่าวย้อนไปถึงหลักที่เหล่าบรรพตุลาการยึดถือมาแต่ครั้งโบราณคือ หลักอินทภาษเป็นหลักในการดำรงตนและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาผู้พิพากษาตุลาการว่า ผู้พิพากษาตุลาการต้องพิจารณาตัดสินอรรถคดีด้วยความเที่ยงธรรม ปราศจากความลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใด อันเกิดจากอคติ 4 ประการ ได้แก่ ฉันทาคติ คือ ลำเอียงเพราะรักชอบเห็นแก่อามิสสินบน โทษาคติ คือ ลำเอียงเพราะโกรธ ภยาคติ คือ ลำเอียงเพราะกลัว และโมหาคติ คือลำเอียงเพราะหลง

และเปรียบเทียบว่า ผู้พิพากษาตุลาการที่ตัดสินคดีความโดยลำเอียงขาดความเที่ยงธรรม เป็นผู้มีบาปกรรมอันหนักยิ่งกว่าบาปอันเกิดจากการฆ่าประชาชนผู้หาความผิดมิได้และผู้ทรงศีลจำนวนมากเสียอีก แม้จะทำบุญมากมายจนมิอาจประมาณได้ ก็ยังไม่อาจลบล้างบาปกรรมนี้ได้

นอกจากนี้ผู้พิพากษาตุลาการต้องเป็นผู้รอบรู้และเชี่ยวชาญในขั้นตอนของวิธีพิจารณาความในศาลตั้งแต่รับและตรวจคำฟ้อง คำให้การ ให้รู้กระจ่างว่าส่วนใดเป็นข้อสำคัญ ส่วนใดเป็นข้อปลีกย่อย การกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่เรียกว่า ชี้สองสถาน พิเคราะห์คำพยานต่างๆ เพื่อค้นหาความจริงให้ได้ เสมือนนายพรานล่าเนื้อตาม แกะรอยสัตว์ที่ล่าจนได้ตัว การตัดสินคดีต้องถูกต้องแม่นยำ ประดุจเหยี่ยวโฉบจับปลาตัวที่มุ่งหมายไว้ ต้องยึดถือพระธรรมศาสตร์และหลักกฎหมายทั้งปวงเป็นหลักและตัดสินความด้วยกิริยาอันองอาจประดุจพญาราชสีห์

หลักอินทภาษจึงแฝงไว้ทั้งหลักธรรมแห่งผู้พิพากษาตุลาการพึงยึดถือปฏิบัติ และคติความเชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษอันเกิดแก่ ผู้ที่ปฏิบัติและไม่ปฏิบัติตามหลักอินทภาษนี้

หลักดังกล่าวภายใต้หลักคิดแบบฮินดูพุทธของไทยที่เชื่อมาแต่โบราณว่า พระอินทร์เสด็จลงมาสั่งสอนเหล่าตุลาการให้ยึดมั่นในหลักดังกล่าว การตัดสินคดีต่างๆ นั้นผู้ตัดสินคดีต้องมีความมั่นคงแม่นยำในหลักกฏหมายแล้วนั้น การใช้ดุลยพินิจในการตัดสินข้อเท็จจริงและปรับบทข้อเท็จจริงกับข้อกฏหมาย ต้องเป็นไปด้วยหลักเมตตาธรรม

การปฎิบัติหน้าที่ของตุลาการนั้นภายใต้หลักแห่งระบอบแห่งประชาธิปไตย นอกจากการตัดสินภายใต้พระปรมาภิไธย องค์พระมหากษัตริย์แล้ว ยังคงต้องมีหลักที่ยึดโยงกับประชาชนด้วย เมื่ออำนาจตุลาการเป็นหนึ่งในสามอำนาจอธิปไตย แต่ยังคงเป็นเพียงอำนาจเดียวที่ไม่ได้มีที่มายึดโยงจากประชาชนและการตรวจสอบที่มาจากประชาชนเท่าใดนัก การปฎิบัติหน้าที่ที่มีอำนาจเหลือล้นตัดสินชีวิตประชาชนต้องมีความระมัดระวังทุกขณะจิตในการไม่ส่งผู้ไม่ผิดเข้าไปสู่การลงโทษที่ทำให้ไร้เสรีภาพอันเป็นการละเมิดสิทธิของมนุษย์ ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ได้มีบทคุ้มครองในส่วนนี้ไว้ ป.วิ.อ. มาตรา 227

บทบัญญัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 มีความหมายว่า ในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวง ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานใดมีน้ำหนักน่าเชื่อถือเพียงใดหรือไม่ พยานหลักฐานใดขัดต่อเหตุผลไม่น่ารับฟัง และในกรณีที่ศาลจะพิพากษาลงโทษบุคคลใด พยานหลักฐานในคดีนั้นต้องมั่นคงแน่นหนา และมีน้ำหนักรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าบุคคลนั้นได้กระทำความผิดจริงตามฟ้อง หากพยานหลักฐานในสำนวนมีข้อพิรุธน่าระแวงสงสัย ไม่มั่นคงพอที่จะรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ก็ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย โดยพิพากษายกฟ้องโจทก์

แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าหากพยานหลักฐานของโจทก์มีข้อแตกต่างขัดแย้งกันเอง หรือมีข้อน่าสงสัยบางประการแล้ว ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้องของโจทก์เสียทุกกรณีไป ข้อพิรุธน่าระแวงสงสัยอันจะเป็นเหตุให้ยกฟ้องโจทก์นั้นต้องเป็นข้อบกพร่องของพยานหลักฐานโจทก์ที่ทำให้น้ำหนักคำพยานเลื่อนลอยไม่มั่นคงพอ ที่จะรับฟังเป็นความจริงได้โดยสนิทใจ ส่วนข้อแตกต่างขัดแย้งกันในกรณีอื่นที่ไม่มีผลต่อการรับฟังข้อเท็จจริงตาม คำพยานหาเป็นข้อพิรุธอันจะเป็นเหตุให้ยกฟ้องโจทก์ไม่ ข้อแตกต่างผิดเพี้ยนกันในรายละเอียดปลีกย่อยอันเป็น พลความหรือข้อพิรุธที่ไม่เกี่ยวกับการรับฟังข้อเท็จจริงที่มุ่งจะพิสูจน์ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ย่อมไม่เป็นเหตุทำลายน้ำหนักพยานหลักฐานของโจทก์

เหมือนหลักที่นักศึกษาวิชากฎหมายได้ถูกสั่งสอนจากอาจารย์ผู้ประสิทธิประสาทวิชาทุกเช้าค่ำว่า ปล่อยคนผิด 10 คนดีกว่าเอาคนบริสุทธิ์ 1 คนเข้าคุก

อีกประเด็นที่ที่ควรคำนึงถึงหลักเมตตาธรรมและการุณยธรรม ที่เหล่าตุลาการทั้งหลายเพิ่งมีจึงขอยกการตัดสินคดีดังนี้

ในคราวที่ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จพระราชดำเนินจังหวัดฉะเชิงเทรา ภายหลังที่ได้ทรงเยี่ยมเยียน พสกนิกรด้วยเวลาอันควรแล้ว พระองค์ก็เสด็จมายังศาลประจำจังหวัดเพื่อทรงร่วมพิจารณาคดี อันเป็นเรื่องราวที่พระองค์สนพระราชหฤทัยและทรงศึกษาอยู่

ในคราวนั้นผู้พิพากษากำลังพิพากษาคดีลักทรัพย์ ซึ่งมีหญิงแม่ลูกอ่อนเป็นจำเลย

ประชาชนได้พากันมาฟังความจนล้นหลามห้องพิจารณาด้วยเป็นกรณีพิเศษ ที่ประชาชนได้เข้าชมพระบารมีด้วย

ตามคำฟ้องของอัยการปรากฎว่า จำเลยได้ขโมยห่วงกุญแจนาคของโจทก์ โดยมีผู้เห็นและจับของกลางได้ หญิงผู้เป็นจำเลยได้ให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา และอ้างว่าตัวเองยากจนไม่มีทางหาเงินมาเลี้ยงดูบุตรได้

ศาลจึงพิพากษาจำคุกจำเลย 6 เดือน

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ทรงใช้พระบรมราชวินิจฉัยตามสำนวนฟ้องแล้ว จึงมีพระราชดำรัสว่า การต้องโทษจำคุกจำเลย 6 เดือนนั้น ให้เปลี่ยนเป็นการรอลงอาญาไว้ เพราะจำเลยยังไม่เคยต้องโทษและไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน

ในการที่ทรงพิพากษาตัดสินครั้งนั้น ยังความปลาบปลื้มและชื่นชมแก่ปวงพสกนิกรและประชาชนที่มาฟังความกันเป็นอย่างมาก

นางผู้เป็นจำเลย ได้คลานเข้าไปกราบที่บัลลังก์พร้อมกับตอบอย่างผู้สำนึกผิดด้วยรู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นล้นพ้น แต่เมื่อได้กระทำผิดไปแล้ว ก็ใคร่จะรับโทษตามกฎหมาย

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ได้พระราชทานเงินส่วนพระองค์ให้แก่หญิงแม่ลูกอ่อนผู้เป็นจำเลย เป็นบำเหน็จความสัตย์ซื่อที่มีแก่อาญาแผ่นดิน ใคร่จะรับโทษตามความผิดของตนที่กระทำไปเพื่อลูก

พระราชกิจครั้งนั้นยังความปลาบปลื้มแก่ผู้ได้รู้ข่าวคราวเป็นยิ่งนัก

(ข้อมูลจากหนังสือ อานันทมหิดล ยุวกษัตริย์พระองค์แรกในระบอบประชาธิปไตย ราชทิตย์ ภพสยบ )

ผู้เขียนเองนั้นไม่ได้มีญาณบารมีทางกฎหมายมากเท่าเหล่านักวิชาการกฎหมายและเหล่านักกฎหมายใหญ่ในประเทศนี้ เพียงแต่ผู้เขียนเพิ่งจบมาไม่นานจากการเรียนในคณะนิติศาสตร์ เลยยังไม่ลืมเรื่องราวที่เหล่าอาจารย์พร่ำสอน

แต่นานๆไปคำสอนเหล่านี้อาจพร่าเลือนไปก็ได้ คงต้องอัญเชิญพระอินทร์ลงมาสั่งสอนอีกครั้งกระมัง