WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, July 26, 2012

สืบพยานคดี 112 ‘สนธิ’ กล่าวซ้ำถ้อยคำ ‘ดา ตอร์ปิโด’ จำเลยเบิกความ 21 ส.ค.55

ที่มา ประชาไท

 
21 ส.ค.นี้ 'สนธิ ลิ้มทองกุล' เตรียมเบิกความคดีหมิ่นฯ กรณีนำคำปราศรัย'ดา ตอร์ปิโด'ไปกล่าวซ้ำบนเวทีพันธมิตรฯ  ขณะที่ดา ตอร์ปิโดถูกคุมขังครบ 4 ปี เมื่อ 22 ก.ค.ที่ผ่านมา

25 ก.ค.55 ห้องพิจารณาคดี 908  มีการสืบพยานโจทก์คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 10 สำนักงานอัยการสูงสุด ฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล  แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นจำเลยในคดีหมายเลขดำที่ อ.2066/2553 โดยในวันนี้เป็นนัดสืบพยานโจทก์นัดสุดท้าย ได้แก่ พ.ต.ท.ภูวสิษฎ์ เมฆี พนักงานสอบสวน สน.ดุสิต และ พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รองผู้บัญชาการศึกษา กองบัญชาการศึกษา  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ส่วนนัดหน้าจะเป็นการสืบพยานจำเลย โดย นายสนธิ ลิ้มทองกุล จะขึ้นเบิกความในวันที่ 21 ส.ค.55 เวลา 9.00-12.00 น.
ทั้งนี้ คดีดังกล่าวสืบเนื่องการปราศรัยของนายสนธิบนเวทีพันธมิตรฯ เมื่อวันที่ 20 ก.ค.51 โดยนำเอาคำปราศรัยบางส่วนของนางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปกุล มากล่าวซ้ำพร้อมเรียกร้องให้มีการดำเนินคดี จากนั้นจึงมีการออกหมายจับนายสนธิในวันที่ 23 ก.ค.ต่อมาวันที่ 24 ก.ค. นายสนธิพร้อมมวลชนจำนวนหนึ่งได้เดินทางเข้ามอบตัวที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล และได้รับการประกันตัว ส่วนกรณีของดารณีนั้นหลังการปราศรัยของนายสนธิ วันที่ 21 ก.ค. ผบ.ทบ.ในขณะนั้นได้มอบอำนาจให้นายทหารพระธรรมนูญไปแจ้งความดำเนินคดีตาม มาตรา 112 กับดารณี และมีการจับกุมตัวผู้ต้องหาได้ที่อพาร์ตเมนท์ในวันที่ 22 ก.ค.51 จากนั้นจึงถูกคุมขังที่ทัณฑสถานหญิงกลาง กระทั่งมีคำพิพากษาล่าสุดของศาลชั้นต้นเมื่อ 15 ธ.ค.54 ลงโทษจำคุก 15 ปี คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ และเมื่อวันที่ 22 ก.ค.ที่ผ่านมา ดารณีถูกคุมขังครบ 4 ปี
พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน ซึ่งขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 เบิกความว่า  ขณะเกิดเหตุมีเวทีปราศรัยทั้งของกลุ่ม นปก. และ พันธมิตรฯ  ซึ่ง ตำรวจต้องบันทึกเทปและถอดเทปทุกวัน เมื่อถอดเทปแล้วพบว่ามีความผิดก็จะส่งเรื่องให้คณะกรรมการพิจารณาคดีหมิ่น พระบรมเดชานุภาพของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พิจารณาว่ามีมูลหรือไม่ จากนั้นจะมีการตั้งคณะทำงานสืบสวนสอบสวน ซึ่งในคดีนี้ตนเป็นรองหัวหน้าและได้เลื่อนเป็นหัวหน้าในเวลาต่อมา เมื่อรวบรวมพยานหลักฐานแล้วก็จะส่งให้คณะกรรมการฯ พิจารณาอีกครั้งว่าสมควรส่งฟ้องหรือไม่ ซึ่งคณะกรรมการฯ ก็เห็นควรส่งฟ้อง
พล.ต.ต.อำนวย กล่าวอีกว่า คำสั่งแต่งตั้งและแนวทางปฏิบัติของคณะกรรมการพิจารณาคดีหมิ่นฯ มีมาตั้งแต่ 4 มิ.ย.50 จากนั้นมีคำสั่งปรับปรุงคณะกรรมการดังกล่าวอีกครั้งในวันที่ 9 ต.ค.51  
ทนายจำเลยถามว่า มาตรา 70 ของรัฐธรรมนูญบัญญัติให้ปวงชน ชาวไทยต้องปกป้องสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ถ้อยคำของนายสนธิตามฟ้องเป็นการกล่าวปราศรัยเพื่อเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินคดี เพราะคดีของดารณีตำรวจดำเนินการช้า ไม่เหมือนคดีหมิ่นฯ ของนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ที่ตำรวจดำเนินการรวดเร็วใช่หรือไม่ พล.ต.ต.อำนวย ตอบว่า นายสนธิพูดเสมือนเร่งรัดให้ดำเนินคดีกับดารณี ดังที่ประชาชนต้องมีหน้าที่ปกป้องสถาบัน แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้มีหน้าที่ในการนำข้อความหมิ่นฯ มาเปิดเผยต่อสาธารณชน อย่างไรก็ตาม ตนไม่ทราบว่าคดีของนายสมเกียรติอัยการสั่งฟ้องหรือไม่ และไม่ทราบว่ากลุ่มพันธมิตรฯ ไปร้องเรียนกับ ปปช.เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของตนเมื่อเดือนสิงหาคม 53
ทนายจำเลยถามาว่าเจตนาของนายสนธิเป็นคนละเจตนากับดารณีใช่หรือไม่ พล.ต.ต.อำนวยกล่าวว่า ไม่สามารถรู้ความในใจของจำเลย แต่หากให้วินิจฉัยก็วินิจฉัยได้ทั้ง 2 ทาง อย่างไรก็ตาม เห็นว่าการกระทำของนายสนธิเข้าองค์ประกอบความผิดฐานเดียวกันกับดารณี นอกจากนี้ยังเชื่อว่าจำเลยน่าจะเข้าใจความหมายของมาตรา 8 และ 112 เนื่องจากเมื่อปี 2549 จำเลยเคยได้รับคำสั่งศาล (คดีดำหมายเลข อ.3845/2549) ซึ่งศาลจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ถอนฟ้อง โดยระบุให้จำเลยระมัดระวังการกล่าวหรือกระทำการใดๆ ที่กระทบกับสถาบัน และยังมีคำสั่งห้ามจำเลยนำสถาบันมาแอบอ้างด้วย
อนึ่ง เว็บไซต์ศาลอาญาระบุคำฟ้องในคดีนี้ว่า  เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม  2551 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยนี้ได้ขึ้นปราศรัยบนเวทีปราศรัยกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย บริเวณเชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ ด้วยการกระจายเสียงทางเครื่องขยายเสียง ท่ามกลางประชาชนที่มาฟังจำนวนหลายคน มีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี และทางอินเทอร์เน็ต โดยผ่านทางเว็บไซต์ของเอเอสทีวี ให้ประชาชนทั้งคนไทยและต่างชาติได้รับชมและรับฟังทั้งภายในประเทศและต่าง ประเทศ  มีข้อความซึ่งจำเลยนำเอาคำปราศรัยของนางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปะกุล  ที่พูดบนเวทีปราศรัยที่ท้องสนามหลวง อันเป็นการพูดที่มีถ้อยคำหมิ่นประมาท ดูหมิ่น  หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน  และ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถมาพูดซ้ำ มีความอาจทำให้ประชาชนเข้าใจว่าบ้านเมืองที่วุ่นวายอยู่ทุกวันนี้เป็นเพราะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทำให้วุ่นวายเพื่อให้สามารถดำรงความเป็นพระมหา กษัตริย์ต่อไป และกล่าวคำพูดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เหตุเกิดที่แขวง-เขตดุสิต  กรุงเทพมหานคร ขอให้ลงโทษตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550  มาตรา 8  ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112