ที่มา Thai E-News
No More "อากง"-จากเฟซบุ๊คของ Jesiga NoMo
แรง!แต่ไร้ผล-คำ ผกา(ภาพล่าง)กับสาวนิรนาม(ภาพบน)เปลือยอกเขียนข้อความให้ปลดปล่อยอากง ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มองแรงกระตุกสังคมให้หันมาตระหนัก แต่มันเพียงพอที่จะมีผลให้ปลดปล่อยอากงกับนักโทษการเมืองแน่หรือ?เอาด้วย-ภาพจากเฟซบุ๊คโหดสัส
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
3 ธันวาคม 2554
ดร.สม ศักดิ์เขียนในเฟซบุ๊คของเขาว่า ผมเห็นด้วยในแง่ที่ว่า การรณรงค์ทาง facebook การชุมนุม "เชิงสัญลักษณ์" (ที่เรียกกันว่า "จัดอีเว้นต์" อะไรแบบนั้น) เขียนชื่ออากง ฯลฯมีข้อจำกัด
คืออาจจะ "ฮือฮา" กันอยู่สักระยะ (อาจจะเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน)
แต่ถ้าลำพังการเคลื่อนไหวแบบนี้ โดยตัวเอง ยากจะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลง ที่เป็นจริงได้
ผมเน้นคำว่า "ลำพัง..." เพราะผมมองว่า จะว่าการเคลื่อนไหวในลักษณะนี้ "ไม่ได้ประโยชน์อะไร" ล้วนๆ ผมว่า ไม่ใช่นะ มันมีประโยชน์อยู่จริง ในแง่ของการทำให้คนที่ไม่มาสนใจ มาสนใจ หรือทำให้เป็นการแสดงความเห็น ความรู้สึกของคนจำนวนมาก ให้สื่อ ให้บรรดาคนในระดับการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ผลักดัน (เช่น พวก นปช อย่างนี้แหละ) อะไรแบบนี้ มองเห็น ...
ครับใช่ แต่ถ้าลำพังแค่นี้ เท่านั้น โอกาสที่มัน จะ frizzle out (แตกกระสานกันไป) หลังจากระยะหนึ่ง โดยไม่เกิดอะไรขึนตามมา (ยกเว้นทีบรรยายในย่อหน้าที่แล้่ว ที่อาจจะเรียกว่าทำให้ เกิด awareness ในระดับหนึ่ง)
อย่างกรณี อากง ผมจึงเสนอว่า ต้อง "พ่วง" หรือพูดให้ถูก คือ เสนอ มาตราการอะไรที่จะมีผลในเชิง realistic ด้วย
ซึง สำหรับโทษทีตัดสินแล้ว อย่าง อากง หรือ เผาจวน นั้น มีทางทำให้หลุดได้เพียง 2 ทางเท่าน้น ในทางกฎหมาย คือ อภัยโทษ (ซึ่ง ต้อง "ยอมรับสารภาพ" และขออภัยโทษ และต้องมีประวัติ มีความผิดตัดตัว ซึง โดยรวมแล้ว ไม่ดี) กับ นิรโทษกรรม
ผมจึงเสนอว่า บรรดาท่านผุ้ร่วมรณรงค์ครั้งนี้ ควรต้อง ช่วยกันผลักดันเสนอ รบ. สส. ให้ออก นิรโทษกรรม กรณีอากง กรณีเผาจวน และอื่นๆ
ผมว่านะ เรื่องนี้ ถ้าจะทำจริงๆ ใช้เวลาไม่นานหรอก ร่างกฎหมาย เสนอสภา ผ่านสภา ทำได้ ภายในไม่กี่สัปดาห์
อยากย้ำประเด็นเรื่อง เอาระดับล่างออกให้หมด คือ ในเมื่อเสื้อแดงเอง ก็ยังต้องการดำเนินคดีอภิสิทธิ์ สุเทพ และอาจจะผู้นำทหารด้วย ฝ่ายพันธมิตร เองก็ต้องยืนยัน ดำเนินคดีแกนนำเสื้อแดงด้วย ยิ่งกรณีคุณทักษิณ ยิ่งแล้วใหญ่ ถ้าคิดจะออกกฎหมายนิรโทษกรรม คงต้อง สู้กันหลายยก ดังนั้น จะรอให้ชะตาของคนระดับล่างๆ ไปผูกอยู่กับคนระดับนำ ทั้งสองฝ่ายแบบนี้ โอกาสจะไปถึงไหน จะยาก และแต่ละวัน คนระดับล่างเหล่านี้ ก็ลำบาก (ระดับ ส่วนใหญ่ ทั้งสองฝ่าย ไม่ได้อยู่ในคุกอยู่แล้ว)
ไม่รู่้นะ ผมมองไม่เห็นทางอื่นที่ realistic (เป็นจริงได้) มากกว่านี้ ไม่วา กรณีอากง หรือกรณี สมยศ สุรชัย หรือ พวกเผาจวน ฯลฯ
ผมนึกวิธีที่ realistic กว่านี้ไม่ออก - ยินดีรับฟังความเห็น หรือข้อเสนอ ว่า ท่านอื่นมีข้อเสนออะไรไหม แต่จุดสำคัญที่อยากย้ำ คือ เรื่อง realistic ที่ จะทำให้ปล่อย อากง และคนอื่นๆ ออกมาได้จริงๆ
ทั้งนี้มีทนายความจำเลยคดี112อยู่2รายที่แสดงความเห็นด้วยกับดร.สมศักดิ์คือทนายอานนท์ นำภา และทนายประเวศ ประภานุกูล
โดยทนายอานนท์ ทนายความของอากงแสดงความเห็นว่า หากการใช้อำนาจนิติบัญญัติในการออกกฎหมายนิรโทษกรรมครั้งนี้จะพอคลีคลาย สถานการณ์บ้าง ก็น่าจะชอบธรรมในฐานแห่งการถ่วงดุลอำนาจของฝ่ายตุลาการ เพราะเราเล็งเห็นถึงความไม่เสถียรของระบบแล้ว เราควรใช้อำนาจที่มีฐานมาจากปวงชนชาวไทย ในการจัดการกับอำนาจที่มีฐานจากระบอบราชการแบบเก่า ๆ ผมเห็นดังนี้จริงๆ
ทนายประเวศ ทนายความของดา ตอร์ปิโด แสดงความเห็นว่า เห็นด้วยกับ อ.สมศักดิ์ นะครับว่า ควรต้องมีการรณรงค์ แบบ เอาจริงเอาจัง กันเสียที กับข้อเสนอของอาจารย์ต่อการเรียกร้องให้ออกกฎหมายนิรโทษกรรม นักโทษการเมือง(ที่ไม่ใช่แกนนำของทั้ง 2 ฝ่าย) ผมไม่มีอะไรคัดค้านครับ
อย่างไรก็ตามมีผู้แสดงความเห็นว่า การเรียกร้องให้มีพรบ.นิรโทษกรรมอาจกลายเป็นประเด็นการเมือง และจะไม่มีผลปฏิบัติจริง ควรเคลื่อนไหวเรียกร้องตามข้อเสนอของคอป.ที่เสนอต่อรัฐบาล จนมีการแต่งตั้ง ปคอป.มาดำเนิืนการตาม และมีมติครม.ออกมาแล้วเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ต่อมาได้มีการทำหนังสือขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานที่เกี่นยวข้องคือปลัด กระทรวงยุติธรรม อัยการสูงสุด ผบ.ตร. อธิบดีดีเอสไอ กล่าวโดยสรุปคือเห็นว่าคดีที่เกิดขึ้นหลังรัฐปนระหาร 19 กันยายน เป็นคดีการเมืองทั้งหมด รวมทั้งคดี112 ศาลต้องตัดสินคดีด้วยบริบทนี้ไม่ใช่มองเป็นอาชญากรรมปกติ อัยการอย่าเพิ่งสั่งฟ้อง ให้ชลอคดีออกไปก่อน(คือเว้นวรรคไว้ก่อน)จนกว่าจะหาสูตรความยุติธรรมในระยะ เปลี่ยนยผ่านได้ ส่วนกรณีศาลได้ตัดตัดสินคดีในชั้นต้นไปแล้ว ก็ควรต้องไปต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์ โดยขอให้ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาตัดสินโดยอิงตามข้อเสนอของคอป.นี้ คือให้เว้นวรรคชลอคดี ปล่อยตัวออกมาก่อน
"นี่เป็นมติคอป. ปคอป. มติครม. และหนังสือถึงหน่วยงานต่างๆ http://issuu.com/thai_e-news/docs/trc_comments?mode=window&backgroundColor=%23222222 ดังนั้นก็ควรติดตามเร่งรัดรัฐบาล และหน่วนยงานที่เกี่ยวข้องคือ ปคอป. กระทรวงยุติธรรม ศาล อัยการ ดีเอสไอ ให้ทำตามก็พอแล้ว ทำไมจะไปเริ่มต้นใหม่ขอให้ออกพรบ.นิรโทษกรรมแบบเว้นวรรคไม่ให้นิรโทษกรรม แม้ว หรือแกนนำ มันจะกลายเป็นประเด็นปัญหาใหม่ทางการเมืองมากกว่ามังครับ"
ดร.สมศักดิ์ได้โต้แย้งว่าข้อเสนอ คอป ตามเอกสารที่ ครม.นำมาสรุปนี้ ไม่สามารถใช้ในการครอบคลุมประเด็นทีผมเสนอเลย
- จะสังเกตว่า ข้อแรกสุดเรื่อง ให้ทบทวนว่า มีการตั้งข้อหาเกินจริงหรือไม่ ผมว่า อันนี้ ไม่ได้รวมถึงคดีทีขึ้นศาล ดำเนินไปจนจบ (ตัดสินแล้ว) เลยครับ เพราะรวมไม่ได้ เพราะพอถึงจุดนั้นแล้ว ไมได้อยู่ในอำนาจของฝ่ายบริหาร หรือแม้แต่ อัยการแล้ว (คือ ถ้ายังดำเนินอยู่ อาจจะบอกว่า ให้อัยการถอนฟ้อง หรือยุติการดำเนินคดีได้) ดังน้ัน คดีอย่าง อากง หรือ คดี เผาจวน และคดีอื่นๆที่ตัดสินไปแล้ว ตามข้อเสนอนี้ ไม่ครอบคลุมแล้วครับ (เช่น ต่อให้กรรมการของรัฐบาล สรุปว่า คดีเผาจวน เป็นการต้งข้อหาเกินไป จะให้ทำยังไงครับ ถ้ารบ. คิดจะแก้? ก็ต้องออกเป็น พรบ.นิรโทษกรรมอยู่ดี)
- การพูดถึง 112 ของเอกสารรัฐบาลนี้ อันที่จริง เป็นการพูดแบบรวมๆครับ ในข้อเสนอขอ คอป (ซึงไม่ได้อยู่ในเอกสารตาม link นี้ มีการพูดถึง 112 จริง แต่ก็พูดไว้น้อยมาก จริงว่า คดีอย่างสมยศ หรือ สุรชัย อาจจะสามารถทำเป็นข้อสรุป ตามนี้ว่า "ตั้งมากเกินจริง" และอาจจะหาทางทำให้ อัยการ ถอนฟ้อง หรือยุติคดีได้ แต่คดี ดา หนุ่ม และครับ คดี อากง ก็ไม่รวมอยู่นั่นเอง ตามที่กล่าวมาในย่อหน้าที่แล้ว
ดังนั้น ไม่มีทางอื่นครับ ทีจะทำให้คนที่ถูกตัดสินไปแล้ว อย่าง อากง เผาจวน ฯลฯ สามารถหลุดออกมาได้
ความจริง เรืองนี้เป็น "เบสิค" อยู่แล้วครับ มันก็เหมือนกรณีคดีทักษิณนั่นแหละ ที่วิธี "หลุด" มี 2 วิธี เท่านั้น คือ อภัยโทษ หรือ นิรโทษกรรม ซึงแน่นอนวิธีแรกอยู่ในอำนาจ ครม.ระดับหนึง เช่นออกเป็น พรฎ (อย่างที่เพิ่งคิดจะทำ) แต่ก็มีข้อเสียตรงทีต้องยอมรับว่า มีโทษติดตัวอยู่ และ พรฎ น้ันเป็นกรณีพิเศษด้วย ถ้าเป็นอภัยโทษปกติ ก็ต้อง "สารภาพ" ซึง อากง หรือ คุณหนุ่ม หรือ ดา จนถึงตอนนี้ ไม่ได้คิดจะรับ
หรืออีกทางคือ นิรโทษกรรม ซึ่งดีกว่าแน่ๆ เพราะคดีหลุดเลย ถือว่าเสมือนไม่มีคดี
สรุปแล้ว ถ้าต้องการช่วยคนเหล่านี้จริงๆ โดยเฉพาะกรณีอากง ไม่มีทางอื่นครับ อย่งน้อย ไม่มีทางอื่นที่ผมคิดอออก
ตามระบบกฎหมาย มี 2 ทางเท่านั้นจริงๆ สำหรับคดีที่ตัดสินแล้ว คือ อภัยโทษ (จากการสารภาพ) หรือ นิรโทษกรรม ครับ
ส่วนที่เสนอให้พูดถึงคดีที่ตัดสินศาลชันต้นไปแล้ว ให้ใช้ข้อเสนอ คอป ไปอ้างต่อศาลอุทธรณ์ ให้ "ชะลอคดี" นั้น ก็ยังไมใช่การปล่อยครับ ถ้า ไม่มีการประกันในระหว่างอุทธรณ์ จะยิ่งแย่ แต่ต่อให้มีการประกัน คดีก็ยังอยู่ครับ ซึง ดังที่ผมบอกว่า คดียังติดตัวอยู่ สำหรับคนธรรมดาๆ มันไมใช่เรื่องสบาย ... สรุปอีกทีว่า คดีทีตัดสินแล้ว อย่างอากง หรือ เผาจวน มี 2 ทาง คือ ไม่ "อภัยโทษ" ก็ "นิรโทษกรรม" ซึงถ้าไม่เอาอภัยโทษ (ต้องสารภาพ ต้องมีประวัติติด) ก็ต้อง นิรโทษ อย่างเดียวเท่านั้นครับ
เนวินก็เคยเสนอให้นิรโทษกรรมมวลชนยกเว้นแกนนำแต่ไม่สำเร็จ ขนาดไม่รวม112และกรณีผิดชัดเผาห้าง-ศาลากลาง
อย่างไรก็ตามข้อเสนอให้นิรโทษกรรมให้แก่แนวร่วมหรือมวลชน โดยไม่รวมแกนนำหรือตัวการสำคัญนั้น นายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทยเคยเคลื่อนไหวเมื่อปีที่แล้ว แต่เผชิญแรงต้าน จนเขากล่าวในเวทีสัมมนาหนหนึ่ง ว่า่
การ นิรโทษกรรมเป็นการแก้ปัญหาแบบไทยสไตล์ คือ อโหสิแก่กัน วันนี้มีคนตกเป็นผู้ต้องหามากมาย ต่างฝ่ายก็ไม่ลดราวาศอก หากไม่เอาฟืนออกจากไฟ เอาคนบริสุทธิ์ออกมาก่อน ปัญหาก็จะลุกลาม แต่พอมีแนวคิดนี้ก็มีเสียงคัดค้านผมก็ประหลาดใจว่าในขณะที่มีความพยายาม นิรโทษกรรมให้คนที่เคลื่อนไหวโดยบริสุทธิ์ใจกลับถูกคัดค้าน แต่การเรียกร้องให้อภัยโทษคนคนเดียวกับมีความสนับสนุน
ดูข้อเสนอของเนวินในรายงานข่าว "เนวิน"เดินหน้าล่ารายชื่อ "นิรโทษกรรม"ผู้บริสุทธิ์ ย้ำให้รู้จัก "อโหสิกรรม"
ขอ เน้นย้ำว่า เฉพาะผู้ชุมนุมทางการเมืองโดยบริสุทธิ์ ไม่ได้สร้างปัญหาความรุนแรง หรือก่อการร้าย หรือเป็นแกนนำของการชุมนุม และ/หรือคนที่โดนตัดสิทธิ์ทางการเมืองจากการถูกยุบพรรค
เนวิน กล่าวย้ำว่า การเดินหน้านิรโทษกรรมให้แก่ผู้บริสุทธิ์ เป็นเรื่องที่ต้องทำ เพราะเรายอมรับหรือไม่ว่าคนที่ไปยืนหน้าศาลากลางที่ถูกเผา ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ก็ตกเป็นผู้ต้องหา วันนี้เรายอมรับหรือไม่ มีหลายคนไม่ได้เป็นผู้ก่อการ แต่มาด้วยจิตวิญญาณบริสุทธิ์ เขา ก็ตกเป็นผู้ต้องหา ทำไมเราไม่กันคนเหล่านั้นออกมาจากความแตกแยก ส่วนใครที่เป็นแกนนำ ใครเป็นผู้ก่อการ ผู้ต้องหาคดีอาญา ก็ดำเนินคดีไป คนที่มีหลักฐานมีคดีชัดเจนก็ดำเนินคดีอาญาไป แต่คนที่ไม่มีหลักฐาน แต่กลับต้องติดบ่วงก็นิรโทษกรรมให้เขาไป
เนวินย้ำชัดว่า การนิรโทษกรรมครั้งนี้ ไม่เกี่ยวกับบ้านเลขที่ 111 และบ้านเลขที่ 109 เพราะประเด็นของตน คือการนิรโทษกรรมให้ผู้ที่ไม่ได้กระทำความผิดตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นกรณีเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดง ควรจะได้รับการเยียวยา โดยตนอยากให้แยกพี่น้องประชาชนที่มีเจตนาบริสุทธิ์ออกไปเสียจากวงนี้ ที่ทำให้เขาเป็นผู้ต้องหา เป็นผู้ถูกกล่าวหา ไม่ว่าเป็นข้าราชการหรือประชาชน ไม่ว่าราชประสงค์หรือสุวรรณภูมิที่มีเจตนาบริสุทธิ์ในการมาชุมนุมและการทำ หน้าที่ ส่วนเรื่องจาบจ้วงสถาบันต้องดำเนินการอยู่แล้วจะนิรโทษกรรมไม่ได้
หมอเหวงเผยกระทรวงยุติธรรมจะนำคดีพิจารณาใหม่กรณีตั้งข้อหาแรงไป
นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่ม นปช. กล่าวกับทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ กรณีวานนี้ (2 ธ.ค.) นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ ประธานกลุ่ม นปช. ได้เข้าเยี่ยมกลุ่มนปช.ที่ยังถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ เพื่อหารือเรื่องการเตรียมขอประกันตัว และสอบถามความเป็นอยู่ว่า นางธิดาได้เดินทางเข้าไปแล้ว ดังนั้น จะเร่งทำเรื่องขอประกันตัวได้ในเร็วๆ นี้ เพราะนางธิดาได้มีการหารือกับ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม เรียบร้อยแล้ว ซึ่งรัฐบาลมีความยินดีจะดำเนินการเป็นเจ้าภาพในการเดินเรื่องขอประกันตัวจาก ศาล โดยจะจัดหาหลักทรัพย์ในการประกันตัวให้ผู้ที่ขาด แคลนทุนทรัพย์ รวมทั้งกระทรวงยุติธรรมพร้อมจะนำคดีความมาพิจารณาใหม่ คดีใดที่มีการตั้งข้อหารุนแรงเกินไป หรือมีหลักฐานไม่สมบูรณ์ จะได้พิจารณาใหม่ ซึ่งพล.ต.อ.ประชา ได้ตอบรับแล้วเช่นกัน
เมื่อ เช้าวานนี้ อ.ธิดา, คุณหมอหวง และทีมทนายความมีนัดกับผู้ต้องขังเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมือง ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ก่อนเข้าไปภายในเรือนจำ อาจารย์ได้พบกับภรรยาของคุณอำพล(อากง) ที่มาดักรอพบและ เธอได้เข้ามาแนะนำตัวและฝากให้ช่วยอากงด้วย ซึ่งอาจารย์รับปากว่าจะช่วยอย่างเต็มกำลังเท่าที่สามารถทำได้ จึงได้ถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน และหลังจากได้เข้าไปพบกับอากงแล้ว เห็นว่าอากงเป็นผู้สูงอายุธรรมดา ๆ คนหนึ่ง ไม่รู้การใช้เทคโนโลยีเท่าไร ไม่ได้อยู่้ในขบวนของคนเสื้อแดง ไม่ได้ถูกจับกุมในการชุมนุม แต่การที่ได้รับการตัดสินคดีอย่างนี้ก็ คงต้องมีการอุทธรณ์กันต่อไปเพราะคดีของอากงนั้นมีบทบาทสูงมาก(ที่มา:facebook อ.ธิดา)
หลัง จากพบปะพูดคุยกับพี่น้องในเรือนจำแล้ว ออกมาให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว DNN และ Spring News ที่มารอทำข่าวอยู่ โดยในวันนี้ได้ข้อสรุปว่าพี่น้องในเรือนจำดีใจที่จะได้ย้ายไปที่ใหม่ที่มี ศักดิ์ศรี ไม่ต้องอยู่ปะปนกับอาชญากรในคดีต่าง ๆ มีผู้ที่คาดว่าจะได้รับการพระราชทานอภัยโทษจำนวน 11 คน อีก 5 คนกำลังรอลุ้นอยู่เนื่องจากโทษที่ได้รับยังเหลืออีกมากกว่า 1 ปี ผู้ที่ขอให้ทางรัฐบาลประกันตัวมี 17 คน และอีก 6 คนนั้นคดีเด็ดขาดไปแล้ว ไม่สามารถประกันตัวได้ แต่ก็ได้ย้ายไปอยู่ในที่แห่งใหม่แน่นอน
ขณะที่ให้สัมภาษณ์อยู่นั้น ได้มีคุณอาทิตย์ เบ้าสุวรรณ และคุณพรชัย โลหิตดี สองคนนี้ได้รับการปล่อยตัวเมื่อค่ำวันที่ 1-12-54 มาคอยพบอาจารย์ ทักทายและพูดคุยกันอยู่พอสมควร ซึ่งทั้งสองคนบอกว่าจะขอกลับบ้านที่ต่างจังหวัดก่อน หลังจากนั้นจะเข้ามาเดินเรื่องปรึกษาทนายและนปช.ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
วานนี้นางธิดา ไปเยี่ยมนักโทษการเมืองและให้สัมภาษณ์สื่อว่า นปช. เราดำเนินการผลักดันและพยายามให้การช่วยเหลือคนเสื้อแดงที่ยังอยู่ในเรือนจำ ตลอดมาโดยตลอด และในวันนี้ก็ไปเยี่ยมและหารือกับผู้ต้องขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มา เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องการย้ายไปควบคุมตัวไปที่โรงเรียนพลตำรวจบางเขน เพื่อแยกจากคดีทั่วไป โดยคาดว่าจะสามารถย้ายได้ไม่เกินกลางเดือน ธ.ค.นี้ รวมทั้งการเซ็นชื่อในการขอประกันตัวเพิ่มเติมอีก 18 รายด้วย
อย่างไรก็ตามในเรื่องการย้ายที่ควบคุมตัวบางคนอาจจะว่าตนหน่อมแน้ม แต่ก็ต้องขอทำความเข้าใจว่าบางเรื่องที่เกี่ยวกับศาลเราไม่สามารถก้าวล่วง ได้ ต้องให้เป็นไปตามกระบวนการแต่ยืนยันว่าหลังจากย้ายที่คุมขังแล้ว เรื่องการประกันตัวก็ยังดำเนินการต่อไปรวมทั้งประเด็นอากงที่ส่งเอสเอ็มเอส ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากซึ่งอยู่จำนวน 102 คน ที่เรากำลังดำเนินการให้ความช่วยเหลือด้วย
“นอกจากนั้นเบื้องต้นทราบมาว่า จะมีนักโทษการเมืองที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษในวันที่ 5 ธ.ค.นี้ โดยเป็นคนเสื้อแดงที่อยู่ในเรือนจำพิเศษ 10 กว่าราย ต่างจังหวัดอีก 20-30 ราย ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี ส่วนผู้ต้องขังที่ยังไม่สามารถประกันตัวได้ ในส่วนกลาง นปช. จะเป็นฝ่ายดำเนินการ และในต่างจังหวัด ส.ส. แต่ละพื้นที่ก็กำลังเร่งดำเนินการอยู่เช่นกัน ทั้งนี้ในเรื่องความล่าช้าของการช่วยเหลือคนที่เสื้อนั้นต้องยอมรับว่า รัฐบาลนี้ล่าช้า แต่ความล่าช้าและติดขัดก็เกิดจากรัฐบาลที่แล้วเช่นกัน เพราะเราดำเนินการในเรื่องขอย้ายจากนักโทษอาญามาเป็นนักโทษการเมืองแล้วแต่ เขาก็ไม่ยอม ขอให้ลองมาติดคุกบ้างแล้วจะได้รู้ แล้ววันนั้นอย่ามาขออยู่โรงเรียนพลตำรวจบางเขนที่พวกเราพยายามเคลี่อนไหวให้ ย้ายมาก็แล้วกัน ”นางธิดา กล่าว
เมื่อถามว่าเวลานี้มีนักวิชาการที่เคยเป็นแนวร่วมของนปช. ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของพรรคเพื่อไทยและแกนนำนปช.ว่ามัวแต่แก้ปัญหา ทางการเมืองของตัวเอง โดยไม่สนใจคนเสื้อแดงที่ถูกดำเนินคดีเช่น กรณีเอสเอ็มเอสอากงและคนเสื้อแดงที่ยังอยู่ในคุกจำนวนมากนั้น จะทำให้เสียแนวร่วมหรือไม่ นางธิดา กล่าวว่า ในเรื่องของการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลนั้นก็แล้วแต่จะคิด แต่ตนก็ยอมรับว่ารัฐบาลดำเนินการเรื่องนี้ล่าช้าจริง
นายแพทย์สลักธรรม โตจิราการ บุตรชายนางธิดา กล่าวทางเฟซบุ๊คว่า คุณแม่ไปประชุมในเรือนจำ เจอทั้ง อากง คุณสุรชัย คุณธันย์ฐวุฒิ และคนอื่นๆทั้งหมด รวมถึงเมียอากงด้วย เมียอากงมาฝากฝังอากงกับคุณแม่ด้วยน้ำตาคลอเบ้า ซึ่งคุณแม่รับปากว่าจะช่วยเหลือให้ถึงที่สุดทั้งเรื่องการดูแลสภาพที่คุมขัง การประกันตัวและการสู้คดี และก็พูดคุยกันถึงเรีื่องย้ายเรือนจำ คุณแม่ก็เลยเล่าว่ามีบางคนบอกว่าการย้ายเรือนจำเป็นเรื่องหน่อมแน้ม หลายคนในนั้นเลยฝากมาบอกว่า "ให้ลองมาติดคุกดูเองดูครับ" เดี๋ยวคุณแม่คงจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมครับ
ดร.สมศักดิ์ได้วิจารณ์ด้วยการขึ้นภาพนี้ในเฟซบุ๊คของเขา