WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, December 3, 2011

ความต่างของโทนสีหัวนมภายใต้อำนาจของวงการศิลปะไทยร่วมสมัยแบบราชการ

ที่มา ประชาไท


ภาพโดย: สมภพ บุตราช, นางสงกรานต์หมายเลข2,2553, สีน้ำมันบนผ้าใบ, 80 x 60 ซม.

ในวงการศิลปะไทยร่วมสมัยแบบราชการ ถ้าหากเป็นภาพวาด "หญิงสาวเปลือยอก" มีใบหน้างดงามแบบอุดมคติ รูปร่างสมส่วนเกินจริง แต่งตัวด้วยชุดไทย(แม้จะแค่ท่อนล่าง) ใส่เครื่องประดับตระการตา และถูกใส่กรอบรูปประดับประดาอยู่ในหอศิลป์ร่วมสมัย ด้วยอารมณ์ที่พริ้วไหวจากรอยแปรงพู่กัน สานุศิษย์แห่งวงการศิลปะไทยร่วมสมัยแบบราชการย่อมต้องร้องโอดครวญซี้ดซาดว่า ช่างงดงามเหนือคำบรรยายเมื่อได้พบเห็น โดยแทบจะไม่ต้องอ้างถึงบริบทอื่น หรือหลักการ และปรัชญาใด ๆ มากไปกว่าหลักความงามทางกายวิภาคในแบบยุคคลาสิคของกรีกโบราณ ฯลฯ เพราะเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า ภาพเขียนคนเหมือนที่แสดงลักษณะทางกายวิภาคของร่างกายที่ประกอบขึ้นจากสี น้ำมันบนผ้าใบ ด้วยทักษะฝีมือของคนธรรมดาที่ไม่ได้รับการฝึกฝนย่อมทำไม่ได้อย่างแน่นอน ศิลปินที่เคี่ยวกร่ำฝีมือในแง่ "เทคนิค" มาอย่างดี แทบจะไม่ต้องคิดอะไรมากไปกว่าการลงมือวาดเขียน และหมั่นซ้อมในการจัดท่าทาง การวางองค์ประกอบ และความชำนาญในเรื่องสีน้ำมัน (รวมไปถึงการใช้อุปกรณ์ และเครื่องมือศิลปะจำพวก "เกรตอาร์ตติสท์") ย่อมถูกยกให้อยู่สูงราวกับศาสดาผู้ปราดเปรื่อง ที่ไม่ว่าจะกี่ครั้งการเขียนภาพ "หัวนมชมพู" ก็ไม่ใช่การแสดงออกถึงรสนิยมทางกามของศิลปินแม้แต่น้อย ทว่าเป็นภาพเปลือยอันสูงส่งล้ำค่าเกินกว่าผู้ที่ไม่เรียนศิลปะจะเข้าใจ(และ วิจารณ์ได้) บางครั้ง ในบางคน(ศิลปิน)ยังพูดอธิบายผลงานให้ดูดิบดีเกินจริง ราวกับจอร์จ และซาร่าที่โอ้อวดผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักในทีวี (ทั้งที่ในความเป็นจริงภาพเขียนดังกล่าวอาจจะเป็นแค่สิ่งที่บ่งบอกถึงรสนิยม ทางเพศที่ศิลปินถวิลหาก็ตาม-"ตอนถ่ายรูปนางแบบเพื่อทำสเก็ตช่างซู่ซ่าดี เหลือเกิน")

หากแต่เมื่อภาพ "หญิงสาวเปลือยอก" นั้นไม่ได้แสดง "ความงาม" ตามอุดมคติของวงการศิลปะไทยร่วมสมัยแบบราชการ ขาดใบหน้าที่แสนจะหมดจด ดูไร้ซึ่งอารยะแห่งความเป็นไทยแบบราชการ แถมยังถูกสร้างขึ้นมาอย่างดิบ ๆ เถื่อน ๆ ด้วยทักษะฝีมือที่แปร่งแปลงตรงกันข้ามกับศิลปินกลุ่มข้างต้นแล้วล่ะก็(โดย ไม่ต้องดูเลยว่ามีแนวความคิด หรือจุดประสงค์อย่างไร) ย่อมถูกวิภาควิจารณ์ในทางเสียหายเป็นแน่แท้ ทั้งจากหมู่มวลนักศิลปะไทยร่วมสมัยแบบราชการ และเหล่าสานุศิษย์ ที่มักจะตีฆ้องร้องป่าวด่าทอว่าผลงานจำพวกนี้มันช่างน่าละอาย เลวทราม และไร้รสนิยมอย่างแน่นอน ด้วยการหยิบ "องค์ประกอบ" ที่มองเห็นบางส่วนจากในภาพมาแฉในทางเสียหายมากกว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ทาง ศิลปะ ด้วยการอ้างจริยธรรม ความดีงาม หรือยกเหล่าเยาวชนที่ใสซื่อบริสุทธิ์บังหน้า เช่น หัวนมดำ = เลว/บาป/ตกนรก, ทักษะฝีมือดิบ ๆ เถื่อน ๆ = ทำลายวัฒนธรรมทางศิลปะที่ดีงาม, หรือการเปลือยกาย = เยาวชนไม่ควรดู เพราะจะนำไปลอกเลียนแบบ เป็นตัน อีกทั้งยังยก "อคติ" ที่ตนมีต่อเรื่อง "ดีกรี" ของผู้สร้างสรรค์ผลงาน เอามาปั้นแต่งให้กลายเป็น "ศิลปะวิจารณ์" ในแบบ "ตรรกะล่ม" อาทิ ผู้สร้างสรรค์ไม่ได้เรียนศิลปะ จึงไม่มีความรู้ทางศิลปะ ฉะนั้นไม่มีวันเป็นศิลปิน ผลงานที่สร้างมาเลยมีค่าเท่ากับขยะ ไม่ใช่ศิลปะ เป็นต้น กล่าวคือไม่เรียนศิลปะ ทำศิลปะไม่ได้ (!?) อะไรทำนองนั้น

ถึงแม้ว่าผมจะจบการศึกษาระดับปริญญาตรี และกำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาโทในค่าย "ศิลปะไทยร่วมสมัยแบบราชการ" ก็ตาม แต่ในฐานะที่ผมเรียนศิลปะ และรับรู้ถึงการมีอยู่ของ "รูปแบบ" และ "เนื้อหา" ของศิลปะอันหลากหลาย และ(กำลัง)เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาไม่สิ้นสุดในนาวา "ศิลปะร่วมสมัย" นี้ ทำให้ผมไม่จำเป็นต้องเชื่อหัวชนฝ่า หรืองมงายอย่างถาวรไปกับหลักการแบบใดแบบหนึ่ง เช่น ต้องมีทักษะวาดเส้นแบบยุดเรเนอซองแปลว่าเก่ง ชื่นชมหลักการสอนสายนครฟรอเรนซ์เท่านั้นว่าดีเด่ที่หนึ่ง หรือพร่ำบ่นถึงความงามทางกายวิภาคของศิลปะยุคคลาสิคคือที่สุดแล้วเสมอไป โดยที่ไม่ดูบริบทอื่น ๆ และเปิดรับแนวทางที่แตกต่างของผลงานศิลปะร่วมสมัยเลย ในที่นี้ไม่ใช่หน้าที่ซึ่งผมจะกำหนด หรือตัดสินว่า "หัวนมชมพู" หรือ "หัวนมดำ" นั้นดี/เลว, สวย/น่าเกลียด หรือสูงส่ง/ต่ำต้อยกว่ากัน หากแต่อยากจะเปิดมุมมองให้เห็นว่า เราไม่สามารถกำหนดกรอบความคิดของสังคมที่มีต่อผลงานศิลปะได้โดยการอ้างแค่ ว่า ต้องเรียนรู้ศิลปะมาก่อนเท่านั้นจึงจะทำศิลปะ หรือวิจารณ์ศิลปะได้ ฉะนั้นจงฟังแต่เราผู้ที่ผ่านการฝึกฝนทางศิลปะมาก่อนเท่านั้น หรือทำเพียงแค่ยกจริยธรรมความดีงามบังหน้าเพื่อสนับสนุนตนเอง และทำหน้าที่กำหนดท่าทีของ "ความงาม" ให้หยุดนิ่งประหนึ่งว่าตนเป็นตุลาการทางศิลปะก็ไม่ปาน

เพราะไม่ว่าคุณ หรือผม หรือใครจะเป็นสานุศิษย์ของค่ายศิลปะไหน/หรือไม่ก็ตาม ไม่ว่าจะดำรงตำแหน่งในวงการศิลปะระดับไหน/หรือไม่ก็ตาม ไม่ว่าจะเคยเรียนศิลปะ และ/หรือเป็นศิลปินหรือไม่ก็ตาม และไม่ว่าจะต่างชนชั้นทางทักษะศิลปะเท่าใดก็ตาม ย่อมมีสิทธิที่จะกำหนด "สุนทรียศาสตร์" ของตนเองได้บนหลักการที่ต่างกันไป แม้จะแปลกประหลาด หรือผิดแผกไปจากขนบเดิม ๆ ตราบใดที่ความหลากหลายยังแตกหน่อออกผล ย่อมดีกว่าการผูกขาดทางความคิดแค่ว่า "หัวนม" โทนสีไหน "ดี" ที่สุดอย่างไร้ข้อกังขา ทั้งนี้จะคุณ หรือผม หรือใครยังสามารสร้างสรรค์อะไรออกมาก็ได้ แม้จะไม่ได้ลงทะเบียนเรียนวิชา "วาดเส้น" หรือ "กายวิภาค" ก็สามารถสร้างภาพของ "หัวนม" ที่ออกมาจากความคิด และฝีมือที่คุณมีในแบบของคุณ แม้ "หัวนม" นั้นจะมีสีโทนไหนก็สามารถถูกมองอย่างศิลปะ และ/หรือมีค่าในเชิงศิลปะได้อย่างทัดเทียมกันทั้งนั้น ถ้าหากจุดประสงค์ในการสร้างสรรค์ไม่เลวทรามถึงขั้นสร้างขึ้นเพื่อเอาไปตีหัว พ่อแม่ หรือยัดก้นใครโดยที่เขาไม่ยินยอม มันย่อมสามารถ "เป็น" ศิลปะได้ทั้งสิ้น

แม้การต่อสู้ระหว่าง "หัวนมชมพู" กับ "หัวนมดำ" ในทางศิลปะก็จะยังคงดำเนินต่อไปในสังคมไทยอีกนาน และแม้คุณอาจจะเลือกข้างยืนอยู่ "จุก" ไหน จะสร้างความงามแบบ "หัวนมฟ้า" หรือ "หัวนมเหลือง" ขึ้นมาเองนั้นถือว่าไม่ผิด ทว่าจงตระหนักไว้เสียว่ามันจะไร้ค่าหรือมีค่าต่อสังคมก็ขึ้นอยู่กับการตี ความ และขับเคลื่อนของคนในสังคมเอง ไม่ใช่เกิดจากใครคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่อ้างตนว่าเป็นปรมาจารย์ศิลปะ ผู้กร้านวิชาวาดเส้น หรือศิลปินเหรียญทองเหรียญเพชร ที่จะเป็นผู้ขีดเส้นกำหนดทิศทางศิลปะแต่เพียงผู้เดียว และโอ้อวดว่า "หัวนมสีขมพู" ของฉัน(หรือของพรรคพวก)จะมีจริยธรรม ถูกต้อง และดีงามกว่าของคนอื่น แม้ว่ามันจะสีชมพูผุดผ่อง และเขียนขึ้นด้วยสีน้ำมันราคาแพงเท่าใดก็มิอาจอวดอ้างได้ว่าเป็นแนวทางที่ สูงสุดแล้วในโทนสีของหัวนมที่มีอยู่มากมายในโลกนี้

เพราะความ "คับแคบ" ทางจิตใจต่อ "โทนสีของหัวนม" ต่างหากที่น่าอายเสียยิ่งกว่า "หัวนมดำ" อย่างเปรียบมิได้