WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, September 11, 2012

ทำไมต้องมาพูดเรื่องการต้านรัฐประหารอีกครั้ง?

ที่มา Thai E-News



จากบทบรรณาธิการหนังสือ “ประชาชนต้านรัฐประหาร” ถึงแม้ปัจจุบันประชาชนจะ “ตาสว่าง” อย่างมากมาย แต่ใครจะวางใจได้ว่าการ “รัฐประหาร” จะไม่มีอีก.. เพราะมันอาจจะมาในรูปแบบใหม่ การค้านมติของมหาชนอาจจะมาในรูปแบบที่เราไม่ชินตา แต่กระนั้นมั่นใจได้อย่างหนึ่งว่า ถ้าเมื่อใดมีการรัฐประหารเกิดขึ้น ไม่ว่าจะมาในรูปแบบใดๆ ก็ตาม ก็จะมีการต่อต้านมันอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์สังคมการเมืองไทย เช่นกัน
โดย เจษฎา โชติกิจภิวาทย์, วิทยากร บุญเรือง
10 กันยายน 2555
เราจะด่วนสรุปว่า “การเลือกตั้งไม่สำคัญ” ไม่ได้เป็นอันขาด เพราะ “ไม่มีประชาธิปไตยที่ไร้การเลือกตั้ง” การเลือกตั้งเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นที่จะขาดเสียมิได้ในระบอบประชาธิปไตย
Yoshifumi Tamada 
รัฐประหารครั้งใหม่ก็จะให้ ผลอย่างเดียวกัน และอาจเลวร้ายกว่า เช่นความแตกร้าวในกองทัพซึ่งแสดงออกให้เห็นได้แต่เพียงระเบิดไม่กี่ลูก ก็จะกลายเป็นระเบิดกันทุกวัน และวันละหลายครั้ง อำนาจรัฐอาจไม่ถูกท้าทายที่ราชประสงค์ แต่อาจถูกท้าทายไปทั่วทุกตารางนิ้วของประเทศ
นิธิ เอียวศรีวงศ์

“การเลือกตั้ง” เป็นพื้นฐานสำคัญยิ่งในระบอบประชาธิปไตยและการพัฒนาประชาธิปไตย รัฐบาลที่มาจากการการเลือกตั้งจากประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตย ขึ้นสู่อำนาจในการบริหารประเทศผ่านความชอบธรรมจากประชาชนผู้เลือกตั้ง ตามหลักการ “หนึ่งสิทธิหนึ่งเสียง” “คนเท่ากัน” ผู้ปกครองมิใช่มาจากชาติกำเนิดและ ฐานันดรศักดิ์ ตลอดทั้ง ระบอบประชาธิปไตย ยังได้เปิดพื้นที่ด้านสิทธิเสรีภาพในการสื่อสาร สิทธิเสรีภาพในการรวมกลุ่มของประชาชนสาขาอาชีพต่างๆ ได้อย่างเสรี มากกว่าระบอบการปกครองแบบอื่นๆเมื่อเปรียบเทียบกัน

สำหรับสังคมการเมืองไทย นอกจากการปฏิวัติ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็น ระบอบประชาธิปไตยแล้ว ยังมีการ “รัฐประหาร” เกิดขึ้น

รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมักถูกขัดขวางด้วยการรัฐประหารอยู่ตลอดเวลาในแต่ ละช่วงของประวัติศาสตร์การเมืองไทย หรือที่เรียกกันว่า “วงจรอุบาทว์” ทางการเมืองไทย และข้ออ้างในการรัฐประหาร มักอ้างเรื่องเกี่ยวกับ “ความจงรักภักดี” “การคอรัปชั่นของนักการเมือง” “การใช้อำนาจการเมืองแทรกแซงข้าราชการประจำ” เป็นต้น แต่บางครั้งก็เป็นการรัฐประหารในแวดวงกองทัพ เผด็จการอำนาจนิยม กลุ่มอนุรักษ์นิยม เพื่อกระชับอำนาจและหรือแย่งชิงอำนาจกันเองก็มีปรากฏ

ประวัติศาสตร์การรัฐประหารในสังคมการเมืองไทย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ได้เขียนบทความขึ้นในหนังสือเล่มนี้ ชี้ให้เห็นถึง ตัวละคร บทบาท ข้ออ้าง ความสลับซับซ้อน ความเหมือนและความต่างในแต่ละเงื่อนไขของเหตุการณ์ของการรัฐประหารในประวัติ ศาสตร์ที่เกิดขึ้น หรือ “ประวัติศาสตร์การรัฐประหารในประเทศไทย” และการรัฐประหาร ๑๙  กันยายน ๒๕๔๙ ได้สะท้อนถึงการต่อสู้ระหว่าง “ฝ่ายประชาธิปไตย” กับ “ฝ่ายอำมาตยาธิปไตย” ระหว่าง “ไพร่” กับ “อำมาตย์” ที่ต่อเนื่องมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

ขณะที่ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ก็ได้ชี้ให้เห็นบริบทการเมืองไทยในช่วงเหตุการณ์พฤษภา ๒๕๓๔ และได้ตั้งประเด็นคำถามส่วนหนึ่งของบทความในหนังสือเล่มนี้ ถึงความย้อนแย้งของคนชั้นกลาง ผู้เอาการเอางานในการต่อสู้กับเผด็จการทหารคณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่ง ชาติ (รสช.) ที่ก่อการรัฐประหาร เมื่อวันที่ ๒๓ กุมพาพันธ์ ๒๕๓๔ และเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง

ซึ่งต่อมาก็มีกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๔๐ ที่ประชาชนทุกกลุ่มสาขาอาชีพ มีส่วนร่วมมากที่สุดในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ แต่คนชั้นกลางเหล่านี้ส่วนมากกลับผันผวนสลับข้างหันมาสนับสนุนการรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ล่าสุด ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม

กระนั้นก็ตามเมื่อมีการรัฐประหาร ก็มีการต่อต้านรัฐประหารควบคู่กัน ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล และระดับองค์กร ดั่งบทสัมภาษณ์บุคคลในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งได้กล่าวถึงบทบาทการเคลื่อนไหวต้านรัฐประหาร ทัศนคติและวิธีการต้านรัฐประหารในอนาคตถ้าหากมีขึ้น เช่น อุทัย พิมพ์ใจชน นักการเมืองและอดีตประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ, สิริวัฒน์ ไกรสินธุ์ อดีตนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง และ สมาชิกวุฒิสภาจากการเลือกตั้ง, สมบัติ บุญงามอนงค์ เอ็นจีโอ นักกิจกรรม ตลอดทั้ง นวมทอง ไพรวัลย์ ที่ วัฒน์ วรรลยางกูร ได้เขียนถึงเรื่องราวของเขา รวมทั้งได้ย้อนชวนสนทนาถึงแนวคิดข้อถกเถียงประชาธิปไตยของ กบฏ ร.ศ. ๑๓๐

ด้านหนึ่งชี้ให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของคนหนุ่มสาว ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองหนุ่มที่อุดมการณ์แรงกล้า อาจหาญลุกขึ้นมาสู้กับอำนาจปืน หรือผู้นำนักศึกษาผู้ใฝ่ฝันถึงประชาธิปไตยที่เป็นผู้นำการต้านรัฐประหารโดย ทันทีเมื่อมีการรัฐประหารเกิดขึ้น และบางคนเป็นนักประชาธิปไตยที่ไม่เคยลงสมัครรับเลือกตั้งมาก่อน หรือบางคนก็เป็นสามัญชนคนธรรมดาแบบลุงนวมทอง ไพรวัลย์

รัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ครั้งล่าสุด ที่มิอาจทำนายกันได้ว่า เป็นครั้งสุดท้าย แต่การรัฐประหารในครั้งนั้น นับได้ว่าได้ส่งผลสะเทือนต่อ คำว่า “รัฐประหาร” มากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย มีการถกเถียงพูดถึง “ปัญหาการรัฐประหาร” และ “การรัฐประหารซ่อนรูป” รวมถึงคำว่า “ตุลาการภิวัฒน์” กันมากอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

รัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ยังได้มีการตั้งคำถามและตรวจสอบถึงบทบาทของสื่อมวลชน ผู้นำสาธารณะ ราษฎรอาวุโส นักสิทธิมนุษยชน องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรภาคประชาสังคมต่างๆ ในการออก “ใบอนุญาตรัฐประหาร” ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ตลอดถึงการตั้งคำถามกันว่า รัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็น รัฐประหารครั้งสุดท้ายในสังคมการเมืองไทยหรือไม่

นอกจากนี้แล้ว ภายหลังการรัฐประหาร ผู้ยึดอำนาจมักจะวางแผนการสืบทอดอำนาจ แม้ว่าอาจจะให้มีการเลือกตั้ง แต่ก็ภายใต้เงื่อนไขที่กลุ่มรัฐประหารสืบทอดอำนาจต่อเนื่องได้ โดยกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับที่พวกเขามีส่วนกำหนดขึ้นมาภายหลังการรัฐประหาร และเมื่อประชาชนออกมาคัดค้าน ชุมนุมต่อต้านการสืบทอดอำนาจของพวกเขาก็มักจะมีการปราบปรามประชาชนอย่าง รุนแรงและไร้มนุษยธรรม เช่น กรณีพฤษภา ๓๕ และเมษา-พฤษภาอำมหิต ๕๓ เป็นต้น

หนังสือเล่มนี้ เป็นการนำเรื่องราวส่วนหนึ่งของ “การรัฐประหาร” ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยมาสนทนากันอีกครั้ง เพื่อเป็นความรู้และบทเรียนให้กับสังคมไทย

และหวังเป็นอย่างยิ่งเหมือนที่ นิธิ เอียวศรีวงศ์ เคยเขียนไว้ว่า “เพราะดูเหมือนเป็นคำตอบเดียวที่ชนชั้นนำบางกลุ่มมีอยู่ในกระเป๋า เพราะไปคิดว่ารัฐประหารจะนำมาซึ่งการแก้ปัญหาทุกอย่าง นับตั้งแต่ความแตกร้าวภายในของชนชั้นนำเอง, การดำเนินนโยบายที่ทันท่วงทีต่อความเปลี่ยนแปลงภายในและภายนอก, ฟื้นฟูสมดุล ทางการเมืองระหว่างพลังดิบและพลังประชาธิปไตย กลับคืนมาได้อย่างมั่นคง, ให้อำนาจที่ค่อนข้างเด็ดขาดมากขึ้นแก่ชนชั้นนำที่จะประคับประคองการเปลี่ยน ผ่านของสถาบันทางการเมืองและวัฒนธรรมทุกสถาบัน ฯลฯ”

“รัฐประหาร” อาจเคยทำอย่างนั้นได้สำเร็จ แต่รัฐประหารครั้งสุดท้ายกลับทำไม่สำเร็จแบบเช่นเดิม ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่าสังคมไทยได้เปลี่ยนไปแล้ว

สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจักษ์ต่อสายตาที่เคยมืดมัวของคนในสังคมไทย หลังการรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เราจะพบว่าการรัฐประหารไม่สามารถผนวกพลังใหม่ของประชาชนระดับล่างให้เข้ามา ร่วมอยู่บนเวทีการเมืองอย่างเสมอภาคได้, การรัฐประหารทำให้เกิดความแตกร้าวในสังคมหนักขึ้น, การรัฐประหารทำให้ชนชั้นนำที่เคยอยู่แต่เบื้องหลังถูกดึงมาร่วมในการปะทะขัด แย้งกันเบื้องหน้า, และการรัฐประหารไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจจำเริญมากขึ้นหรือการแบ่งปันทรัพย์สินดี ขึ้น ฯลฯ
กระนั้นก็ตาม ในยุคสมัยปัจจุบันที่ประชาชน “ตาสว่าง” จำนวนกว้างใหญ่ไพศาลอย่างที่ไม่ปรากฏมาก่อน แน่นอนว่าในอนาคตอันใกล้นี้ การรัฐประหารอาจจะมาในรูปแบบใหม่ การค้านมติของมหาชนคนส่วนใหญ่อาจจะมาในรูปแบบที่เราไม่ชินตา แต่กระนั้นมั่นใจได้อย่างหนึ่งว่า ถ้าเมื่อใดมีการรัฐประหารเกิดขึ้น ไม่ว่าจะมาในรูปแบบใดๆ ก็ตาม ก็จะมีการต่อต้านมันอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์สังคมการเมืองไทย เช่นกัน.
0 0 0

หนังสือประชาชนต้านรัฐประหาร สามารถหาซื้อได้ตามร้านหนังสือชั้นนำแล้ววันนี้


“ถ้าต่อไปใครจะทำ (รัฐประหาร) อีกผมกลับมองว่าผู้ก่อการจะไปไม่รอดแต่ประเทศชาติจะรอด เพราะว่าคนไทยส่วนใหญ่รู้มากขึ้นแล้ว รู้เท่าทันการรัฐประหาร รู้ว่าการรัฐประหารมันไม่เกิดประโยชน์ มันมีแต่ทำให้เกิดโทษหนักขึ้นไปอีก ส่วนรูปแบบอื่นๆ ก็ยาก เพราะเดี๋ยวนี้ประชาชนมีกลุ่มต่างๆ ที่มีพลังพร้อมที่จะต่อต้านเสมอ”
อุทัย พิมพ์ใจชน
“ต้องคิดว่าทำอย่างไรจะไม่ให้เกิด (รัฐประหาร) ขึ้นอีก แล้วถ้าเกิดขึ้นจะทำอย่างไร เราคิดกันมานานแล้วเรื่องการต้านสิ่งที่จะมาแทรกแซงระบบประชาธิปไตย แต่เรายังทำอะไรที่เป็นรูปธรรมไม่มากพอ เราต้องทำให้มากขึ้น รวมถึงคิดประเด็นและช่องทางใหม่ๆ ในการเสริมสร้างหรือสนับสนุนการป้องกันรัฐประหารมากกว่าที่เป็นอยู่ ตัวอย่าง เช่น ทีวี วิทยุของทหารที่มีหลายช่องทาง เราก็ต้องมีช่องทางสื่อสารในการสนับสนุนแนวคิดประชาธิปไตยให้มากขึ้นไปด้วย เรียกร้องให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งสร้างสื่อและช่องทางของฝ่าย ประชาธิปไตยขึ้นมาด้วย”
สิริวัฒน์ ไกรสินธุ์
“ถ้าหากมีการเหนี่ยวรั้งโดยพลังอนุรักษ์นิยมอีกครั้งในอนาคต ขณะที่ประชาชนโตขนาดนี้ ก็ถือได้ว่าว่ามันเป็นการใช้ทุนในอนาคตเลย เหมือนคุณเล่นการพนันแล้วต้องกู้มาเล่น คุณไม่ได้เล่นจากสิ่งที่คุณมีในตอนนี้ให้หมดตัวนะ แต่คุณเอาอนาคตคุณมาเล่นเลย ผมคิดว่ามันอันตรายมาก”
สมบัติ บุญงามอนงค์

เนื้อหาในหนังสือประชาชนต้านรัฐประหาร …

"ประวัติศาสตร์ว่าด้วยการรัฐประหารในประเทศไทย"
บทความโดย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ

"ถ้าไม่มีเดือนพฤษภา"
บทความโดย ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ [หน้า ๔๗]

‘อุทัย พิมพ์ใจชน’ กับการต่อต้านรัฐประหาร ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔
บทสัมภาษณ์ อุทัย พิมพ์ใจชน [หน้า ๗๕]

‘สิริวัฒน์ ไกรสินธุ์’ กับการต่อต้านรัฐประหาร ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔
บทสัมภาษณ์ สิริวัฒน์ ไกรสินธุ์ [หน้า ๘๙]

‘สมบัติ บุญงามอนงค์’ กับการต่อต้านรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙
บทบทสัมภาษณ์ สมบัติ บุญงามอนงค์ [หน้า ๑๐๙]

นวมทอง ไพรวัลย์ และ ๑๐๐ ปี แห่งความอ้างว้าง
บทความโดย วัฒน์ วรรลยางกูร [หน้า ๑๒๗]