ที่มา ประชาไท
Tue, 2012-07-24 17:01
นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป ประธานกรรมการนโยบาย ส.ส.ท.กล่าวว่า “ต้องขอขอบคุณสำหรับทุกๆ ความเห็นและความห่วงใยที่มีต่อไทยพีบีเอส ในฐานะสื่อสาธารณะที่คนไทยทุกคนเป็นเจ้าของ ผมได้เห็นข้อมูลและบทความที่เผยแพร่แล้วพบว่า มีทั้งข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและข้อสังเกตที่ดี มีข้อมูลส่วนที่เป็นความคิดเห็น ข้อเสนอแนะแต่ก็มีข้อมูลที่ไม่จริงปะปนอยู่มาก อย่างไรก็ตามไทยพีบีเอสยินดีรับข้อเสนอแนะเหล่านี้มาพิจารณา”
ที่มา: http://org.thaipbs.or.th/org_news/prnews/article60355.ece
พนักงานไทยพีบีเอสหมดศรัทธาการบริหารงานที่ไร้ซึ่งธรรมาภิบาลและการจำกัด สิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นของพนักงานในกรณีการเรียกร้องและร้องเรียน ให้มีการตรวจสอบการบริหารงานของไทยพีบีเอสในหลายภาคส่วน โดยภายหลังจากกลุ่มพนักงานซึ่งรวมตัวกันร่วมสองร้อยคนลงนามและเคลื่อนไหว เพื่อให้เกิดการตรวจสอบการบริหารงานหลังจอไทยพีบีเอส ก็ได้เกิดประเด็นการถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น/การ แสดงออกซึ่งนำไปสู่การได้รับการตรวจสอบจากภาคประชาสังคม สื่อมวลชน หน่วยงานอิสระต่างๆ และการข่มขู่คุกคามทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อกลุ่มพนักงานที่เคลื่อนไหว พร้อมการตั้งข้อสังเกตของพนักงาน ดังต่อไปนี้
1. ระดับผู้นำ/ตัวแทนองค์กรฯ ออกมาให้ข่าวว่าการร้องเรื่องมีทั้งข้อเท็จจริงและข้อมูลที่ไม่จริง ตามบทบาทข้างต้น ที่กล่าวว่า "ผมได้เห็นข้อมูลและบทความที่เผยแพร่แล้วพบว่า มีทั้งข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและข้อสังเกตที่ดี มีข้อมูลส่วนที่เป็นความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ แต่ก็มีข้อมูลที่ไม่จริงปะปนอยู่มาก" จึงขอตั้งข้อสังเกตว่าทำไมระดับบริหาร หรือโฆษกตัวแทนขององค์กรไม่สามารถออกมาชี้แจงข้อสงสัยให้แก่พนักงานและ สาธารณะชนตามประเด็นต่อไปนี้
- มีทั้งข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและข้อสังเกตที่ดี และทำไมถึงไม่ออกมาชี้แจงให้เห็นว่าการร้องเรียนของพนักงานเพื่อให้เกิดการ ตรวจสอบนั้น มีประเด็นหรือข้อมูลใดที่เท็จจริงและเป็นข้อสังเกตที่ดี ?
- มีข้อมูลส่วนที่เป็นความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ แต่ก็มีข้อมูลที่ไม่จริงปะปนอยู่มาก ทำไม ไม่มีการออกมาชี้แจงว่าประเด็นใดเป็นข้อเสนอแนะที่ควรรับไว้พิจารณาปรับปรุง และประเด็นใดที่กล่าวอ้างว่าเป็นข้อมูลเท็จ ไม่เป็นความจริง ?
2. นับตั้งแต่ที่มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มพนักงานที่เรียกร้องให้เกิดการตรวจสอบ มีการข่มขู่คุกคามพนักงานทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยกระบวนและวิธีการที่ไร้ซึ่งหลักการให้ความยุติธรรมและขาดธรรมาภิบาล ไม่สามารถมีกระบวนการสร้างความเข้าใจชี้แจงให้แก่พนักงานโดยรวม ซ้ำกระบวนการดังกล่าวยังยุยงให้พนักงานเกิดความแตกแยกเข้าใจผิด ซึ่งเป็นลิดรอนสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของความเป็นสื่อสาธารณะและสิทธิมนุษย ชน ตามประเด็นข้อสังเกตดังนี้
- มีการให้ข่าวทั้งแก่พนักงานภายในองค์กรและสื่อมวลชนภายนอก ว่ากลุ่มพนักงานที่มีการเคลื่อนไหวเป็นกลุ่มบุคคลที่เสียผลประโยชน์ เป็นกลุ่มเสื้อแดง เป็นกลุ่มบุคคลที่จะนำความเสื่อมเสียให้แก่องค์กร เป็นกลุ่มบุคคลที่มุ่งให้ร้ายแก่องค์กรและจะนำองค์กรตกไปสู่เครื่องมือทาง การเมือง ฯลฯ
การให้ข้อมูลดังกล่าวถือเป็นการบิดเบือนเจตนารมณ์ที่บริสุทธิ์ของพนักงาน โดยสิ้นเชิง เนื่องด้วยพนักงานกลุ่มดังกล่าวรวมพลังเพื่อเคลื่อนไหวในการปกป้องสื่อ สาธารณะให้พ้นจากอำนาจการบริหารงานที่เชื่อว่ามีลักษณะการละเลยการปฏิบัติ หน้าที่ในการตรวจสอบความบกพร่องในการบริหารตลอดระยะเวลาสี่ปี การปกป้องผลประโยชน์และปกป้องการกระทำที่ไม่ได้ยึดมั่นตามหลักธรรมาภิบาลของ สื่อสาธารณะตามพันธกิจที่มีต่อสังคม การให้ข้อมูลดังกล่าวยังสร้างและถือเป็นการยุยงให้เกิดความแตกแยกในหมู่ พนักงานท่ามกลางวิกฤติประเด็นคำถามที่ควรตอบโจทย์ทั้งต่อพนักงานภายในองค์กร และต่อภาคประชาสังคม
- มีระดับผู้อำนวยในองค์กรสร้างความเคลื่อนไหวในเฟซบุ๊ก เพื่อส่งเสริมให้พนักงานในสังกัดตนเองสวมเสื้อไทยพีบีเอสเพื่อแสดงสัญลักษณ์ ในการต่อต้านความเคลื่อนไหวของกลุ่มพนักงานที่เรียกร้องให้เกิดการตรวจสอบ ซ้ำยังมีถ้อยคำที่หมิ่นประมาทพนักงานที่เคลื่อนไหวว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่ พยายามให้ร้ายและทำลายภาพพจน์ขององค์กร ซึ่งอาจนำไปสู่การสะท้อนซึ่งการปกป้องการตรวจสอบตามกระบวนการยุติธรรมของ หน่วยงานภายนอก
- กระบวนการไต่สวน/ตรวจสอบข้อร้องเรียนภายในองค์กรได้รับการคุกคามจากประธาน กรรมการนโยบาย (คนปัจจุบัน) และจากผู้บริหารระดับสูงที่เชื่อว่ามีการใช้อำนาจที่มิชอบในการขอดูเอกสาร รายชื่อและข้อมูลประกอบการร้องเรียนที่อยู่ในซอง ทั้งที่ไม่ได้มีอำนาจใดใดในกระบวนการตรวจสอบข้อร้องเรียกดังกล่าว
- มีคำสั่งจากผู้บริหารระดับสูงห้ามไม่ให้พนักงานในแต่ละสำนักเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ซึ่งสะท้อนให้เห็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของความเป็นสื่อมวลชนและ ในฐานะพนักงานในนามข้าราชการที่เป็นลูกจ้างขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ แห่งประเทศไทย โดยปราศจากการชี้แจงที่ชัดเจน ซ้ำยังมีความพยายามบิดเบือนประเด็นการเรียกร้องให้เกิดการตรวจสอบการบริหาร งานตามหลักธรรมาภิบาล เป็นเพียงการเรียกร้องเพื่อสิทธิ์ประโยชน์ของกลุ่มพนักงานที่สูญเสียผล ประโยชน์ และการบิดเบือนประเด็นไปสู่การคุกคามทั้งการเมือง
มีพนักงานจำนวน 4 รายที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงทางอ้อมจากการใช้ความกล้าหาญและเจตนารมณ์ที่ บริสุทธิ์เพื่อเรียกร้องให้เกิดการตรวจสอบ ซึ่งนับเป็นการคุมคามขมขู่ทั้งที่พนักงานได้ขอสัตยาบรรณจากกลุ่มผู้บริหารใน การคุ้มครองสิทธิ์ขั้นพื้นฐานในการเรียกร้องและร้องเรียน ตลอดจนการสะท้อนข้อคิดเห็น ข้อสัเกตเห็นเพื่อนำไปสู่การตรวจสอบโดยกระบวนการตรวจภายในและภายนอก เนื่องด้วยไทยพีบีเอสเป็นสื่อสาธารณะกินเงินภาษีของประชาชน โดยสรุปประเด็นที่พนักงานได้รับผลกระทบต่อขวัญกำลังใจดังนี้
- พนักงานท่านหนึ่งเป็นข้าราชการช่วยงานระดับซี 8
ได้รับการถูกขอยืมตัวมาช่วยงานที่ไทยพีบีเอส
โดยมีกำหนดสิ้นสุดสัญญาการยืมตัวมาช่วยงานข้าราชการในสิ้นปีพ.ศ. 2555
ถูกส่งตัวกลับทันทีเมื่อเข้ามาร่วมพลังเคลื่อนไหวเรียกร้องให้เกิดการตรวจ
สอบ และถูกสั่งห้ามจากผู้อำนวยการส.ส.ท. ในการแสดงความคิดเห็นใดใด
ทั้งที่เป็นข้าราชการเข้ามาช่วยงานที่ไทยพีบีเอส
และในฐานะประชาชนท่านหนึ่งที่ควรมีสิทธิ์มีเสียงในการแสดงออกซึ่งความคิด
เห็นในการปรับปรุงบทบาทสื่อสาธารณะ
- พนักงานระดับอาวุโสท่านหนึ่งเคยทำเรื่องร้องเรียนขอย้ายจากต้นสังกัด
เนื่องด้วยถูกขมขู่คุกคามและไม่ได้รับความเป็นธรรมจากต้นสังกัด
โดยได้ดำเนินทำเรื่องขอย้าย จนเมื่อต้นสังกัดอนุมัติให้ทำเรื่องย้ายได้
พนักงานท่านก็ได้พยายามหาตำแหน่งและหน่วยงานที่เหมาะสม
เมื่อได้รับอนุมัติจากปลายสังกัดแห่งหนึ่งให้ไปช่วยงาน
ก็มีการถูกระงับภายหลัง และยื่นข้อเสนอใหม่ให้ไปลงหน่วยงานทางเลือกสองแห่ง
เมื่อพนักงานท่านนั้นตัดสินใจตอบรับการขอโอนย้ายไปยังหน่วยงานหนึ่งเพื่อการ
ทำงานที่จะเกิดประโยชน์และมีความสบายใจ
ท้ายสุดหลังจากมีการเคลื่อนไหวในนามพนักงาน
พนักงานท่านนี้ถูกระงับคำสั่งการโอนย้ายทันที
โดยให้กลับไปทำงานในต้นสังกัดเดิมทันที
(ต้นสังกัดที่พนักงานมีความอึดอัดใจในเรื่องธรรมาภิบาล
ได้รับการข่มขู่คุกคามจากผู้บังคับบัญชา จนต้องทำเรื่องร้องเรียนไปที่
ผอ.ส.ส.ท. แต่กระบวนการซึ่งนำมาของความยุติธรรมนั้นสูญหายไประหว่างทาง
เมื่อ ผอ.ส.ส.ท. นำเรื่องการร้องเรียนไปยังรองผู้อำนวยการของต้นสังกัด
และรองผู้อำนวยการท่านนั้นมิได้มีกระบวนการไต่สวนและตรวจสอบเพื่อนำมาซึ่ง
ความเป็นธรรม
กลับนำแฟ้มการร้องเรียนนั้นไปให้ผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดของผู้ร้องเรียน
อ่านทั้งหมด
เรื่องราวของการข่มขู่คุกคามทั้งทางตรงและทางอ้อมจึงดำเนินขึ้นมาโดยตลอด
อย่างปราศจากการเร่งไต่สวน ตรวจสอบให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
ซึ่งเข้าข่ายการละเลยปฏิบัติหน้าที่ )
- พนักงานท่านหนึ่งที่ออกมาร่วมใช้สิทธิ์ใช้เสียงเรียกร้องให้เกิดการตรวจ
สอบ ถูกกรีดรถยนต์ที่ลานจอดรถไทยพีบีเอส
ภายหลังออกจากห้องประชุมที่ผู้บริหารเปิดเวทีเปิดใจผู้บริหารในกรณีร้อง
เรียนต่างๆ สะท้อนความเป็นแดนสนธยาอย่างแท้จริง
แม้ยังไม่มีข้อพิสูจน์ได้ว่าการข่มขู่ด้วยการกรีดรถพนักงานนั้นมาจากประเด็น
ความขัดแย้งส่วนตัว หรือประเด็นการเคลื่อนไหวครั้งนี้
ก็เป็นเรื่องที่ต้องตรวจสอบโดยเร่งด่วน ว่ามีเหตุการณ์อัธพาลเช่นนี้
เกิดขึ้นในห้วงเวลานี้ ในองค์กรสื่อสาธารณะได้อย่างไร
- พนักงานท่านหนึ่งได้รับการกล่าวว่าและสั่งห้ามให้เคลื่อนไหวภายหลังจาก ที่แสดงการวิพากษ์ความบกพร่องในด้านต่างๆ ของไทยพีบีเอส และภายหลังที่ร่วมแสดงออกซึ่งความเคลื่อนไหวเรียกร้องการตรวจสอบเพื่อนำมา ซึ่งหลักธรรมาภิบาลให้แก่สื่อสาธารณะของประชาชน
นับเป็นบทสะท้อนสู่การตั้งข้อสังเกตดังนี้
1. การปกป้องความผิดพลาดการบริหารงาน โดยบิดเบือนเจตนารมณ์ที่บริสุทธิ์ของพนักงานที่เคลื่อนไหว
2. ความกลัวต่อข้อผิดพลาดที่กระทำไว้ซึ่งอาจเข้าข่ายการบริหารงานที่ผิดพลาดขัด ต่อกฎข้อบังคับว่าด้วยหลักธรรมาภิบาล ความ โปร่งใส ความเป็นธรรมภายใต้พระราชบัญญัติขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งประเทศ ไทย
3. การเชื่อมโยงประเด็นเรื่องการคุกคามทางการเมือง ซึ่งน่าจะเป็นทางออกที่ดูงามหรูในการต้องลงจากตำแหน่ง ทั้งที่ไม่ได้มีประเด็นใดๆ เกี่ยวกับการคุกคามทางการเมือง
หากพิจารณาดีๆ การบริหารงานที่ อ่อนแอ ขาดธรรมาภิบาลความโปร่งใสต่างหาก ที่จะนำไทยพีบีเอสไปสู่การวิพากษ์ของสังคม ของรัฐบาล และหากกล้าที่จะยอมรับความผิดพลาด อนาคตของไทยพีบีเอสก็มีทางออก และทางแก้ทางเดียวคือการได้ผู้บริหารระดับมืออาชีพที่มีความเข้าใจสื่อ สาธารณะอย่างแท้จริง และเข้ามาขจัดความไม่โปร่งใส และผลประโยชน์ทับซ้อน การเล่นพรรคเล่นพวกของผู้บริหารชุดปัจจุบัน ซึ่งอ้างว่ามีอุดมการณ์ของความเป็นสื่อสาธารณะ หากแต่พฤติกรรมการบริหารกลับสะท้อนอุดมการณ์กลับขั้วจากพันธกิจที่ลั่นไว้ต่อประชาชน
แม้ว่าผลงานหน้าจอจะเป็นที่ ประจักษ์ในความเปลี่ยนแปลงการนำเสนอข่าว รายการที่มีคุณภาพปราศจากการเมืองและธุรกิจเข้ามาแทรกแซง แต่ในบทบาทของความเป็นสื่อสาธารณะนั้น คงไม่สามารถนำผลวัดจากหน้าจอเพียงประการเดียวเป็นตัวชี้นำความสำเร็จ การบริหารคน การบริหารการคลัง และการบริหารงานทุกภาคส่วนหลังจอไทยพีบีเอสล้วนเป็นปัจจัยการบ่งบอกความ สำเร็จหรือไม่สำเร็จของบทบาทสื่อสาธารณะด้วย
ถึงเวลาที่สื่อสาธารณะควรมีผู้นำที่เคลื่อนนำไทยพีบีเอสด้วยหลักธรรมา ภิบาล ขจัดความไม่โปร่งใส และโละทิ้งผู้บริหารงานที่ขาดประสิทธิภาพและเจตนารมณ์ที่จะเข้ามาบริหารงาน เพื่อสื่อสาธารณะของประชาชนอย่างแท้จริง เพราะเรื่องเรียกร้องผล ประโยชน์และสวัสดิการของพนักงานนั้นเป็นเรื่องรอง หากตราบใดที่ยังไม่สามารถรื้อโครงสร้างการบริหารแบบคิดใหม่ทำใหม่ได้ สวัสดิการขั้นพื้นฐานของพนักงานก็ไม่มีอนาคต และนั่นไม่ใช่เป็นประเด็นหลักของการเรียกร้องและร้องเรียนในเกิดการตรวจสอบ ในครั้งนี้