WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, December 12, 2011

ฮิลลารี่ปราศรัย การปิดกั้นอินเตอร์เน็ตกระทบด้านการค้า

ที่มา ประชาไท

เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. ที่ผ่านมา รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ ฮิลลารี่ คลินตัน และเหล่าผู้นำนานาชาติ ได้เข้าร่วมการประชุมเรื่องเสรีภาพทางอินเตอร์เน็ตที่ได้รับการสนับสนุนจาก กูเกิ้ลและรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ มีการเรียกร้องให้บริษัทเอกชนและรัฐบาลประเทศต่างๆ ต่อต้านการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในอินเตอร์เน็ตที่เกิดขึ้นในประเทศ ที่มีรัฐบาลเผด็จการและแม้กระทั่งในประเทศประชาธิปไตยบางแห่ง
ฮิลลารี่เตือนว่าการจำกัดการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตนั้น ไม่เพียงแค่เป็นการคุกคามเสรีภาพขั้นพื้นฐานและสิทธิมนุษยชนเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบทางด้านการค้าที่ต้องอาศัยการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารด้วย
"เมื่อความคิดเห็นถูกปิดกั้น ข้อมูลข่าวสารถูกลบ การสนทนาถูกบีบ ประชาชนก็จำกัดการตัดสินใจของตัวเอง อินเตอร์เน็ตก็จะเสื่อมถอยลงสำหรับพวกเราทั้งหมด" ฮิลลารี่กล่าว
โดยฮิลลารี่ได้กล่าวยกตัวอย่างประเทศเผด็จการบางประเทศที่บางครั้งก็ อาศัยความร่วมมือจากบรรษัทต่างชาติในการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารเช่นใน ซีเรีย, อิหร่าน, จีน และรัสเซีย แต่ในตอนนี้แม้กระทั่งประเทศประชาธิปไตยบางประเทศก็เริ่มปิดกั้นข่าวสารมาก ขึ้น เป็นการย้ำถึงความซับซ้อนในการควบคุมส่วนสำคัญของชีวิตในโลกสมัยใหม่
"เหลือเวลาอีก 2 วัน ก็จะถึงวันที่ 10 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันที่พวกเราจะเฉลิมฉลองวันสิทธิมนุษยชนโลก ซึ่งเป็นวันที่มีการรับรอง ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) และ 63 ปีหลังจากนั้น ทั้งโลกก็มีส่วนรับผิดชอบร่วมกันในเรื่องสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในทุกที่ โดยไม่จำกัดว่าพวกเขาจะอยู่ที่ไหน หรือพวกพวกเขาเป็นใคร และในวันนี้เมื่อผู้คนเริ่มหันมาใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น เพื่อกระทำสิ่งต่างๆ ที่มีส่วนสำคัญในชีวิตพวกเขา พวกเราก็ต้องทำให้แน่ใจด้วยว่าจะมีการเคารพสิทธิมนุษยชนในโลกออนไลน์เช่น เดียวกับในโลกออฟไลน์ ทั้งหมดทั้งมวลนี้คือ สิทธิในการแสดงความเห็นของบุคคล การแสดงออกซึ่งความเชื่อของบุคคล สิทธิในการเรียกชุมนุมกับคนอื่นๆ เพื่อเรียกร้องทางการเมืองหรือเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม สิ่งเหล่านี้คือสิทธิที่มนุษย์ทุกผู้ทุกนามควรได้รับ ไม่ว่าพวกเขาจะใช้สิทธินั้นในจัตุรัสกลางเมืองหรือในห้องแช็ทของอินเตอร์ เน็ต จากที่พวกเราได้ปฏิบัติการร่วมกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่แล้วในการธำรงไว้ซึ่ง สิทธิดังกล่าวนี้ในโลกวัตถุจับต้องได้ สำหรับในศตวรรษนี้พวกเรายังควรต้องร่วมมือกันในการธำรงไว้ซึ่งสิทธิทั้งหลาย ในโลกไซเบอร์ด้วย" ส่วนหนึ่งจากคำปราศรัยของฮิลลารี่
"อินเตอร์เน็ตจะไม่ซบเซาลงหรือแก่งแย่งแข่งขันกันสูง การใช้อินเตอร์เน็ตของดิฉันไม่ได้ลดการใช้อินเตอร์เน็ตของพวกคุณ ในทางตรงกันข้าม ยิ่งมีผู้คนเข้ามาในโลกออนไลน์และแลกเปลี่ยนความคิดกันมากขึ้นเท่าใด ระบบเครือข่ายนี้ก็จะยิ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้รายอื่นๆ มากยิ่งขึ้น ในทางนี้เองผู้ใช้ทั้งหมด ทำให้เกิดทางเลือกจากปัจเจกบุคคลเป็นหลายพันล้านตัวเลือก เลือกว่าพวกเราจะค้นหาหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลใดๆ ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมใด ทำให้การถกเถียงสาธารณะมีชีวิตชีวา ดับความกระหายให้แก่ผู้ใคร่รู้ และเชื่อมต่อผู้คนในแง่ที่ระยะทางและรายจ่ายไม่สามารถกระทำได้ในยุคที่ผ่าน มา" ฮิลลารี่กล่าว
อูริ โรเซนธาล รมต.ต่างประเทศของเนเธอร์แลนด์ กล่าวหลังจากการประชุมว่า มีประเทศเริ่มพยายามออกกฏและควบคุมอินเตอร์เน็ตมากขึ้นเรื่อยๆ การบล็อกเว็บไซต์ การกรองข้อมูลอินเตอร์เน็ต การควบคุมเนื้อหาและบล็อกเอกร์นั้นถือเป็นเรื่องอาจยอมรับได้
โดยเดอะ นิวยอร์ก ไทม์ รายงานว่า เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. คณะกรรมาธิการด้านโทรคมนาคมของเกาหลีใต้บอกว่าพวกเขาจะเริ่มตรวจสอบการใช้โซ เชียลเน็ตเวิร์กและโปรแกรมทางมือถือเมื่อกรองเนื้อหาที่ล่วงละเมิดหรือผิด ศีลธรรม ทางการเกาหลีใต้บอกว่าจะมีการใช้ทีม 8 คนคอยสอดส่องเว็บดซเชียลมีเดียต่างๆ เพื่อเป็นมาตรการต่อต้านการโฆษณาชวนเชื่อของเกาหลีเหนือ
ต่อมาในวันที่ 5 ธ.ค. รมต. โทรคมนาคมของอินเดียก็กล่าวคล้ายกันคือการที่พวกเขาจะพัฒนาวิธีการกรอง ข้อมูลข่าวสารทางอินเตอร์เน็ตและนำเนื้อหาที่ล่วงละเมิดหรือทำให้เกิดความ ไม่สงบออก หลังจากที่ กูเกิ้ล, เฟสบุ๊ค, ยาฮู และไมโครซอฟท์ปฏิเสธที่จะทำตาม โดยประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีปัญหากับเรื่องเสรีภาพในการแสดงความเห็น มีหนังสือและภาพยนตร์บางชิ้นถูกแบนหากผลงานชั้นนั้นมีการวิจารณ์นักการเมือง หรือนักธุรกิจรายสำคัญ หรือหากรัฐบาลรู้สึกว่าผลงานชั้นนั้นอาจละเมิดต่อศาสนา
"อินเดียสามารถคุยโวได้เวลาตนเองดำเนินตามแนวทางประชาธิปไตยเมื่อพวก เขาเทียบตัวเองกับจีน แต่ก็มีประเด็นเล็กและประเด็นใหญ่ๆ ที่ทำลายชื่อเสียงของพกวเขาในเรื่องนี้ได้" ศรี ศรีนิวสันต์ ศาตราจารย์ด้านสื่อดิจิตอลจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียกล่าว "สิ่งที่แบ่งแยกคุณออกจากเผด็จการคือความเต็มใจในการอดทนต่อผู้ต่อต้าน การอนุญาตให้ประชาชนแสดงความเห็นและยอมรับฟัง"
เรียบเรียงจาก
Clinton Urges Countries Not to Stifle Online Voices, New York Times, 08-12-2011
http://www.nytimes.com/2011/12/09/world/at-hague-hillary-rodham-clinton-urges-countries-not-to-restrict-internet.html
Secretary of State Hillary Rodham Clinton at the Freedom Online Conference, Embassy of The United State (Thailand), 08-12-2011
http://bangkok.usembassy.gov/120811_secstate_internetfreedom.html