ที่มา ประชาไท กล่าวสรุปได้ว่า ความขัดแย้งในสังคมการเมืองไทยปัจจุบันที่อยู่ในขั้นวิกฤตนั้น ผู้เขียนขอเสนอความคิดเห็น และข้อเสนอทางออกเบื้องต้นบางประการ คือ 1 วิกฤตการเมือง ที่สืบเนื่องมาจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่ฝ่ายประชาธิปไตย มองว่า การขึ้นสู่อำนาจของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่มีความชอบธรรม ไม่ได้รับเสียงสวรรค์จากประชาชนในฐานะพรรคการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งเสียงข้างมากในสภา แต่มีการหนุนหลังของกองทัพและอำมาตย์ จึงจัดตั้งรัฐบาลได้ เป็นการแทรกแซงการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ขณะที่ฝ่ายอำมาตยาธิปไตย กล่าวอ้างว่า พรรคการเมืองต่างๆสนับสนุน ไม่มีใครแทรกแซง จึงชอบธรรมที่จะจัดตั้งรัฐบาล 2 วิกฤตเรื่องรัฐธรรมนูญ 50 ฝ่ายประชาธิปไตย มองว่า คณะรัฐประหารได้กำหนดให้รัฐธรรมนูญ 50 เป็นกลไกหนึ่งของระบอบอำมาตยาธิปไตย อำนาจนอกระบอบมีอำนาจเหนืออำนาจรัฐสภาอำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง การลงประชามติของประชาชนในครั้งนั้น ถูกข่มขู่บังคับทั้งทางตรงทางอ้อม ประชาชนไม่มีเสรีภาพโดยอ้างว่า รัฐธรรมนูญ 50 ผ่านการลงประชามติของประชาชน เป็นเสียงข้างมาก จึงย่อมชอบธรรม ซึ่งเป็นความจริง”ครึ่งเดียว” กล่าวได้ว่า เป็นการลงประชามติ ที่อัปยศที่สุด ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย 3 อย่างไรก็ตาม แนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ในเรื่องดังกล่าว ไม่ควรปล่อยให้เป็นเรื่องของนักการเมืองแต่ละฝ่าย หรือให้อยู่ในกรอบของรัฐสภาเพียงอย่างเดียวแต่เชื่อมโยงกัน เนื่องจากความขัดแย้งที่สำคัญครั้งนี้เป็นความขัดแย้งที่ประชาชนในสังคมไทยที่ขนาดใหญ่ครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ประชาชนก็รับรู้และตระหนัก จึงควรต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรง ผ่านการเริ่มต้นด้วยการยุบสภา ไม่มีทางเลือกอื่นใดๆ เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างสงบและสันติวิธี ฤาจะปล่อยให้ความขัดแย้งนำสู่ความรุนแรง เกิดความเกลียดชังไปทั่วทุกหัวระแหง แบ่งแยกฝ่าย อย่างไม่มีการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์กัน หรือจะปล่อยให้เกิดสงครามขึ้น? รอยร้าวที่ยากประสานที่เห็นและเป็นอยู่ หลอมรวมได้ด้วยการ “ยุบสภา” 4 ภายหลังจากการยุบสภา ต้องจัดตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งและรณรงค์ประชาธิปไตยที่ยุติธรรมทุกฝ่ายยอมรับ เป็นกลไกขับเคลื่อน มีกระบวนการสื่อสารหลักการสำคัญให้ประชาชนตระหนักถึงระบอบประชาธิปไตย ทุกคนเท่ากัน เสมอภาคกัน ทุกคน หนึ่งสิทธิหนึ่งเสียง ยอมรับเสียงส่วนใหญ่ในการเลือกตั้งที่มีวาระแน่นอน ฯลฯ 5 พรรคการเมืองที่ลงแข่งขันการเลือกตั้ง นอกจากนำเสนอนโยบายแล้ว ต้องเสนอให้ชัดเจนต่อประเด็นรัฐธรรมนูญ 50 ว่า ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ อย่างไร ถ้าต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 หรือจะเอารัฐธรรมนูญ 40 หรือจะปรับแก้ไขเพิ่มเติม โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนอยู่ที่ไหน หลังได้รับการเลือกตั้งจะเริ่มต้นกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ประชาชนต้องมีส่วนร่วมเมื่อไหร่ อย่างไร ประชาชนก็มีสิทธิเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมประเด็นในรัฐธรรมนูญได้เช่นกันเพื่อลดอำนาจอำมาตย์ อำนาจนอกระบบ เพิ่มสิทธิประชาชน เช่น การให้คนงานเลือกตั้งตัวแทนในพื้นที่สถานประกอบการ การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรง การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ฯลฯ คืนอำนาจอธิปไตยให้ประชาชน เป็นทางเลือกเดียว ไม่ว่าฝ่ายอำมาตยาธิปไตย หรือฝ่ายประชาธิปไตยจะคิดอย่างไร แต่การปกครองการบริหารประเทศในระบอบประชาธิปไตย การแก้ไขวิฤตการเมืองที่สำคัญก็คือ คืนอำนาจอธิปไตยให้ประชาชนเท่านั้น