ที่มา Thai E-News
สำรวจความคิดเห็นจากท่านผู้อ่านไทยอีนิวส์ระหว่างวันที่ 3-9 สิงหาคม 2555 โดยมีผู้อ่านโหวตจำนวนทั้งสิ้น 1,833 ครั้ง (ที่มา:โพลล์ไทยอีนิวส์)
สำรวจความคิดเห็นจากท่านผู้อ่านไทยอีนิวส์ระหว่างวันที่ 3-9 สิงหาคม 2555 โดยมีผู้อ่านโหวตจำนวนทั้งสิ้น 1,833 ครั้ง (ที่มา:โพลล์ไทยอีนิวส์)
...........
ที่มา เฟซบุ๊ค
ที่มา เฟซบุ๊ค
คนรักเจ้าชนชั้นกลาง กับปัญหา "การเปลี่ยนผ่าน" (สืบราชสันตติวงศ์)
ทุก วันนี้แทบไม่มีอะไรที่เป็นตัวอย่างยืนยันให้เห็นความ "ไม่รู้จักโต" (immature) ของสังคมไทย มากเท่ากับปัญหาเกี่ยวกับการสืบราชสันตติวงศ์
เพราะ ทุกคนที่อยู่ในวงการเมือง หรือสนใจการเมือง ทุกคนในแวดวงสื่อมวลชน และแม้แต่คนระดับชาวบ้าน หรือ คนทำงานอ๊อฟฟิศธรรมดาๆ จำนวนมาก ล้วนแต่รู้ว่า มีปัญหา
แต่จนบัดนี้ ไม่มีใครยอมพูดกันออกมา ไม่ยอมให้มีการอภิปรายเรื่องสำคัญนี้ ในที่สาธารณะอย่างตรงไปตรงมา
โดยส่วนตัว ผมมองว่า เรื่องนี้ มีปัญหาที่ให้ต้องพิจารณา ทั้ง "2 ฟาก" ทางการเมือง
ในส่วนคนเสื้อแดง หรือคนที่ต้องการประชาธิปไตย ผมได้เขียนไว้ก่อนหน้านี้ ในกระทู้นี้https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/399890893397529
และกระทู้นี้https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/399895050063780
ในที่นี้ ผมจะกล่าวถึง อีก "ฟาก" หนึ่ง คือ ฟาก คนรักเจ้าชนชั้นกลาง (ที่บางครั้ง มีผู้เรียกในลักษณะต่อต้านว่า "สลิ่ม" - โดยส่วนตัว ผมหลีกเลี่ยงการใช้คำนี้ เพราะเห็นว่า ไม่สู้มีประโยชน์ในระยะยาวนัก แม้จะยอมรับว่า อาจจะมีประโยชน์ในแง่ "ชวเลข" คือสั้น ผมเองใช้คำว่า "คนรักเจ้าชนชั้นกลาง" ซึงยาว แต่ผมเห็นว่า คำนี้ อย่างน้อย บรรดาคนที่พูดถึง น่าจะยอมรับเป็นคำเรียกตัวเองได้)
ไม่เป็นความลับว่า คนรักเจ้าชนชั้นกลางจำนวนมาก "มีปัญหา" สำคัญบางอย่าง เกี่ยวกับเรื่อง "การเปลี่ยนผ่าน" นี้ กรณีที่ "ฮือฮา" กันเมื่อไม่นานมานี้ เกี่ยวกับ ธนบัตรพิเศษ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย พิมพ์ขึ้น เป็นเพียงตัวอย่างล่าสุด
ใครที่อ่านโทรเลขวิกิลีกส์ฉบับอื้อฉาว ที่ทูตสนทนา กับ เปรม, อานันท์, สิทธิ์ ก็รู้ว่า แม้แต่ในแวดวงคนระดับสูงที่ใกล้ชิดวังมาก ก็ "มีปัญหา"บางอย่างเกียวกับเรื่องนี้
หรือใครที่อ่านโทรเลข ฉบับที่สุริยะใส คุยกับทูต ก็รู้ว่า สุริยใส และ(ตามที่เขาบอกเอง)พันธมิตรระดับหลายคน ก็มีปัญหา
ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
เป็นเวลาสักระยะหนึ่งแล้ว เวลาผมคุยกับนักวิชาการ หรือ คนในวงการสื่อ บางคน ที่รู้จัก พวกเขาจะพูดแบบกึ่งเล่น กึงจริง (คือ ไมใช่ ล้อเล่น เสียทีเดียว) ว่า
ในอนาคต เราจะได้เห็น ปัญญาชนรักเจ้า ตั้งแต่ระดับ บวรศักดิ์ ไปจนถึง แอ๊คติวิสต์ อย่าง หมอตุลย์ หันมาเสนอ "ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์" บางที เผลอ อาจจะเกิดปรากฏการณ์ "สวิทช์ข้าง" คือ สลับจุดยืน ระหว่าง ฝ่ายเสื้อแดง กับฝ่ายคนรักเจ้า ในอนาคต ในประเด็นเรืองการปฏิรูปสถาบันฯ ก็ได้
แน่นอน นี่เป็นการพูดแบบ "โจ๊ก" แต่เป็น "โจ๊ก" ที่แฝงนัยยะสำคัญบางอย่าง (และในที่สุด อาจจะเป็นจริง ไมใช่แค่ "โจ๊ก" ก็ได้)
.......................
ผมยืนยันมาตลอดว่า ปัญหาการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์นั้น ก่อนอื่นทีสำคัญทีสุด คือการปฏิรูป สิ่งที่เป็น โครงสร้างทางกฎหมาย และการปฏิบัติสำคัญๆ เกียวกับสถาบันกษัตริย์ ซึงเป็นเรืองที่ไม่เกียวกับ การ "รอ" (ให้มี "การเปลี่ยนผ่าน" ก่อน) หรือ ไมเกี่ยวกับตัวบุคคลว่า ใครเป็นพระมหากษัตริย์ในขณะนี้ หรือในอนาคต
ผมยืนยันว่า มีแต่ต้องทำการปฏิรูปเชิง "โครงสร้าง" ทั้งทาง กฎหมาย (เช่น เลิก ม.8, 112, พรบ.ทรัพย์สินฯ) และทางการปฏิบัติ (พิธีกรรมต่างๆ, ระบบการป้อนข้อมูลด้านเดียว, โครงการหลวงต่างๆ ฯลฯ)
จึงจะแก้ปัญหานี้ ได้อย่างยั่งยืนถาวร
ไมใช่ คอยแต่ขึ้นกับสภาวะที่ ฝ่ายหนึ่ง "ลุ้น" อีกฝ่าย "หวาดหวั่น" ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต หรือ ฝ่ายหนึ่งเอาแต่คอยเกาะยึดเหนี่ยว (clinging desperately) อยู่กับ "วันเวลาที่กำลังจะผ่านเลย (ที่ต้องผ่านเลยไปในไม่นาน)" ขณะที่อีกฝ่ายคอย "รอ" หรือ "เร่ง" ให้ "วันเวลาบางอย่างผ่านไปเร็วๆ"
แล้วในที่สุด ไมว่า อนาคตจะออกมาอย่างไร ทุกฝ่ายก็ยังต้องเผชิญกับปัญหาความไม่สอดคล้องกับโลกสมัยใหม่ของสถานะและ อำนาจสถาบันกษัตริย์ อยู่นั่นเอง (เพราะปัญหาเชิงโครงสร้างทางกฎหมายและการปฏิบัติสำคัญๆ ไม่ได้รับการแก้ไข)
...................
สุดท้าย ในส่วนที่เกี่ยวกับกระทู้นี้ ผมอยากแนะนำให้ทุกคน โดยเฉพาะคนรักเจ้าชนชั้นกลาง อ่านบทความ (มีเฉพาะภาษาอังกฤษ) ของ คุณ Serhat Ünaldi นักศึกษาปริญญาเอก เยอรมัน เรื่อง Not So Happy Birthdays ในเว็บไซต์ New Mandala (ดูรูปประกอบ) - ผมขอไม่ให้ link แต่น่าจะหาได้ง่ายๆ
ในบทความดังกล่าว (ซึ่งมีภาพประกอบหลายภาพ) คุณ Serhat Ünaldi ได้เล่าถึงงานฉลอง 60 พรรษา ของสมเด็จพระบรมฯ กับงานฉลอง 80 พรรษา ของสมเด็จฯ พระราชินี ที่เพิ่งผ่านมา และอภิปรายปัญหาเกียวกับสถานะของสถาบันกษัตริย์โดยทั่วไปด้วย รูปธรรมบางอย่างที่เขาพูดถึง คนไทยเองก็มีการพูดกันมาบ้างแล้ว เชน เรื่อง ธนบัตร ที่ผมกล่าวถึงตอนต้น แต่เขามีตัวอย่างหรือเรื่องเล่า ทีน่าสนใจ การตีความหรือ "อ่าน" รูปธรรมบางอย่าง อาจจะโต้แย้งได้่วา เป็นการ "อ่านเข้าไปมากเกินไป" (read too much into) ก็ได้ แต่ภาพรวม คิดว่า ทุกคนน่าจะยอมรับกันได้
และอย่าลืม อ่านความเห็น (comments) ท้ายบทความ ของผู้ทีใช้ชื่อว่า Annie Thropic (อยู่ต้นๆ ที่ได้รับการคลิ้ก like เกิน 30 ทำให้พื้นเป็นสีเหลืองๆ) โดยเฉพาะในย่อหน้าที่ 2 ที่ว่า "Having spent a number of years living and working in the heart of red-shirt territory, I can say with a feeling of certainty that the popularity of the King himself ...."
ทุก วันนี้แทบไม่มีอะไรที่เป็นตัวอย่างยืนยันให้เห็นความ "ไม่รู้จักโต" (immature) ของสังคมไทย มากเท่ากับปัญหาเกี่ยวกับการสืบราชสันตติวงศ์
เพราะ ทุกคนที่อยู่ในวงการเมือง หรือสนใจการเมือง ทุกคนในแวดวงสื่อมวลชน และแม้แต่คนระดับชาวบ้าน หรือ คนทำงานอ๊อฟฟิศธรรมดาๆ จำนวนมาก ล้วนแต่รู้ว่า มีปัญหา
แต่จนบัดนี้ ไม่มีใครยอมพูดกันออกมา ไม่ยอมให้มีการอภิปรายเรื่องสำคัญนี้ ในที่สาธารณะอย่างตรงไปตรงมา
โดยส่วนตัว ผมมองว่า เรื่องนี้ มีปัญหาที่ให้ต้องพิจารณา ทั้ง "2 ฟาก" ทางการเมือง
ในส่วนคนเสื้อแดง หรือคนที่ต้องการประชาธิปไตย ผมได้เขียนไว้ก่อนหน้านี้ ในกระทู้นี้https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/399890893397529
และกระทู้นี้https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/399895050063780
ในที่นี้ ผมจะกล่าวถึง อีก "ฟาก" หนึ่ง คือ ฟาก คนรักเจ้าชนชั้นกลาง (ที่บางครั้ง มีผู้เรียกในลักษณะต่อต้านว่า "สลิ่ม" - โดยส่วนตัว ผมหลีกเลี่ยงการใช้คำนี้ เพราะเห็นว่า ไม่สู้มีประโยชน์ในระยะยาวนัก แม้จะยอมรับว่า อาจจะมีประโยชน์ในแง่ "ชวเลข" คือสั้น ผมเองใช้คำว่า "คนรักเจ้าชนชั้นกลาง" ซึงยาว แต่ผมเห็นว่า คำนี้ อย่างน้อย บรรดาคนที่พูดถึง น่าจะยอมรับเป็นคำเรียกตัวเองได้)
ไม่เป็นความลับว่า คนรักเจ้าชนชั้นกลางจำนวนมาก "มีปัญหา" สำคัญบางอย่าง เกี่ยวกับเรื่อง "การเปลี่ยนผ่าน" นี้ กรณีที่ "ฮือฮา" กันเมื่อไม่นานมานี้ เกี่ยวกับ ธนบัตรพิเศษ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย พิมพ์ขึ้น เป็นเพียงตัวอย่างล่าสุด
ใครที่อ่านโทรเลขวิกิลีกส์ฉบับอื้อฉาว ที่ทูตสนทนา กับ เปรม, อานันท์, สิทธิ์ ก็รู้ว่า แม้แต่ในแวดวงคนระดับสูงที่ใกล้ชิดวังมาก ก็ "มีปัญหา"บางอย่างเกียวกับเรื่องนี้
หรือใครที่อ่านโทรเลข ฉบับที่สุริยะใส คุยกับทูต ก็รู้ว่า สุริยใส และ(ตามที่เขาบอกเอง)พันธมิตรระดับหลายคน ก็มีปัญหา
ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
เป็นเวลาสักระยะหนึ่งแล้ว เวลาผมคุยกับนักวิชาการ หรือ คนในวงการสื่อ บางคน ที่รู้จัก พวกเขาจะพูดแบบกึ่งเล่น กึงจริง (คือ ไมใช่ ล้อเล่น เสียทีเดียว) ว่า
ในอนาคต เราจะได้เห็น ปัญญาชนรักเจ้า ตั้งแต่ระดับ บวรศักดิ์ ไปจนถึง แอ๊คติวิสต์ อย่าง หมอตุลย์ หันมาเสนอ "ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์" บางที เผลอ อาจจะเกิดปรากฏการณ์ "สวิทช์ข้าง" คือ สลับจุดยืน ระหว่าง ฝ่ายเสื้อแดง กับฝ่ายคนรักเจ้า ในอนาคต ในประเด็นเรืองการปฏิรูปสถาบันฯ ก็ได้
แน่นอน นี่เป็นการพูดแบบ "โจ๊ก" แต่เป็น "โจ๊ก" ที่แฝงนัยยะสำคัญบางอย่าง (และในที่สุด อาจจะเป็นจริง ไมใช่แค่ "โจ๊ก" ก็ได้)
.......................
ผมยืนยันมาตลอดว่า ปัญหาการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์นั้น ก่อนอื่นทีสำคัญทีสุด คือการปฏิรูป สิ่งที่เป็น โครงสร้างทางกฎหมาย และการปฏิบัติสำคัญๆ เกียวกับสถาบันกษัตริย์ ซึงเป็นเรืองที่ไม่เกียวกับ การ "รอ" (ให้มี "การเปลี่ยนผ่าน" ก่อน) หรือ ไมเกี่ยวกับตัวบุคคลว่า ใครเป็นพระมหากษัตริย์ในขณะนี้ หรือในอนาคต
ผมยืนยันว่า มีแต่ต้องทำการปฏิรูปเชิง "โครงสร้าง" ทั้งทาง กฎหมาย (เช่น เลิก ม.8, 112, พรบ.ทรัพย์สินฯ) และทางการปฏิบัติ (พิธีกรรมต่างๆ, ระบบการป้อนข้อมูลด้านเดียว, โครงการหลวงต่างๆ ฯลฯ)
จึงจะแก้ปัญหานี้ ได้อย่างยั่งยืนถาวร
ไมใช่ คอยแต่ขึ้นกับสภาวะที่ ฝ่ายหนึ่ง "ลุ้น" อีกฝ่าย "หวาดหวั่น" ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต หรือ ฝ่ายหนึ่งเอาแต่คอยเกาะยึดเหนี่ยว (clinging desperately) อยู่กับ "วันเวลาที่กำลังจะผ่านเลย (ที่ต้องผ่านเลยไปในไม่นาน)" ขณะที่อีกฝ่ายคอย "รอ" หรือ "เร่ง" ให้ "วันเวลาบางอย่างผ่านไปเร็วๆ"
แล้วในที่สุด ไมว่า อนาคตจะออกมาอย่างไร ทุกฝ่ายก็ยังต้องเผชิญกับปัญหาความไม่สอดคล้องกับโลกสมัยใหม่ของสถานะและ อำนาจสถาบันกษัตริย์ อยู่นั่นเอง (เพราะปัญหาเชิงโครงสร้างทางกฎหมายและการปฏิบัติสำคัญๆ ไม่ได้รับการแก้ไข)
...................
สุดท้าย ในส่วนที่เกี่ยวกับกระทู้นี้ ผมอยากแนะนำให้ทุกคน โดยเฉพาะคนรักเจ้าชนชั้นกลาง อ่านบทความ (มีเฉพาะภาษาอังกฤษ) ของ คุณ Serhat Ünaldi นักศึกษาปริญญาเอก เยอรมัน เรื่อง Not So Happy Birthdays ในเว็บไซต์ New Mandala (ดูรูปประกอบ) - ผมขอไม่ให้ link แต่น่าจะหาได้ง่ายๆ
ในบทความดังกล่าว (ซึ่งมีภาพประกอบหลายภาพ) คุณ Serhat Ünaldi ได้เล่าถึงงานฉลอง 60 พรรษา ของสมเด็จพระบรมฯ กับงานฉลอง 80 พรรษา ของสมเด็จฯ พระราชินี ที่เพิ่งผ่านมา และอภิปรายปัญหาเกียวกับสถานะของสถาบันกษัตริย์โดยทั่วไปด้วย รูปธรรมบางอย่างที่เขาพูดถึง คนไทยเองก็มีการพูดกันมาบ้างแล้ว เชน เรื่อง ธนบัตร ที่ผมกล่าวถึงตอนต้น แต่เขามีตัวอย่างหรือเรื่องเล่า ทีน่าสนใจ การตีความหรือ "อ่าน" รูปธรรมบางอย่าง อาจจะโต้แย้งได้่วา เป็นการ "อ่านเข้าไปมากเกินไป" (read too much into) ก็ได้ แต่ภาพรวม คิดว่า ทุกคนน่าจะยอมรับกันได้
และอย่าลืม อ่านความเห็น (comments) ท้ายบทความ ของผู้ทีใช้ชื่อว่า Annie Thropic (อยู่ต้นๆ ที่ได้รับการคลิ้ก like เกิน 30 ทำให้พื้นเป็นสีเหลืองๆ) โดยเฉพาะในย่อหน้าที่ 2 ที่ว่า "Having spent a number of years living and working in the heart of red-shirt territory, I can say with a feeling of certainty that the popularity of the King himself ...."