WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, March 29, 2010

สัมภาษณ์ดร.สุดา รังกุพันธ์:ความจริงกรณีสื่อผู้จัดการแพร่ข่าวลือทำข้อสอบหายกลางม็อบแดง

ที่มา Thai E-News



หวังว่าจะไม่มีการเลือกปฏิบัติกับดิฉัน เพียงเพราะดิฉันมีทัศนะร่วมกับคนเสื้อแดง ดิฉันไม่ได้ท้อใจค่ะ คิดว่าจะตั้งใจทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมวงกว้างให้มากขึ้นเสียด้วยซ้ำ ที่ผ่านมายังทำงานให้ประชาชนไม่มากพอ


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
29 มีนาคม 2553

หมายเหตุไทยอีนิวส์:เวบไซต์ผู้จัดการASTV ได้พาดหัวข่าวว่า ลือหึ่งอาจารย์คณะอักษร รั้วจามจุรีสีชมพู ผู้ฝักใฝ่การชุมนุมร่วมกับคนเสื้อแดง หอบ “ข้อสอบประมวล” ของนิสิตปริญญาโทไปตรวจกลางม็อบแดง ผลปรากฏข้อสอบหายทั้งปึก นิสิตซวยเจอให้สอบใหม่ และต่อมาผู้จัดการASTVรายงานข่าวว่า ผศ.ดร.นิรดา สีมากุล รองผู้อำนวยการหลักสูตรฯเผยว่า อาจารย์ผู้รับผิดชอบ ที่ทำข้อสอบหายไปนั้น คือ ดร.สุดา รังกุพันธ์ แต่ไม่ได้เกิดในช่วงของการชุมนุมขณะนี้ เป็นเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปีการศึกษาที่แล้ว ซึ่งทำให้นิสิตต้องสอบรายวิชานั้นใหม่จริง พร้อมทั้งแสดงความเห็นว่า ดร.สุดา เป็นอาจารย์นักกิจกรรม ออกไปนอกคณะบ่อยครั้ง แม้ไม่ได้ระบุว่า ออกไปทำกิจกรรมอะไร เกี่ยวกับวิชาการ หรือเกี่ยวข้องกับการเมืองหรือไม่ แต่การออกไปทำกิจกรรมบ่อยๆ ก็อาจมีผลต่อการเรียนการสอน

ไทยอีนิวส์ได้สัมภาษณ์ดร.สุดาในเรื่องดังกล่าว ดังต่อไปนี้


ไทยอีนิวส์:อยากทราบข้อเท็จจริงเรื่องข่าวทำข้อสอบหายกลางม็อบ?

ดร.สุดา:ขอชี้แจงก่อนว่า ดิฉันไม่ได้เป็นกรรมการสอบประมวลดังกล่าวปีนี้ จึงไม่มีข้อสอบไปทำหายนะคะ

แต่ก็จริงอยู่ที่ดิฉันได้ทำคำตอบข้อสอบนิสิตหายเมื่อราวเดือนมีนาคมปีที่แล้วค่ะ ได้มีการแจ้งกก.และจัดสอบใหม่ จนนิสิตรุ่นนั้นได้จบการศึกษาไปแล้ว และไม่จบบางคน

ไทยอีนิวส์:หลังจากข่าวเผยแพร่ทางเวบผู้จัดการแล้ว มีปฏิกริยาอย่างใดตามมาบ้าง?

ดร.สุดา: ยังไม่ได้รับทราบอะไรจากนิสิตหรืออาจารย์ทางอื่น นอกจากทางอีเมล์ FB (เฟสบุ๊ค) และในเว็บบอร์ดบางแห่งค่ะ


สำหรับคนที่รู้จักกันก็ให้กำลังใจเป็นส่วนใหญ่ค่ะ คนที่ประณาม ด่าว่าเสียหายเข้ามา ก็บางส่วนไม่มีตัวตน เช่น ใน FB เมื่อเข้าไปตรวจสอบประวัติ จะพบว่ามีเพื่อน ๑ คนเป็นต้น ส่วนอีเมล์ ก็เป็นชื่อแปลกๆ ที่ไม่ใช่ชื่อคนไทย และมักมีลักษณะ "แอบจิต" โดยใส่หัวเรื่องมาว่า "ให้กำลังใจ" พอคลิกอ่านเมล์ ปรากฏว่าด่ารุนแรง ก็น่าสนใจดีค่ะ

หลักสูตร EIL นี้ เป็นหลักสูตรนานาชาติ ดิฉันไปช่วยเป็นภาระงานเพิ่มเติมจากภาระงานปกติ ที่จริงไม่ได้อยากสอนเลย แต่เนื่องจากในบางช่วงก็ขาดอาจารย์ ก็ต้องช่วยกันค่ะ เรื่องข้อสอบหาย ดิฉันก็รู้สึกแย่มากๆ

เงินทองหาย ยังไม่เท่าคำตอบข้อสอบนิสิตหายเลย เพราะเรารู้ว่ามันสำคัญแค่ไหนกับนิสิต เป็นครูมา ๙ ปี ทุกการสอบมีแต่ครูอยากให้มันผ่านไปไม่มีปัญหา นิสิตขาดสอบคนหนึ่ง เราก็เครียดแล้ว ต้องไปให้อาจารย์ผู้สอนออกข้อสอบใหม่ อำนวยการให้นิสิตได้สอบ สำหรับคนเป็นครู ก็มีเรื่องเครียดอยู่เท่านี้ค่ะ

ดังนั้น หากดิฉันสมควรได้รับโทษตามวินัยอันใดในกรณีดังกล่าว ก็สมควรอยู่ค่ะ แต่ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยนะคะ ไม่ใช่การมาจัดการย้อนหลัง ดิฉันคิดว่าไม่มีระเบียบแบบนี้ เพราะดิฉันรายงานต่อคณะกรรมการทันที แม้จะได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ผู้ใหญ่บางท่านให้ใช้วิธีอื่นแก้ปัญหา แต่ดิฉันเห็นว่าไม่ถูกต้อง ก็ได้ยืนยันรายงานต่อกรรมการบอร์ดหลักสูตรตามตรง มีโทษทางวินัยอะไร ก็พร้อมรับตามความผิดอยู่แล้วค่ะ

แต่ในเมื่อปีที่แล้ว มาจนตอนนี้ไม่มีการดำเนินการทางวินัยอะไร บอร์ดต้นสังกัดที่เกี่ยวข้องก็ต้องได้รับรายงานไปแล้ว ไม่ดำเนินการก็ถือมีความผิด หรือไม่ได้รับรายงาน บอร์ดก็ควรผิดด้วย และกรณีอื่นๆ ในมหาลัยดำเนินการอย่างไร ดิฉันหวังว่าจะไม่มีการเลือกปฏิบัติกับดิฉัน เพียงเพราะดิฉันมีทัศนะร่วมกับคนเสื้อแดง

ไทยอีนิวส์:ที่มีข่าวผศ.ดร.นิรดา สีมากุล รองผู้อำนวยการหลักสูตรฯแสดงความคิดเห็นว่าดร.สุดาไปทำกิจกรรมนอกคณะ อยากให้ชี้แจงด้วย

ดร.สุดา:กรณีอ.นิรดามาชี้แจงว่าเป็นข้อสอบปีที่แล้ว และให้ความเห็นเรื่องการทำกิจกรรมนอกคณะของดิฉันก็มีความคลาดเคลื่อนมาก ดิฉันได้ท้วงติงอาจารย์ไปหลายเรื่องว่า อาจารย์นิรดาเป็นอาจารย์ที่สถาบันภาษา ไม่ใช่คณะอักษรฯ รู้ได้อย่างไรว่าดิฉันเอาเวลางานไปทำกิจกรรมข้างนอก กิจกรรมอะไร ดิฉันก็งงอยู่ เพราะดิฉันไปทำรายการวิทยุชุมชนวันเสาร์อาทิตย์ หรือตอนค่ำๆ การไปออกรายการโทรทัศน์ ก็เป็นเรื่องปกติ อาจารย์ท่านใดๆ ก็รับเชิญไปออกได้ และก็ไม่ได้บ่อยเท่าไร

อาจารย์นิรดาเป็นรองผู้อำนวยการหลักสูตรในสมัยเดียวกับที่ดิฉันเป็นรองผู้อำนวยการหลักสูตร ดิฉันก็แปลกใจที่อาจารย์เขาให้สัมภาษณ์เกินบทบาทหน้าที่ของเขาหลายประเด็น แต่ได้รับการยืนยันจากอ.นิรดา ว่าหลายเรื่องอาจารย์ไม่ได้พูดดังในข่าว นี่ก็แสดงให้เห็นการบิดเบือนข้อมูลของสื่อนี้

สัปดาห์นี้ดิฉันจะติดต่อขอเข้าพบคณบดีเพื่อเรียนชี้แจงเพราะข่าวได้สร้างความเสียหายให้กับองค์กร ก็ต้องรอฟังค่ะ

ไทยอีนิวส์:กรณีที่สื่ออย่างผู้จัดการนำเสนอข่าวเพื่อหวังโจมตีนักวิชาการที่ร่วมกับเสื้อแดงสะท้อนถึงอะไร?

ดร.สุดา:สิ่งที่อยากบอกสังคมคงจะต้องใช้เวลาในการเรียบเรียง ตั้งใจจะเขียนบทความชำแหละวิธีการใช้ภาษาทำลายชื่อเสียง โจมตีบุคคลของสื่อประเภทนี้ โดยส่วนตัวดิฉันเป็นผู้สนับสนุน free speech ไม่ต้องการให้มีการไปปิดสื่อนั้นสื่อนี้ โดยฝ่ายการเมืองที่เรืองอำนาจ

ดิฉันสนับสนุนการดำรงอยู่ของทุกสื่อ แต่ไม่สนับสนุนการกุมอำนาจสื่อของรัฐ อยากเห็นเสรีภาพสื่อแบบอเมริกามากกว่า ให้คลื่นวิทยุโทรทัศน์ และมีการแข่งขันเสรี และอยากให้คลื่นวิทยุโทรทัศน์เป็นของเอกชนให้มากที่สุดหรือทั้งหมด

เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็หมายความว่าสื่อเสนออะไรผิดข้อเท็จจริง เราต้องฟ้องร้องเอาเองแบบอเมริกา ไม่รู้จะฝันไกลไปหรือเปล่า เพราะเมื่อเจอกับตัวเอง แค่นึกถึงการขึ้นศาลยังเหนื่อยเลย เอาเข้าจริงก็ไม่รู้ว่ามันเป็นไปได้หรือไม่ค่ะ

ข้อสังเกตเบื้องต้นของการใช้ภาษาในข่าวชิ้นแรกของเขาคือ เขารายงาน"ข่าวลือ" ดังนั้นเขาอาจอ้างว่าไม่รับผิดชอบต่อความจริงเท็จ เหมือนการเขียนคอลัมน์ซ้อเจ็ด แล้วก็จะมีคนมาแสดงความเห็นชี้นำไปในทิศทางที่ต้องการ ในกรณีของดิฉัน ชัดเจนว่าส่วนใหญ่โจมตีเรื่องการมาร่วมกับเสื้อแดง ไม่ใช่เรื่องข้อสอบหายสักเท่าไหร่

ไทยอีนิวส์:อยากบอกอะไรกับสังคมบ้างจากกรณีนี้

ดร.สุดา:ฝากเรียนผ่าน thaienews ว่าดิฉันไม่ได้ท้อใจค่ะ คิดว่าจะตั้งใจทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมวงกว้างให้มากขึ้นเสียด้วยซ้ำ

ที่ผ่านมายังทำงานให้ประชาชนไม่มากพอ สังคมไทยต้องมี free speech (เสรีภาพในการพูด การแสดงความคิดเห็น) เว็บที่สนับสนุนเสรีภาพทางความคิดอย่างคนเหมือนกัน หรือเป็นสื่อทางเลือกอย่างประชาไท และเสนอข่าวด้านอื่นๆ ที่กระแสหลักละเลยอย่าง thaienews ต้องมีที่อยู่ที่ยืนในสังคมไทย

สื่อผู้จัดการก็ไม่ได้ก่อผลเสียหายไปเสียทั้งหมด วิธีหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาสื่อเลวๆ คือติดอาวุธทางการวิเคราะห์แยกแยะให้กับประชาชน และเพิ่มกลไกการช่วยเหลือด้านการร้องเรียนให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการการให้ความยุติธรรมแก่ผู้เสียหายจากสื่อ

ในฐานะนักภาษาศาสตร์ ดิฉันเห็นว่าสังคมไทยที่อาศัยวิธีการสื่อสารด้วยข่าวลือเป็นผลมาจากการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารของรัฐไทย หรือพูดให้ชัดตามแนวการวิเคราะห์สังคมของคนเสื้อแดงคือ รัฐอำมาตย์ไทยนั่นเอง

นักภาษาศาสตร์ควรถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องตีแผ่ความจริงอันเกี่ยวเนื่องกับปัญหาสังคมนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร ในโลกปัจจุบันที่มีการหลั่งไหลของข้อมูลข่าวสาร จากผลของวิทยาการเทคโนโลยีการสื่อสารรวดเร็วและทะลุทะลวงทุกพื้นที่