WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, September 14, 2012

หยุดเขื่อนไซยะบุรี! คนแม่น้ำโขงยังรอสัญญาณ รัฐบาลไทยจะ ‘ฟัง’ หรือ ‘เมิน’

ที่มา ประชาไท

 
รณรงค์หยุดเขื่อนไซยะบุรี ชาวบ้านแม่น้ำโขงยังรอสัญญาณเข้าพบนายกยิ่งลักษณ์ ลุ้นรัฐบาลไทยจะฟัง หรือเมิน เสียงคนไทยริมโขงและคนภูมิภาค
การเคลื่อนไหวต่อต้านการสร้างเขื่อนไซยะบุรีบนลำน้ำโขงทวีความร้อนแรง ขึ้นอีกระลอก ในช่วงหนึ่งอาทิตย์ของนิทรรศการและการรณรงค์ “ปกป้องแม่น้ำโขง หยุดเขื่อนไซยะบุรี” โดยเครือข่ายประชาชนลุ่มแม่น้ำโขงภาคอีสาน 7 จังหวัด ร่วมกับพันธมิตรกลุ่มภาคประชาสังคมต่างๆ ตั้งโต๊ะลงชื่อคัดค้านเขื่อนกับโปสการ์ดปลาบึก

ภาพถ่ายวิถีชีวิตใน พื้นที่สร้างเขื่อน โดย สุเทพ กฤษณาวารินทร์ และคณะจากกลุ่ม Photo Journ วางเคียงกับหุ่นปลาแม่น้ำโขงฝีมือจากชาวบ้านอุบลราชธานี ทำให้พื้นที่ห้องกระจกทั้ง 6 ห้อง ชั้นล่าง ของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ใจกลางเมืองหลวง อบอวลด้วยเรื่องราวของแม่น้ำโขง สายน้ำแห่งชีวิต และการรณรงค์เพื่อปกป้องและหยุดเขื่อนไซยะบุรีมาตั้งแต่วันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมา
ท่ามกลางกิจกรรมที่กำลังดำเนินไป ชาวบ้านและเครือข่ายพันธมิตรกำลังรอคำตอบในการให้เข้าพบของนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หลังการร้องขออย่างเป็นทางการจากตัวแทนเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำ โขง 7 จังหวัดภาคอีสาน, เลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กปอพช.) และประธานมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

“ภาคประชาสังคมและตัวแทนประชาชนขอพบ เพื่อยื่นรายนามประชาชนต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เพื่อให้รัฐบาลไทยหยุดการสนับสนุนเขื่อนแม่น้ำโขงและระงับการซื้อไฟฟ้าจาก เขื่อนไซยะบุรีในประเทศ สปป.ลาว” นี่คือจุดประสงค์ของการเข้าพบในครั้งนี้

‘โปสการ์ด รูปปลาบึก’ สัญลักษณ์แม่น้ำโขงที่เดินทางไปหลายจังหวัดริมแม่น้ำโขง เพื่อให้ประชาชนร่วมรับรู้และลงนามจะถูกรวบรวมจนถึงวันปิดนิทรรศการที่ 16 กันยายน ในขณะนี้มีผู้ลงนามแล้วกว่า 8,000 ใบ และคาดหวังจะส่งตรงถึงมือนายกรัฐมนตรีในวันจันทร์ที่ 17 กันยายน 2555 ที่ทำเนียบรัฐบาล ด้วยเหตุผลการเข้าพบส่วนหนึ่งว่า

“ฯพณฯ คงตระหนักเป็นอย่างดีว่า ประเทศไทยมีความรับผิดชอบโดยตรงต่อการเกิดขึ้นของโครงการเขื่อนไซยะบุรี เพราะไฟฟ้าร้อยละ 95 ที่ผลิตได้ จะส่งมาขายยังประเทศไทย”

การเข้าพบ นายกรัฐมนตรีของไทยในครั้งนี้ ยังมีตัวแทนเครือข่ายภาคประชาสังคมจากประเทศกัมพูชาและเวียดนามเข้าร่วมด้วย ทั้งนี้ในวันที่ 27 กรกฏาคม 2555 เครือข่ายพันธมิตรแม่น้ำกัมพูชา (The River Coalition on Cambodia [RCC]) ส่งจดหมายถึงทั้งนายกรัฐมนตรีไทยและสปป.ลาว โดยมีความตอนหนึ่งว่า

“เรา ขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยและลาวเคารพต่อข้อตกลงแม่น้าโขงที่ทำขึ้นในปี 2538 และเคารพต่อคำขอร้องจากรัฐบาลกัมพูชาและเวียดนาม ที่ขอให้ระงับการก่อสร้างหรือเตรียมการก่อสร้างในพื้นที่เขื่อนโดยด่วน”
เช่นเดียวกันกับ เครือข่ายแม่น้ำประเทศเวียดนาม (Vietnam Rivers Network [VRN]) เผยแพร่ข้อความเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2555 แสดงความเป็นห่วงในสถานการณ์การสร้างเขื่อนไซยะบุรี โดยระบุว่า “แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำนานาชาติ และมีความสำคัญในระดับนานาชาติ ไม่ควรถูกใช้ให้เป็นพื้นที่ทดลองเทคโนโลยีการสร้างเขื่อน”

เสียง เรียกร้องจากประชาชนไทย และเพื่อนบ้านในภูมิภาคแม่น้ำโขง เพื่อขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีของไทย อาจถือได้ว่าเป็นตัวบ่งชี้และหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญในการเคลื่อนไหวเพื่อ ระงับโครงการเขื่อนไซยะบุรีของเครือข่ายภาคประชาสังคมในภูมิภาคแม่น้ำโขง ซึ่งทำร่วมกันในตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อกระบวนการต่อสู้ของพี่น้องประชาชนไทยที่อาศัยอยู่ริม แม่น้ำโขง

ดังที่ อ้อมบุญ ทิพย์สุนา ตัวแทนเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน ได้กล่าวไว้ในการเปิดตัวการนิทรรศการและรณรงค์ที่หอศิลป์กรุงเทพฯ ในวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมาว่า

“เราประสานกับนักการเมืองในจังหวัดของเราอย่าง เป็นทางการ ขอให้ช่วยเราให้ได้พบนายกฯ ในวันที่ 17 กันยายน เพื่อถามท่านนายกโดยตรงว่าประเทศไทยมีแผนการอย่างไรในเรื่องเขื่อนไซยะบุรี สำหรับพวกเราการได้พบนายกหรือไม่ในครั้งนี้ จะเป็นข้อพิสูจน์ว่า นักการเมืองของเราจะยืนอยู่เคียงข้างพี่น้องประชาชนที่กำลังเดือดร้อนจาก โครงการเขื่อนแม่น้ำโขงหรือไม่”

หากเขื่อนไซยะบุรี ซึ่งถูกขนานนามว่า “เขื่อนไทยบนแผ่นดินลาว” ถูกสร้างขึ้นตามแผนการ จะกลายเป็นเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ตัวแรกที่ตั้งอยู่บนแม่น้ำโขงสายหลัก ทางตอนล่าง ทั้งนี้ การก่อสร้างที่กำลังเดินหน้าในพื้นที่สร้างเขื่อน นำโดย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) บริษัทก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย ด้วยเงินสนับสนุนจากธนาคารไทยชั้นนำ 4 แห่ง

อย่างไรก็ตาม จนกระทั่งบัดนี้ รัฐบาลทั้งไทยและลาวยังคงปิดปากเงียบ โดยไม่ตอบคำถามประชาชนทั้งในประเทศของตน รวมทั้งสาธารณะชนในภูมิภาค และนานาชาติ

ทั้งนี้ กิจกรรมรณรงค์ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จะมีต่อเนื่องไปจนถึงวันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน นี้ ตามด้วยกิจกรรมการเดินเพื่อรณรงค์ในใจกลางกรุงเทพมหานครในช่วงบ่ายสี่โมง เย็นของวันที่ 16 กันยายน  และต่อเนื่องด้วยการชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาลในตอนเช้าของวันที่ 17 กันยายน เพื่อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ: ดูกำหนดการ (คลิก)