WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, July 26, 2012

"จตุพร" ขึ้นศาลเบิกความสู้คดีปราศรัยหมิ่น "อภิสิทธิ์" หนีทหาร-สั่งปราบ ปชช. แจงยิบผลสอบจเรทัพบก ยก "ธานินทร์" เรียน ตปท. ยังกลับเกณฑ์ทหาร

ที่มา uddred

 กรุงเทพธุรกิจ 25 กรกฎาคม 2555 >>>


ศาลนัดสืบพยานจำเลยคดีหมายเลขดำ อ.1008/2553 ที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำแนวร่วมประชาชนต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 และ 332 กรณีเมื่อวันที่ 29 ม.ค.-15 ก.พ.53 จำเลย กล่าวปราศรัยต่อกลุ่มคนเสื้อแดงและประชาชนที่รับชมสถานีโทรทัศน์ ช่องพีเพิ่ล แชนแนล กล่าวหาว่าโจทก์เป็นนายกรัฐมนตรีที่สั่งฆ่าประชาชนและหลบเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร
นายจตุพร จำเลยขึ้นเบิกความด้วยตัวเอง สรุปว่า ขณะที่โจทก์เป็นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ปลายปี 51-พ.ค.54 ในคดีนี้พยานได้ปราศรัยถึงโจทก์รวม 2 วัน คือ กรณีที่โจทก์หนีเข้ารับการเกณฑ์ทหาร ใช้เอกสารเท็จเข้าเป็นอาจารย์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จปร. และการปราศรัยที่หน้าสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เกี่ยวกับการป้องปรามโจทก์ไม่ให้ใช้กำลังปราบปรามประชาชน สำหรับเรื่องการเกณฑ์ทหารชายไทยเมื่ออายุครบ 17 ปี ต้องขึ้นทะเบียนเป็นทหารกองเกิน และเมื่ออายุครบ 20 ปี ต้องเข้ารับการตรวจเลือกเป็นทหารเกณฑ์ มีตัวอย่างที่ชัดเจน คือ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร อดีตนายกรัฐมนตรีและองคมนตรี หลังศึกษาจบคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปเรียนต่อปริญญาโทด้านกฎหมายที่ประเทศอังกฤษแล้ว กลับมายังต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหาร ซึ่งเมื่อ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ผบ.กรม (ขณะนั้น) ไปพบและสอบถามทราบว่าจบเนติบัณฑิตที่ประเทศอังกฤษ จึงนำตัวมาช่วยราชการที่กรม ดังนั้นชายไทยทุกต้องจะต้องรับใช้ชาติโดยการเกณฑ์ทหาร นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นแบบอย่าง การที่ไม่เข้ารับการเกณฑ์ทหารเป็นการแสดงออกถึงความไม่รักชาติ โดยเรื่องนี้พยานได้ตรวจสอบตั้งแต่เป็นโฆษกพรรคไทยรักไทยเรื่อยมาจนกระทั่ง เป็น ส.ส.เพื่อไทย
นายจตุพร เบิกความต่อว่า สำหรับโจทก์เกิดวันที่ 3 ส.ค. 2507 ต้องเข้ารับการขึ้นทะเบียนเป็นทหารกองเกินในปี 2524-2525 และโจทก์ต้องได้รับหมายเรียกเกณฑ์ทหารเมื่ออายุครบ 20 ปีในปี 2527 และต้องเข้ารับการตรวจเลือกเกณฑ์ทหารในปี 2528 แต่ในปี 2524 โจทก์อ้างว่าไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษจึงไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นทหารกองเกิน รอจนเรียนจบในเดือน มิ.ย. 29 โจทก์จึงไปขึ้นทะเบียนเป็นทหารกองเกินที่จะได้ใบ สด.9 ในวันที่ 4 ก.ค. 29 ซึ่งโจทก์มีอายุ 22 ปี โดยสัสดีเขตพระโขนงเขียนเป็นลายมือให้โจทก์มารับใบ สด.9 ในเดือน ม.ค. 30 โจทก์จึงต้องเข้ารับเกณฑ์ทหารในวันที่ 7 เม.ย. 30 แต่โจทก์ไม่ได้ไปเข้ารับการตรวจเลือกเป็นทหารเกณฑ์ จึงเป็นคนขาดการตรวจเลือกที่มีโทษจำคุกทั้งจำทั้งปรับ การที่โจทก์ไปขึ้นทะเบียนเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 29 จึงเป็นการทำผิดกฎหมายแล้ว เพราะเป็นเวลาที่โจทก์เรียนจบจึงมาขึ้นทะเบียน โจทก์จึงไม่มีเหตุผลใดขอผ่อนผันเกณฑ์ทหารได้อีก ตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 และจากรายงานการสอบสวนของจเรทหารบก ลงวันที่ 19 พ.ค. 42 ปรากฏชัดเจนว่า โจทก์ไม่เคยได้รับการผ่อนผันหรือเคยเกณฑ์ทหาร แต่โจทก์ได้พยายามขึ้นทะเบียนทหารกองเกินในภายหลัง ที่มีการประสานกระทรวงกลาโหมและโรงเรียนนายร้อย จปร. ทำหนังสือจากกรมสารบัญ ทหารบก (สบ.ทบ.) ส่งเรื่องถึงโรงเรียนนายร้อย จปร. ให้รับโจทก์เป็นอาจารย์ และโรงเรียนนายร้อย จปร. ทำหนังสือตอบกลับเมื่อวันที่ 20 ต.ค. 29 ให้โจทก์เข้ารับราชการ นอกจากนี้พยานตรวจสอบพบพิรุธอีกว่า เมื่อโรงเรียนนายร้อย จปร. รับบรรจุโจทก์ในวันที่ 20 ต.ค. 29 แล้ว แต่หลังจากนั้นวันที่ 4 พ.ย. 29 กลับมีชื่อโจทก์ขอลาไปศึกษาต่อต่างประเทศในปี 2530-32 ขณะที่ข้อเท็จจริงพบว่าโจทก์ได้ไปเขียนใบสมัครเป็นอาจารย์ในวันที่ 12 ม.ค. 32 ซึ่งถ้าไปเรียนต่อต่างประเทศจริง โจทก์จะมาเขียนใบสมัครได้อย่างไร
นายจตุพร เบิกความต่อว่า จากผลการสอบสวนของจเรทหารบกลงวันที่ 19 พ.ค. 42 เห็นว่ามีผู้ร่วมกระทำผิดหลายคนแต่บางคนเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ระดับนายพล จึงไม่สามารถลงโทษทางวินัยได้ แต่ลงทำได้เพียงลงทัณฑ์พันเอกหญิงคนหนึ่ง และให้ดำเนินคดีอาญากับสัสดี โดยเป็นการสอบสวนเพื่อเอาผิดกับข้าราชการผู้ให้ความช่วยเหลือโจทก์แต่ไม่ เน้นการดำเนินคดีโจทก์เพราะอะไรพยานไม่ทราบ แต่ขณะนั้นมีนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ส่วนโจทก์เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นายจตุพร เบิกความอีกว่า ส่วนการปราศรัยวันที่ 15 ก.พ. 53 ที่หน้า กกต. นั้นเพื่อป้องปรามไม่ให้โจทก์ใช้กำลังปราบปรามประชาชน ดังเช่นกรณีสงกรานต์เลือดเมื่อเดือน เม.ย. 52 โดยพยานได้รับเอกสารจากนายทหารผู้หวังดีกับกลุ่มคนเสื้อแดงเป็นเอกสารเกี่ยว กับแผนปฎิบัติการของเจ้าหน้าที่ทหารในปี 2553 รวม 37 หน้า ซึ่งขณะนั้นมีการนัดหมายกลุ่มคนเสื้อแดงชุมนุมกันในวันที่ 14 มี.ค. 53 จึงได้พูดปราศรัยเพื่อป้องปรามเนื่องจากรู้สึกกังวลใจและมีเหตุการณ์ที่ผิด ปกติเกิดขึ้นหลายเหตุการณ์ เกรงว่าจะมีการสร้างสถานการณ์ คือ กรณีที่มีผู้ขับรถยนต์ยี่ห้อมิตซูบิชิ เบียดเข้าขบวนรถยนต์ของโจทก์ แต่ปรากฏว่าไม่มีการสอบสวนหรือดำเนินคดีกับผู้ขับรถยนต์ดังกล่าว รวมทั้งกรณีที่มีผู้ขับรถยนต์แท็กซี่มีสัญลักษณ์คนเสื้อแดงเบียดขบวนรถยนต์ ของโจทก์อีกครั้ง แต่ก็ไม่มีการสอบสวนและดำเนินคดีเช่นกัน