WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, March 29, 2010

การล่มสลายของราชวงศ์โรมานอฟ ตอนที่ 3

ที่มา thaifreenews


โดย prainn


การล่มสลายของราชวงศ์โรมานอฟ ตอนที่ 3

ปี ค.ศ. 1914 รัสเซียเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 และเป็นสงครามครั้งสุดท้ายของราชวงศ์โรมานอฟ สงครามทำให้ประชาชนระเบิดความต้องการออกมาเป็นการล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์รัสเซีย ประชากรชาย 14 ล้านคนต้องถูกเรียกระดมพล ประชากร 67 ล้านคนทางตะวันตกอยู่ภายใต้การครอบครองของศัตรู 6 ล้านคนถูกบังคับให้พลัดถิ่น

ชาวยิวกว่า 5 แสนคนถูกขับไล่ออกจากแนวรบ 3.3 ล้านคนตายหรือสูญหายอย่างไร้ร่องรอย ตัวเลขคนตายอาจมากถึง 8 ล้านคน แต่บางทีการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 อาจไม่ใช่เพราะความพ่ายแพ้ของทหารในสงครามโลก แต่เป็นเพราะความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลและซาร์ล่มสลายลง

มูลเหตุที่รัสเซียเข้าร่วมสงครามเพียงเพราะทำตนเป็นผู้ปกป้องชาวสลาฟที่กำลังต้องเผชิญสงครามกับออสเตรีย – ฮังการี เพียงเพราะซาร์ยึดมั่นในชาติกำเนิดที่เป็นคนสลาฟ การเข้าร่วมสงครามครั้งนี้ เค้านต์ วิทท์ ซึ่งเป็นขุนนางผู้ใหญ่ผู้จงรักดีต่อราชบัลลังค์บอกว่า เป็นสงครามที่โง่และบ้ามาก เพราะไม่เพียงแต่จะสร้างหายนะให้แก่ทุกประเทศที่ทำสงครามแล้ว ผลร้ายที่ตามมาคือระบอบกษัตริย์รัสเซียจะถึงกาลอวสานและระบบสาธารณรัฐก็จะเข้ามาแทนที่

เมื่อรัสเซียเข้าสู่สงคราม สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมรัสเซียคือกระแสชาตินิยมที่ถูกปลุกขึ้น ชาวรัสเซียในขณะนั้นล้วนสนับสนุนสงครามเพื่อปกป้องแผ่นดินรัสเซียอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เลยพลอยทำให้ความขัดแย้ง การก่อจราจล การประท้วงนัดหยุดงานที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่เหตุการณ์เหมืองทองเลนาสิ้นสุดลง

31 สิงหาคม ค.ศ. 1914 ซาร์มีราชโองการเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ซึ่งเป็นภาษาเยอรมันให้เป็นภาษาสลาฟว่า “เปโตรกราด” (Petrograd) แต่ที่ทำร้ายจิตใจประชาชนกันสุดๆ ยิ่งไปกว่าสูญเสีย(ชื่อ) เมืองหลวง คือ รัฐบาลห้ามขายเหล้าวอดก้าทั่วประเทศ ทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้และประชาชนต้องต้มเหล้าเถื่อนกินกันเอง

หลังจากทำสงครามมาได้หนึ่งปี ซาร์นิโคลัสที่ 2 เสด็จไปบัญชาการรบแนวหน้าด้วยตัวเอง ซาร์ดื้อรั้นไม่ฟังเสียงทัดทานจากสภาดูมา แม้จะมีความมุมานะสักเพียงใดแต่ซาร์ก็ไร้ความสามารถ ที่สำคัญกองทัพเยอรมันเหนือกว่ากองทัพรัสเซียมากมายนัก

ราชินีอเล็กซานดราก็เข้าแทรกแซงรัฐบาลอย่างผิดประเพณี และความรักใคร่เอ็นดูเชื่อมั่นต่อรัสปูตินชายชาวนาผู้มีบรรดาศักดิ์จากแดนไกล ทำให้เกิดข่าวลือเกี่ยวกับการคบชู้และการทำลายชาติโดยใช้อำนาจมืด ระบบราชการก็ถูกพันธนาการด้วยการตอบสนองต่อการทำสงครามแบบเบ็ดเสร็จ

จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่การสนับสนุนกองทัพทั้งด้านการขนส่ง อุตสาหกรรม พลังงาน จะไม่กระทบต่อภาคเศรษฐกิจของประชาชนรัฐบาลหาเงินมาทำสงครามด้วยการขึ้นภาษี กู้เงินต่างประเทศ และการเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบอย่างผิดๆผลคือเกิดภาวะเงินเฟ้อหนี้สินล้นพ้นตัว ราคาสินค้าเพิ่มหลายเท่าตัว คนงานมีรายได้แค่พอประทังชีวิต



สงครามที่ยืดเยื้อและความพ่ายแพ้อย่างต่อเนื่องตลอดจนการล้มตายของทหารหลายล้านคน ทำให้ฝ่ายซ้ายที่แต่เดิมต่อต้านสงคราม ได้เปลี่ยนความคิดโดยเสนอให้เปลี่ยนสงครามของจักรพรรดินิยมให้เป็นสงครามกลางเมืองภายในและก่อการปฏิวัติยึดอำนาจรัฐเปลี่ยนประเทศเป็นสังคมนิยม

ปลาย ค.ศ 1916 ถึงกุมภาพันธ์ 1917 คนงานจำนวนมหาศาลเข้าร่วมนัดหยุดงานท่ามกลางฤดูที่หนาวเหน็บ และภาวะที่เมืองต้องขาดแคลนอาหารอย่างหนัก(ขนมปัง) เมืองเปโตรกราดเข้าขั้นวิกฤติเมื่อโรงงาน ธนาคาร ร้านค้าปิดกิจการกันทั้งเมือง การคมนาคมเป็นอัมพาต การประท้วงบานปลายเป็นการขับไล่รัฐบาลที่แก้ปัญาหาไม่ได้ จราจลทั่วเมือง สถานีตำรวจถูกเผา มวลชนตั้งเครื่องกีดขวางบนถนน

ซาร์ ทราบเรื่องจึงสั่งการจากแนวหน้าให้ทหารปราบปรามให้สิ้นทราก ตำรวจและทหารยิงประชาชนจนมีผู้เสียชีวิตมากมาย ในที่สุดทหารเกือบทั้งเมืองหันมาสนับสนุนประชาชน ซาร์ สั่งทหารจากแนวหน้าเข้าเมืองหลวงเพื่อปราบปราม การจราจลไม่มีทีท่าจะยุติ ไม่มีใครควบคุมสถานการณ์ได้

ในที่สุด ซาร์ ตัดสินใจสละราชบัลลังค์เมื่อ 1 มีนาคม 1917 (14 มีนาคม 1917 ตามปฏิทินสากล) และลงนามอย่างเป็นทางการในวันรุ่งขึ้น เป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์โรมานอฟ

การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 ทำให้เสรีภาพและประชาธิปไตยคือระเบียบใหม่ในชีวิตประจำวัน แค่ชั่วข้ามคืนทุกคนแปรสภาพจากพสกนิกร (subject)กลายเป็นพลเมือง (citizen)เสรีภาพและประชาธิปไตยนำมาซึ่งความหวังในชีวิตที่สดใสของชาวรัสเซีย แม้แต่ในหมู่ทหารต่างก็ยินดีปรีดากับการโค่นล้มซาร์ พวกเขาเบื่อหน่ายเต็มทนกับโครงสร้างที่กดขี่ของระบบทหาร

การสิ้นสุดราชวงศ์โรมานอฟเป็นสิ่งยืนยันว่าความจงรักภักดีต่อกษัตริย์แบบไม่มีเงื่อนไขไม่มีอีกแล้ว แม้แต่ในหมู่ชาวนาที่ได้ชื่อว่ายึดถือกรอบความคิดเก่าเหนียวแน่นที่สุด ใครที่คิดว่าชาวนาจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยปราศจากซาร์นั้นไม่จริงอีกต่อไป

ชาวนาค้นพบความจริงว่า พวกเขาสามารถมีชีวิตอยู่ได้ด้วยตัวเองโดยปราศจากซาร์ แต่ถ้าปราศจากชาวนาแล้ว ซาร์และราชวงศ์จะไม่สามารถมีชีวิติยู่ได้อย่างแน่นอน ซาร์ได้นำพาตัวเองให้ตกต่ำดำมืด และนำพาชาวนาไปสู่ความพินาศ



คัดลอกบางตอนจากนิตยสาร “ลงแดง” ฉบับพิเศษ (ขบวนการล้มเจ้า ต้นศตวรษษที่20)

พระอินทร์