WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, July 28, 2012

คำวินิจฉัยพร่าๆ ในพายุที่พรำๆ

ที่มา ประชาไท

 

ครบ 13 วัน นับจาก ‘ศุกร์ที่ 13’ ที่ศาลได้อ่านคำวินิจฉัย ก็ประจวบกับคลื่นลม ‘จากแดนไกล’ ที่พัดเข้าใกล้การเมืองไทยมากขึ้นทุกที
เอกสารคำวินิจฉัยที่ศาลเผยแพร่หลังพ้น 13 วันนี้ มีสาระการวินิจฉัยตรงตามที่ศาลอ่าน สิ่งที่อ่านไม่ชัดเจน ก็ยังคงเขียนไม่ชัดเจน และศาลก็ไม่ระบุจำนวนมติตุลาการซึ่งขัดแนวปฏิบัติสากลที่ศาลรัฐธรรมนูญไทยใน อดีตเคยยึดถือ อีกทั้งยังไม่เปิดเผยคำวินิจฉัยส่วนตนให้อ่านประกอบได้ ในเบื้องต้นผู้เขียนจึงไม่มีประเด็นเพิ่มเติมจากที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ (ดู http://bit.ly/VPCONS)
แต่สังเกตว่า ศาลได้ปรับถ้อยคำอย่างมีนัยสำคัญบางจุด เริ่มตั้งแต่หน้าแรก ที่ระบุเพิ่มว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 ไม่ใช่ ‘ประธานรัฐสภา’ แต่เป็น ‘ประธานรัฐสภา ในฐานะรัฐสภา’
ถ้อยคำนี้ถูกปรับให้ต่างไปจาก ‘หนังสือเรียกเอกสารฯ’ ที่ประธานศาลเคยลงนามพร้อมระบุว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 คือ ‘ประธานรัฐสภา’ (เฉยๆ ดู http://bit.ly/VPC1June ) ซึ่งตรงกับที่ประธานศาลชี้แจงว่าตนออกหนังสือแจ้งไปยังประธานรัฐสภา แต่มิได้สั่งสภา อีกทั้งตรงกับคำในเอกสารข่าวของสำนักงานศาล และสอดรับกับการไต่สวนพยานที่ให้ ‘คุณวัฒนา เซ่งไพเราะ’ มาศาล ‘แทนประธานรัฐสภา’ (แต่ไม่ได้มาแทนรัฐสภา)
การปรับถ้อยคำเช่นนี้ จึงเป็นเครื่องยืนยัน ‘ความผิดรูปผิดรอย’ ของคดีที่หลุดเลยจาก ‘ปริมณฑลทางกฎหมาย’ มาแต่ต้น และทำให้เห็นว่า ศาลเองก็สับสนในข้อกฎหมายมาตั้งแต่วันรับคำร้องแล้วเช่นกัน
แต่คำถามที่สำคัญในเวลานี้ ก็คือ สภาจะเดินหน้าต่ออย่างไร ?

คำวินิจฉัยศาล มีผลทางกฎหมายหรือไม่ ?
แม้ผู้เขียนจะค้านว่า ศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้มาแต่ต้น แต่ก็ค้นจิตสำนึกทางกฎหมายไว้พร้อมแล้วว่า ไม่ว่าสุดท้ายศาลจะวินิจฉัยข้อกฎหมายอย่างไร ผู้เขียนก็พร้อมจะสนับสนุนให้คำวินิจฉัยนั้นต้องเด็ดขาดและเป็นที่สิ้นสุด
กล่าวคือ หากศาลวินิจฉัยว่า รัฐธรรมนูญ ‘กำหนดให้’ รัฐสภาต้องทำ ‘ประชามติ’ ก่อนการ ‘ยกร่างแก้ไขใหม่ทั้งฉบับ’ แม้ว่าผู้เขียนเองจะไม่เห็นด้วยกับศาลเลยก็ตาม แต่ก็พร้อมจะหนุนศาลว่า สภาก็ต้องไปหาวิธีทำประชามติเพื่อปฏิบัติตามที่ศาลได้ชี้ขาด
เหตุผลที่ผู้เขียนมองเช่นนี้ ไม่ใช่เพราะลุ่มหลงกับ มาตรา 216 วรรค 5 แห่งรัฐธรรมนูญ ที่บัญญัติให้คำวินิจฉัยนั้นต้องเด็ดขาดและผูกพันรัฐสภา แต่เป็นเพราะผู้เขียนเชื่อในหลักการที่ใหญ่กว่านั้น
หลักการที่ว่า ก็คือ ‘หลักกระบวนการเรียนรู้ทางประชาธิปไตย’ กล่าวคือ ประชาธิปไตยต้องอาศัยเวลาในการเรียนรู้ร่วมกันภายใต้กติกาที่แน่นอน แม้จะกติกาที่ว่าจะไม่สมบูรณ์และไม่เป็นที่ถูกใจทุกฝ่ายก็ตาม ดังนั้น เมื่อสภาปฎิบัติตามศาลแล้ว สภาจะไปแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือจะไปปฏิรูปศาลอย่างไร ก็เป็นเรื่องกระบวนการประชาธิปไตยที่ทั้งสภาและศาลจะต้องเรียนรู้ร่วมกัน โดยไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปตัดตอนผลคำวินิจฉัย ซึ่งเป็นสาระของการเรียนรู้เสียเอง
ฉันใดก็ฉันนั้น หากจะมี ‘พายุแดนไกล’ ลูกใด ที่ถูกถูกมองว่ารุนแรงและเลวร้ายต่อการเมืองไทย แต่หากเรามีศาลเป็นที่พึ่ง มีกติกาที่แน่นอน ผู้เขียนก็เชื่อว่า คนไทยก็มิได้โง่เขลาขนาดจะปล่อยให้บ้านเมืองถูกพัดทำลายจนชาติสลาย ดังนั้น จึงไม่มีพื่นที่ใดที่จำเป็นสำหรับ ‘ลัทธิรัฐประหาร’ ที่มาตัดตอนการสู้คลื่นลมโดยประชาชน ที่มีกฎหมาย ศาล สภา และองค์กรอื่นๆ เป็นที่พึ่ง (ดูเพิ่มที่ http://bit.ly/VPProcess)
ส่วนข้อโต้แย้งที่ว่า ‘คำวินิจฉัยที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย’ จะต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญเท่านั้น หากต่างฝ่ายต่างอ้างกันได้เช่นนี้ สังคมก็คงขัดแย้งบานปลาย เพราะทุกคนชี้เองได้ แต่ชี้ไปกี่สิบกี่พันนิ้ว ก็ไม่ขาดเสียที
และแม้จะคิดให้ไกลกว่านั้น ผู้เขียนก็ได้หาเหตุผลมารอหนุนศาลไว้ โดยหากศาลวินิจฉัยว่า ‘ต้องทำประชามติ’ ผู้เขียนก็จะอธิบายว่า ศาลได้วินิจฉัยให้การได้ลงประชามติที่ว่าเป็น “สิทธิโดยปริยาย” ตาม มาตรา 27 แห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งมาตรา 27 ที่ว่านี้ หากศาลใช้เป็น ก็จะเป็นฐานอำนาจที่ทรงอานุภาพยิ่งกว่า มาตรา 68 อีกหลายเท่า

ตกลงสภาต้องทำ ‘ประชามติ’ หรือไม่ ?
แม้ผู้เขียนมีหลักการและเหตุผลที่พร้อมจะหนุนศาล แต่ชะตากลับเล่นตลก เมื่อศาลท่านกลับไม่ยอมวินิจฉัยให้เด็ดขาดว่าสภา ‘ต้องทำประชามติ’ หรือไม่
แต่ศาลกลับอ้างเจตนารมณ์โดยไม่มีบทบัญญัติอ้างอิงชัดแจน เพื่อกล่าวเอาเองอย่างสะดวกว่า “ก็ควรจะได้ให้ประชาชน...ได้ลงประชามติเสียก่อนว่าสมควรจะมีรัฐธรรมนูญฉบับ ใหม่หรือไม่”
คำว่า ‘ควร’ ที่ศาลกล่าวมานี้ ต้องมองให้ทะลุถึงความหมายสองชั้น
ชั้นแรก คือ ‘ควร’ ให้ประชาชนลงประชามติ (กล่าวคือ ศาลไม่บังคับว่าจะต้องลงประชามติ)
ชั้นที่สอง คือ ประชามติก็เพียงถามว่า ‘สมควร’ มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ (กล่าวคือ ศาลไม่บังคับว่าผลการลงประชามติจะต้องเป็นข้อยุติที่ผูกพันสภา แต่อาจเป็นเพียงความเห็นของประชาชน ซึ่งแสดงว่าตรรกะและการใช้คำของศาลนั้น ก็ขัดแย้งกันเอง)
เมื่อศาล ‘เลือก’ ให้คำแนะนำทางการเมืองอย่างกำกวม แทนการชี้ข้อกฎหมายให้เด็ดขาด ผู้เขียนจึงไม่อาจนำหลักการที่เตรียมหนุนศาลมาใช้ได้ แต่กลับกัน ผู้เขียนกลับต้องไปหนุนสภาให้เดินหน้าสร้างกระบวนการเรียนรู้ทางประชาธิปไตย โดยการ ‘ยึดรัฐธรรมนูญให้อยู่เหนือศาลรัฐธรรมนูญ’ เพื่อยืนยันว่าศาลย่อมต้องเป็นศาลที่ชี้กติกาให้ชัด แต่จะมาเล่นการเมืองแบบกำกวมไม่ได้
ดังนั้น สภาจึง ‘ไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม’ คำแนะนำของศาล ตรงกันข้าม สภาต้องปฏิบัติตามการชี้ขาดของศาลที่วินิจฉัย ‘ยกคำร้อง’ หมายความว่า การดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ที่กระทำมาค้างที่ วาระ 2 ก็ต้องเดินต่อไปสุดที่ วาระ 3 โดยสภาไม่มีหน้าที่ต้องทำประชามติแต่อย่างใด

การเมืองไทย จะเดินต่ออย่างไร ?
แม้สภาจะเปิดประชุม 1 สิงหาคมนี้ แต่สภาก็คงจะอาศัยภารกิจในวโรกาสมหามงคล ประกอบกับการลุ้นชิงตำแหน่ง ‘ประธานวุฒิสภา’ คนใหม่ มาเป็นเครื่องต่อเวลา เพื่อไม่ต้องตัดสินใจทันทีว่าจะเดินต่อตามคำวินิจฉัยหรือไม่อย่างไร
แต่ในระยะยาว แม้ผู้เขียนจะเสนอให้สภาต้องเดินหน้าต่อสู่ วาระ 3 แต่ความพร่ามัวของคำวินิจฉัยก็ทำให้หลายฝ่ายกลับต้องกังวลว่า หากเดินหน้าต่อไป ไม่ว่าจะทางใด จะทำผิดกฎหมายหรือไม่ หรือพลาดพลั้งในทางการเมืองอย่างไร ?
หากเดินหน้าต่อวาระ 3 ก็จะมีผู้กล่าวหาว่าทำผิดรัฐธรรมนูญ เพราะศาลตีความรัฐธรรมนูญเอาไว้แล้วว่าควรต้องทำประชามติก่อน จะอ้างว่าศาลเพียงเสนอแนะ ก็ไม่มีใครรับประกันผลที่ตามมาได้
แต่หากเดินหน้าทำประชามติ หรือปล่อย วาระ 3 ทิ้งไว้ ก็จะมีผู้กล่าวหาว่าทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ที่บังคับชัดเจนว่าต้องดำเนินการให้ครบ 3 วาระ ครั้นจะอ้างศาลมากำบัง ก็จะมีการอ้างว่าข้อเสนอแนะย่อมไม่มีผลผูกพัน
หรือหากสภาจะเลือกเดินหน้าไปสู่วาระ 3 และยอมลงมติไม่เห็นชอบ เพื่อให้กระบวนการตั้ง ส.ส.ร. เป็นอันต้องล้มเลิกไป (จากนั้นจึงไปแก้ไขรายมาตรา) แม้สภาย่อมทำได้ในทางกฎหมาย แต่สภาก็คงต้องคิดถึงผลทางการเมืองที่หนักหนายิ่งกว่า
หรือหากมองโลกให้ร้ายที่สุด ความพร่ามัวของคำวินิจฉัย อาจกลายมาเป็น ‘ใบเบิกทาง’ การรอมชอมระหว่างกลุ่มอำนาจ ทำนองว่า หากสภาไม่แก้รัฐธรรมนูญไม่ลดอำนาจศาล ศาลก็จะไม่แตะอำนาจนิรโทษกรรมของสภา ซึ่งการรอมชอมที่ว่า จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากกฎหมายมีความชัดเจน ยุติเป็นที่สิ้นสุด แม้พายุทางการเมืองจะพัดพรำๆ ก็ตาม

VOTE NO: ทางออกที่เป็นไปได้ และควรเป็น ?
 
 
หากสภาต้องการยึดกฎหมายให้อยู่เหนือศาล แต่น้อมฟังความห่วงใยของศาลไปพร้อมกัน โดยไม่ต้องไปสุ่มเสี่ยงกับความวุ่นวายทางกฎหมายและการเมืองที่อธิบายมา ผู้เขียนก็ขอเสนอทางออกดังนี้
ประการแรก ยึดหลักกฎหมายให้มั่นว่า สภามีหน้าที่ต้องเดินต่อไปสู่วาระที่ 3 และกฎหมายย่อมอยู่เหนือการเมืองหรือข้อเสนอแนะใดๆ
ประการที่สอง หากสภาอ่านคำวินิจฉัยให้ดี จะพบว่าถ้อยคำของศาลที่ว่า “ก็ควรจะได้ให้ประชาชน...ได้ลงประชามติเสียก่อนว่าสมควรจะมีรัฐธรรมนูญฉบับ ใหม่หรือไม่” นั้น ศาลไม่ได้ระบุว่าควรมีการลงประชามติ “ก่อนการลงมติ วาระ 3” ดังที่บางฝ่ายเข้าใจ ศาลกล่าวเพียงว่า การลงประชามตินั้นควรมี “ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยการยกร่างใหม่ทั้งฉบับ” (โปรดดูคำวินิจฉัยหน้า 25 ย่อหน้าสุดท้ายที่ http://bit.ly/VP26July )
ดังนั้น แม้สภาจะลงมติ ‘วาระ 3’ ไปแล้ว แต่หากการแก้ไขโดยยกร่างใหม่ทั้งฉบับ (โดย ส.ส.ร.) ยังไม่เริ่มต้นขึ้น สภาก็ย่อมชอบที่จะหามติจากประชาชนได้ และก็มิได้เป็นการขัดแย้งกับคำแนะนำของศาลเสียทีเดียว
ประการที่สาม สภาจะมีวิธีการถามมติจากประชาชน ‘หลังการลงมติในวาระ 3’ อย่างไร จึงถูกกฎหมาย และไม่เป็นการไปยอมรับคำแนะนำที่ขัดต่อหลักการเสียเอง ?
ทางออกที่เป็นไปได้ คือ การให้สภาประกาศ ‘คำมั่นทางการเมือง’ แก่ประชาชน ดังนี้
(1) ในวันเลือกตั้ง ส.ส.ร. (หลังการลงมติวาระ 3) หากประชาชนได้กาช่อง ‘ไม่ประสงค์ลงคะแนน’ (Vote No) รวมกันสูงเป็นลำดับที่ 1 จากคะแนนทั้งหมด รัฐสภาจะยอมรับว่า ประชาชนมีมติไม่ต้องการให้มี ส.ส.ร. มายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ และสภาก็จะไปแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อยกเลิกการตั้ง ส.ส.ร. (โดยยอมรับข้อจำกัดว่า อาจมีประชาชนบางส่วนต้องการให้มี ส.ส.ร. แต่ไม่ประสงค์เลือก)
(2) ตรงกันข้าม หากประชาชนเสียงข้างมากตัดสินใจลงคะแนนเลือก ส.ส.ร. สภาก็ย่อมเคารพมติของประชาชนในการเดินหน้าให้มี ส.ส.ร. มายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ 
วิธีที่นำเสนอมามานี้ เป็นการอำนวยให้ประชาชนสามารถ ‘ลงมติยับยั้ง’ การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้ตั้งแต่ก่อนการแก้ไขทั้งฉบับจะเริ่มขึ้น ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีกฎหมายรองรับ อีกทั้งประหยัดงบประมาณ เพราะทำไปในคราวเดียวกับการเลือกตั้ง ส.ส.ร.อีกทั้งไม่มีเหตุผลให้ศาลหรือใครจะมาคัดค้าน หากใครไม่ต้องการให้มี ส.ส.ร. มายกร่างทั้งฉบับ ก็ออกไปรณรงค์ Vote No ได้เต็มที่ หรือจะส่งพวกมาสมัครเป็น ส.ส.ร. ที่พร้อมลาออก ก็ทำได้
หากสภาทำได้เช่นนี้ ‘กระบวนการเรียนรู้ทางประชาธิปไตย’ ของไทยก็จะพัฒนาไปสู่การใช้กฎหมายอย่างลึกซึ้งแยบยล เพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมืองที่น่าปราถนา แทนที่จะมาติดกับดักเรื่อง หลักนิติศาสตร์ / รัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นวาทกรรมที่ไร้แก่นสารและโบราณเกินไปเสียแล้ว.