ที่มา ประชาไท
Thu, 2012-09-13 18:04
องค์กรสิทธิแอมเนสตี้ฯ ประณามการสังหารทูตสหรัฐในลิเบีย
และเรียกร้องให้รัฐบาลลิเบียเข้าแทรกแซงจัดการกับติดอาวุธเหนือกฎหมายและไต่
สวนผู้ที่กระทำผิดตามกระบวนการยุติธรรม
ชี้การหมิ่นศาสนาไม่ใช่ข้ออ้างในการฆ่ากัน
13 ก.ย. 55 - แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
องค์กรสิทธิมนุษยชนที่มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ออกแถลงการณ์ประณามการโจมตีสถานทูตสหรัฐในเมืองเบงกาซี
ประเทศลิเบียเมื่อค่ำวันพุธที่ผ่านมา (12 ก.ย. 55)
เป็นเหตุทำให้เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำกรุงเบงกาซี
พร้อมเจ้าหน้าที่สถานทูตชาวสหรัฐอีกสามคนเสียชีวิต โดยแอมเนสตี้ฯ ชี้ว่า
การหมิ่นศาสนาไม่สามารถเป็นข้ออ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการสังหารที่
เกิดขึ้น และเรียกร้องให้รัฐบาลลิเบีย
"เข้าแทรกแซงเพื่อควบคุมกลุ่มติดอาวุธและกลุ่มทหารบ้านที่ทำตัวเหนือกฎหมาย"
และนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษตามกระบวนการไต่สวนที่ยุติธรรม
0000
การสังหารเจ้าหน้าที่อย่างน้อยสี่คนรวมทั้งนายเจ คริสโตเฟอร์ สตีเฟนส์
(J Christopher Stephens) เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำลิเบีย
ที่สำนักงานสถานกงสุลสหรัฐฯ ประจำกรุงเบงกาซี
และยังมีผู้บาดเจ็บอีกจำนวนมาก เป็นการกระทำที่ไม่มีข้อแก้ตัวใด ๆ
และต้องนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว
ตามข้อมูลของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล การโจมตีสถานกงสุลสหรัฐฯ
ที่เบงกาซี เป็นผลงานของกลุ่มชายติดอาวุธ เริ่มตั้งแต่ตอนหัวค่ำของวันที่
11 กันยายน ใช้เวลาประมาณสองชั่วโมง
เชื่อว่ากลุ่มคนร้ายได้ใช้จรวดอาร์พีจีและอาวุธปืนต่อสู้อากาศยานเพื่อ
ยิงโจมตี
และมีเป้าหมายอยู่ที่เจ้าหน้าที่สถานกงสุลระหว่างที่พยายามหลบหนีออกจากสถาน
กงสุล ซึ่งเป็นที่พักอาศัยด้วย
การโจมตีเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยสี่คน
รวมทั้งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ซึ่งอยู่ระหว่างการเยือนกรุงเบงกาซีในขณะนั้น
มีรายงานข่าวว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยอื่น ๆ
ไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้ และได้หนีไปจากที่เกิดเหตุ
“เราประณามการโจมตีที่มีการวางแผนเป็นอย่างดีในครั้งนี้ต่อพลเรือนที่
พยายามหลบหนีออกจากสถานกงสุลสหรัฐฯ ไม่มีความชอบธรรมสำหรับการโจมตีครั้งนี้
และผู้กระทำผิดจะต้องถูกนำตัวมาลงโทษ” ซูซาน นอสเซล (Suzanne Nossel)
ผู้อำนวยการบริหารแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล สหรัฐฯ กล่าว
กระทรวงมหาดไทยลิเบียประกาศอย่างเป็นทางการว่า
การโจมตีครั้งนี้เกี่ยวข้องกับการประท้วง
ซึ่งมีสาเหตุมาจากภาพยนตร์ที่ผลิตโดยกลุ่มโฆษณาชวนเชื่อเพื่อต่อต้านศาสนา
อิสลามในสหรัฐฯ
มีการแปลภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นภาษาอาหรับและนำไปเผยแพร่เป็นวีดิโอคลิ
ปในอินเตอร์เน็ต
ในวีดิโอคลิปมีภาพของศาสดามะหะหมัดและบุคคลอื่น ๆ
ซึ่งเป็นที่เคารพของชาวมุสลิมอยู่ในท่าทางที่ถูกเหยียดหยาม
ถือเป็นการจ้วงจาบต่อชาวมุสลิมเป็นอย่างมาก
“ไม่ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะจาบจ้วงเพียงใด
ก็ไม่อาจใช้เป็นข้อแก้ตัวให้กับการสังหารและการโจมตีอย่างรุนแรง
แม้ว่าศาสนาและวัฒนธรรมเป็นองค์ประกอบสำคัญของชีวิตผู้คนจำนวนมาก
แต่ก็ไม่อาจใช้เป็นเหตุผลอันชอบธรรมในการละเมิดสิทธิมนุษยชน” ฮัสสิบา ฮัดจ์
ซาห์ราอุย (Hassiba Hadj Sahraoui)
รองผู้อำนวยการแผนกตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ แอมเนสตี้
อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว
“การโจมตีครั้งนี้เน้นให้เห็นอีกครั้งถึงความจำเป็นที่ทางการลิเบียจะ
ต้องเข้าแทรกแซงเพื่อควบคุมกลุ่มติดอาวุธและกลุ่มทหารบ้านที่ทำตัวเหนือ
กฎหมาย”
ในคำแถลงล่าสุด สภาสูงสุดแห่งชาติ (General National Congress - GNC)
แสดงคำมั่นสัญญาที่จะเอาผิดและลงโทษการสังหาร การทรมาน
และการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม
หนึ่งปีหลังจากกรุงตริโปลีตกอยู่ใต้การปกครองของกลุ่มปฏิวัติ
ยังคงมีกลุ่มติดอาวุธที่ก่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่ทั่วไป
มีการสังหารอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมาย การจับกุมและควบคุมตัวโดยพลการ การทรมาน
และการบังคับโยกย้าย โดยที่ผู้กระทำความผิดเหล่านี้ไม่ได้รับการลงโทษ
ทางการลิเบียจะต้องสอบสวนกรณีนี้อย่างเต็มที่ เป็นอิสระ และไม่ลำเอียง
และให้นำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกระบวนการไต่สวนที่เป็นธรรม
โดยไม่ให้มีการใช้โทษประหาร
รัฐจะต้องคุ้มครองชีวิตและความปลอดภัยของประชาชนทุกคนที่อยู่ในเขต
อำนาจของตน
โดยจะปฏิบัติอย่างเคร่งครัดให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล
รวมทั้งการเคารพสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบ
และการบังคับใช้กฎหมายด้วยสัดส่วนที่เหมาะสมเพียงพอต่อการรักษาความสงบของ
สาธารณะ
“การโจมตีครั้งล่าสุดและการละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งยังดำเนินต่อไปของ
กลุ่มติดอาวุธ
และการที่รัฐล้มเหลวในการคุ้มครองพลเรือนและบังคับใช้กฎหมายทั้งในประเทศและ
ระหว่างประเทศ เป็นเงามืดที่ปกคลุมอนาคตของลิเบีย” ฮัสสิบา ฮัดจ์
ซาห์ราอุยกล่าว
“มีความเป็นไปได้อย่างมากว่าการละเมิดสิทธิที่เกิดขึ้นในช่วง “การปฏิวัติ 17 กุมภาพันธ์” กำลังเกิดขึ้นอีกครั้งและขยายตัวออกไป”