ที่มา ประชาไท
Sat, 2012-07-28 00:07
ผู้เขียนมาชะงักตรงที่ว่าแหล่งเงินทุนของ สสส. มาจาก ภาษีสรรพสามิตยาสูบและสุราในอัตราร้อยละ 2 ต่อปีนี่แหละ เอ ตกลง สสส. นี่มีเพื่อสนับสนุนหรือรณรงค์การงดเหล้างดบุหรี่กันแน่?
หน้าที่ขององค์กรขัดกับแหล่งเงินทุน
แต่เมื่อพิจารณาโดยละเอียดอีกครั้ง จะพบว่านโยบายงดเหล้างดบุหรี่นั้นขัดกับแหล่งเงินทุน สสส. เอง ถ้านโยบายการลดเหล้าลดบุหรี่ได้ผลแล้ว การเก็บภาษีสรรพสามิตเหล้าบุหรี่ย่อมลดลงๆในแต่ละปี และย่อมส่งผลให้แหล่งเงินทุนของ สสส. ลดลงเป็นเงาตามตัว เมื่อไม่มีเงินทุนแล้วก็ไม่มีเงินมาจ่ายเงินเดือนให้เจ้าหน้าที่พนักงานใน องค์กร และจำเป็นต้องไล่ออก และขนาดองค์กรเล็กลงๆตามลำดับ และถ้าการรณรงค์งดเหล้าบุหรีสำเร็จจนเหลือศูนย์เมื่อไร แสดงว่า สสส. จะไม่มีเงินทุนและองค์กรต้องถูกยุบไปในที่สุด แลละถ้าผู้อ่านเป็นพนักงาน สสส ก็เตรียมตัวหางานใหม่ได้เลย ตรงกันข้ามถ้านโยบายงดเหล้างดบุหรี่ไม่สำเร็จ เงินสรรพสามิตเหล้าบุหรี่ก็เพิ่มขึ้นทุกปี เงินทุนองค์กรก็เพิ่มขึ้นทุกปี กิจการขององค์กรรุ่งเรืองทุกปี พนักงานก็อาจได้โบนัสทะลุเป้า หน้าที่การงานพนักงานก็มั่นคง ถ้าผู้อ่านเป็นพนักงานขององค์กร ผู้อ่านจะเลือกให้นโยบายงดเหล้างดบุหรี่สำเร็จหรือล้มเหลวแต่กิจการขององค์กรกลับรุ่งเรืองขึ้น สสส. เกิดขึ้นมาใน ปี 2544 จนถึงปัจจุบันก็ศิริรวมเวลาเกือบสิบปีแล้ว เมื่อพิเคราะห์ในฐานะองค์กรหนึ่งนับว่ามีอนาคตสดใส สามารถดำรงอยู่ผ่านความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจไทยในประเทศโดยไม่มีการลดขนาด องค์กร หรือ เลย์เอาท์พนักงาน ตลอดจนไม่มีปัญหาทางด้านการเงิน เมื่อพิเคราะห์ด้านผลงานนโยบายขององค์กรแล้ว ใน thaipublica (http://thaipublica.org/2012/05/hsri-researched-thaihealth/ ) ระบุว่า “พบว่าคนไทยเกือบครึ่งประเทศรู้จัก สสส. ในฐานะองค์กรที่ทำประโยชน์ให้สังคมด้วยการสร้างเสริมสุขภาพ ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน” “ในสายตาของประชาชน สังคมได้กำไรจากการมีองค์กรเช่น สสส.” และจากข้อมูลจากเว็บไซท์เดียวกันปรากฎว่า ภาษีสรรพสามิตเหล้าบุหรี่เพิ่มขึ้นทุกปี และเรายได้จาก สสส. ก็เพิ่มขึ้นทุกปีเป็นเงาตามตัว
ถ้าเปรียบ สสส. เป็น บริษัทแล้ว คนกินเหล้าสูบบุหรีก็คือลูกค้าขององค์กรที่มีพระคุณในการสนับสนุนสินค้าและ ด้านการเงินให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับคนในองค์กร ถ้าบังเอิญบรรดาผู้มีส่วนได้กับ สสส. เดินผ่านบนถนนพบปะคนกินเหล้าสูบบุหรี่ละก็อย่าลืม ไหว้พี่เขาสิครับ