WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, March 30, 2010

พุฒิพงศ์: ประเด็นหลักๆ ที่ แกนนำ"ต้องตอบโต้การเล่นลิ้นของ รบ.มาร์ค" ให้ได้เนื้อหา

ที่มา ประชาไท



ชื่อบทความเดิม: ประเด็นหลักๆ ที่ แกนนำ"ต้องตอบโต้การเล่นลิ้นของ รบ.มาร์ค" ให้ได้เนื้อหา; โมเดลบางอย่าง ให้ลองคิดกันดู แต่โมเดลที่ว่า คงไม่ใช่ "แนว" สามเกลอ

ประเด็นหลักๆ ที่ แกนนำสู้เพื่อประชาธิปไตย ควรยึดไว้ให้ได้ ไม่ใช่ขากถุยรสนิยมทางเพศ แดกดันติดตลก หรือเอาคลิปเสียงลับลมคมนัย มาฉะกัน มันไม่ได้เนื้อหา และไม่ชักจูงโดยเหตุผล เลย และการอ้างบางอย่างที่ "อีกฝ่ายเฉยเมยไปแล้ว" ก็ดูซ้ำซาก


อย่างน้อยมนุษย์ ก็มักถาม "มีอะไรใหม่ๆ มั้ย?" (ยกเว้น บางเรื่อง-แต่ไม่ใช่กรณีการโต้ทางการเมือง)

แม้ว่า เหตุผล จะไม่ใช่ตัวชี้ขาด การเมืองก็ตาม -แต่มันต้องมี โดยเฉพาะการสู้เชิงอุดมการณ์-ต้องคู่กับสิ่งที่คุณกำลัง "การเมือง"อยู่ด้วย

และในแง่ที่ "ข้อโต้แย้งฝ่ายนั้น" ได้สร้าง "มหาพรรณา" โจมตีอุดมการณ์ประชาธิปไตย หรือ โต้ "อะไรก็ตามที่เป็นกระแสหลักๆ ของอีกฝ่ายที่พยายามปลุกกัน" เราต้องพยายามโต้ ณ จุดนั้น (และทุกจุด)

ผมพอจะจับประเด็น ของ "อภิสิทธิ์" ที่บ่ายเบี่ยง และข้อโต้แย้ง (อาจเป็นแนวในการใช้โต้แย้งขั้นต้น - ไม่แน่ใจว่า เคยมีคนอภิปรายในนี้ไปแล้วรึยัง ?)

ประเด็นที่๑."การยุบสภา เป็นเหตุผลทางการเมืองโดยแท้" ในรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดเงื่อนไขใดๆ ไว้เลย (ในหลายๆ ประเทศที่ใช้ระบบรัฐสภา ก็เป็นแบบนี้ ยกเว้นเยอรมัน แต่ในทางปฏิบัติก็คล้ายกัน ต่างกันแค่ขั้นตอนเท่านั้น)

ในอดีตที่ผ่านมาของไทย การยุบสภามี ๒ กรณีคร่าวๆ คือ ๑.ความขัดแย้งของรัฐสภากับรัฐบาล ๒.ความขัดแย้งภายในรัฐบาล

แต่ก็พบว่า ในประเทศที่ไม่กำหนดเงื่อนไขการยุบสภา เช่นไทยนั้น (ตัวอย่างเช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส) การยุบสภาก็ยังเป็นวิธีการนึง ชิงความได้เปรียบทางการเมืองของฝ่ายบริหาร คือ เมื่อนายกฯ เห็นว่า ช่วงนั้นตนได้รับคะแนนนิยมสูง ก็ยุบสภา เพื่อโกยที่นั่งมากขึ้น นั่นเอง ซึ่งเหล่านี้ เป็นการหลอมรวมเจตน์จำนงความหลากหลายทางทรรศนะของประชาชน

เพราะการเมืองมันมีพลวัตรสูง เค้าจึงให้เลือกตั้งบ่อยๆ เพื่อจูน "ความเห็นประชาชน" กับ "ความเห็นผู้แทน"ให้ใกล้เคียงกันตลอดเวลา บางประเทศ ๒ ปีหนนึงด้วยซ้ำ เืพื่อพยายามท้าวความถึง เจตน์จำนงปวงชน ตลอดเวลาว่า "ความเห็นของผู้แทน" ยังคง สอดรับตรงกับ "ปวงชนผู้เลือกตั้ง" หรือไม่

แต่ถ้าถือตรรกะแบบ "อภิสิทธิ์" นะครับ คือ คุณมองว่า "เลือกตั้งใหม่แล้ว ปัญหาไม่ยุติ" เดี๋ยวทะเลาะกัน หากเช่นนั้น เอางี้ คุณแก้รัฐธรรมนูญให้ทุกๆ ๘๐ ปี เลือกตั้งครั้งนึงเลยดีมั้ย? จะได้ไม่ทะเลาะกัน เลือกหนนึง เปลี่ยนรัฐบาลแม่งหลายๆๆ ชุด ครบ ๘๐ ปีค่อยเลือกอีก ระหว่างนั้นก็เปลี่ยนรัฐบาลไป

พอใจมะแบบนี้ ?

(ผมจะขยายความในเรื่องนี้ ต่อใน ประเด็นที่๒)

ประเด็นที่๒.การเป็น "ผู้แทน" มันเป็นเรื่องที่ถูกสมมติขึ้นมา ให้ "ผู้แทน"แสดงความเห็นแทนปวงชนผู้เลือกตั้ง และจัดตั้งรัฐบาล (แน่นอนที่ว่า ในระบบการเลือกตั้งที่ดี(และรัฐธรรมนูญที่ดี)นั้น พรรคที่ถูกโหวตมากที่สุด ย่อมต้องเป็นแกนจัดตั้งรัฐบาล)

ทีนี้ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ถึง ๒ ชุด (จากพรรคที่ถูกโหวตมากสุด ทั้ง๒ครั้ง -รบ.สมัคร และ สมชาย) ย่อมสะท้อนว่า เป็นการกระทบเทือน "ความเห็นของปวงชน" ที่อาจไม่ตรงสอดรับกับ "ผู้แทน" เสียแล้ว ถ้ารัฐบาลจะ "อ้าง" ความชอบธรรมทางประชาธิปไตยของตน จริงๆ ก็ย่อมฟังไม่ขึ้น (ยังไม่ต้อง ลากไส้ ในเรื่อง "ที่มา" ของรัฐบาลชุดนี้ เลยก็ได้)

ประเด็นที่๓.การยุบหรือไม่ยุบสภานั้น เป็นคนละเรื่องกับว่า "เลือกตั้งแล้ว จะมีม็อบอีกมั้ย" เพราะการเลือกตั้ง ก็คือ การอุทธรณ์ปัญหาไปยัง "ประชาชน" นั่นเอง ให้ชี้ขาดความชอบธรรมทางการเมือง

และถ้า "การชี้ขาด ของปวงชน ไม่อาจได้รับการยอมรับ/นับคุณค่า" ผมก็เห็นว่า "บรรดาคำพิพากษาเฮงซวยทั้งหลาย ก็ไม่อาจถูกยอมรับ ซะยิ่งกว่าซะอีก" แต่ทีกรณีหลัง คนที่ "ไม่ชอบการเลือกตั้ง" กลับ "ปกป้อง" ว่าให้ถือ "ศาล" เป็นเด็ดขาด

คนพวกนี้ไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่าง การถือมติโดยเสียงข้างมากกับการรับฟังเสียงข้างน้อย [คือ "ไม่ไปปิดปากเค้า" (เช่น กรณี มาตรา๑๑๒)] กล่าวคือ เป็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของเสียงข้างน้อยต่างหากครับ มิใช่ให้ "เสียงข้างน้อย ล้มมติเสียงข้างมาก"

มีประเด็นปัญหาว่า เสียงข้างมาก "ไม่ถูกต้องเสมอไป" (พวกมากลากไป) กรณีนี้ ก็น่าสนใจและฮิตมาก เพราะเกิดปัญหาขึ้นอยู่บ้าง (อย่างน้อยในแง่ความรู้สึก/ ความน้อยเนื้อต่ำใจ ของพวก pre-modernในสังคมไทย-elite, และแม้แต่พวกนักปรัชญากลุ่ม post modern สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว) เพราะดูเหมือน "เสียงของพวกเค้า" ไม่ถูกนับ : จริงๆ แล้ว หากเราใช้ระบบ party-list /ระบบสัดส่วน เสียงทุกเสียงจะถูกนับและมีน้ำหนักเท่ากัน เพราะเป็นการคำนวณยอดผู้เลือกพรรค ตามจำนวนผู้มาเลือกตั้ง - ขณะที่ระบบข้างมาก เป็นการ "ทิ้ง" ค่าของคะแนนผู้เลือกตั้งของคนข้างน้อยไปเลย แต่กระนั้น ในอีกทางหนึ่ง ในระบบเสียงข้างมาก ก็ยังให้ ทุกคนเสมอภาคกัน คนละเสียงในการเลือกตั้งแบบเสี่ยงดวง ว่าจะชนะสมใจหรือไม่ ทว่า อนิจจา แม้เราจะใช้ระบบสัดส่วน หรือ ระบบเสียงข้างมากก็ตาม ก็ไร้ความหมาย เพราะคนพวกนี้ ไม่ได้คำนึงถึง "ค่าคะแนนเสียง" จริงจัง (เพราะ ถึงยังไงแล้ว ผลก็ไม่ต่างกันนัก เพียงแต่ขั้นตอนการคำนวนคะแนน มันถูกนับหมด กับ บางส่วนไม่ถูกนับเท่านั้น) หากแต่พวกเค้า คำนึงเพียง "ค่าความเป็นคน ไม่เท่ากันเท่านั้น" เอง (คือ คนชนบท ก็ถูกโจมตีการศึกษาต่ำแล้วมาอวดฉลาด หรือไม่ก็ คนมีการศึกษา/จบนอก ก็ด่า ฉลาดเกินนิยมนอกไม่คำนึงถึงความเป็น "ไทย" ...อ้าว ตกลงแล้ว ทั้งขึ้นทั้งร่องเลยใช่มั้ย? ใครเรียนต่ำ ก็ด่าโง่ ใครเรียนสูง ก็ด่าลืมกำพืด ...สรุปแล้ว ต้องฟังพวกคุณ?

ในท้ายปัญหา ผมคงชี้ว่า "อย่างน้อยที่สุด "การเลือกตั้ง" แม้จะไม่สมบูรณ์ในตัวของมัน แต่ "การเลือกตั้ง" ก็เป็น "มาตร" ที่ชี้วัดความต้องการทางสังคมมวลรวม ได้ดีที่สุด เท่าที่มนุษย์ยุคนี้ คิดค้นขึ้นได้

มิฉะนั้น "จะเอาแบบนี้มั้ย อีกโมเดลนึง" ก็ควรเสนอให้ใช้ระบบ "รัฐรวม" แยกเป็นมลรัฐไปเลยครับ (อย่าเพิ่งกรี๊ด นะครับ!) มันจะกระจายความเห็น ความแตกต่างได้ดีกว่า ในเมื่อไม่ชอบ/ไม่พอใจ ในการปกครองแบบ "มวลรวม" ก็น่าจะแยกเป็นมลรัฐเสีย หรือแบ่งโซนผู้นำ กันไป เขตไหนเลือกพรรคไหน ก็มี "พรรคนั้น" เป็นผู้นำจัดตั้งรัฐบาล แยกๆกันไป (ผมเข้าใจว่า ในพวกโพสต์โมเดิร์นบางกระแส ก็ชอบแนวนี้อยู่นะ ประเภทปฏิเสธ การปกครองแบบรูปก้อนเดียว คลุมทั่วพื้นที่น่ะ น่ะ)

ถ้าอ้างรัฐธรรมนูญว่า "จะต้องเป็นรัฐเดี่ยว" มันก็แก้ ไอ้มาตราที่มันห้ามแก้บทบัญญัตินี้เสีย เอาเป็นว่า ในทางปฏิบัติ การดีไซน์กฎหมายมันไม่มีปัญหาแน่ๆ นักกฎหมายของเราสมองไบรค์ๆ กันเยอะ...แต่ เอามั้ย? ลองคิดถกๆ กันดู จริงจังหน่อย ไม่ใช่ถ่มน้ำลายสร้างภาพ หลอกคนหน้าจอไปวันๆ แบบนี้

เชิงๆ ประชดนะ แต่ถ้าจะเอา ผมก็เห็นด้วย