WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, September 9, 2012

ปฎิรูประบบราชการทหาร และองค์กรอิสระเพื่อกระจายอำนาจ

ที่มา Thai E-News


 
โดย โครงการประกายแสงดาว



เหตุการณ์ในอดีตเป็นความสำคัญ ในการย้อนรำลึก และทบทวนอดีตเพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ เป็นบทเรียนจากการย้อนรำลึก7 กันยายน ตามที่วิกิพีเดีย ในวันที่7 กันยายน พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) - คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติชี้มูลความผิด นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธพล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ และ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว จากกรณีสลายการชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551  ที่มาข้อมูลจากวิกิพีเดีย.
หากเราจำกันได้ว่าการตัดสินความผิดของสมชาย ในข่าว ก็มีผลจากปปช.  แต่ การเมืองสองมาตรฐาน ทั้งเรื่องยุบพรรค และศาลรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรอิสระ ที่ต้องแก้ไข ถึงขั้นให้ยกเลิกไป ทีนี้ประเด็นบทความเน้นที่สองมาตรฐาน กรณีอภิสิทธิ์ รอดจากปปช.เรื่องแทรกแซงข้าราชการฯ แต่สุเทพ อาจจะโดนฟันสามารถตามดูรายละเอียดว่าต่างกับทักษิณ -สมชาย ที่นายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบ ลองย้อนข้อมูลตามGoogle ได้
ปัญหาสำคัญของในแง่การประเมินปปช.เคยเป็นปปป.มาก่อนแล้วปรับปรุงเป็นปปช. กรณีสนั่น ขจรประศาสน์ และวีระ สมความคิด ในแง่เครือข่ายต่อต้านคอรัปชั่นฯ ไปยื่นหนังสือถึงปปช. เป็นต้น  ถ้าจำกันได้ส่วนหนึ่งการเมืองเสื้อเหลืองเกิดขึ้นจากเรื่องปัญหาเรื่องคอรัปชั่น เป็นกระแสขึ้นมา พร้อมข้ออ้างองค์กรอิสระทำอะไรทักษิณไม่ได้ต่างๆนานา แล้วในปัจจุบันกรณีเรื่องเกี่ยวกับคอรัปชั่น และการเสนอให้ปรับปรุงกฎหมายของกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ปปช.)คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.). ให้กระบวนการความยุติธรรม เป็นธรรมาภิบาลมากขึ้น
กรณีปปช.-กสม.หรือพวกกรรมการสิทธิมนุษยชน จึงนิ่งเฉยกับเรื่องคนตายเสื้อแดง จากการสลายการชุมนุม นี่เป็นคำถามสองมาตรฐาน ที่พวกนักกฎหมายน่าจะตอบเฉไฉได้ แต่ประเด็นเรื่องกกต. มาคิดเรื่ององค์กรอิสระ เป็นการทำงานกึ่งราชการ มีบทบาทต่อการเลือกตั้งส่วนท้องถิ่น ต้องกำจัดจุดอ่อนข้อจำกัดของการไม่กระจายอำนาจด้วย
แน่นอน การวิจารณ์นักการเมืองมากเกินไปไม่ใช่ทางที่ถูกต้องสักทีเดียว แต่พุ่งเป้าไปที่องค์กรอิสระอย่างน่าสังเกตเป็นต้นมาเรื่ององค์กรอิสระไม่เป็นกลางทางการเมืองหลายเรื่องราว และการสร้างองค์กรเครือข่ายเสื้อเหลือง และเชียงใหม่จัดการตนเอง เป็นการสร้างแนวร่วมกับทหารไปในตัวเอง เพราะเครือข่ายเชียงใหม่จัดการตนเองอย่างกระบวนการร่างพรบ.เชียงใหม่จัดการตนเอง ที่มีคนวิจารณ์ต่างๆ นานา และ สื่อถึงด้านการสร้างสภาวะยกเว้นเรื่องทหาร ไม่ถูกตรวจสอบโดยองค์กรอิสระ กลับตาลปัตรกับการกระจายอำนาจตัวอย่างของญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
จากการกระจายอำนาจและการปฏิรูปการเมืองในเกาหลีใต้เปรียบเทียบกับไทย คือ การเมืองในเรื่องประชาธิปไตยของการเลือกตั้ง โดยคนเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่เป็นเพียงเครื่องมือทางการเมือง เช่น อานันท์ ปันยารชุน ดูเป็นคนใสสะอาด  และคนยอมรับเป็นเครื่องมือทางการเมือง แต่ไม่ได้มาจากเลือกตั้ง ไม่ได้เป็นตามหลักการเลือกตั้งของประชาธิปไตย และกรณีเคยมีการวิจารณ์หมอประเวศ ที่มีการปฏิรูปการเมือง ที่มีแนวการกระจายอำนาจ ไม่มีปฏิรูปด้านการจัดการควบคุมกองทัพ เหมือนเกาหลีใต้ ในบริบทของไทย จากปี2535-2538 แล้วเกิดการร่างรัฐธรรมนูญ 2540-49 ก็รัฐประหารอีกครั้ง เป็นบทเรียนซ้ำรอยเดิมจากผลพวงของการปฏิรูปที่เชื่อในเครือข่ายของอานันท์ ปันยารชุน-ประเวศ วะสี นำมาสู่เครือข่ายปัจจุบัน ยังไม่พ้นเป็นเครื่องมือทางการเมืองเดิม
เมื่อย้อนกลับไปกรณีเรื่องวันที่ กันยา ในอดีตจะมีข่าวให้ค้นหา คือ ปปช.ชี้มูลความผิดคดี 7ตุลาฯ โดยกรรมการป.ป.ช.เผยลงมติชี้มูลความผิดคดีการสลายม็อบกลุ่มพันธมิตรวันที่ 7ตุลาฯ ชี้ไม่ตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองเล่น พัชรวาท ลั่นสอบมานาน ส่วนข่าวว่าทนาย พัชรวาท วิ่งโร่ฟ้องศาลปค. ร้องขอยกเลิกมติปปช.คดีสลายม็อบพธม. และเรียกค่าเสียหายถึง 50 ล้านบาท โดยการเล่าย้อนเปรียบเทียบความเหมือนและต่าง คือ  ทำไมปปช.ไม่มีสอบทหารสลายการชุมนุมเมษา-พฤษภา 53
การเรียงลำดับเหตุการณ์ล่าสุด กรณีพล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ใช้เครื่องมือโดยฟ้องศาลปกครอง(ปค.เป็นส่วนหนึ่งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เหมือนศาลรัฐธรรมนูญ) จากการถูกโยกย้าย โดยพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงสาเหตุการปรับย้าย พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.ชาตรี ทัตติ รองปลัดกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.พิณภาษณ์ สริวัฒน์ เจ้ากรมเสมียนตรา ไปช่วยราชการสำนักงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ว่า การย้ายไปช่วยราชการเป็นสิทธิและอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่มีกฎหมายรองรับชัดเจน และตนทำไปด้วยความจำเป็นต้องทำ เพื่อให้การทำงานของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น
 เพราะการทำงานเริ่มมีอุปสรรคบ้าง เหมือนเป็นทีมฟุตบอล ตนเป็นผู้จัดการทีม ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นโค้ช และมีผู้เล่น เมื่อผู้เล่น เล่นไม่ดีก็เปลี่ยนตัวไปพักก่อน เมื่อโค้ชไม่ดี แพ้บ่อยก็ต้องปรับตัวออกไปพักก่อน เป็นเรื่องธรรมดาของการบริหารงาน ตนทำไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ เพื่อให้ประสิทธิภาพดีขึ้น
โดยสรุปแล้ว การปฏิรูประบบราชการทหารเป็นเรื่องสำคัญ และองค์กรอิสระต้องถูกปฏิรูปให้มาตรฐานเดียวกัน ในการตรวจสอบทหารเท่ากับนักการเมือง ให้สร้างหลักการประชาธิปไตยขึ้นมาได้ ไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองของกลุ่มทหาร ศาล องค์กรอิสระ ที่ไม่ได้กระจายอำนาจให้ประชาชน.