WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, December 2, 2011

คำ ผกา: เปลือยกาย เปิดใจ ไม่เกลียดชัง

ที่มา ประชาไท

‘คำ ผกา’ เปลือย(หน้า)อก และ(หน้า)ใจ ส่งข้อความเรียกร้องปล่อยตัวอากง ชี้สังคมไทยต้องก้าวข้ามความกลัว ถอดทิ้งอคติ และสำรวจจิตใจตัวเองในฐานะเพื่อนมนุษย์

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา หลายคนอาจได้เห็นแคมเปญ ‘ฝ่ามืออากง’ กันไปบ้างแล้วในเฟซบุ๊ก การรณรงค์ดังกล่าวเริ่มต้นโดยปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิจัยจากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ประเทศสิงคโปร์ เพื่อเรียกร้องอิสรภาพให้แก่นายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) ผู้ถูกตัดสินจำคุก 20 ปีด้วยการถูกกล่าวหาว่าส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือที่มีเนื้อหาหมิ่นเบื้อง สูงจำนวน 4 ข้อความไปยังเลขาส่วนตัวของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ(ขณะนั้น)

แคมเปญดังกล่าวได้รับความสนใจจากผู้ใช้เฟซบุ๊กในไทยและต่างประเทศอย่าง รวดเร็ว โดยมีคนส่งภาพตัวเองที่มีข้อความ “อากง” เขียนบนฝ่ามือมาร่วมในการรณรงค์ดังกล่าว 150 คนในเวลาเพียง 2 วัน หนึ่งในนั้น มีรูปหญิงสาวเปลือยพร้อมข้อความ “No Hatre for Naked Heart” หราอยู่บนหน้าอกหน้าใจ พร้อมคำว่า “อากง” บนฝ่ามือ จะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากลักขณา ปันวิชัย หรือนักเขียนชื่อดังในนาม “คำ ผกา”…


ภาพถ่ายโดย กรกริช เจียพินิจนันท์

เธอเล่าถึง “Art project” ชิ้นนี้ ซึ่งเป็นภาพเปลือยของเธอพร้อมข้อความ “No Hatre for Naked Heart” เขียนด้วยน้ำหมึกดำอยู่บนอกสองข้างของเธอว่า อยากจะสื่อออกไปยังสังคมไทย ให้ถอดอคติส่วนตนออกไปจากจิตใจ และลองเปลือยใจเพื่อสำรวจถึงความมีมนุษยธรรมในฐานะเพื่อนมนุษย์ และตั้งคำถามดูว่าทำไมกรณีของอากงจึงเกิดขึ้นได้ มันเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ไหม และมันมากเกินไปหรือเปล่า

“แทนที่จะหลบอยู่หลังตู้เย็น หลบอยู่หลังหน้าจอคอมพ์ อย่างน้อยเราก็ได้ทำอะไรซักอย่าง ที่จะก้าวข้ามความกลัวนั้นไป และส่งข้อความออกไปยังสังคม...ให้สังคมไทยนั้นก้าวพ้นความกลัวไปด้วยกัน” เธอกล่าว

‘คำ ผกา’ กล่าวว่า งานชิ้นนี้ เปรียบเสมือนงานศิลปะชิ้นหนึ่งที่ใช้ร่างกายประท้วงต่อความไม่เป็นธรรมใน สังคม ซึ่งการกล้าเปิดกาย-ใจ และการกล้าเปิดเผยตัวตนนี่เอง ที่เป็นการเผชิญหน้าและเอาชนะความกลัวได้อย่างแท้จริง