ที่มา ประชาไท
Wed, 2012-09-12 17:10
“การรวมตัวระหว่างชนชั้นนำผ่านการศึกษาในหลักสูตรผู้บริการระดับสูงทำให้ชนชั้นนำมีแนวโน้มหลักสูตรที่ อ.นวลน้อยศึกษา ซึ่งเอาข้าราชการระดับสูง ทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร นักการเมือง นักธุรกิจ มาฝึกอบรมร่วมกัน ทำให้เกิดความสัมพันธ์ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการระหว่างผู้เข้าอบรม รุ่นเดียวกันหรือต่างรุ่น ได้แก่
(1) แข่งขันลดลงและเป็นไปได้ที่จะแบ่งปันอำนาจระหว่างชนชั้นนำด้วยกันภายใต้ความ สัมพันธ์แบบ “พรรคพวกเพื่อนฝูง” การแข่งขันหรือการเข้าถึงจากภายนอกโดยเฉพาะจากประชาชนทั่วไปจึงเป็นไปได้ยาก เพราะ “กำแพงของความเป็นเพื่อน” ผ่านหลักสูตรผู้บริหารทั้ง 6
(2) หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงเป็นเสมือน Fast Track ทำให้คนกลุ่มใหม่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นนำได้”
(1) หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) ของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (2) หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บ.ย.ส.) ของวิทยาลัยการยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม (3) หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.) ของสถาบันพระปกเกล้า (4) หลักสูตรการพัฒนาการเมืองการเลือกตั้งระดับสูง (พตส.) ของสถาบันพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (5) หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) ของสถาบันวิทยาการตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ (6) หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการค้าและการพาณิชย์ (TEPCoT) ของหอการค้าไทย
แหม ไม่ยักรวมหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูงของสถาบันอิศราเข้าไปด้วย มองข้ามกันได้ไง ฮิฮิ
ใน 6 หลักสูตรที่ อ.นวลน้อยยกมา ที่ “น่าวิตก” ที่สุดในทัศนะผมคือ หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง ซึ่งเอาพ่อค้า นักธุรกิจ นักการเมือง เข้าไปอบรม “เป็นเพื่อน” กับผู้พิพากษาระดับสูง
นั่นอาจเพราะผมยังมีทัศนะแบบบ้านๆ ว่าผู้พิพากษาท่านเป็นปูชนียบุคคล เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธย อยู่สูงส่งเหนือมนุษย์ทั่วไป ในแง่ศีลธรรมจรรยา ผู้พิพากษาท่านก็มีศีลธรรมจนล้น ไม่ใช่พระก็น้องๆ พระ คำพิพากษาจึงแฝงพระธรรมคำสอนผู้คนอยู่ทั่วไป เราๆ ท่านๆ ฟังแล้วก็ได้แต่สาธุ หาบังอาจจะไปวิพากษ์วิจารณ์ในหลักกฎหมายประการใดไม่
แต่ไหง ผู้พิพากษาจึงมาคบหาเสวนาเป็นเพื่อนร่วมรุ่นกับพ่อค้านายทุน นักการเมือง ซึ่งไม่ใช่แค่นั่งเรียนหนังสือด้วยกัน แต่ยังไปท่องเที่ยว ดูงานต่างประเทศด้วยกัน ตีกอล์ฟ จัดกิจกรรมสังสรรค์เสวนา สนุกสนานเฮฮา
แล้วมันจะไม่เกิดข้อกังขาหรือครหา เวลาคนพวกนี้เป็นโจทก์จำเลยมีคดีขึ้นสู่ศาลหรือครับ
ในแง่นี้ต่างกับตำรวจ ทหาร ข้าราชการ ที่สังคมมองว่าคบค้าเสวนากับพ่อค้า นักธุรกิจ นักการเมือง เป็นเรื่องปกติ แต่ผู้พิพากษาในทัศนะสังคมไทย ท่านคือผู้ถือสันโดษ สมถะ ไม่ควรไปสังสรรค์เฮฮา กินข้าวกินเหล้ากับผู้รับเหมา ไม่ควรเป็นเจ้าภาพทอดกฐิน ผ้าป่า หรือกิจกรรมใดที่ต้องมีการเรี่ยไร ไม่ควรเป็นกระทั่งประธานรุ่นโรงเรียนเก่า ถ้าอยากกินเหล้า ก็ควรกินเหล้าอยู่บ้านคนเดียว หรือกินกับผู้พิพากษาด้วยกัน
ถามว่าสุดขั้วไปไหม อ้าว ก็ผู้พิพากษาท่านไม่ใช่ปุถุชน วิพากษ์วิจารณ์แทบไม่ได้ จะไม่ให้สังคมมองสุดขั้วได้ไง
แล้วเรื่องนี้ก็มีที่มา ไม่ใช่ลอยๆ ดูประกาศคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม เรื่องจริยธรรมของข้าราชการตุลาการ พ.ศ.2552 ซึ่งก็ปรับมาจากการประพฤติปฏิบัติของบุรพตุลาการนั่นแหละ
“ข้อ 29 ผู้พิพากษาไม่พึงเป็นกรรมการ สมาชิก หรือเจ้าหน้าที่ของสมาคม สโมสรชมรม หรือองค์การใดๆ หรือเข้าร่วมในกิจการใดๆ อันจะกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือเกียรติศักดิ์ของผู้พิพากษาเห็นไหมครับว่าผู้พิพากษาต้องสันโดษ เรียบง่าย สำรวม สุภาพ มีกิริยามารยาท (ไม่ใช่วางอำนาจ) ทำตัวให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธา (ทำตัวซกมกก็เห็นจะไม่ได้) บทบัญญัติเหล่านี้ไม่มีอยู่ในวินัยข้าราชการทั่วไป บางอย่างเอามาจากวินัยพระด้วยซ้ำ
ข้อ 35 ผู้พิพากษาจักต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด อยู่ในกรอบของศีลธรรม และพึงมีความสันโดษ ครองตนอย่างเรียบง่าย สุภาพ สำรวมกิริยามารยาทมีอัธยาศัย ยึดถือจริยธรรมและประเพณีอันดีงามของตุลาการ ทั้งพึงวางตนให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของบุคคลทั่วไป
ข้อ 40 ผู้พิพากษาจักต้องระมัดระวังมิให้การประกอบวิชาชีพ อาชีพ หรือการงานอื่นใดของคู่สมรส ญาติสนิท หรือบุคคลซึ่งอยู่ในครัวเรือนของตนมีลักษณะเป็นการกระทบกระเทือนต่อการ ปฏิบัติหน้าที่หรือเกียรติศักดิ์ของผู้พิพากษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความเชื่อถือศรัทธาของบุคคลทั่วไปในการประสาทความ ยุติธรรมของผู้พิพากษา”
บุรพตุลาการท่านห้ามผู้พิพากษาไปเป็นกรรมการหรือสมาชิกชมรม สมาคม สโมสร ซึ่งจะกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ ก็คืออย่าไปสังสรรค์คบค้าสมาคมกับผู้คนนอกวงการมากเกินไป เพราะถ้ามีความผูกพัน มีน้ำใจ มีบุญคุณ เคารพนับถือกัน ก็อาจกระทบการปฏิบัติหน้าที่ได้
ท่านให้ระมัดระวังกระทั่งการประกอบอาชีพของลูกเมีย ญาติสนิท หรือผู้อยู่ในครัวเรือน แบบว่าตัวเป็นผู้พิพากษา เมียเป็นนายหน้าขายที่ดิน ลูกชายเปิดผับ ลูกสาวเปิดสำนักงานทนาย ฯลฯ ตำรวจทำได้ ทหารทำได้ นักการเมืองทำกันเกร่อ แต่ผู้พิพากษาทำไม่ได้นะครับ เพราะมันล่อแหลมต่อ “ผลประโยชน์ทับซ้อน”
ตอนออกประมวลจริยธรรมปี 2544 ประธานศาลฎีกาในขณะนั้น (น่าจะเป็นสมัยท่านสันติ ทักราล) ยังให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำรงตนในโอกาสต่างๆ ของข้าราชการตุลาการ
“ข้อ 3. การจัดเลี้ยงในโอกาสต่างๆบอกแล้วว่าถ้าจะกินเหล้าก็ต้องกินในบ้าน หรือกินกับผู้พิพากษาด้วยกัน ห้ามกินกับทนาย ผู้พิพากษาจัดงานขึ้นบ้านใหม่ งานวันเกิด งานปีใหม่ ถ้าเชิญแขกเหรื่อเอิกเกริกถือว่าไม่เหมาะสม ต้องจัดเงียบๆ ในญาติมิตร หรือในสำนักงาน
1. ข้าราชการตุลาการพึงงดเว้นการชักชวนหรือสนับสนุนให้มีการเดินทางไปอวยพร หรือจัดเลี้ยงในโอกาสต่างๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันเกิด หรืองานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น เว้นแต่เป็นการกระทำกันภายในหมู่ญาติมิตร หรือเฉพาะ ในหน่วยงานของตนเอง โดยมิได้รบกวนบุคคลภายนอก หรือให้บุคคลภายนอกมาร่วมจัดงาน
2. ข้าราชการตุลาการพึงงดรับของขวัญ ของมีค่า ของกำนัลจากผู้ใต้บังคับบัญชา และบุคคลอื่น
3. ผู้ใต้บังคับบัญชาพึงงดเว้นการเดินทางไปอวยพรผู้บังคับบัญชา เว้นแต่เป็นการกระทำกันภายในหน่วยงานนั้นเอง ข้าราชการซึ่งอยู่ต่างท้องที่หรืออยู่ห่างไกล หากประสงค์จะอวยพร ควรใช้บัตรอวยพรทางไปรษณีย์แทน”
เรื่องรับของขวัญประมวลจริยธรรมปี 52 เขียนชัดขึ้นด้วยซ้ำ ว่าห้ามลูกเมียด้วย
“ข้อ 42 ผู้พิพากษาและคู่สมรสจักต้องไม่รับของขวัญของกำนัล หรือประโยชน์อื่นใดอันมีมูลค่าเกินกว่าที่พึงให้กันตามอัธยาศัยและประเพณีใน สังคม และจักต้องดูแลให้บุคคลในครอบครัวปฏิบัติเช่นเดียวกันด้วย”แม้แต่การเรี่ยไรเพื่อประโยชน์ส่วนรวมท่านก็ห้าม
“ข้อ 39/1 ผู้พิพากษาไม่พึงขอรับเงินสนับสนุนหรือประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานหรือบุคคล ภายนอกในประการที่อาจทำให้กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของศาลยุติธรรม เว้นแต่จะเป็นการดำเนินการตามระเบียบ คำสั่ง หรือมติว่าด้วยการนั้น”แปลว่ามูลนิธิต้นตระกูลกมลวิศิษฎ์จะไปบริจาคเงินตั้งตู้น้ำดื่มให้ศาล เหมือนที่สร้างป้อมยามให้ตำรวจ ก็ไม่ได้
บางคนอาจร้องว่า โห! แบบนี้เป็นผู้พิพากษาก็ต้องวางตัวอยู่ในกรอบแทบกระดิกไม่ได้ ก็ใช่สิครับ รัฐถึงให้เงินเดือนผู้พิพากษาสูงกว่าข้าราชการฝ่ายอื่น เป็นผู้พิพากษามีเกียรติมีศักดิ์ศรี แล้วใช่ว่าจะเอาไปอวด เอาหน้า สร้างฐานะทางสังคม บุรพตุลาการท่านทำแบบอย่างไว้ แต่รุ่นหลังรุ่นใหม่จะเป็นอย่างไรยังไม่รู้ ลูกท่านหลานท่านจบจากนอก อายุ 25 เป็นผู้พิพากษากันแล้ว
สาเหตุที่บุรพตุลาการกำหนดให้ผู้พิพากษาสันโดษ สมถะ ละเว้นการสังสรรค์สโมสร ก็เพราะเล็งเห็นว่าการคบค้าสมาคมกว้างขวางจะทำให้เกิดความรู้จัก เกรงใจ รักใคร่ ผูกพัน ซึ่งเวลาคนเหล่านั้นมีคดีขึ้นศาล แม้ตัวท่านไม่ได้เป็นองค์คณะ แต่ก็อาจรู้จัก เกรงใจ รักใคร่ ผูกพัน กับผู้พิพากษาที่นั่งบัลลังก์ คนเหล่านั้นก็ย่อมจะมาขอความช่วยเหลือ ขอคำปรึกษา ขอคำแนะนำ ตามประเพณีอันดีงามของสังคมอุปถัมภ์ ซึ่งปฏิเสธได้ยาก เพราะจะถูกหาว่าไม่มีน้ำใจ
คอร์รัปชั่นในสังคมไทยมาจากคอนเนคชั่นเสียเป็นส่วนใหญ่นะครับ ไม่ค่อยมีหรอก ที่จะมีคนเดินเข้ามาหาผู้มีอำนาจถามโต้งๆ ว่าจะเอา 10% 20% หรือ 30% มันมักจะเริ่มจากพี่น้องพ้องเพื่อน การสร้างความสัมพันธ์ น้ำใจและความผูกพัน ซึ่งหลวมตัวไปแล้วปฏิเสธลำบาก
หลักสูตรฮิตขยายกิจการ
หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง บ.ย.ส. จัดโดยสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ซึ่งขึ้นกับสำนักงานศาลยุติธรรม ปัจจุบันมีนายวิรัช ชินวินิจกุล เป็นเลขาธิการ, นายสราวุฒิ เบญจกุล เป็นรองเลขาธิการ และนายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาล (อากงปลงไม่ตก) เป็นผู้บริหาร
หลักสูตร บ.ย.ส.เปิดรุ่นแรกเมื่อปี 2539 มีผู้เข้าอบรม 20 กว่าคน เกือบทั้งหมดเป็นผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ ข้าราชการ (มีนายไพโรจน์ วายุภาพ ประธานศาลฎีกาคนปัจจุบันด้วย) แล้วก็มีสื่อรุ่นละคน รุ่นแรกมาจาก อสมท.รุ่น 2 ไทยรัฐ รุ่น 3 ตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์ จากผู้จัดการ รุ่น 4 เริ่มมีนักการเมืองอย่างอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ รุ่น 5 การุณ ใสงาม รุ่น 7 ปานปรีย์ พหิทธานุกร, สาธิต ปิตุเตชะ รุ่นนี้เริ่มขยายมาราว 50 กว่าคน
จากนั้นก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น รุ่น 12 มี 66 คน รุ่น 13 มี 70 เริ่มมีชื่อคนดังๆ อย่างประกอบ จีรกิติ, ปริญญ์ จิราธิวัฒน์, พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ, ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ และสุพจน์ ทรัพย์ล้อม (อ้าว! เพิ่งรู้ว่าเพื่อนร่วมรุ่น) รุ่น 14 มี 73 คน สมชาย แสวงการ, ประวิช รัตนเพียร, ฐาปน สิริวัฒนภักดี, สมชัย ลีสวัสดิ์ตระกูล (จีสตีล), สมพันธุ จารุมิลินท (ทรูวิชั่น) สมบัติ เฉลิมวุฒินันท์ (เอเชียโกลเด้นไรซ์) เป็นต้น รุ่น 14 นี่ยังมีเฟซบุ๊ก มีภาพไปดูงานญี่ปุ่น จัดกอล์ฟ กันสนุกสนาน
รุ่น 15 ยังหาไม่เจอ แต่รายชื่อรุ่น 1-14 มีในเว็บไซต์ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกศาลยุติธรรม แสดงรายงานวิจัยผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รวม 14 รุ่น 717 คน ใครอยากอ่านไปดูได้ แต่รายชื่อรุ่นหลังๆ ไม่ได้บอกตำแหน่ง ที่มา ของผู้เข้าอบรม http://www.library.coj.go.th/indexresert.php?search=&&cbtype=&&page=1
รายชื่อผู้เข้าอบรมที่ยังค้างอยู่ในเว็บไซต์สถาบัน ซึ่งบอกที่มาที่ไป มีแค่ 2 รุ่น ได้แก่ รุ่นที่ 16 ประจำปี 54-55 ซึ่งพระองค์ภาฯ ทรงเข้าอบรมในฐานะรองอัยการจังหวัดหนองบัวลำภู มีผู้เข้าอบรมร่วมกับพระองค์ภาฯ 109 คน รุ่นที่ 17 ประกาศรายชื่อล่าสุดมี 90 คน
มาดูรุ่นที่ 16 กันก่อน ในจำนวนนี้มีผู้พิพากษา 21 คน (ตำแหน่งขณะนั้น)
นางกมลทิพย์ กรวิจิตรกุล ผู้ตรวจราชการสำนักงานศาลยุติธรรม
นายจตุรงค์ นาสมใจ ประธานแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลอุทธรณ์ ภาค 4
นายชัยรัตน์ เบ็ญจะมโน ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
นายชูเกียรติ ดิลกแพทย์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 7
นายนิยุต สุภัทรพาหิรผล ผู้พิพากษาศาลฎีกา
นายปกรณ์ วงศาโรจน์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์
นายปกรณ์ สุวรรณพรหมา อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค 4
นายปิ่น ศรีเมือง รองประธานศาลอุทธรณ์ ภาค 6
นายเผดิม เพ็ชรกูล รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
นายพิศิฏฐ์ สุดลาภา อธิบดีผู้พิพากษาภาค 6
นางสาวภาวนา สุคันธวณิช ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
นายมนูภาน ยศธแสนย์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง
นายมานิตย์ สุขอนันต์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
นายวิจิตร วิสุชาติ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค 9
นายวินัย เรืองศรี ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
นายวุฒิชัย หรูจิตตวิวัฒน์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค 1
นายสมชาย เงารุ่งเรือง ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
นายสุชาติ สุนทรีเกษม รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งธนบุรี
นางสาวสุนันท์ ชัยชูสอน ประธานแผนกคดีเลือกตั้งในศาลอุทธรณ์
นายอดุลย์ ขันทอง รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้
นายอนันต์ คงบริรักษ์ ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
มีตุลาการศาลปกครอง 1 คนคือ อ.วิษณุ วรัญญู ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ส่วนอัยการ นอกจากพระองค์ภาฯ มี 3 คนได้แก่ นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองเลขานุการอัยการสูงสุด, ร.ต.พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร อธิบดีอัยการสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ, นางอรนิตย์ บุนนาค อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีเยาวชนและครอบครัว
ข้าราชการกระทรวงยุติธรรม นายวิตถวัลย์ สุนทรขจิต ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 3, นายวิทยา สุริยะวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม, พันโท อเนก ยมจินดา รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน, นายอำพล วงศ์ศิริ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ทั้งหมดเป็นตำแหน่งขณะนั้น)
โดยยังมีข้าราชการในพระองค์ ดร.จรัลธาดา กรรณสูต ที่ปรึกษาสำนักราชเลขาธิการ, นายอดิศักดิ์ ภาณุพงศ์ ที่ปรึกษาโครงการกำลังใจในพระดำริพระองค์ภาฯ และตามธรรมเนียมต้องมีสื่อ ได้แก่ นายธเรศวร์ ธนะสมบูรณ์ บก.ข่าวอาวุโส ช่อง 5 น.ส.นาตยา เชษฐ์โชติรส ผู้ช่วย บก.ข่าวบางกอกโพสต์
ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ องค์กรอิสระ องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ เอาเฉพาะตำแหน่งสำคัญก็เช่น นายโชติ ตราชู ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน, นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน ปตท., พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ, พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี, นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่า สตง. นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์, พล.ท.ศิริชัย ดิษฐกุล รองเสนาธิการทหารบก, นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร, นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต.ในขณะนั้น
ฝ่ายการเมืองนำหน้าโดย ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, หมอพฤติชัย ดำรงรัตน์ มาในฐานะที่ปรึกษาประธานบริษัท พีพีดี คอนสตรัคชั่น จำกัด, ฐนนท์ศรณ์ เลิศฤทธิ์ศิริกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในตอนนั้น (ตอนนี้ผู้ช่วย รมต.เกษตรฯ นัยว่าเด็กเสธหนั่น) แล้วก็มี สว.2 คน ที่มาจากการสรรหาคือ น.ส.สุนันท์ สิงห์สมบุญ อดีตนายกสมาคมพ่อค้าข้าวโพดและพืชพันธุ์ไทย 3 สมัย (รายนี้นักอบรมเหมือนกัน เพราะจบ บยส.16 วตท.11 วปอ.มส.1 TEPCOT รุ่น 3 ปปร.ของสถาบันพระปกเกล้า รุ่น 13) และสุวิทย์ เมฆเสรีกุล สว.เลือกตั้งจากมหาชัย
ส่วนที่เหลือเป็นนักธุรกิจล้วนๆ ได้แก่
นายกนกศักดิ์ ปิ่นแสง ที่ปรึกษา บริษัท เชียงใหม่คอนสตรัคชั่น จำกัด
ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการบริหาร บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด
นายเกียรติศักดิ์ กัลยาสิริวัฒน์ ประธานบริหาร บริษัท โนโลอากวีเทรด (ประเทศไทย) จำกัด
นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กฎหมายกรุงไทย
นายชัยศักดิ์ อ่อนประดิษฐ์ กรรมการ บริษัท โอสิคอินเตอร์ เนชั่นแนล (ไทย) จำกัด
นายโชคชัย เศรษฐีวรรณ กรรมการบริหาร บริษัท ไทยฟ้า (2511) จำกัด
นายณรงค์ศักดิ์ ภูมิศรีสอาด ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสำนักประสานรัฐกิจกลุ่มธุรกิจการตลาด เครือซีพี
นางสาวณฤดี อรัณยกานนท์ กรรมการและกรรมการบริหาร บริษัท เกลือขุนสมุทรมณีรัตน์ จำกัด
นางสาวธิดารัตน์ ธนภรรคภวิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท โนวาลีฟ ซอฟท์แวร์ จำกัด
นายประเสริฐ เกษมโกเมศ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บอนวิสต้า เรียลตี้ จำกัด
คุณ หญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล กรรมการกลางมูลนิธิรามาธิบดี ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประธานกรรรมการบริหารกลุ่ม บริษัท จี สตีล จำกัด
ดร. ปิยะนุช มาลากุล ณ อยุธยา รองประธานสภาอุตสาหกรรม
นายพรศักดิ์ พิทักษ์พูลสิน ประธานบริหาร บริษัท ฮอว์คอายส์ อินเตอร์เทรด จำกัด
นายภัคพล งามลักษณ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด
นายวรยุกต์ เจียรพันธุ์ ประธานกรรมการกลุ่ม บริษัท สมบูรณ์สุข จำกัด
นายวโรดม วีระภุชงค์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยนครพัฒนา จำกัด
ดร.วาชิต รัตนเพียร รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
นายวิกรม ศรีประทักษ์ รองประธานกรรมการบริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส
ดร.วิชญะ เครืองาม ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายงานรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายบัญชีและการเงิน บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด
นายวิสุทธิ์ พิทักษ์สิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีซูซุสงวนไทยมอเตอร์เซลส์ จำกัด
นางศิรินันท์ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านปฎิบัติการ Loxley ICT Group
นายสมเกียรติ ศรมณี กรรมการบริหาร บริษัท วี.อาร์.เอ็ม.วอยซ์ พลัส จำกัด
นายสมบูรณ์ ฉายาวิจิตรศิลป์ ประธานกรรมการ บริษัท สมหรรษา จำกัด
นายสมสุข ศรีสถิตย์วัฒนา ประธานบริหาร บริษัท เอเชี่ยน พารากอน จำกัด
นายสุขสันต์ ตั้งสะสม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริหาร บริษัท คอสมิก แม็กนัม จำกัด
นางสาวสุนีย์ เศวตเจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจแปนเครน จำกัด
นายสุพรรณ อัครพันธุ์ ผู้จัดการ บริษัท สุขุมวิทฮอนด้า ออโตโมบิล จำกัด
นายสุรสิทธิ์ อัศดามงคล ประธานกรรมการบริหารโรงพยาบาลบางมด
ดร.อธิป อัศวานันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิมิเน้นท์ ดอท คอม จำกัด
นายอนุวัตร บูรพชัยศรี กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอพี แมนเนจเม้นท์ จำกัด
นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)
นายอิศเรศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด
นายเอกรัฐ วงศ์ศุภชาติกุล ผู้ช่วยกรรมการ บริษัท โกลเด้นเธร็ด จำกัด
นายเอกสิทธิ์ คุณานันทกุล กรรมการ บริษัท โกลบอล อิเลคทริค มอเตอร์คาร์ เอเชีย จำกัด
รวมทั้งสิ้น 36 คน มาครบทั้งล่ำซำ-จิราธิวัฒน์ ทรู-เอไอเอส ฮอนด้า-อีซุซุ เฉพาะเครือซีพีนี่มา 3 คน
เห็นชื่อ ดร.วิชญะ เครืองาม อย่าแปลกใจ ลูกชายคนเดียวของวิษณุ เครืองาม อายุแค่ 30 เก่งมาก ทำงานให้ทรูในด้าน “รัฐกิจสัมพันธ์” ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า งานหลักที่ต้องรับผิดชอบ อาทิ การประมูลคลื่น 3G บรอดแบนด์แห่งชาติ และโครงการ Free wi-fi หรือ smart wi-fi แปลเป็นภาษาบ้านๆ ก็คือลูกวิษณุทำงานสร้างความสัมพันธ์กับภาครัฐเพื่อให้ทรูชนะประมูล
อธิป อัศวานันท์ กรรมการผู้จัดการอิมิเน้นท์ ดอทคอม ชื่อดังด้านวิชาการ แต่ก็เป็นหัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์และนวัตกรรม ของทรูด้วย (ที่ทักเพราะไม่ยักเห็นคนของดีแทค ที่คลื่นล่มประจำ)
รายชื่ออื่นๆ ก็เช่น กนกศักดิ์ ปิ่นแสง ที่ปรึกษาเชียงใหม่คอนสตรัคชั่นของพ่อตาเนวิน ชิดชอบ และที่ปรึกษาคิงเพาเวอร์ ของวิชัย รักศรีอักษร ไทยนครพัฒนาก็ทิฟฟี่ บริษัทฮอว์คอายส์ อินเตอร์เทรด จำกัด ไม่แน่ใจว่าทำอะไร แต่ถ้าระดับโลก ฮอว์คอายส์ อินเตอร์เทรด (แคนาดา) คือพ่อค้าอาวุธ เคยยื่นขายรถหุ้มเกราะล้อยาง 4 พันล้านแต่แพ้ยูเครน
สลายขั้ว ทุน-ราชการ-ศาล
ผู้เข้ารับการอบรม บ.ย.ส.รุ่น 17 ปี 2555-2556 ตามประกาศในเว็บไซต์สำนักงานศาลยุติธรรมมี 90 คน ในจำนวนนี้มีผู้พิพากษาได้แก่
นางกัญญา วรรณโกวิท ผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
นายจุมพล ชูวงษ์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
นายฉัตรชัย ไทรโชต รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง
นายโชคชัย รุจินินนาท ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
นายธนฤกษ์ นิติเศรณี ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 6
นายธวัชชัย สุรักขกะ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาธนบุรี
นายนิพันธ์ ช่วยสกุล อธิบดีผู้พิพากษาภาค 2
นายปริญญา ดีผดุง ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
นายพันธุ์เลิศ บุญเลี้ยง ประธานแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลอุทธรณ์ภาค 7
นางมนสิการ ดิษเณร วัชชวัลคุ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งธนบุรี
นายรังสรรค์ ดวงพัตรา ประธานแผนกคดีเลือกตั้งในศาลอุทธรณ์
นายวรงค์พร จิระภาค รองประธานศาลอุทธรณ์
นายวัฒนา วิทยกุล รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค 3
นายวันชัย ศศิโรจน์ ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลอุทธรณ์ภาค 2
นายวิรุฬห์ แสงเทียน ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
นางวีรา ไวยหงษ์ รินทร์ศรี อธิบดีผู้พิพากษาศาลล้มละลายกลาง
นายสุพจน์ กิตติรักษนนท์ ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลอุทธรณ์ภาค 4
นายสุรพล เอี่ยมอธิคม อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค 6
นายสุรินทร์ ชลพัฒนา ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ประจำสำนักประธานศาลฎีกา
นางอุบลรัตน์ ลุยวิกกัย ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
ที่มาจากศาลปกครอง อัยการ องค์กรอิสระ กระทรวงยุติธรรม ทหาร ตำรวจ ก็เช่น
นายสมชัย วัฒนการุณ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
นายกิตติ แก้วทับทิม รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลแขวง
นายตระกูล วินิจฉัยภาค รองอัยการสูงสุด
นายภาณุพงษ์ โชติสิน รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ
นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
นายประยงค์ ปรียาจิตต์ รองเลขาธิการ ปปท.
นายพงศ์เอก วิจิตรกูล ผู้อำนวยการสำนักงานต่างประเทศ ปปช.
พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการ กสทช.
พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ ปปง.
พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์
พล.ต.ท.เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน ผู้ช่วย ผบ.ตร.
พล.ต.ต.ชัยวัฒน์ เกตุวรชัย รอง ผบช.ประจำสำนักงาน ผบ.ตร.
พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ รองปลัดกลาโหม
ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ก็เช่น นายสมชัย สวัสดีผล รักษาการผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ที่จริงคุณสุรางคณา วายุภาพ นี่เป็นวิทยากรมาหลายรุ่นแล้ว เพิ่งจะเข้าอบรมเอง ฮิฮิ)
ข้าราชการในพระองค์ น.ส.กอบกุญ กาญจนาลัย ที่ปรึกษาสำนักพระราชวัง สื่อมวลชน นายวิโรจน์ วัฒนธาดากุล บรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์สยามรัฐ นายสมโภชน์ โตรักษา ผู้ช่วยหัวหน้ากอง บก.ช่อง 7
คราวนี้มาดูภาคเอกชนบ้าง ว่าแคลิเบอร์ขนาดไหน
นายเกรียง ศรีรวีวิลาส ประธานกรรมการบริษัทไทยศิลป์จิวเวลรี่ จำกัด
ดร.เฉลิมพล โล่ห์รัตนเสน่ห์ กรรมการผู้จัดการบริษัทนีโอเวฟ เทคโนโลยีคอร์ปอเรชั่น จำกัด
นายชัชวาลย์ เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัททรูมัลติมีเดีย จำกัด
นางณัฐหทัย หิรัญเชาวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทตรีอรรถบูรณ์ จำกัด
นายธนการ ดำรงรัตน์ กรรมการบริหาร บริษัทกำแพงเพชรวิวัฒน์ก่อสร้าง จำกัด
นายนพพร บุญถนอม ประธานที่ปรึกษากฎหมาย บริษัทแสนสิริ จำกัด (มหาชน)
นายนพพล ชูกลิ่น กรรมการผู้จัดการบริษัทรีเทล บิซิเนสโซลูชั่นส์ จำกัด
นายบัญฑิต พิทักษ์สิทธิ์ ประธานที่ปรึกษา บริษัทสยามคาร์เรนท์ จำกัด
น.ส.ประกายดาว เขมะจันตรี กรรมการผู้จัดการ บริษัททรอปิคอล แลนด์ จำกัด
นางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย ประธานกรรมการบริหาร บริษัทโน๊ตแฟมิลี จำกัด
นางภัณฑิรา ฉัตรจุฑามาศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ที.ซี.เจ.เอเชีย จำกัด (มหาชน)
ร.ต.อ.มนัส ฉายาวิจิตรศิลป์ ประธานกรรมการ บริษัทเอ็มโฮเต็ลสาธรกรุ๊ป จำกัด
นายมารชัย กองบุญมา ประธานกลุ่มบริษัท จันทภณิชย์ ซีเคียวริตี้ พริ้นท์ติ้ง จำกัด
นางรัตนา ตฤษณารังสี ประธานกรรมการบริษัทดับบิลว.ซี.เอส.ซันซิโร่ (ประเทศไทย) จำกัด
นางลดาวัลย์ ธนะธนิต ประธานกรรมการบริหาร บริษัทไอร่าแฟคเตอริ่ง จำกัด (มหาชน)
นายวิทัย รัตนากร รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายบัญชีและการเงิน บริษัทสายการบินนกแอร์
นายวีระศักดิ์ สุตัณฑวิบูลย์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
นางศิรินา โชควัฒนา ปวโรฬารวิทยา กรรมการบริหารสภาหอการค้าไทย
นางศศิพร สุสมากุลวงศ์ รองประธานบริหาร บริษัทซุปเปอร์ริช (ไทยแลนด์)
นายสมชัย วงศ์วัฒนศานต์ ผู้ช่วยกรรมการด้านบริหารองค์กร บริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
นายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น
นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด
นายสุเมธ ดำรงชัยธรรม รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทน้ำมันพืชไทย จำกัด (มหาชน)
นายองอาจ เอื้ออภิญญกุล กรรมการและเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทบ้านปู จำกัด (มหาชน)
มีชินคอร์ป แสนสิริ ด้วยนะครับ (รอบหน้าคงมีเอสซีแอสเสท) กำแพงเพชรวิวัฒน์ เจียรวนนท์ ล่ำซำ โชควัฒนา
ฝ่ายการเมืองมี 6 คน นับจริงอาจแค่ 5 เพราะนางกีระณา สุมาวงศ์ สว.สรรหา จากสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมาย ภริยา อ.อัครวิทย์ สุมาวงศ์ อดีตรองประธานศาปกครองสูงสุด ควรถือเป็นสายนักกฎหมาย คนอื่นๆ ได้แก่ นายสมบูรณ์ งามลักษณ์ สว.สรรหา นางภารดี จงสุทธนามณี สว.เชียงราย น.ส.สุนทรี ชัยวิรัตนะ ส.ส.ชัยภูมิ พรรคเพื่อไทย อีก 2 รายมาในคราบนักธุรกิจคือ นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด ประธานกรรมการบริษัทไอดีลพร็อพเพอร์ตี้แมนเนจเมนท์ จำกัด นายอนุทิน ชาญวีรกูล ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ซิโน-ไทยเอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น
การอบรมตามหลักสูตร บ.ย.ส.ซึ่งขอยกรุ่น 17 มาเป็นตัวอย่าง ต้องอบรม 84 วัน 528 ชั่วโมง แบ่งเป็นอบรมภาควิทยาการ ซึ่งมีทั้งฟังบรรยายและสัมมนา 198 ชั่วโมง จัดทุกวันศุกร์ 33 วัน อีก 294 ชั่วโมงเป็นการศึกษาดูงาน ซึ่งมีทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และต่างประเทศ อีก 36 ชั่วโมงให้ทำเอกสารวิชาการ
วิทยากรที่เชิญมาบรรยายออกจะค่อนไปข้างหนึ่ง อาจเพราะผู้มีชื่อเสียงในวงการกฎหมายค่อนไปทางนั้นอยู่แล้ว แม้จะถ่วงดุลมีเสียงข้างน้อยบ้าง
องคมนตรี ศ.ธานินทร์ กรัยวิเชียร บรรยายเรื่องคุณธรรมจริยธรรมของนักบริหารงานยุติธรรม ศ.เกษม วัฒนชัย เป็น 1 ใน 5 วิทยากรเรื่องความรู้เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ดร.สุเมธ เฟอร์รารี เรื่องการบริหารงานและกระบวนการยุติธรรมตามแนวพระราชดำริ ฯลฯ
ที่เหลือก็เช่น ชวน หลีกภัย, อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, กรณ์ จาติกวณิช, บัณฑูร ล่ำซำ, มีชัย ฤชุพันธ์, อักขราทร จุฬารัตน์, วิษณุ เครืองาม,บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, จรัญ ภักดีธนากุล, ว.วชิรเมธี, ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์, เดชอุดม ไกรฤทธิ์ เป็นต้น ขณะเดียวกันก็มี วีระพงษ์ รามางกูร, มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ, บุญคลี ปลั่งศิริ ขณะที่ฝ่ายนักวิชาการมี อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เป็น 1 ใน 5 วิทยากรเรื่องความรู้เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม
ผมแอบถาม อ.วรเจตน์ ได้ความว่าไปบรรยายมา 2-3 รุ่นแล้ว ถือเป็นการบรรยายทางวิชาการ มีเสรีภาพเต็มที่ เช่นปีที่แล้วรุ่น 16 พระองค์ภาฯ ทรงเข้าอบรม อ.วรเจตน์ก็ไปพูดเรื่องมาตรา 112 ท่านก็ทรงฟังจนจบ เหมือนผู้เข้ารับการอบรมทุกคน โดยไม่มีปฏิกิริยาใดๆ เพราะถือเป็นเรื่องทางวิชาการ
อันนี้ก็ต้องชมสำนักงานศาลยุติธรรมผู้จัด ว่าใจกว้างเหมือนกัน
ศาลปกครองเอาด้วย
ศาลปกครองเปิดหลักสูตรนักบริหารการยุติธรรมทางปกครองระดับสูง (บ.ย.ป.) มาแล้ว 3 รุ่น รุ่นแรกสมัย อ.อักขราทร จุฬารัตน ยังเป็นประธาน เปิดอบรมวันที่ 17 ก.ย.2553-27 ม.ค.2554 มี 84 คน
ในจำนวนนี้มีตุลาการศาลปกครอง 10 คน ส่วนใหญ่เป็นระดับตุลาการหัวหน้าคณะและรองอธิบดี ข้าราชการศาลปกครอง 10 คน ผู้พิพากษาศาลยุติธรรม 2 คน อัยการ 2 คน ตำรวจ 3 คน หน่วยงานในพระองค์ 2 คน สื่อมวลชน 2 คน ผู้บริหาร อปท.2 คน สถาบันอุดมศึกษา 2 คน หน่วยงานอิสระ 11 คน เอกชน 9 คน รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน 8 คน ราชการ 11 คน การเมือง 10 คน
เอกชน 9 คนได้แก่
นายชาญชัย จินดาสถาพร รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมฯ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
นายพลพัฒ กรรณสูต นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
นายชัยปิติ ม่วงกูล ผู้อำนวยการสำนักรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
นางฐิตตะวัน เฟื่องฟู รองหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกฎหมาย บ.ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
นายวัฒวุฒิ ศรีบุรินทร์ ผู้จัดการ/หัวหน้าสำนักงานกฎหมายและบัญชี ศรีวัฒนากรุ๊ป
นายสารัชถ์ รัตนาวะดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บ. กัลฟ์ เจพี จำกัด
นางสาวลักษมี ศรีสมเพชร กรรมการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
นายสุพจน์ เหล่าสุอาภา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักกฎหมายบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)
นางสาวรุ้งเพชร ลิ้มสวัสดิ์วงศ์ กรรมการบริหาร โรงแรม s15 และโรงแรม s31
การเมือง 10 คน จากวุฒิสภาได้แก่ นายวรินทร์ เทียมจรัส, พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช, น.พ.อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์, น.ส.เกศสิณี แขวัฒนะ จากรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรได้แก่ นายมารุต มัสยวาณิช รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, นายศุรพงศ์ พงศ์เดชขจร เลขานุการ รมว.อุตสาหกรรม, นายชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ, นายปวีณ แซ่จึง, นายธีระชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์, คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์
บ.ย.ป.รุ่น 2 เพิ่มเป็น 96 คน มีตุลาการศาลปกครอง 13 คน ส่วนใหญ่เป็นระดับตุลาการหัวหน้าคณะ อธิบดี รองอธิบดี ข้าราชการศาลปกครอง 7 คน ผู้พิพากษา 1 คน อัยการ 3 คน ส่วนอื่นๆ ที่มาจากราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ ที่ดังๆ ก็เช่น ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ตอนเป็นเลขา กลต. พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กสทช. พล.ต.อ.สถาพร หลาวทอง จเรตำรวจแห่งชาติ ว่าที่ ปปช. นายประสบศิลป์ โชติมงคล รองผู้ว่าการสำนักบริการและสิ่งแวดล้อม การนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น
ที่น่าสนใจคือภาคธุรกิจเอกชนเพิ่มเป็น 15 คน เช่น
นายกังวาล กุศลธรรมรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.อินเตอร์เนชั่นแนล รีเสริช คอร์ปอเรชั่น
นายคณิต วัลยะเพ็ชร์ ทนายความพาร์ทเนอร์และกรรมการบริษัทเบเคอร์ แอนด์ แม็คเคนซี จำกัด
นายธาดา เศวตศิลา ผู้อำนวยการทรัพยากรบุคคล บ.ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด
นายบุญชัย ถิราติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทกัลฟ์ เจพี จำกัด
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
นายไพโรจน์ สินเพิ่มสุขสกุล กรรมการบริษัทเอเชีย ซีเคียวริตี้ เมเนจเม้นท์ จำกัด
นายรุจชรินทร์ ทองใหญ่ กรรมการผู้จัดการบริษัทนิติการ อินเตอร์เนชั่นแนลลอว์ จำกัด
นางศรินทร เมธีวัชรานนท์ ประธานกรรมการ บริษัทซาวเวอร์คิง แมนูแฟคเจอริ่ง และบริษัทเอสอาร์ แอดวานซ์ อินดัสตรี
นางศิริพร สุสมากุลวงศ์ รองประธานกรรมการ บริษัทซุปเปอร์ริช จำกัด
นางศรีวัฒนา อัศดามงคล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางมด
นายสมคาด สืบตระกูล ประธานกรรมการการลงทุนและกรรมการ บ.หลักทรัพย์คันทรี่กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
นายสมพงษ์ โกศัยพลกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทกรุงธนเอ็นจิเนียร์ จำกัด
นายสมัคร เชาวภานันท์ ประธานกรรมการ บ.ที่ปรึกษากฎหมายสมัครและเพื่อน จำกัด
นางสหัสชญาณ์ เลิศรัชตะปภัสร์ กรรมการผู้จัดการ บ.ฮัทชินสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด
นายสันติภาพ เตชะวณิช รองประธานกรรมการบริหาร บริษัททศภาค จำกัด
ทั้งนี้ยังมีตัวแทนองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่ นายธนา เบญจาทิกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สคบ. นายนพดล พลเสน ประธานกรรมการมูลนิธิรักษ์ผืนป่าตะวันตกมรดกโลกห้วยขาแข้ง อุทัยธานี นายพาณิชย์ เจริญเผ่า นายกสมาคมส่งเสริมและคุ้มครองผู้บริโภค
แต่ดูชื่อแล้วก็หัวร่อก๊าก เพราะธนา เบญจาทิกุล คือทนายทักษิณผู้มีชื่อลือลั่นในคดีกล่องขนม นพดล พลเสน คืออดีต ส.ส.พรรคชาติไทยผู้ถูกตัดสิทธิ 5 ปี พาณิชย์ เจริญเผ่า คืออดีต สว.และผู้นำแรงงาน ไม่มีใครเป็น NGO จริงๆ ซักราย
แต่นักการเมืองรุ่นนี้ไม่ยักมีคนดัง มีแต่พวกเลขา ที่ปรึกษา ผู้ช่วยรัฐมนตรี ที่น่าจับตาหน่อยคือ บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายก อบจ.เชียงใหม่
บ.ย.ป.รุ่นที่ 3 เพิ่มเป็น 99 คน เคยเป็นข่าวฮือฮาเพราะสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล เข้าเรียนด้วยในฐานะที่ปรึกษารัฐมนตรีทั้งที่เพิ่งถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสิทธิ 5 ปี นักการเมืองดังคนอื่นๆ ได้แก่ วิทยา แก้วภราดัย, วิรัตน์ กัลยาศิริ 2 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์, วัชระ กรรณิการ์ โฆษกกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา น.ส. วิไล บูรณุปกรณ์ รองนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ฝ่ายวุฒิสมาชิกก็มี นายจรัล จึงยิ่งเรืองรุ่ง ส.ว.สระบุรี นายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ นายถาวร ลีนุตพงษ์ ส.ว.สรรหา (อันที่จริงคือทายาทยนตรกิจ แต่เข้ามาเป็น สว.สายวิชาการ) ภารดี จงสุขธนามณี ส.ว.เชียงรายเจ้าเก่า พวงเพ็ชร ชุนละเอียด เจ้าก่า มาในนามประธานกรรมการบริษัทไอดีล พร๊อพเพอร์ตี้ แมนเนจเมนท์ ตามเคย ปิติพงศ์ เต็มเจริญ อดีต ส.ส.ไทยรักไทย กรรมการผู้จัดการบริษัท สิริพงศ์พรรณ คอร์ปเปอเรชั่น
ปรากฏว่าคราวนี้ตุลาการและข้าราชการศาลปกครองหดหายเหลือไม่กี่คนคือ
นายเกียรติภูมิ แสงศศิธร ตุลาการศาลปกครองกลาง
นายมนูญ ปุญญกริยากร ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
พันเอกวรศักดิ์ อารีเปี่ยม ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง
นายสมชาย งามวงศ์ชน ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
นางสาวสายทิพย์ สุคติพันธ์ ตุลาการศาลปกครองกลาง
นายอดุล จันทรศักดิ์ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง
นายบรรยาย นาคยศ ที่ปรึกษาสำนักงานศาลปกครอง
นางสมฤดี ธัญญสิริ ที่ปรึกษาสำนักงานศาลปกครอง
แต่รายชื่อภาคธุรกิจเอกชนล้นหลาม
นายกิตติ ตั้งจิตรมณีศักดา รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
นางสาวเกศมณี แย้มกลีบบัว กรรมการผู้จัดการบริษัท เกศมณี อินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด
นางจันทิมา บุญวิริยะกุล กรรมการตรวจสอบบริษัทไพลินบุ๊คเน็ต จำกัด (มหาชน)
นายชวิน ชัยวัชราภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
นายโชคชัย นิลเจียรสกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท สำนักงานจักรพงษ์ทนายความ จำกัด
นายเดช เฉิดสุวรรณรักษ์ กรรมการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและกรรมการสมาชิกสัมพันธ์ สภาหอการค้าไทย
นางสาวทิพยวรรณ อุทัยสาง กรรมการบริหารบริษัท เปเปอร์เมท (ประเทศไทย) จำกัด
นายธนกร วังบุญคงชนะ ประธานคณะกรรมการบริษัท ทอง มัลติมีเดีย จำกัด
นายธนการ ดำรงรัตน์ กรรมการบริษัท กำแพงเพชรวิวัฒน์ก่อสร้าง จำกัด
นายธนญ ตันติสุนทร ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานองค์กรสัมพันธ์ บริษัท กัลฟ์ เจพี จำกัด
นายธัช บุษฎีกานต์ กรรมการบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด
นายนัที เปรมรัศมี กรรมการบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
นางสาวนิตยา ดิเรกสถาพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
นายนิติ ถาวรวณิชย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูไนเต็ด โฮม เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด
เภสัชกรหญิง เบญจางค์ เคียงสุนทรา ประธานกรรมการบริษัท อัฟฟี่ฟาร์ม จำกัด
นางสาวประกายดาว เขมะจันตรี กรรมการผู้จัดการบริษัท ทรอปิคอล แลนด์ จำกัด
นายประสิทธิ์ กิจวิวัฒนการ ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการบริษัท บียอนด์ เพอร์เซ็ปชั่น จำกัด
นายปริญญา เธียรวร ประธานกรรมการและผู้ก่อตั้งบริษัท วี.เอ็ม.พี.ซี จำกัด
นางเปรมฤดี สุวรรณทัต ผู้อำนวยการอาวุโสบริษัท เจเนอรัล อิเลคทรอนิคคอมเมอร์ซ เซอร์วิสเซส จำกัด
นายพรชัย รัตนเมธานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท คาซา รอคคา จำกัด
นางพรนภา ไทยเจริญ กรรมการหุ้นส่วนบริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเคนซี่ จำกัด
นายพิสิษฐ์ เดชไชยยาศักดิ์ ทนายความหุ้นส่วนสำนักงาน Weerawong C&P
นางภัณฑิรา ฉัตรจุฑามาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ที.ซี.เจ เอเซีย จำกัด (มหาชน)
นางรัตนา ตฤษณารังสี ประธานกรรมการ บริษัท ดับบลิว.ซี.เอส.ซันชิโร (ประเทศไทย) จำกัด
นายวงศ์พันธ์ ณธันยพัต ประธานบริษัทบริษัท พัฒนาวิชาการ (2535) จำกัด
นายวรวุฒิ นวโภคิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดับเบิลยู แอนด์ เอส เดคคอเรชั่น จำกัด
นายวันไชย เยี่ยมสมถะ พาร์ทเนอร์ บริษัท แอลเอส ฮอไรซัน จำกัด
นายวิทูร ทวีสกุลชัย กรรมการผู้จัดการบริษัท แอลเมทไทย จำกัด
นายสมบูรณ์ เนื่องจำนงค์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ศรสิษฐ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
นายสมบูรณ์ วรปัญญาสกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท แปซิฟิค รีเทล เซอร์วิส จำกัด
นายอชิตศักดิ์ บรรจงโพธิ์กลาง กรรมการผู้จัดการ บริษัท สำนักกฎหมายธีรคุปต์ จำกัด
ดร.อนุกูล ตันติมาสน์ กรรมการบริหารและผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน)
นายอนุฤทธิ์ เกิดสินธ์ชัย กรรมการผู้จัดการบริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จำกัด
นายอัชดา เกษรศุกร์ กรรมการบริษัท อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด
นายอารีศักดิ์ เสถียรภาพอยุทธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ธนาสิริ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
นายเอกพิทยา เอี่ยมคงเอก กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหการประมูล จำกัด
ตัวแทนภาครัฐที่น่าสนใจก็เช่น
นางจิราภรณ์ เล้าเจริญ ผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบกระบวนการหลักบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
รศ.ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
พล.ต.อ.วันชัย ศรีนวลนัด กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
นายวีระพล จิรประดิษฐ์กุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายไฟฟ้า กระทรวงพลังงาน
พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ทั้งนี้พวกที่อยู่ในสาย NGO เห็นชื่อ “ครูหยุย” วัลลภ ตังคณานุรักษ์ คนเดียว
น่าสังเกตว่าหลักสูตร บ.ย.ป.ของศาลปกครอง รุ่น 2 รุ่น 3 มีผู้บริหารหรือหุ้นส่วนสำนักงานทนายความเข้ามาเพียบ สำนักงานพวกนี้ไม่ได้รับว่าคดีอาญาฆ่ากันตายขายยาบ้าผัวเมียหย่าร้าง แต่เป็นที่ปรึกษากฎหมายให้บรรษัทยักษ์ใหญ่บรรษัทข้ามชาติทั้งสิ้น
ศาลปกครองมีอำนาจอะไร ก็เห็นๆ กันอยู่ว่ามีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวระงับ 76 โครงการมาบตาพุดมาแล้ว มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ล้มประมูล 3G มาแล้ว (แล้ว กสท.ยุครัฐบาล ปชป.ก็ประเคน 3G ให้ทรู) เอาเฉพาะ 2 คำสั่งนี้ก็ทำให้เกิดผลได้เสียทางธุรกิจเป็นแสนล้าน
ฉะนั้น ถามว่าถ้าคุณเป็นผู้บริหารทรู ดีแทค เอไอเอส หรือสำนักกฎหมายที่เป็นตัวแทนให้ยักษ์ใหญ่เหล่านี้ คุณจะอยากเข้าอบรม บ.ย.ป.มากขนาดไหน (แต่ไม่เห็นรายชื่อดีแทคอีกแหละ) คุณเป็นเจ้าของโรงงาน นิคมอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า บริษัทก่อสร้าง ฯลฯ หรือเป็นตัวแทนกฎหมายให้บริษัทญี่ปุ่น ฝรั่ง ที่มาบตาพุด ที่มีโอกาสจะถูกไอ้พวก NGO ตัวถ่วงความเจริญ ฟ้องให้ระงับการก่อสร้าง หยุดการผลิต ฯลฯ คุณจะเนื้อเต้นอยากเข้าร่วมไหม
โอเค ฉากหน้าทุกคนก็จะบอกว่ามาเพื่อศึกษาหาความรู้ จะได้ปฏิบัติถูกต้อง แต่ดูรายชื่อสิครับ หลายรายเป็นธุรกิจที่ล่อแหลมจะถูกฟ้อง การมาอบรมกับศาล มาสัมพันธ์กับตุลาการ พวกเขาต้องดีดลูกคิดรางแก้วไว้มากกว่าหาความรู้ตามปกติ
คดีปกครองประชาชนเสียเปรียบอยู่แล้วเมื่อฟ้องหน่วยงานรัฐให้บังคับใช้ กฎหมายกับบริษัทเอกชน ศาลปกครองจึงใช้ระบบไต่สวน เพื่อให้ประชาชนมีตุลาการเป็นที่พึ่ง แต่เมื่อผู้บริหารบริษัทหรือสำนักกฎหมายที่เป็นตัวแทน เข้ามาอบรมกับศาลปกครอง ประชาชนผู้เดือดร้อนเสียเปรียบก็ต้องรู้สึกไขว้เขวสับสน จริงไหมครับ (ขณะที่ สุทธิ มาบตาพุด, จินตนา บ้านกรูด, บรรจง ณ ท่อก๊าซ ฯลฯ ไม่ยักได้เข้ามาอบรมมั่ง)
นักการเมือง นักธุรกิจ แห่ไปอบรม บ.ย.ส.เป็นเพื่อนกับผู้พิพากษา เจ้าของหรือทนายของโรงงานที่อาจก่อมลภาวะ แห่ไปอบรม บ.ย.ป.เป็นเพื่อนตุลาการศาลปกครอง
นี่เป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้นหรือ
ใบตองแห้ง
12 ก.ย.55
หมายเหตุ: จะมี (2) ตามมาเพื่อตั้งปุจฉาภาพรวมของหลักสูตรเหล่านี้