WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, July 25, 2012

ศึกไทยพีบีเอส "บอร์ดชุดใหม่" กับการลุกขึ้นสู้ของพนักงานเรียกร้อง "หยุดคุกคาม"

ที่มา Thai E-News

 25 กรกฎาคม 2555
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์



เสรีภาพสื่อคือหลักประกันเสรีภาพของประเทศ สื่อสาธารณะเช่น  ไทยพีบีเอส จำต้องเป็นสื่อกลางที่เที่ยงตรง ยึดมั่นในเสรีภาพ  และต้องโปร่งใสเพื่อประชาชน 


เปิด 14 ชื่อเข้าชิงบอร์ดใหญ่ "ไทยพีบีเอส"

  ที่มา ประชาไท

(24 ก.ค.55) เว็บไซต์องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) เผยแพร่ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเพื่อแสดงวิสัยทัศน์การสรรหากรรมการนโยบาย ส.ส.ท. 14 ราย ซึ่งจะมีการแสดงวิสัยทัศน์ในวันที่ 27 ก.ค.นี้

โดยการสรรหากรรมการนโยบายไทยพีบีเอสดังกล่าวมีขึ้นเพื่อทดแทนกรรมการ นโยบายไทยพีบีเอส ที่จะครบวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี ในวันที่ 2 ส.ค.นี้ จำนวน 5 คน ประกอบด้วย
1.ด้านบริหารจัดการองค์กร จำนวน 2 คน ได้แก่ นพ.พลเดช ปิ่นประทีป และนายจินตนา พันธุฟัก และ 2.ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตยฯ จำนวน 3 คน ได้แก่ นางมัทนา หอมละออ รศ.อรศรี งามวิทยาพงศ์ และนายกมล กมลตระกูล

สำหรับผู้ผ่านการคัดเลือก แบ่งเป็น ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตย การพัฒนาชุนชนหรือท้องถิ่น การเรียนรู้และการศึกษา การคุ้มครองและพัฒนาเด็ก เยาวชนหรือครอบครัว หรือการส่งเสริมสิทธิของผู้ด้อยโอกาสทางสังคม 9 ราย ได้แก่
  1. นายกมล กมลตระกูล กรรมการนโยบาย ส.ส.ท.ชุดที่กำลังจะหมดวาระ
  2. นายนคร ชมพูชาติ คณะกรรมการบริหาร ส.สท.
  3. นายวิทยากร เชียงกูล คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
  4. นางสมศรี หาญอนันทสุข ผู้อำนวยการเครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้งเสรี (มูลนิธิอันเฟรล)
  5. นางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท
  6. นายสุริชัย หวันแก้ว  ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหมาวิทยาลัย
  7. นายสมพันธ์ เตชะอธิก อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  8. นายณัฐวัฒน์ อริย์ธัชโภคิน ผู้เชี่ยวชาญด้านการประชาสัมพันธ์ เลขานุการคณะทำงานโฆษก สำนักงาน ป.ป.ช.
  9. นายวิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ด้านการบริหารจัดการองค์กร 5 ราย ได้แก่
  1. นายธีรภัทร สงวนกชกร อดีต บอร์ด อสมท.
  2. นางปราณี ทินกร อดีตคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาศาสตร์ธรรมศาสตร์
  3. นายพลเดช ปิ่นประทีป ประธานกรรมการนโยบาย ส.ส.ท.ชุดที่กำลังจะหมดวาระ
  4. นายอนุชาติ พวงสำลี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัย ฝ่ายระบบกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล/ กรรมการมูลนิธิโลกสีเขียว
  5. นายบุญเลิศ ศุภดิลก อดีตรองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์

พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 มาตรา 18 ได้กำหนดวิธีในการสรรหากรรมการนโยบายไทยพีบีเอสไว้ว่า ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการสรรหาฯ จำนวน 15 คน ที่ประกอบด้วย
  1. ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
  2. นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
  3. นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
  4. ประธานสภาสถาบันนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
  5. ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน
  6. ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค
  7. ประธานสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนในพระบรมราชูปถัมภ์
  8. ประธานสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย
  9. นายกสภาทนายความ
  10. ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
  11. ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
  12. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
  13. ปลัดกระทรวงการคลัง
  14. ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม 
  15. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
โดยกรณีที่กรรมการสรรหาฯ ลำดับที่ 1-10 ไม่สามารถเข้าประชุมได้ ให้ผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจเข้าประชุมแทน โดยจะสามารถเดินหน้าประชุมต่อไปได้ ก็ต่อเมื่อกรรมการสรรหาฯ มีจำนวนไม่น้อยกว่า 10 คน

ทั้งนี้ คณะกรรมการสรรหาฯ จะคัดเลือกผู้สมัครโดยวิธีลงคะแนนไม่เกินจำนวนตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง (ด้านบริหารจัดการองค์กร จำนวน 2 คน และด้านการส่งเสริมประชาธิปไตยฯ จำนวน 3 คน) โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของ คณะกรรมการสรรหาฯ ทั้งหมด
* * * * * * * * *

 จม.เปิดผนึกฉบับที่ 2 ของ พนง.ไทยพีบีเอส ร้องหยุดคุกคาม-จี้ถอดผู้บริหาร


ที่มา ประชาไท
นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป ประธานกรรมการนโยบาย ส.ส.ท.กล่าวว่า  “ต้องขอขอบคุณสำหรับทุกๆ ความเห็นและความห่วงใยที่มีต่อไทยพีบีเอส ในฐานะสื่อสาธารณะที่คนไทยทุกคนเป็นเจ้าของ ผมได้เห็นข้อมูลและบทความที่เผยแพร่แล้วพบว่า มีทั้งข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและข้อสังเกตที่ดี มีข้อมูลส่วนที่เป็นความคิดเห็น ข้อเสนอแนะแต่ก็มีข้อมูลที่ไม่จริงปะปนอยู่มาก  อย่างไรก็ตามไทยพีบีเอสยินดีรับข้อเสนอแนะเหล่านี้มาพิจารณา”
ที่มา: http://org.thaipbs.or.th/org_news/prnews/article60355.ece

พนักงานไทยพีบีเอสหมดศรัทธาการบริหารงานที่ไร้ซึ่งธรรมาภิบาลและการจำกัด สิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นของพนักงานในกรณีการเรียกร้องและร้องเรียน ให้มีการตรวจสอบการบริหารงานของไทยพีบีเอสในหลายภาคส่วน โดยภายหลังจากกลุ่มพนักงานซึ่งรวมตัวกันร่วมสองร้อยคนลงนามและเคลื่อนไหว เพื่อให้เกิดการตรวจสอบการบริหารงานหลังจอไทยพีบีเอส ก็ได้เกิดประเด็นการถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น/การ แสดงออกซึ่งนำไปสู่การได้รับการตรวจสอบจากภาคประชาสังคม สื่อมวลชน หน่วยงานอิสระต่างๆ และการข่มขู่คุกคามทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อกลุ่มพนักงานที่เคลื่อนไหว พร้อมการตั้งข้อสังเกตของพนักงาน ดังต่อไปนี้

1. ระดับผู้นำ/ตัวแทนองค์กรฯ ออกมาให้ข่าวว่าการร้องเรื่องมีทั้งข้อเท็จจริงและข้อมูลที่ไม่จริง ตามบทบาทข้างต้น ที่กล่าวว่า "ผมได้เห็นข้อมูลและบทความที่เผยแพร่แล้วพบว่า มีทั้งข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและข้อสังเกตที่ดี มีข้อมูลส่วนที่เป็นความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ แต่ก็มีข้อมูลที่ไม่จริงปะปนอยู่มาก" จึงขอตั้งข้อสังเกตว่าทำไมระดับบริหาร หรือโฆษกตัวแทนขององค์กรไม่สามารถออกมาชี้แจงข้อสงสัยให้แก่พนักงานและ สาธารณะชนตามประเด็นต่อไปนี้

- มีทั้งข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและข้อสังเกตที่ดี และทำไมถึงไม่ออกมาชี้แจงให้เห็นว่าการร้องเรียนของพนักงานเพื่อให้เกิดการ ตรวจสอบนั้น มีประเด็นหรือข้อมูลใดที่เท็จจริงและเป็นข้อสังเกตที่ดี ?
- มีข้อมูลส่วนที่เป็นความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ แต่ก็มีข้อมูลที่ไม่จริงปะปนอยู่มาก ทำไม ไม่มีการออกมาชี้แจงว่าประเด็นใดเป็นข้อเสนอแนะที่ควรรับไว้พิจารณาปรับปรุง และประเด็นใดที่กล่าวอ้างว่าเป็นข้อมูลเท็จ ไม่เป็นความจริง ?

2. นับตั้งแต่ที่มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มพนักงานที่เรียกร้องให้เกิดการตรวจสอบ มีการข่มขู่คุกคามพนักงานทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยกระบวนและวิธีการที่ไร้ซึ่งหลักการให้ความยุติธรรมและขาดธรรมาภิบาล ไม่สามารถมีกระบวนการสร้างความเข้าใจชี้แจงให้แก่พนักงานโดยรวม ซ้ำกระบวนการดังกล่าวยังยุยงให้พนักงานเกิดความแตกแยกเข้าใจผิด ซึ่งเป็นลิดรอนสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของความเป็นสื่อสาธารณะและสิทธิมนุษย ชน ตามประเด็นข้อสังเกตดังนี้

- มีการให้ข่าวทั้งแก่พนักงานภายในองค์กรและสื่อมวลชนภายนอก ว่ากลุ่มพนักงานที่มีการเคลื่อนไหวเป็นกลุ่มบุคคลที่เสียผลประโยชน์ เป็นกลุ่มเสื้อแดง เป็นกลุ่มบุคคลที่จะนำความเสื่อมเสียให้แก่องค์กร เป็นกลุ่มบุคคลที่มุ่งให้ร้ายแก่องค์กรและจะนำองค์กรตกไปสู่เครื่องมือ ทางการเมือง ฯลฯ

การให้ข้อมูลดังกล่าวถือเป็นการบิดเบือนเจตนารมณ์ที่บริสุทธิ์ของพนักงาน โดยสิ้นเชิง เนื่องด้วยพนักงานกลุ่มดังกล่าวรวมพลังเพื่อเคลื่อนไหวในการปกป้องสื่อ สาธารณะให้พ้นจากอำนาจการบริหารงานที่เชื่อว่ามีลักษณะการละเลยการปฏิบัติ หน้าที่ในการตรวจสอบความบกพร่องในการบริหารตลอดระยะเวลาสี่ปี การปกป้องผลประโยชน์และปกป้องการกระทำที่ไม่ได้ยึดมั่นตามหลักธรรมาภิบาลของ สื่อสาธารณะตามพันธกิจที่มีต่อสังคม การให้ข้อมูลดังกล่าวยังสร้างและถือเป็นการยุยงให้เกิดความแตกแยกในหมู่ พนักงานท่ามกลางวิกฤติประเด็นคำถามที่ควรตอบโจทย์ทั้งต่อพนักงานภายในองค์กร และต่อภาคประชาสังคม

- มีระดับผู้อำนวยในองค์กรสร้างความเคลื่อนไหวในเฟซบุ๊ก เพื่อส่งเสริมให้พนักงานในสังกัดตนเองสวมเสื้อไทยพีบีเอสเพื่อแสดงสัญลักษณ์ ในการต่อต้านความเคลื่อนไหวของกลุ่มพนักงานที่เรียกร้องให้เกิดการตรวจสอบ ซ้ำยังมีถ้อยคำที่หมิ่นประมาทพนักงานที่เคลื่อนไหวว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่ พยายามให้ร้ายและทำลายภาพพจน์ขององค์กร ซึ่งอาจนำไปสู่การสะท้อนซึ่งการปกป้องการตรวจสอบตามกระบวนการยุติธรรมของ หน่วยงานภายนอก

- กระบวนการไต่สวน/ตรวจสอบข้อร้องเรียนภายในองค์กรได้รับการคุกคามจากประธาน กรรมการนโยบาย (คนปัจจุบัน) และจากผู้บริหารระดับสูงที่เชื่อว่ามีการใช้อำนาจที่มิชอบในการขอดูเอกสาร รายชื่อและข้อมูลประกอบการร้องเรียนที่อยู่ในซอง ทั้งที่ไม่ได้มีอำนาจใดใดในกระบวนการตรวจสอบข้อร้องเรียกดังกล่าว

- มีคำสั่งจากผู้บริหารระดับสูงห้ามไม่ให้พนักงานในแต่ละสำนักเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ซึ่งสะท้อนให้เห็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของความเป็นสื่อมวลชนและ ในฐานะพนักงานในนามข้าราชการที่เป็นลูกจ้างขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ แห่งประเทศไทย โดยปราศจากการชี้แจงที่ชัดเจน ซ้ำยังมีความพยายามบิดเบือนประเด็นการเรียกร้องให้เกิดการตรวจสอบการบริหาร งานตามหลักธรรมาภิบาล เป็นเพียงการเรียกร้องเพื่อสิทธิ์ประโยชน์ของกลุ่มพนักงานที่สูญเสียผล ประโยชน์ และการบิดเบือนประเด็นไปสู่การคุกคามทั้งการเมือง 

มีพนักงานจำนวน 4 รายที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงทางอ้อมจากการใช้ความกล้าหาญและเจตนารมณ์ที่ บริสุทธิ์เพื่อเรียกร้องให้เกิดการตรวจสอบ ซึ่งนับเป็นการคุมคามขมขู่ทั้งที่พนักงานได้ขอสัตยาบรรณจากกลุ่มผู้บริหารใน การคุ้มครองสิทธิ์ขั้นพื้นฐานในการเรียกร้องและร้องเรียน ตลอดจนการสะท้อนข้อคิดเห็น ข้อสัเกตเห็นเพื่อนำไปสู่การตรวจสอบโดยกระบวนการตรวจภายในและภายนอก เนื่องด้วยไทยพีบีเอสเป็นสื่อสาธารณะกินเงินภาษีของประชาชน โดยสรุปประเด็นที่พนักงานได้รับผลกระทบต่อขวัญกำลังใจดังนี้

  • พนักงานท่านหนึ่งเป็นข้าราชการช่วยงานระดับซี 8 ได้รับการถูกขอยืมตัวมาช่วยงานที่ไทยพีบีเอส โดยมีกำหนดสิ้นสุดสัญญาการยืมตัวมาช่วยงานข้าราชการในสิ้นปีพ.ศ. 2555 ถูกส่งตัวกลับทันทีเมื่อเข้ามาร่วมพลังเคลื่อนไหวเรียกร้องให้เกิดการตรวจ สอบ และถูกสั่งห้ามจากผู้อำนวยการส.ส.ท. ในการแสดงความคิดเห็นใดใด ทั้งที่เป็นข้าราชการเข้ามาช่วยงานที่ไทยพีบีเอส และในฐานะประชาชนท่านหนึ่งที่ควรมีสิทธิ์มีเสียงในการแสดงออกซึ่งความคิด เห็นในการปรับปรุงบทบาทสื่อสาธารณะ
     
  • พนักงานระดับอาวุโสท่านหนึ่งเคยทำเรื่องร้องเรียนขอย้ายจากต้นสังกัด เนื่องด้วยถูกขมขู่คุกคามและไม่ได้รับความเป็นธรรมจากต้นสังกัด โดยได้ดำเนินทำเรื่องขอย้าย จนเมื่อต้นสังกัดอนุมัติให้ทำเรื่องย้ายได้ พนักงานท่านก็ได้พยายามหาตำแหน่งและหน่วยงานที่เหมาะสม เมื่อได้รับอนุมัติจากปลายสังกัดแห่งหนึ่งให้ไปช่วยงาน ก็มีการถูกระงับภายหลัง และยื่นข้อเสนอใหม่ให้ไปลงหน่วยงานทางเลือกสองแห่ง เมื่อพนักงานท่านนั้นตัดสินใจตอบรับการขอโอนย้ายไปยังหน่วยงานหนึ่งเพื่อการ ทำงานที่จะเกิดประโยชน์และมีความสบายใจ ท้ายสุดหลังจากมีการเคลื่อนไหวในนามพนักงาน พนักงานท่านนี้ถูกระงับคำสั่งการโอนย้ายทันที โดยให้กลับไปทำงานในต้นสังกัดเดิมทันที (ต้นสังกัดที่พนักงานมีความอึดอัดใจในเรื่องธรรมาภิบาล ได้รับการข่มขู่คุกคามจากผู้บังคับบัญชา จนต้องทำเรื่องร้องเรียนไปที่ ผอ.ส.ส.ท. แต่กระบวนการซึ่งนำมาของความยุติธรรมนั้นสูญหายไประหว่างทาง เมื่อ ผอ.ส.ส.ท. นำเรื่องการร้องเรียนไปยังรองผู้อำนวยการของต้นสังกัด และรองผู้อำนวยการท่านนั้นมิได้มีกระบวนการไต่สวนและตรวจสอบเพื่อนำมาซึ่ง ความเป็นธรรม กลับนำแฟ้มการร้องเรียนนั้นไปให้ผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดของผู้ร้องเรียน อ่านทั้งหมด เรื่องราวของการข่มขู่คุกคามทั้งทางตรงและทางอ้อมจึงดำเนินขึ้นมาโดยตลอด อย่างปราศจากการเร่งไต่สวน ตรวจสอบให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ซึ่งเข้าข่ายการละเลยปฏิบัติหน้าที่ )
     
  • พนักงานท่านหนึ่งที่ออกมาร่วมใช้สิทธิ์ใช้เสียงเรียกร้องให้เกิดการตรวจ สอบ ถูกกรีดรถยนต์ที่ลานจอดรถไทยพีบีเอส ภายหลังออกจากห้องประชุมที่ผู้บริหารเปิดเวทีเปิดใจผู้บริหารในกรณีร้อง เรียนต่างๆ สะท้อนความเป็นแดนสนธยาอย่างแท้จริง แม้ยังไม่มีข้อพิสูจน์ได้ว่าการข่มขู่ด้วยการกรีดรถพนักงานนั้นมาจากประเด็น ความขัดแย้งส่วนตัว หรือประเด็นการเคลื่อนไหวครั้งนี้ ก็เป็นเรื่องที่ต้องตรวจสอบโดยเร่งด่วน ว่ามีเหตุการณ์อัธพาลเช่นนี้ เกิดขึ้นในห้วงเวลานี้ ในองค์กรสื่อสาธารณะได้อย่างไร
     
  • พนักงานท่านหนึ่งได้รับการกล่าวว่าและสั่งห้ามให้เคลื่อนไหวภายหลังจาก ที่แสดงการวิพากษ์ความบกพร่องในด้านต่างๆ ของไทยพีบีเอส และภายหลังที่ร่วมแสดงออกซึ่งความเคลื่อนไหวเรียกร้องการตรวจสอบเพื่อนำมา ซึ่งหลักธรรมาภิบาลให้แก่สื่อสาธารณะของประชาชน

นับเป็นบทสะท้อนสู่การตั้งข้อสังเกตดังนี้
1. การปกป้องความผิดพลาดการบริหารงาน โดยบิดเบือนเจตนารมณ์ที่บริสุทธิ์ของพนักงานที่เคลื่อนไหว
2. ความกลัวต่อข้อผิดพลาดที่กระทำไว้ซึ่งอาจเข้าข่ายการบริหารงานที่ผิดพลาดขัด ต่อกฎข้อบังคับว่าด้วยหลักธรรมาภิบาล ความ โปร่งใส ความเป็นธรรมภายใต้พระราชบัญญัติขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่ง ประเทศไทย

3. การเชื่อมโยงประเด็นเรื่องการคุกคามทางการเมือง ซึ่งน่าจะเป็นทางออกที่ดูงามหรูในการต้องลงจากตำแหน่ง ทั้งที่ไม่ได้มีประเด็นใดๆ เกี่ยวกับการคุกคามทางการเมือง

หากพิจารณาดีๆ การบริหารงานที่ อ่อนแอ ขาดธรรมาภิบาลความโปร่งใสต่างหาก ที่จะนำไทยพีบีเอสไปสู่การวิพากษ์ของสังคม ของรัฐบาล และหากกล้าที่จะยอมรับความผิดพลาด อนาคตของไทยพีบีเอสก็มีทางออก และทางแก้ทางเดียวคือการได้ผู้บริหารระดับมืออาชีพที่มีความเข้าใจสื่อ สาธารณะอย่างแท้จริง และเข้ามาขจัดความไม่โปร่งใส และผลประโยชน์ทับซ้อน การเล่นพรรคเล่นพวกของผู้บริหารชุดปัจจุบัน ซึ่งอ้างว่ามีอุดมการณ์ของความเป็นสื่อสาธารณะ หากแต่พฤติกรรมการบริหารกลับสะท้อนอุดมการณ์กลับขั้วจากพันธกิจที่ลั่นไว้ต่อประชาชน

แม้ว่าผลงานหน้าจอจะเป็นที่ ประจักษ์ในความเปลี่ยนแปลงการนำเสนอข่าว รายการที่มีคุณภาพปราศจากการเมืองและธุรกิจเข้ามาแทรกแซง แต่ในบทบาทของความเป็นสื่อสาธารณะนั้น คงไม่สามารถนำผลวัดจากหน้าจอเพียงประการเดียวเป็นตัวชี้นำความสำเร็จ การบริหารคน การบริหารการคลัง และการบริหารงานทุกภาคส่วนหลังจอไทยพีบีเอสล้วนเป็นปัจจัยการบ่งบอกความ สำเร็จหรือไม่สำเร็จของบทบาทสื่อสาธารณะด้วย

ถึงเวลาที่สื่อสาธารณะควรมีผู้นำที่เคลื่อนนำไทยพีบีเอสด้วยหลักธร รมาภิบาล ขจัดความไม่โปร่งใส และโละทิ้งผู้บริหารงานที่ขาดประสิทธิภาพและเจตนารมณ์ที่จะเข้ามาบริหารงาน เพื่อสื่อสาธารณะของประชาชนอย่างแท้จริง เพราะเรื่องเรียกร้องผล ประโยชน์และสวัสดิการของพนักงานนั้นเป็นเรื่องรอง หากตราบใดที่ยังไม่สามารถรื้อโครงสร้างการบริหารแบบคิดใหม่ทำใหม่ได้ สวัสดิการขั้นพื้นฐานของพนักงานก็ไม่มีอนาคต และนั่นไม่ใช่เป็นประเด็นหลักของการเรียกร้องและร้องเรียนในเกิดการตรวจสอบ ในครั้งนี้