WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, September 14, 2012

รมช.คมนาคม เตรียมลงพื้นที่แก้ปมไล่รื้อ “รถไฟฟ้าสายสีแดง-ทางด่วนศรีรัช-รถไฟรางคู่”

ที่มา ประชาไท

 
‘เครือข่ายสลัม 4 ภาค’ ชุมนุมหน้า ก.คมนาคม รอรับฟังผลการเจรจาแก้ปัญหาไล่รื้อชุมชน ในพื้นที่ก่อสร้าง 3 โครงการใหญ่ รถไฟฟ้าสายสีแดง-ทางด่วนศรีรัช-รถไฟรางคู่ ขอนแก่น ‘ชัจจ์ กุลดิลก’ นั่งประธานคุย รับลงพื้นที่ดูผลกระทบสัปดาห์หน้า
วันนี้ (13 มิ.ย.55) สมาชิกเครือข่ายสลัม 4 ภาค ราว 500 คน รวมตัวหน้าหน้ากระทรวงคมนาคมตั้งแต่เมื่อเวลา 09.30 น.เพื่อรอรับฟังผลการประชุมเพื่อแก้ปัญหาของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการไล่ รื้อที่ดินของกระทรวงคมนาคม โดยมี พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในที่ประชุม

ตามที่เครือ ข่ายสลัม 4 ภาค ได้มีการชุมนุมเมื่อวันที่ 5 ก.ย.55 เพื่อให้ทางกระทรวงคมนาคมเปิดการเจรจาการแก้ปัญหาการพัฒนาระบบคมนาคมขนาด ใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยของชาวชุมชน โดยในวันดังกล่าวผู้แทนเครือข่ายสลัม 4 ภาค ได้เจรจากับ รมช.พล.ต.ท.ชัจจ์ และกำหนดนัดหมายให้มีการเปิดประชุมอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินที่เกี่ยวข้อง กับกระทรวงคมนาคม ในวันนี้ (13 ก.ย.55)

คมสันติ์ จันทร์อ่อน กองเลขาเครือข่ายสลัม 4 ภาค กล่าวว่า จากการพูดคุยยังไม่มีข้อสรุปในการหาทางออก แต่ พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก มีกำหนดลงพื้นที่ โดยในวันที่ 20 ก.ย.55 จะลงพื้นที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ที่เขตบางกอกน้อยใน 7 จุดที่ได้รับผลกระทบ จากนั้นในวันที่ 21 ก.ย.55 จะลงพื้นที่ดูผลกระทบจากโครงการรถไฟรางคู่ ที่ จ.ขอนแก่น สำหรับโครงการทางด่วนสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ในวันที่ 18 ก.ย.55 จะมีการนัดประชุมโดยตัวแทนการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเจ้าของโครงการจะมาร่วม พูดคุยกับผู้ได้รับผลกระทบ

ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวมีการหารือเกี่ยวกับผลกระทบใน 3 โครงการหลัก คือ 1.โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงต่อขยาย (ตลิ่งชัน-ศิริราช) รวมระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร ซึ่งมีชุมชนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการจำนวน 370 ครอบครัว ที่เป็นสมาชิกในเครือข่ายสลัม 4 ภาค และยังมีชุมชนนอกเครือข่ายอีก

2.โครงการทางด่วนสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ระยะทาง 16.7 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุน 27,022 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้ออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน เพื่อก่อสร้าง และประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 10 ก.พ.ที่ผ่านมา มีผลบังคับใช้ 4 ปี โดยกำหนดให้เวนคืนในท้องที่ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี และเขตทวีวัฒนา เขตตลิ่งชัน เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางซื่อ และเขตจตุจักร กรุงเทพฯ

3.โครงการรถไฟรางคู่ ชุมทางจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 187 กิโลเมตร ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานนโยบาย และแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ในแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ระยะเร่งด่วน 2553-2558

คมสันติ์ กล่าวด้วยว่า การประชุมครั้งนี้ถือเป็นก้าวหนึ่งที่น่าพอใจ เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ชาวบ้านได้ร่วมพูดคุยกับฝ่ายบริหารในรัฐบาลชุดนี้ จากที่การประชุมก่อนหน้านี้ใน 2 ครั้งแรกมีเพียงปลัดกระทรวงฯ และข้าราชการ โดยไม่มีฝ่ายการเมืองเข้าร่วม ทำให้การประชุมครั้งต่อมาทางเครือข่ายตัดสินใจวอล์คเอาท์ เพราะต้องการให้ผู้มีอำนาจในทางนโยบายมารับฟังและร่วมแก้ปัญหา ส่วนความพึงพอใจในการแก้ปัญหาจะเป็นอย่างไร คงต้องดูผลการดำเนินการภายหลังจากที่ได้มีการลงพื้นที่แล้ว

อย่างไร ก็ตาม ทางเครือข่ายฯ ไม่ได้ต้องการต่อต้านหรือคัดค้านโครงการ เพียงแต่เห็นว่าการที่โครงการเดินหน้าไปได้ ชุมชนก็น่าจะอยู่ได้ด้วย

นอกจากนี้เครือข่ายสลัม 4 ภาคยังได้ออกแถลงการณ์ต่อ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงต่อขยาย ตลิ่งชัน-ศิริราช รายละเอียดดังนี้

แถลงการณ์ของเครือข่ายสลัม 4 ภาค
ต่อ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงต่อขยาย ตลิ่งชัน-ศิริราช
            ตามที่รัฐบาลมีนโยบายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า สายสีแดง ช่วงต่อขยาย ตลิ่งชัน-ศิริราช รวมระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตรนั้น เครือข่ายสลัม 4 ภาคขอแสดงจุดยืนว่า ชุมชนสมาชิกของเครือข่ายฯ อันประกอบด้วย ชุมชนบางระมาด 1 , ชุมชนบางระมาด 2 , ชุมชนบางกอกน้อย 2 , ศูนย์คนไร้บ้านบางกอกน้อย , ชุมชนบางกอกน้อย 1 และ ชุมชนบางกอกน้อย (ฝั่งวงเวียนกลับหัวรถจักร) ไม่ได้คัดค้านต่อการดำเนินโครงการฯ ดังกล่าว
            แต่เนื่องจากแนวก่อสร้างของโครงการฯ จะส่งผลกระทบต่อชาวชุมชนจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันได้มีสัญญาเช่าจากการรถไฟฯ เพื่อทำการปรับปรุงที่อยู่อาศัยตามนโยบายบ้านมั่นคง ที่ริเริ่มในสมัยรัฐบาลทักษิณ ดังนั้น เครือข่ายสลัม 4 ภาคจึงขอเสนอทางเลือกในการทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงต่อขยาย ตลิ่งชัน-ศิริราช เพื่อให้การดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นไปได้ และในขณะเดียวกันชุมชนก็สามารถมีที่อยู่อาศัยในบริเวณเดิม ข้อเสนอเชิงทางเลือกมีดังต่อไปนี้
  1. การดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง (ศิริราช – ตลิ่งชัน) ให้ดำเนินการในรัศมี 15 เมตร จากกึ่งกลางรางเดิม   และในรัศมี 15 เมตรที่เหลือให้จัดเป็นที่อยู่อาศัย   โดยจะเป็นที่อยู่อาศัย 10 เมตร และพื้นที่ส่วนกลางที่เป็นถนนในการสัญจร 5 เมตร
  2. การดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง (ศิริราช – ตลิ่งชัน) ให้ดำเนินการก่อสร้างในรูปแบบยกระดับตลอดแนว
  3. ให้ทำถนนลดทางรถไฟฟ้าที่ยกระดับความสูง 5.50 เมตร แทนการสร้างเกือกม้ากลับรถ   และขยับสถานีตลาดน้ำตลิ่งชันมายังบริเวณสวนหย่อมเขตตลิ่งชัน
  4. ในกรณีการสร้างสถานีจรัลสนิทวงศ์ ให้ก่อสร้างในแนวพื้นที่ที่ไม่มีผลกระทบต่อศูนย์พักคนไร้บ้าน  โดยลดขนาดสถานีลง หรือ ขยับสถานีไปใช้พื้นที่จอดรถขยะของสำนักงานเขตบางกอกน้อยแทน
ในกรณีการสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงรถจักรบริเวณสถานีธนบุรี   ให้ลดระยะรางลงเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนที่ได้เช่าที่ดินเพื่อที่อยู่ อาศัยบริเวณวงเวียนกลับหัวรถจักร
เครือข่ายสลัม 4 ภาค หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลจะเข้าใจและปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินโครงการ รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงต่อขยาย ตลิ่งชัน-ศิริราช ตามข้อเสนอข้างต้น ทั้งนี้ เพราะโครงการพัฒนาจะต้องไม่เน้นแต่ด้านวัตถุ จนละเลยการพัฒนาด้านชุมชนและสังคม รวมถึงต้องเคารพต่อสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของชาวชุมชน
ด้วยความเชื่อมั่นในพลังประชาชน
เครือข่ายสลัม 4 ภาค