WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, July 24, 2012

เรื่องเบาๆ กับการแอบดูธนบัตรประเทศที่มีกษัตริย์เป็นประมุข

ที่มา Thai E-News

 24 กรกฎาคม 2555
โดยทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา มติชน  เสวนา "สัญญะและสามัญชนบนธนบัตร"มองโลกและมองไทย
 

เมื่อไม่นานมานี้ เดอะรีดดิ้งรูม (The Reading Room) และกวีราษฎร์ จัดเสวนา “สัญญะและสามัญชนบนธนบัตร”  โดย อาจารย์ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้วิเคราะห์ด้วยการเปรียบเทียบธนบัตรในประเทศต่าง ๆ ด้วยการเทียบเคียงกับประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แบ่งออกได้ 4 กลุ่ม
ธนบัตรแบบ 8 เริ่มออกใช้เมื่อพุทธศักราช 2489 ตรงกับสมัยที่ นายปรีดี พนมยงค์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พื้นที่กว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของธนบัตรเป็นรูปพานรัฐธรรมนูญ ออกแบบตามอย่างตะวันตกไม่มีลวดลายไทย

กุล่มแรก ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแต่ไม่มีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ปรากฏ อยู่บนธนบัตร ได้แก่ สวีเดน เดนมาร์ก ญี่ปุ่น เบลเยี่ยม เนเธอแลนด์ ทั้ง 4 ประเทศจะปรากฏภาพของศิลปิน นักดนตรีและบุคคลสำคัญในด้านต่าง ๆ บนธนบัตร

กลุ่มที่สอง  ประเทศที่มีเฉพาะพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ปรากฏเฉพาะด้านหน้าและบางชนิดราคาของธนบัตร เช่น สเปน ภูฏาน บาห์เรน กัมพูชา

กลุ่มที่สาม  ประเทศที่มีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ปรากฏเฉพาะด้านหน้าในทุกชนิดราคาของธนบัตร ส่วนด้านหลังจะเป็นบุคคลสำคัญ เช่น อังกฤษ โมร็อกโก สวาซิแลนด์ เนปาล เป็นต้น
 
กลุ่มที่สี่  ประเทศที่มีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ปรากฏทั้งด้านหน้าและหลังในทุกชนิดราคาของธนบัตร ได้แก่ ไทย

อาจารย์ชาตรี กล่าวว่า สถาบันกษัตริย์เข้ามาเกี่ยวข้องกับรูปภาพที่ปรากฏบนธนบัตร โดยเป็นความสัมพันธ์กับรูปแบบการปกครอง อาจกล่าวได้ว่าประเทศที่เป็นประชาธิปไตยมักไม่ปรากฏพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ อยู่ หรือปรากฏเฉพาะด้านหน้าธนบัตรในบางชนิดราคาเท่านั้น

ตัวอย่างธนบัตรของประเทศต่าง ๆ



 ตัวอย่างธนบัตรชนิดราคา 200 แรนด์ของประเทศแอฟริกาใต้


ธนบัตรชนิดราคา 1,000 เยน โดยมีรูปของ นัทซึเมะ โซเซกิ นักเขียนของญี่ปุ่น


  ธนบัตรชนิดราคา 500 เรียลกัมพูชา



ธนบัตร ชนิดราคา 20 ปอนด์สเตอร์ลิงอังกฤษ ด้านหน้าแสดงภาพสมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 ส่วนด้านหลังแสดงภาพของ อดัม สมิธ นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ

 อาจารย์ชาตรี วิเคราะห์ว่า สำหรับประเทศไทย การออกแบบธนบัตรมีความสัมพันธ์กับสภาพการเมืองและสังคมในแต่ละยุคซึ่งแตก ต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบธนบัตรแบบต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทยจะพบข้อสังเกตหลายประการ

 ธนบัตรแบบ 3 ได้ออกแบบไว้ตั้งแต่ก่อนการปฏิวัติ 2475 และเริ่มทยอยออกใช้ในปี พ.ศ. 2477 เป็นแบบแรกที่ปรากฏภาพบุคคลคือพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 7 และมีภาพอันแสดงถึงวัฒนธรรมประเพณีและสถาปัตยกรรมไทย ตลอดจนทัศนียภาพต่าง ๆ เป็นภาพประกอบ ส่วนด้านหลังเป็นภาพวัดระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

ธนบัตร แบบ 4 ทยอยออกใช้ในปี พ.ศ. 2482 ด้านหลังของธนบัตรปรากฏภาพพระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งเป็นรัฐสภาแห่งแรกของประเทศไทย และมีลายน้ำเป็นรูปพานรัฐธรรมนูญ สะท้อนถึงอุดมการณ์ประชาธิปไตย

 ธนบัตรแบบ 9 เริ่มทยอยออกใช้เมื่อปี พ.ศ. 2491 การออกแบบธนบัตรมีลักษณะย้อนไปสู่ยุคแรก ๆ โดยปรากฏรูปของรัฐสภาและมีลวดลายไทยประกอบ ส่วนธนบัตรแบบ 10 พบว่ารัฐสภาหายไป โดยด้านหน้าเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชเป็นภาพประธาน ด้านหลังเป็นภาพเรือสุพรรณหงส์
 
ธนบัตรแบบ 11 เริ่มทยอยออกใช้ในปี พ.ศ. 2512 ซึ่งเป็นช่วงที่ไทยเริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาคอมมิวนิสต์ โดยจะปรากฏพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ของธนบัตร

 ธนบัตรแบบ 12 เริ่มทยอยออกใช้ในปี พ.ศ. 2523 ซึ่งเป็นยุคหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ได้มีการออกธนบัตรเพื่อเผยแผ่พระเกียรติคุณของสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิ ราชเจ้าที่ได้รับการถวายพระราชสมัญญาภิไธย "มหาราช" ได้แก่ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว ณ ลานพระราชวังดุสิต พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ สวนสาธารณะทุ่งนาเชย จ. จันทบุรี และพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ณ อนุสรณ์ดอนเจดีย์ จ. สุพรรณบุรี

 ธนบัตรแบบ 13 เป็นภาพเฉลิมฉลองงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี โดยด้านหน้าเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ ทรงฉลองพระองค์ครุย และหลังจากธนบัตรแบบ 13 เป็นต้นมาปรากฏพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งด้าน หน้าและหลังธนบัตร และมีภาพพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ ประกอบลวดลายธนบัตรจึงเป็นเครื่องมือสื่อสารอุดมการณ์ในรูปแบบการปกครองที่ เปลี่ยนแปลงไปได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ หาก เปรียบเทียบธนบัตร พบว่า 1 ใบมีพื้นที่เฉลี่ย 0.03 ตารางเมตร ในประเทศไทยมีธนบัตร 20, 50, 100, 500 และ 1,000 บาท เฉลี่ยอย่างน้อยที่สุดชนิดละ 10 ล้านฉบับ จะพบว่าจำนวนธนบัตรหมุนเวียนในประเทศไทยถึง 50 ล้านฉบับและเมื่อคูณกับพื้นที่เฉลี่ยของธนบัตร 1 ใบ จะกินพื้นที่ถึง 1.5 ล้านตารางเมตร ขณะที่คนไทยใช้ธนบัตรไม่ต่ำกว่า 5-10 ครั้งต่อวัน ในแง่สื่อสารมวลชน ธนบัตรจึงเป็นสื่อโฆษณาอย่างหนึ่งที่มีอำนาจในการสื่อกับผู้คนในสังคมเข้า ถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด
 
การออกแบบธนบัตรของไทยในยุคต่าง ๆ



 ธนบัตรชนิดราคา 100 บาท เริ่มทยอยใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2468


ธนบัตรแบบ 3 ชนิดราคา 1, 5 และ 10 บาท เริ่มทยอยใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477



 ธนบัตรแบบ 4  ชนิดราคา 20 และ 100 บาท ออกใช้เมื่อ พ.ศ. 2488

 
ธนบัตรแบบ 8 สั่งพิมพ์ในสมัยราชกาลที่  8 โดยรัฐบาลไทยติดต่อให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจัดพิมพ์ธนบัตรให้ชั่วคราว เนื่องจากได้รับความเสียหายจากสงครามมมหาเอเชียบูรพา



ธนบัตรแบบ 9 มีรูปแบบเหมือนกับธนบัตรแบบ 4 แต่เปลี่ยนพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์เป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  เริ่มทยอยออกใช้เมื่อปี พ.ศ. 2491

 
ธนบัตรชนิดราคา 100 บาท ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช 
สยามมกุฎราชกุมาร