WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, July 24, 2012

รัฐ 3 แบบใน The Dark Knight Rises

ที่มา ประชาไท

 

ว่าด้วยหนัง
The Dark Knight Rises เป็นภาคสุดท้ายของไตรภาค Batman ของผู้กำกับคริสโตเฟอร์ โนแลน (Christopher Nolan) หนังภาคนี้จับความหลังจากแบทแมนปราบศัตรูสำคัญคือโจ๊กเกอร์ (Joker) สำเร็จ และยอมรับผิดแทนอัยการฮาร์วี่ย์ เด้นท์ (Harvey Dent) ที่กลายเป็นตัวร้ายทูเฟซ โดยเชื่อว่า ชื่อเสียงที่สั่งสมมาก่อนของเด้นท์น่าจะช่วยธำรงสันติในกอทแธม (Gotham) ได้มากกว่าการเปิดเผยความจริง จากนั้นแบทแมนก็หายจากเมืองนี้ไปในฐานะอาชญากร ทว่าสันติภาพที่มี เป็นเพียงภาพลวงตา ลึกลงไป กอทแธมยังมีปัญหา เมื่อความขัดแย้งปะทุหนัก แบทแมนจึงต้องกลับมา
ปมความขัดแย้งของหนังในภาคนี้ลึกซึ้งรุนแรงกว่าภาคก่อน เพราะนอกจากความขัดแย้งระหว่างพระเอก-ผู้ร้ายแล้ว สถานการณ์ทั้งหมดตั้งอยู่บนความขัดแย้งระหว่างคนในสังคมเดียวกันด้วย แม้ว่าในหนังจะไม่ได้เน้นที่ประเด็นนี้ก็ตาม แต่การมีอยู่ของความขัดแย้งนี้ทำให้แบทแมนทำงานยากขึ้นจนถึงขั้นเกือบเอา ชีวิตไม่รอด นอกจากนี้คู่ปรับคนสำคัญของแบทแมนในภาคนี้คือ “เบน” (Bane) นั้นน่ากลัวกว่าโจ๊กเกอร์ เพราะเบนมีทั้งพละกำลัง สติปัญญา เงินทุนและอุดมการณ์ (แถมยังมีการจัดองค์กรอย่างดี) ในแง่ของเป้าหมาย โจ๊กเกอร์แค่กวนเมือง แต่เป้าหมายของเบน คือการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างถอนรากถอนโคนโดยทันที
โนแลนเป็นที่จับตาหลังจาก Memento ออกฉายด้วยมุมมองแบบสำรวจจิตมนุษย์ วิธีการเล่าเรื่องถอยหลังทีละช่วงและการหักมุมที่เน้นผลสะเทือนทางความคิด มากกว่าความประหลาดใจ จากนั้นไม่กี่ปี The Dark Knight ก็สถาปนาโนแลนเป็นผู้กำกับวิสัยทัศน์ไกล ผู้เจนจัดศาสตร์และศิลป์ภาพยนตร์ ผลงานต่อจากนั้นก็รักษาคุณภาพระดับสูง The Dark Knight Rises ก็เป็นหนังคุณภาพในระดับดีเด่นเช่นเคย แต่นอกจากอรรถรสของการชมหนังชั้นดีแล้ว ปูมหลังตัวละคร เป้าหมายการต่อสู้ บริบทสภาพแวดล้อมของกอทแธม หลายฉากหลายตอนใน The Dark Knight Rises ทำให้นึกถึงประเด็นทางการเมือง โดยเฉพาะประเด็นว่าด้วยรูปแบบรัฐที่เป็นกรอบใหญ่ควบคุมจำกัดการเคลื่อนไหว ของตัวละครต่าง ๆ และเป็นเป้าหมายที่ตัวละครต่าง ๆ ต้องการรักษาไว้หรือเปลี่ยนแปลงในระดับต่าง ๆ กัน
ว่าด้วยรัฐ
พิจารณาจากฉากตอน บริบทและเป้าประสงค์ของตัวละครต่างๆ แล้ว รูปแบบรัฐในหนังเรื่องนี้อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะคือ หนึ่ง รัฐวีรชน สอง รัฐธนกิจ และสาม เสนารัฐ
รัฐวีรชน
กอทแธมหลังแบทแมนใช้แรงส่งจากการเสียชีวิตของเด้นท์ผู้ ที่มีชื่อเสียงด้านการปราบปรามอาชญากรออกกฎหมายมอบอำนาจให้ตำรวจจัดการ อาชญากรรมอย่างเด็ดขาด (รัฐบัญญัติเด้นท์-Dent Act) ข้อเท็จจริงด้านลบเกี่ยวกับเด้นท์ถูกปิดบัง คนจำนวนหนึ่งต้องรับเคราะห์จากความเท็จนี้ แบทแมนกลายเป็นผู้ต้องหา ผู้การกอร์ดอนต้องฝืนจรรยาชีพตำรวจโกหกสังคมเรื่องเด้นท์ นักโทษจำนวนมากถูกจับไปไว้ในเรือนจำโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมตามขั้นตอน ปกติเนื่องมาจากรัฐบัญญัติดังกล่าว
กอทแธมวางความสงบสุขของสังคมบนธงศีลธรรมเป็นหลักและมุ่งไปสู่เป้าหมายทาง ศีลธรรมนั้นโดยไม่สนวิธีการ รัฐผลิตมายาคติหล่อหลอมประชาชนให้สนับสนุนนโยบายรัฐ สร้างสถาบันพิเศษเป้าหมายเฉพาะเพื่อกวาดล้างสร้างสังคมสะอาด กฎระเบียบบังคับใช้อย่างเข้มงวด ตำรวจทำงานภายใต้ตรรกะความมั่นคง (คุณผิดจนกว่าคุณจะพิสูจน์ตัวเองได้ว่าไม่ผิด) สังคมมีแนวโน้มอิงหลักการของปรัชญาอรรถประโยชน์นิยม(Utilitarianism) ว่าด้วยการเสียสละส่วนน้อยเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่
ผลที่ได้คือ เบื้องหน้าสังคมที่ดูเหมือนสงบสุข มีระเบียบเรียบร้อย แต่เบื้องลึกกอทแธมยังมีปัญหาอาชญากรรม เพิ่มเติมด้วยปัญหาการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลในนามของความดี ประชาชนถูกทำให้สูญเสียศักยภาพในการคิดและแก้ปัญหาด้วยตนเอง ยึดติดตำนานวีรชน เมื่อเผชิญวิกฤตทางออกของประชาชนในรัฐเช่นนี้คือเรียกหาอัศวิน
สังคมในรัฐเช่นนี้ มีแนวโน้มรักษาสถานะอำนาจเดิมไว้เหนียวแน่น ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ปรับตัวยาก เมื่อเผชิญปัญหาหนักมักช็อก ประชาชนและเจ้าหน้าที่มักสยบต่ออำนาจ
กองกำลังติดอาวุธจำนวนหนึ่งและระเบิดไม่กี่ลูกของเบนจึงทำให้เบนควบคุมกอทแธมได้เบ็ดเสร็จ
เมื่อสังคมมีภูมิต้านทานต่ำ รัฐธนกิจก็สามารถสวมทับเข้ามาอย่างแนบเนียน เพราะหนึ่ง กลไกควบคุมรักษาระเบียบเข้มข้น สอง ประชาชนหมดสมรรถภาพในการคิด (รัฐเข้มแข็ง-ประชาสังคมอ่อนแอ) กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ รัฐธนกิจฝังตัวเติบโตได้ดีในรัฐที่อำนาจรวมศูนย์ในกลุ่มคนจำนวนน้อยและประชา สังคมอ่อนแอ
รัฐธนกิจ
อุตสาหกรรมขนาดใหญ่และตลาดหุ้นเป็นกลไกทางเศรษฐกิจ สำคัญของกอทแธม เศรษฐกิจเติบโตก้าวหน้า แต่ก็มีปัญหาการกระจายรายได้จนกลายเป็นความเหลื่อมล้ำทางสังคม ในขณะที่ทุนใหญ่กอทแธมมุ่งขยายกิจการ นายหน้าค้าเงิน-หุ้นร่ำรวย ปรากฏว่ามีเด็กกำพร้าขาดแคลนปัจจัยดำรงชีพที่เหมาะสม มีหญิงสาวขายบริการทางเพศเพื่อเลี้ยงชีพ เซลิน่า ไคล์ (Selina Kyle) สาวผู้มากความสามารถยังไม่อาจมีที่ยืนในสังคมปกติต้องผันตัวเป็นนางโจร ผลประโยชน์ทางธุรกิจมีบทบาทนำหน้าปัญหาสังคมโดยรวม เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม
ในกอทแธมมีทั้งกลุ่มทุนเก่าแก่อย่างตระกูลเวนย์ และนักธุรกิจเศรษฐินีใหม่ใจถึงอย่างมิแรนด้า เทต (Miranda Tate) ที่สร้างตัวขึ้นมาจากความว่างเปล่า รุ่งเรืองด้วยการทำธุรกิจ ในขณะที่เศรษฐีเก่าอย่างบรูซ เวนย์ (Bruce Wanye) มุ่งมั่นพัฒนาพลังงานทางเลือกที่สะอาดจน Wayne Enterprises ผลประกอบการตกต่ำ ทุนหายกำไรหด บ้านเด็กกำพร้าที่เคยได้รับการอุปถัมภ์จากมูลนิธิของเขาจึงพลอยถูกตัดความ ช่วยเหลือทางการเงินลง หรือกระทั่งล้มละลายในพริบตาเมื่อตกเป็นเหยื่อของเกมตลาดหุ้น (อาจเป็นครั้งแรกในจักรวาลที่ซูเปอร์ฮีโร่ล้มละลาย)
กลไกตลาดเสรีในกอทแธมทำงานล้มเหลว เพราะไม่สามารถทำให้ทุกคนสามารถเข้าไปแข่งขันในตลาดได้อย่างเสรีจริง กลไกการกระจายความมั่งคั่งกลับคืนสู่สังคมบิดเบี้ยวกระจายไปไม่ถึงผู้ที่จำ เป็นต้องได้รับ นอกจากนี้สังคมยังตั้งอยู่บนความเสี่ยงผันผวน มหาเศรษฐีอย่างบรูซ เวนย์ ยังสามารถกลายเป็นยาจกชั่วข้ามคืน ปัญหาการเติบโตทางเศรษฐกิจมีความสำคัญกว่าปัญหาสังคม-สิ่งแวดล้อม
สังคมรัฐธนกิจเป็นสังคมแข่งขันแบบแพ้คัดออก พัฒนาทางวัตถุรวดเร็ว ความมั่งคั่งกระจุกตัว ผู้คนจำนวนมากถูกละเลยทอดทิ้งตราหน้าว่าไร้ความสามารถ ยิ่งความเหลื่อมล้ำยิ่งห่างและเห็นได้ชัด ความตึงเครียดระหว่างผู้มั่งมีและผู้ยากไร้ยิ่งสูง ข้อเสนอของเบน (ผู้ที่เสียงระคายหู)ให้ยึดทรัพย์สินจากคนรวยจึงได้รับการตอบรับอย่างดีจาก มหาชนที่ถูกกดขี่ในรูปแบบต่าง ๆ มายาวนาน           
เสนารัฐ
เบนมีพร้อมทั้งพละกำลัง สติปัญญา เงินทุนและอุดมการณ์ เขาร่วมมือกับนายทุนยึดกอทแธมได้โดยสะดวกก่อนสังหารนายทุนบางเจ้าทิ้งเมื่อ หมดประโยชน์ ช่องความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ถ่างกว้างช่วยให้อุดมการณ์สุดโต่งและความ รุนแรงที่เบนใช้สาแก่ใจประชาชนผู้เสียเปรียบ ในการปกครองประชาชน เบนระเบิดสนามฟุตบอล วางระเบิด ติดตั้งระเบิดนิวเคลียร์ข่มขู่ประชาชนให้อยู่ในอำนาจ ประชาชนชาวกอทแธมสามารถเคลื่อนไหวอิสระได้ตราบเท่าที่ไม่ขวางแผนการ ผู้ที่เป็นปฏิปักษ์จะถูกพิพากษาด้วยศาลเตี้ย (ยิงทิ้ง ณ ที่เกิดเหตุ) หากรอดศาลเตี้ยมาขึ้นศาลยุติธรรมก็เป็นศาลยุติธรรมที่ขาดกระบวนการอันเป็น ที่ยอมรับ (รีบร้อนจับกุม ฟ้องศาลไม่ผ่านอัยการ ตัดสินโดยไม่ฟังความจำเลย พิพากษาโทษล่วงหน้า)
ความมั่นคงของสังคมที่เบนปฏิวัติตั้งบนปากกระบอกปืน ปกครองด้วยความกลัว ปั่นหัวประชาชนให้หวาดหวั่นโยนความหวังให้เล็กๆ น้อยๆ ป้องกันการลุกฮือครั้งใหญ่ ประชาชนหวาดระแวงกันและกัน ศาลยุติธรรมตัดสินคดีตามใจผู้มีอำนาจ อย่างไรก็ตามอุดมการณ์ของเบนนั้นแน่วแน่ ทำให้เขามีสาวกที่ยอมสละชีพเพื่อแผนการใหญ่ อำนาจเบ็ดเสร็จช่วยให้เขาเปลี่ยนแปลงสังคมในชั่วพริบตาเดียว ประชาชนกอทแธมบางส่วนอาจหวังว่า เหล่าทหารจรยุทธ์เหล่านี้จะมาช่วยเปลี่ยนชะตาเมือง แต่สิ่งที่ได้อาจจะเป็นแค่ความหวังลม ๆ แล้ง ๆ เพราะเสนาเบนกระทำการเพื่อตอบสนองความต้องการตนเองมากกว่าเพื่อพลเมืองทั้ง หลาย
เสนารัฐเช่นนี้กุมอำนาจเบ็ดเสร็จ ปรับเปลี่ยนนโยบายรวดเร็วทันใจ ทุ่มทรัพยากรทั้งหมดเพื่อเป้าหมายเฉพาะได้ไม่ต้องฟังเสียประชาชนหรือต่อรอง กับกลุ่มผลประโยชน์ แต่ก็ไม่มีหลักประกันว่าปากกระบอกปืนของรัฐจะหันไปหาใครบ้างเพราะอำนาจไม่ ถูกถ่วงดุล
รัฐ 3 แบบ กับเป้าหมายที่ไปไม่ถึง
เมื่อเปรียบเทียบรัฐทั้ง 3 แบบแล้ว อาจจะเป็นที่ถกเถียงได้ว่า รัฐแบบใดดีกว่ากัน แต่ผลสรุปที่แน่นอนคือ รัฐแต่ละแบบนั้นต่างมีปัญหาในการบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ทั้งสิ้น รัฐวีรชนไม่สามารถสร้างสังคมสะอาดบริสุทธิ์ รัฐธนกิจไม่สามารถสร้างสังคมที่มั่งคั่งทั่วถึง เสนารัฐไม่สามารถเปลี่ยนแปลงชุมชนไปสู่อุดมคติที่ตั้งไว้ได้
รัฐวีรชนมุ่งสร้างสังคมคนดีบริสุทธิ์ด้วยการให้อำนาจพิเศษกับบุคคล บางกลุ่มดำเนินโครงการสร้างสังคมอุดมคติบนฐานศีลธรรม ผลของการกระทำเช่นนี้ คือสังคมที่ขาดความเท่าเทียมทางการเมือง เพราะอำนาจกระจุกตัวไม่กระจายทั่วสังคมเท่าเทียม “คนดี” มีอำนาจมากกว่าคนทั่วไป วิธีการเน้นไปที่การตัด “เนื้อร้าย” ของสังคมทิ้ง ซึ่งมีปัญหาหลายประการที่ต้องคำนึงโดยเฉพาะประเด็นการนำศีลธรรมที่อาจเป็น เครื่องมือที่ดีในการกำกับพฤติกรรมมนุษย์ของแต่ละบุคคล แต่เป็นเครื่องมือที่อันตรายในการใช้เป็นเกณฑ์วัด/ตัดสินคน เพราะว่ามนุษย์เป็นสิ่งที่ไม่สมบูรณ์ หมายความว่ามนุษย์นั้นเปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่ง การจะแยกดีเลวเด็ดขาดถาวรเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
รัฐธนกิจส่งเสริมการสร้างประสิทธิภาพเฉพาะด้านเพื่อการขยายตัวทาง เศรษฐกิจ โดยคาดหวังว่าเมื่อเศรษฐกิจเติบโตแล้วจะกระจายให้สังคมอย่างทั่วถึง แต่ในทางปฏิบัติ บริษัทและภาคเอกชนที่รัฐธนกิจสนับสนุนอุ้มชูอยู่นั้นแย่งกันโต เมื่อแย่งกันโตก็มีการแข่งขันอย่างเข้มข้น นำไปสู่สภาวะแพ้คัดออก เหลือผู้อยู่รอดน้อยรายปริมาณทรัพย์สินไหลไปรวมกับผู้ชนะ การเติบโตทางเศรษฐกิจจึงเติบโตอย่างกระจุกตัว ในขณะที่กลไกการกระจายความมั่งคั่งกลับคืนสู่สังคม เช่น ระบบภาษี ก็ทำงานไม่เต็มที่เพราะขัดกับตรรกะการสะสมทุนไปแข่งขันต่อของภาคเอกชน
ผลอย่างเป็นรูปธรรมคือ นอกจากจะไม่สามารถกระจายความมั่งคั่งไปทั่วสังคมแล้ว ยังถ่างช่องความเหลื่อมล้ำกว้างขึ้น มีผู้พ่ายแพ้แข่งขันไม่ได้มากขึ้น ผู้พ่ายแพ้เหล่านี้จะหันหน้าไปประกอบอาชีพอื่นก็ลำบากเพราะถูกฝึกมาให้ทำงาน เฉพาะด้าน จะมีความสงบสุขทางจิตใจกับตนเองก็ยากเพราะไม่ได้มีชีวิตในสภาพที่เอื้ออำนวย ต่อการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์อย่างรอบด้าน ส่วนผู้ชนะที่อยู่ในกระบวนการเดียวกันก็ง่ายที่จะเพิกเฉยละเลยต่อเพื่อน มนุษย์ร่วมสังคม มองความยากลำบากของผู้พ่ายแพ้เป็นเรื่องปกติธรรมดาในนามของประสิทธิภาพและ การแข่งขัน
เสนารัฐนั้นต้องการถอนรากถอนโคนสังคมเดิมทันที เพื่อเปลี่ยนแปลงสร้างสังคมใหม่ที่คาดว่าจะดีกว่าสังคมเก่า วิธีการที่จะทำเช่นนี้ได้ต้องมีความคิดสุดโต่งและสร้างความคิดสุดโต่งให้ แพร่กระจายไปในสังคมจนผู้คนพร้อมจะกระทำความรุนแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม มองเห็นผู้ที่คิดต่างเป็นศัตรู เป็นผู้ล้าหลัง โดยมีทั้งชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมากเป็นต้นทุนของการเปลี่ยนแปลงสังคม ตัดโอกาสของการเรียนรู้ประสบการณ์เพื่อพัฒนาหาทางออกของประชาชนในสังคม ในด้านผลลัพธ์ก็ไม่มีหลักประกันได้ว่าเมื่อเปลี่ยนแปลงสังคมในทันทีแล้ว สังคมใหม่จะดีขึ้นกว่าสังคมเก่า
กอทแธมหลังการจากไปของแบทแมน การล่มสลายของตลาดหุ้นและความพ่ายแพ้ของเบน ได้เพิกถอนมายาคติบางประการออกไปจากสังคม ประชาชนได้เรียนรู้ว่า ความเพิกเฉยต่อผู้อื่นและความสุดโต่งในท้ายที่สุดล้วนกลายเป็นความรุนแรงใน สังคมได้ ซึ่งแลกมาด้วยต้นทุนที่แสนแพง
แน่นอนว่ายังไม่มีบทสรุปอนาคตของกอทแธม ไม่มีหลักประกันว่า กอทแธมจะเป็นเมืองที่ดีขึ้น แต่ดูเหมือนว่า สังคมที่ยอมรับความจริงของกันและกันมากขึ้น ใส่ใจกันและกันมากขึ้น ปรองดองกันมากขึ้น จะทำให้ใครบางคนสามารถปลดภาระบนไหล่ให้ผู้อื่นช่วยแบกรับ ใครบางคนได้มีโอกาสแก้ไขข้อผิดพลาดในอดีตเริ่มชีวิตใหม่ และทำให้ใครอีกหลายคนได้มีหลักประกันในสิทธิเสรีภาพในชีวิตของตนเองมากขึ้น