ที่มา ประชาไท
Thu, 2012-07-26 23:36
แต่นี่เป็น อะเจห์ แถมไม่รู้ภาษาท้องถิ่น ก็เลยไม่รู้ว่าจะยกวลีใดมาเพื่อทำให้เห็นภาพความซ้ำซ้อนของหายนะที่เคยเกิด ขึ้น เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2547 [1] ที่ผ่านมา
โดยทั่วไปนักวิชาการด้านสังคมวิทยาแบ่งลักษณะของภัยพิบัติไว้ 3 ประเภท คือ ภัยพิบัติจากธรรมชาติ ภัยพิบัติจากน้ำมือของมนุษย์ และภัยพิบัติที่เป็นลูกผสมระหว่างธรรมชาติและน้ำมือของมนุษย์
ในอะเจะห์ถือเป็นภัยพิบัติประเภทที่ 3 คือ ภัยพิบัติที่เป็นลูกผสมระหว่างธรรมชาติและน้ำมือของมนุษย์
จะว่าไป...สันติภาพในวันนี้ของอะเจห์ มี ‘จุดเปลี่ยน’ หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า turning point ที่สำคัญส่วนหนึ่งมาจากเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งมีทั้งแผ่นดินไหวและสึนามิ เกิดขึ้นพร้อมกันเมื่อกว่า 7 ปีที่ผ่านมา เพื่อนอะเจห์บางคนอธิบายว่า ในความเป็นจริงแล้ว กระบวนการเจรจาเพื่อสันติภาพในอะเจห์นั้น ได้ดำเนินการมาตลอดอย่างต่อเนื่องยาวนานควบคู่ไปกับสถานการณ์ความรุนแรง นี่ก็เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้อะเจห์เกิดสันติภาพได้เร็วขึ้นเพราะมีข้อมูล ทุกอย่างอยู่ในมือพร้อมแล้ว รอเพียงแต่ว่าเมื่อไหร่จะทำให้คู่ความขัดแย้งตกลงปลงใจพร้อมกันและทำให้ สันติภาพสัมฤทธิ์ผลขึ้นมาเท่านั้นเอง
ภาพ
: การเซ็นสัญญาข้อตกลงสันติภาพ (Memorandum of Understanding-MOU)
เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 ณ เมืองเฮลซิงกิ ประเทศสวีเดน
การเซ็นสัญญามีใจความสำคัญ 2 ประการ คือ
รัฐบาลจาร์การ์ต้าจะยอมผ่านกฎหมายว่าด้วย
การให้จังหวัดอะเจห์เป็นเขตปกครองตนเอง
และสามารถจัดการทรัพยากรของตัวเองได้
ที่มา : Okezone.com news &entertainment สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2555 สืบค้นจาก http://news.okezone.com/read/2010/08/15/337/363154/aceh-gelar-cerdas-cermat-5-tahun-mou-helsinki
การทำข้อตกลงร่วมกัน (Memorandum of Understanding-MOU)
สามารถดึงเอาผู้นำรัฐบาลจาร์การ์ต้าและกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพอะเจห์
(Free Aceh Movement)มาทำความตกลงกันที่เมืองเฮลซิงกิ (Helsinki)
ประเทศสวีเดนเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548
ตอนแรกถือเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากผู้นำการเจรจาก็ยังเคลือบแคลงและสงสัยอยู่
ว่า สันติภาพ จะเกิดขึ้นได้ไหม? รัฐบาลจาร์การ์ต้าจะยอมหรือเปล่า?
ฝ่ายกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพจะยอมทิ้งอาวุธหรือไม่?ที่มา : Okezone.com news &entertainment สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2555 สืบค้นจาก http://news.okezone.com/read/2010/08/15/337/363154/aceh-gelar-cerdas-cermat-5-tahun-mou-helsinki
แต่เป็นที่แน่ชัดว่า การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้งแผ่นดินไหวขนาดใหญ่และสึนามิที่ทำให้เกิด การสูญเสียคนกว่าแสนคนที่มีทั้งฝ่ายรัฐ [2] และฝ่ายเคลื่อนไหวเลิกคิดที่จะรบกันแต่อยากจะกลับมาสร้างบ้านและฟื้นฟูชุมชนของตัวเองเหนือสิ่งอื่นใด
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ได้พัดพาอัตลักษณ์ของความเป็นรัฐและกลุ่มเคลื่อนไหวออกไป จนเหลือเพียงแต่อัตลักษณ์ของความเป็นปุถุชนธรรมดาที่เกิดความรู้สึกทุกข์และ สูญเสียร่วมกันภัยพิบัติทางธรรมชาติทำให้เกิดความอ่อนล้าและหมดเรี่ยวแรงจะ รบราฆ่าฟันและเห็นพ้องต้องกันว่า ถึงเวลาแล้วที่จะหันหน้าเข้าหากันยุติความรุนแรงที่มาอย่างยาวนานหลายสิบปี ด้วยเหตุดังกล่าวสันติภาพจึงเกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์สึนามิเพียง 7 เดือน
รากเหง้าความรุนแรงในอะเจห์ [3]
ประวัติศาสตร์ช่วงยุคอาณานิคมและผลประโยชน์ด้านทรัพยากร คือ เหตุสำคัญที่ทำให้ปัญหาในอะเจห์บานปลายและขยายเป็นวงกว้างอะเจห์มักจะกล่าวว่า ตนเองไม่เคยเป็นอาณานิคมของใครหรือแม้แต่ของดัชท์ เพราะในช่วงดังกล่าว อะเจห์ได้มีความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างยุโรปและกลุ่มตะวันออกกลาง เพียงแต่ว่าได้เข้าร่วมต่อสู้เพื่อปลดแอกความเป็นเอกราช
ภาพ : กองกำลังเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพ มีทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
ที่มา: สืบค้นจากhttp://en.wikipedia.org/wiki/File:Free_Aceh_Movement_women_soldiers.jpg
สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2555
ในช่วงยุคล่าอาณานิคม ก่อนประเทศอินโดนีเซียจะเรียกตัวเองว่า ‘ประเทศ’
และเป็น ‘อินโดนีเซีย’ดังเช่นทุกวันนี้ อินโดนีเซียเป็นเพียงชนเผ่า
และหมู่เกาะ เกือบทั้งหมดตกเป็นเมืองขึ้นของดัชท์ (Dutch)ที่มา: สืบค้นจากhttp://en.wikipedia.org/wiki/File:Free_Aceh_Movement_women_soldiers.jpg
สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2555
อะเจห์เข้าร่วมต่อสู้กับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในหมู่เกาะอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2549 และจาร์การ์ต้าเองก็ยกให้อะเจห์อยู่ในสถานะเป็น ‘เขตพิเศษ’ เพื่อนชาวอะเจห์บอกว่า อะเจห์ร่ำรวยอยู่แล้ว มีทองมากมายขุดแทบไม่หวาดไม่ไหว สามารถซื้อเครื่องบินให้จาร์การ์ต้าช่วยรบกับดัชท์ได้ด้วยซ้ำ ทั้งยังเป็นเสนาธิการ ช่วยวางแผนกลยุทธ์ทางทหารจนได้ชัยชนะ สามารถปลดแอกจากการเป็นเมืองขึ้นได้ในท้ายที่สุด และเนื่องจากอะเจห์มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่สำคัญ คือ ป่าไม้ แก๊ส และน้ำมันนี้เองทำให้จาร์การ์ต้ากลับลำ ไม่ยอมปล่อยอะเจห์ให้เป็นอิสระหลังจากได้เป็นเอกราชจากดัชท์แล้ว และนี้คือที่มา ทำให้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องอิสรภาพของอะเจห์ หรือกลุ่ม ‘กัม’ (GAM-Geakan Aceh Merdeka)ซึ่งเริ่มขึ้นในช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 และความขัดแย้งได้ขยายตัวเพราะรัฐบาลอินโดนีเซียเริ่มใช้กำลังทางทหารและ จัดการด้วยความรุนแรง กวาดล้างไม่เลือกแม้แต่ชาวบ้านธรรมดาก็ติดร่างแหเข้าไปด้วยสถานการณ์ดัง กล่าวได้ผลักดันให้ชาวบ้านธรรมดาเริ่มเข้าร่วมกับกลุ่มกัมและเห็นชอบให้ อะเจห์แยกตัวออกมาจากประเทศอินโดนีเซียมากขึ้น
ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้มีความพยายามสร้างกระบวนการสันติภาพ แต่ก็ยังไม่มีใครยอมใคร ฝ่ายกลุ่มกัมเองก็อ้างเรื่องการเป็นเอกราชและไม่เคยอยู่ในอาณัติใคร ฝ่ายรัฐบาลเองก็ได้รับความกดดันจากฝ่ายรักษาความมั่นคงให้เร่งรัดการกำจัด ฝ่ายกบฎมากกว่าการเจรจา
ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของสันติภาพ
แผ่นดินไหวและสึนามิ เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง โยโดโน ตัดสินใจช่วยเหลืออะเจห์อย่างไม่ลังเลใจ ท่านได้สั่งการและเปิดช่องทางให้ทหารจากต่างประเทศรวมทั้งความช่วยเหลือจาก ประเทศต่างๆ เข้าไปในอะเจห์ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลจาร์การ์ต้าไม่เคยอนุญาติให้ชาวต่างชาติเข้าไปทำวิจัย [4] หรือเหยียบย่างเข้าไปให้ความช่วยเหลืออะเจห์ ในฐานะดินแดนต้องห้ามอันเป็นคู่กรณีของรัฐมาก่อน
ดังนั้นความช่วยเหลือจากประเทศต่างๆจึงไหลบ่าเข้าไป สนามบินในเมืองอะเจห์เต็มไปด้วยสายการบินจากนานาชาติ ไม่ว่าจะเป็น จีน สเปน รัสเซีย เครื่องบินทหารจากสิงคโปร์ มาเลเซีย อังกฤษ สหรัฐอเมริกา เข้ามาให้ความช่วยเหลืออย่างไม่ขาดสาย และนี้ทำให้ความขัดแย้งที่มีเหตุมาจากศาสนาและชาติพันธุ์ของทั้งฝ่ายรัฐบาล จาร์การ์ต้าและอะเจห์ ได้ขาดสะบั้นลง และสามารถดึงทุกฝ่ายเข้าร่วมเจรจาสันติภาพได้อย่างไม่น่าเชื่อ
ความรู้และการกระทำซ้ำๆเพื่อป้องกันภัย
การเรียนรู้เพื่อป้องกันภัยพิบัติไม่ว่าจะเป็นจากธรรมชาติหรือภัยพิบัติ ที่มาจากน้ำมือของมนุษย์นั้น จะได้มาด้วย 2 ปัจจัยสำคัญ คือ ความรู้และการฝึกปฏิบัติซ้ำๆความรู้แบบสหสาขาวิชา คือ สิ่งที่จะเข้ามาช่วยให้เข้าใจรากเหง้าของปัญหาและนำมาซึ่งการป้องกันและ แก้ไขปัญหา เพราะสังคมไม่ได้อยู่ที่องค์ความรู้สาขาใดสาขาหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น การจัดการภัยพิบัติที่มาจากธรรมชาติไม่ได้อยู่ในมือของนักวิทยาศาสตร์หรือ วิศวกร เช่นเดียวกันกับการจัดการภัยพิบัติที่มาจากน้ำมือของมนุษย์ก็ไม่ได้อยู่ใน มือของนักรัฐศาสตร์เท่านั้น เพราะเมื่อเวลาเกิดผลกระทบกับสังคมทุกความรู้ที่เป็นสหสาขาวิชา ได้แก่ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เศรษฐศาสตร์ นิเทศศาสตร์ รัฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ และอื่นๆ ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญและจำเป็นทั้งสิ้น ทั้งนี้เมื่อความรู้ที่เป็นจริงรวมกันเข้า ความรู้ทั้งหมดนี้จะกลายเป็น ‘สัจธรรม’ (true knowledge is truth)ที่ใช้ในการแก้ปัญหาทั้งหลายอย่างไรก็ตาม ความรู้และสัจธรรมที่มีอยู่ ยังต้องการการปฏิบัติซ้ำๆ เพื่อทำให้เกิดความเคยชินจะว่าไปการสอนมนุษย์ก็เหมือนกับการสอนเด็ก กว่าเราจะเขียนเป็นประโยคได้หรืออ่านหนังสือเป็นหน้าๆ ได้ ต้องอาศัยการฝึกเขียน ก. ไก่ ข.ไข่ มาโดยตลอดในช่วงเวลาวัยเยาว์ ดังนั้นการได้มาซึ่งสันติภาพและความสามารถในการป้องกันตัวเองจากภัยพิบัติ นอกจากความรู้แล้วยังต้องอาศัยการกระทำซ้ำๆ อย่างต่อเนื่องและยาวนานเพียงพอ ถ้าจะให้จังหวัดชายแดนภาคใต้มีสันติภาพคงต้องปลูกเมล็ดพันธุ์สันติภาพ [5] ตั้งแต่วัยเยาว์ หรือจะให้สังคมไทยเรียนรู้รับมือกับภัยพิบัติ อย่างน้อยก็คงต้องมีบรรจุอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล และกระทำเรื่อยมาจนถึงมหาวิทยาลัย
สังคมไทย ณ ตอนนี้เรามีความขัดแย้งเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เสื้อเหลือง-เสื้อแดง หรือเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จะว่าไปความขัดแย้งที่เกิด ขึ้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ด้วยเช่นกัน อีกทั้งมีการผลิตซ้ำจนเชื่อว่า การแก้ไขปัญหาด้วยความรุนแรง คือสิ่งที่ชอบธรรมและถูกต้องความรู้และการปฏิบัติซ้ำๆ ที่ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาด้วยความรุนแรงและความประมาณไม่เตรียมพร้อมกับภัย พิบัติเกิดขึ้นได้ฉันใด ความรู้และการปฏิบัติซ้ำๆ เพื่อนำมาสร้างกลไกแห่งสันติภาพและการป้องกันภัยพิบัติที่มาจากธรรมชาติก็ สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยฉันนั้น ผู้เขียนหวังเล็กๆ ว่า สังคมไทยคงไม่น่าจะต้องรอให้ถึงคนรุ่นถัดไปมาเรียนรู้ความขัดแย้งและความ ประมาทของพวกเราผู้ใหญ่ในยุคปัจจุบัน สันติภาพและความไม่ประมาทจึงถึงจะเกิดขึ้น
ภาพ: ความเสียหายหลังสึนามิ ณ ลัมโน (Lamno) จังหวัดอะเจห์ ประเทศอินโดนีเซีย ถ่ายเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2548 โดย Christian Aslund
ที่มา : Christian Aslund สืบค้นจาก http://www.google.com.au/imgres?um=1&hl=en&sa=N&biw=1090&bih=619&tbm=isch&tbnid=mTznHDuGy16P-M:&imgrefurl=http://www.lightstalkers.org/images/show/112084&docid=K6w92KyBOz2AyM&imgurl=http://s3.amazonaws.com/lightstalkers/images/112084/2005Aceh01_large.jpg&w=800&h=521&ei=4bkQUIPRK-2NiAfOj4BA&zoom=1&iact=hc&vpx=478&vpy=278&dur=164&hovh=181&hovw=278&tx=203&ty=116&sig=103733211876075597306&page=5&tbnh=132&tbnw=174&start=75&ndsp=20&ved=1t:429,r:7,s:75,i:340
สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2555
ที่มา : Christian Aslund สืบค้นจาก http://www.google.com.au/imgres?um=1&hl=en&sa=N&biw=1090&bih=619&tbm=isch&tbnid=mTznHDuGy16P-M:&imgrefurl=http://www.lightstalkers.org/images/show/112084&docid=K6w92KyBOz2AyM&imgurl=http://s3.amazonaws.com/lightstalkers/images/112084/2005Aceh01_large.jpg&w=800&h=521&ei=4bkQUIPRK-2NiAfOj4BA&zoom=1&iact=hc&vpx=478&vpy=278&dur=164&hovh=181&hovw=278&tx=203&ty=116&sig=103733211876075597306&page=5&tbnh=132&tbnw=174&start=75&ndsp=20&ved=1t:429,r:7,s:75,i:340
สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2555
ภาพ: ความเสียหายจากสึนามิบริเวณมัสยิดกลางของอะเจห์
ที่มา : ngecampสืบค้นจาก http://ngecamp.blogspot.com.au/2012/04/sumatera-earthquarke-89-sr-stunami-2012.html สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2555
บรรณานุกรมที่มา : ngecampสืบค้นจาก http://ngecamp.blogspot.com.au/2012/04/sumatera-earthquarke-89-sr-stunami-2012.html สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2555
- Vatiliotis, M. (2007) ‘Civil War, Conflicts and Natural Disasters’, in Ananta, A. and Onn, L. P. (eds) Aceh a New Dawn, Singapore, Institute of Southeast Asian Studies, pp. 6 – 13.
- ผู้เสียชีวิตประมาณ 180,000 คน มีคนไร้บ้านกว่าครึ่งล้าน และหมู่บ้านกว่า 600 หมู่หายวับไปในวันเดียว
- ทหารมักจะตั้งค่ายริมทะเล และมีจำนวนมากที่ประจำการในพื้นที่
- อ่านเพิ่มเติมได้ใน อลิสา หะสาเมาะ. (2007)‘อัตลักษณ์ของชาวอะเจห์ในประเทศอินโดนีเซีย’ http://www.deepsouthwatch.org/node/164
- ผู้เขียนเข้าไปทำวิจัยในอะเจห์ช่วงปีพ.ศ. 2548 ถึงกระนั้นก็ตามยังมีป้ายประกาศห้ามไม่ให้วีซาสกับนักวิจัยชาวต่างชาติเข้า ไปศึกษาในอะเจห์
- อย่างที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดลได้พยายามทำมาตลอดในทุกๆ ที่ ดูเพิ่มเติมhttp://www.peace.mahidol.ac.th /th/index.php?option=com_content&task=view&id=841&Itemid=172