WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, July 24, 2012

ประธานาธิดีพม่าเยือนไทย พร้อมลงนามความร่วมมือ 3 ด้าน

ที่มา ประชาไท

 

ไทยยืนยันลงทุนท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย พร้อมเสนอเปิดจุดผ่านแดนเพิ่ม 3 แห่ง พัฒนาบุคลากร ขณะที่ประธานาธิบดีพม่าขอบคุณไทยที่ให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการเมืองและ เศรษฐกิจพม่า
ประธานาธิบดี เต็ง เส่งของพม่า และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตรวจแถวทหารระหว่างการเยือนทำเนียบรัฐบาลของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง (ที่มาของภาพ: เฟซบุคของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)
ตามที่ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ของพม่าเยือนไทยระหว่างวันที่ 22 - 24 ก.ค. นี้นั้น สำนักข่าวแห่งชาติ รายงานเมื่อวานนี้ (23 ก.ค. 55) ว่า ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ หรือ พม่า แถลงร่วมผลการหารือข้อราชการ โดยนายกรัฐมนตรี ได้ขอบคุณในความร่วมมือของพม่า ทั้งด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การจ้างงาน และการปราบปรายาเสพติด ซึ่งจะมีการจัดพิธีฉลองการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตครบ 65 ปีในปี 2556
โดยในการหารือไทยได้เสนอการขยายความร่วมมือในหลายด้านและแสดงความพร้อมใน การเข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิร่วมไทย-พม่า หรือเจซี ที่สหภาพพม่าจะเป็นเจ้าภาพและเสนอการจัดตั้งสมาคมมิตรภาพพม่า-ไทย คู่ขนานกับสมาคมไทย-พม่า เพื่อมิตรภาพ ซึ่งไทยได้การเสนอแนวทางความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในพม่า 4 สาขาหลัก คือ การเสริมสร้างขีดความสามารถบุคลากรพม่า การเตรียมความพร้อมในการที่สหภาพพม่าจะเป็นประธานอาเซียนในปี 2557 การปฏิรูปเศรษฐกิจและพัฒนาทางเลือก การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
และในโอกาสนี้ได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลง 3 ฉบับ ได้แก่ 1.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาที่ครอบคลุมเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและ พื้นที่ โครงการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการยืนยันพันธะของฝ่ายไทยที่จะร่วมมือกับพม่าในการพัฒนาท่าเรือน้ำ ลึกและนิคมอุตสาหกรรมที่ทวาย รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นโดยทั้ง 2 ฝ่ายได้ตกลงที่จะจัดตั้งคณะทำงานระดับรัฐมนตรี ซึ่งจะประชุมกันในเดือนสิงหาคม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจตามแนวชายแดนมากขึ้น โดยไทยได้เสนอให้มีการเปิดจุดผ่านแดนระหว่างไทย-พม่าเพิ่มเติมที่ (1) ด่านกิ่วผาวอก จ. เชียงใหม่ (2) ด่านห้วยต้นนุ่น จ. แม่ฮ่องสอน และ (3) ด่านบ้านน้ำพุร้อน จ. กาญจนบุรี
2. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาพม่า ซึ่งบอยู่ใน 4 สาขาหลัก คือ (1) การเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรพม่า (2) การเตรียมความพร้อมการเป็นประธานอาเซียนของพม่าในปี 2557 (3) การปฏิรูปเศรษฐกิจและการพัฒนาทางเลือก และ (4) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
และ 3. ถ้อยแถลงร่วมว่าด้วยการจัดตั้งเวทีหารือด้านพลังงาน
และทั้งสองฝ่ายยังเห็นตรงกันในความร่วมมือการพัฒนาการปลูกข้าวในพม่าและ การพัฒนาด้านแรงงาน โดยยืนยันที่จะดูแลแรงงานพม่าในไทยอย่างเป็นระบบและมีสิทธิภายใต้กฏหมายแรง งานไทย
ขณะที่ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง แสดงความขอบคุณรัฐบาลไทยที่ตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิรูปการเมืองและ เศรษฐกิจ ซึ่งได้หารือเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมถึงการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน รวมถึงการขนส่งเส้นทางท่าเรือน้ำลึกทวายและแหลมฉบัง โดยย้ำว่าพม่าพร้อมที่จะให้การสนับสนุนประเทศไทยในการดำเนินโครงการด้าน ต่างๆ เช่นกัน

เรื่องคนไทย 92 คนที่ถูกจับที่พม่า จะต้องรับโทษก่อน ถึงจะได้ลดหย่อน
ส่วนกรณีการช่วยเหลือคนไทย 92 คน ที่ข้ามจาก จ.ระนอง เข้าไปยังภาคตะนาวศรีของพม่าเพื่อทำการเพาะปลูก ก่อนถูกทางการพม่าจับกุมนั้น นายกรัฐมนตรีได้ขอบคุณประธานาธิบดีพม่า ที่ดูแลคนไทยเป็นอย่างดี ขณะที่นายเต็ง เส่ง ชี้แจงกับนายกรัฐมนตรีว่า มีคนไทยหลายคนใน 92 คน ทำผิดกฎหมายร้ายแรง มีการพกอาวุธสงคราม และปลูกพืชยาเสพติดในพื้นที่ จำเป็นต้องถูกตัดสินโทษตามความผิดภายใต้กฎหมายพม่า หลังจากตัดสินคดีเสร็จสิ้นแล้ว ทางการพม่าจะหาแนวทางช่วยเหลือคนไทย ด้วยการลดหย่อนโทษ สำหรับคนไทยที่รับโทษน้อยจะมีโอกาสได้กลับบ้านก่อน ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควรในการคัดแยกคน และการดำเนินการฟ้องร้องตามระเบียบ
ทั้งนี้ผู้นำทั้ง 2 ประเทศ ยังได้หารือเรื่องอนาคตพม่า ที่จะให้คนไทยเข้าไปลงทุน โดยเฉพาะการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน ด้วยการเปิดให้เช่าพื้นที่เพาะปลูก แต่ขอให้ดำเนินการอย่างถูกต้องผ่านกระทรวงต่อกระทรวง ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการเชิญชวน ขณะที่ปัญหายาเสพติดตามแนวชายแดน นายกรัฐมนตรี ย้ำว่า ไม่อยากให้มียาเสพติดตามแนวชายแดน และอยากให้มีการปราบปรามอย่างเข้มงวด โดยนายเต็ง เส่ง เห็นด้วยและพร้อมให้ความร่วมมืออย่างดี ส่วนการแก้ปัญหาชนกลุ่มน้อยจะร่วมกันแก้ปัญหา ทั้งเรื่องการทำหนังสือเดินทางและวีซ่า

เคยเลื่อนเยือนไทยมาแล้ว 1 ครั้ง ช่วง "ออง ซาน ซูจี" มาประชุม WEF
อนึ่งก่อนหน้านี้ ในการประชุมประชุมเวทีเศรษฐกิจโลกว่าด้วยภูมิภาคเอเชียตะวันออก(World Economic Forum on East Asia) ครั้งที่ 21 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อปลายเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งมีการเชิญนางออง ซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านพม่ามาร่วมด้วยนั้น ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ได้ยกเลิกกำหนดการเยือนไทยในช่วงดังกล่าวออกไปก่อน แต่มอบหมายให้รมว.พลังงาน และ รมช.การท่องเที่ยวและโรงแรมของพม่า มาร่วมงานแทน โดยขอเลื่อนการเยือนไทยมาเป็นวันที่ 4-5 มิ.ย. และต่อมาเมื่อ 1 มิ.ย. ได้แจ้งขอยกเลิกการเยือนไปก่อน
ทำให้ รมว.ต่างประเทศไทยทำหนังสื่อชี้แจงพม่าว่า ผู้จัดการประชุมเวทีเศรษฐกิจโลก WEF เป็นผู้เชิญนางออง ซาน ซูจีเอง และกำหนดการพบปะประชาชนของนางออง ซาน ซูจี เป็นการดำเนินการเองผ่านบริษัทประชาสัมพันธ์ รัฐบาลไทยไม่ทราบกำหนดการ (ข่าวย้อนหลัง) ขณะที่ทางพม่าชี้แจงสาเหตุการเลื่อนการเยือนไทยว่าเพื่อแก้ปัญหาภายในประเทศ ก่อนที่จะเลื่อนกำหนดการเยือนไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 22 - 24 ก.ค. ดังกล่าว
 
ที่มา: เรียบเรียงจากเว็บไซต์สำนักข่าวแห่งชาติ [1] , [2] และเฟซบุคยิ่งลักษณ์ ชินวัตร