WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, July 15, 2010

เปิดคำร้องอัยการสูงสุด ยื่นศาลรธน.สั่งยุบปชป. กรณีเงินบริจาค 258 ล้านของทีพีไอ

ที่มา มติชน

ที่มา - สรุปจากคำร้องจำนวน 62 หน้าที่อัยการสูงสุดยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ขอให้พิจารณาวินิจฉัยยุบพรรคประชาธิปัตย์ และเพิกถอนสิทธิทางการเมืองนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค


ข้อกล่าวหามีประเด็นที่ต้องพิจารณา 5 ประเด็น


1.มีการจ่ายเงินจากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ให้บริษัท เมซไซอะ บิซิเนส แอนด์ ครีเอชั่น จำกัด จริงหรือไม่

-ในประเด็นนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พิเคราะห์แล้วเห็นว่ามีการจ่ายเงินจากบริษัท ทีพีไอฯ ให้บริษัท เมซไซอะฯจริง ปรากฏตามพยานหลักฐานการสั่งจ่ายเช็คตามรายการธุรกรรมทางการเงินจำนวน 27 ครั้ง ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2547 ถึงกุมภาพันธ์ 2548 เป็นเช็คเคลียริ่ง 27 ฉบับ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 263,151,000 บาท

2.การทำสัญญาจ้างระหว่างบริษัท ทีพีไอฯ กับบริษัท เมซไซอะฯ ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

-ในประเด็นนี้ กกต.พิเคราะห์แล้วเห็นว่า มีการทำสัญญาจ้างผลิตสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ระหว่างกันจริง จำนวน 8 สัญญา 8 โครงการ มีนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ลงนามในนามบริษัท ทีพีไอฯเพียงผู้เดียว โดยไม่มีพยานลงนามในสัญญา ส่วนนายประจวบ สังขาว ในฐานะคู่สัญญาได้ยอมรับว่าเป็นนิติกรรมอำพรางระหว่างกัน มีผลให้การกระทำของนายประชัยไม่ผูกพันบริษัท เนื่องจากผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัทในห้วงเวลานั้นจะต้องเป็นกรรมการบริหารของบริษัท 2 ใน 9 คน การกระทำของนายประชัยจึงเป็นการมิชอบ สัญญาที่ทำจึงเป็นสัญญาที่ไม่ชอบตามกฎหมาย

3.บริษัท เมซไซอะฯดำเนินกิจกรรมตามสัญญาจ้างทั้ง 8 โครงการจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงการทำนิติกรรมอำพรางตามข้อกล่าวหา

-จากข้อมูลเอกสารของธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต พบว่ามีการโอนเงินให้กับกลุ่มบุคคลต่างๆ เป็นเงินทั้งสิ้น 278,166,125 บาท ประกอบด้วย

ก.กลุ่มนายประจวบ สังขาว และเครือญาติ หรือกลุ่มบุคคลใกล้ชิดกับนายประจวบ รวม 155,617,800 บาท การถอนเงินสดและโอนเงินไปให้ยังกลุ่มบุคคลดังกล่าวเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเบิกเงินสดแล้วนำเงินสดที่เบิกมามอบให้นายประจวบ เพื่อรวบรวมเงินทั้งหมดไปมอบให้กับกลุ่มผู้บริหารพรรคประชาธิปัตย์ ณ ที่ทำการพรรค

ข.กลุ่มนายธงชัย คลศรีชัย บุคคลใกล้ชิดนายธงชัย หรือนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รวม 33,728,000 บาท

ค.กลุ่มบุคคลใกล้ชิดนายนิพนธ์ บุญญามณี รวม 46,404,620 บาท

ง.กลุ่มประกอบการ ได้แก่ บริษัท ห้าง ร้าน และบุคคลที่น่าเชื่อว่าเป็นการทำธุรกรรมทางการค้าจริงกับบริษัท เมซไซอะฯ ซึ่งส่วนนี้มียอดเงินทั้งสิ้น 42,425,705 บาท โดยนายประจวบ สังขาว ให้การยืนยันว่านำเงินจากบริษัท ทีพีไอฯมาจ้างบริษัทห้างร้านเหล่านี้ทำป้ายหาเสียงให้กับพรรคประชาธิปัตย์

จากการตรวจสอบข้อมูลทางภาษีและระบบบัญชี การทำสัญญาจ้างทำของระหว่างบริษัท ทีพีไอฯ กับบริษัท เมซไซอะฯ มีข้อน่าสังเกต ดังนี้

-ยอดขายของบริษัท เมซไซอะฯไม่สอดคล้องกับข้อมูลตามแบบ ภ.ง.ด.53 ของบริษัท ทีพีไอฯ และข้อมูลซื้อไม่สัมพันธ์กับการจ้างทำของ จึงมีพิรุธในทางภาษี

-จำนวนพนักงานและเครื่องมืออุปกรณ์ในระบบบัญชีของบริษัท เมซไซอะฯ ไม่สามารถจัดทำงานในวงเงินตามสัญญาจ้างได้

-กรมสรรพากรยืนยันไม่มีการซื้อสินค้าหรือบริการระหว่างกันจริงระหว่างบริษัท เมซไซอะฯ กับบริษัท ชัยชวโรจน์ จำกัด บริษัท พีจีซี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และ หจก.สินวัฒนา เอเชีย เอนเตอร์ไพรส์

-จากหลักฐานทางระบบบัญชี และแบบ ภ.ง.ด.53 บริษัท เมซไซอะฯรับเงินจากบริษัท ทีพีไอฯ และนำไปจ่ายให้บริษัททั้ง 3 ราย จำนวน 90 ล้านบาทนั้น เมื่อตรวจแล้วไม่ปรากฏในรายงานฐานะทางการเงินและระบบบัญชีของบริษัท เมซไซอะฯ ว่ามีการจ่ายเงินให้กับ 3 บริษัทแต่อย่างใด และเจ้าหน้าที่สรรพากรรายงานต่อกรมสรรพากรว่าบริษัททั้ง 3 ไม่มีการประกอบการจริง ปรากฏผู้มีรายชื่อผู้ออกใบกำกับภาษีไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประเด็นความผิดชัดเจน

กกต.พิเคราะห์แล้วเห็นว่า บริษัท เมซไซอะฯ มีการดำเนินกิจกรรมตามสัญญาจ้างเพียงบางรายการเป็นส่วนน้อย โดยส่วนใหญ่เป็นนิติกรรมอำพราง มีการประกอบการจริงประมาณ 42 ล้านบาท นายประจวบ สังขาว ให้การว่า ทำโฆษณาให้บริษัท ทีพีไอฯจริงๆ ในราวเดือนกรกฎาคม 2547 ประมาณ 10 กว่าล้านบาท เป็นป้ายบิลบอร์ดในภาคใต้ 5 ล้านบาท กทม.และปริมณฑลอีก 5 ล้านบาท

4.พรรคประชาธิปัตย์ได้รับประโยชน์จากกรณีที่บริษัท ทีพีไอฯโอนเงินผ่านบริษัท เมซไซอะฯ หรือไม่ อย่างไร

-จากข้อเท็จจริง กกต.พิเคราะห์แล้วเห็นว่า บริษัท เมซไซอะฯได้ใช้เงินจากบริษัท ทีพีไอฯ ไปจัดทำป้ายหาเสียงให้พรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่พฤศจิกายน 2547 เป็นต้นมา และพรรคได้รับประโยชน์จากการทำป้ายหาเสียง โดยใช้เงินจากบริษัท ทีพีไอฯ ผ่านบริษัท เมซไซอะฯ และนายธงชัย คลศรีชัย มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด และกระทำการในลักษณะตัวแทนเชิดของนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ ในฐานะเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์

5.พรรคประชาธิปัตย์ได้กระทำผิดหรือไม่ หากพรรคกระทำผิดต้องรับโทษใด

-จากข้อเท็จจริงตามประเด็นที่ 1-4 กกต.พิจารณาแล้วเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์มีส่วนรู้เห็นและได้รับประโยชน์จากเงินที่บริษัท ทีพีไอฯได้โอนผ่านบริษัท เมซไซอะฯ โดยทั้ง 2 บริษัทดังกล่าวร่วมกันทำนิติกรรมอำพรางผ่านสัญญาว่าจ้างทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้บริษัท ทีพีโอฯ ทั้งประโยชน์จากการทำป้ายโฆษณาหาเสียงเลือกตั้ง เพื่อใช้ในการเลือกตั้ง ส.ส. และประโยชน์อื่นใดที่เชื่อได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับผ่านบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพรรค และจากข้อเท็จจริงในการสอบสวนพบว่ากรรมการบริหารพรรคหลายคนมีส่วนรับรู้ถึงการกระทำดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัท ทีพีไอฯ เป็นบริษัทมหาชนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เงินของบริษัทที่จ่ายผ่านบริษัท เมซไซอะฯ จึงเป็นเงินที่ได้จากการระดมทุนของประชาชนผู้ถือหุ้น และจากการประกอบกิจการของบริษัท ดังนั้น หากมีการดำเนินการที่มิชอบ โดยการลงนามมิได้กระทำโดยผู้มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการนำเงินจำนวนมากของบริษัทออกมาใช้จ่ายโดยมิได้เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการตามปกติวิสัยทางการค้าของบริษัท อาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและความมั่นคงภายในประเทศ

รวมทั้งการที่พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่ที่จัดตั้งมาเป็นเวลานานควรต้องทราบถึงข้อกฎหมาย และระเบียบปฏิบัติต่างๆ โดยควรที่จะดำเนินการด้วยความโปร่งใส สุจริต ตามระบอบประชาธิปไตย กลับมีพฤติการณ์หรือรู้เห็นและหาประโยชน์โดยตรงจากการปกปิดซ่อนเร้น ในการรับบริจาคดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินหรือประโยชน์อื่นใดที่พรรคประชาธิปัตย์ได้รับได้นำไปใช้ในการเลือกตั้ง และการที่ไม่เปิดเผยการรับบริจาคดังกล่าว ส่อเจตนาว่าจะมีการนำเงินนั้นไปใช้ในทางที่มิชอบ ประกอบกับในช่วงดังกล่าวเป็นช่วงของการเลือกตั้งซึ่งพรรคการเมืองทุกพรรคต้องใช้จ่ายภายในวงเงินที่ กกต.กำหนด ซึ่งการได้รับเงินหรือประโยชน์อื่นโดยไม่เปิดเผย อาจทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างพรรคและผู้สมัครรับเลือกตั้ง และทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตเที่ยงธรรม จึงอาจถือได้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

นอกจากนั้น การรับบริจาคโดยไม่เปิดเผยชื่อผู้บริจาครวมทั้งไม่ได้ดำเนินการจัดทำบัญชีการรับบริจาคให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายและขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน รวมทั้งอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐเนื่องจากพรรคการเมืองเป็นองค์กรทางการเมืองที่สำคัญ และมีส่วนใช้อำนาจรัฐ ทั้งอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติ ดังนั้น หากพรรคการเมืองได้รับบริจาคโดยมิชอบและไม่เปิดเผยขาดความโปร่งใส อาจทำให้เกิดการก้าวก่ายแทรกแซงหรือใช้อิทธิพลใดๆ จากผู้บริโภค ซึ่งมีผลต่อการกำหนดนโยบาย และการดำเนินการใดๆ เพื่อใช้อำนาจรัฐในทางที่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้บริจาคโดยมิชอบ ซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นคงภายในของรัฐ และกระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนได้

ดังนั้น กรณีนี้จึงถือได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 66 (2), (3) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 และมาตรา 94 (3) และ (4) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 ซึ่งถือเป็นเหตุแห่งการยุบพรรค และนายทะเบียนพรรคการเมืองโดยความเห็นชอบของ กกต.ต้องดำเนินการตามมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 และมาตรา 95 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 เพื่อแจ้งต่ออัยการสูงสุด ให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ต่อไป

ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญได้เคยมีวินิจฉัย ที่ 18/2550 เรื่องพิจารณาที่ 29/2549 ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2550 กรณียุบพรรคธัมมาธิปไตย โดยศาลรัฐธรรมนูญได้วางแนวทางการวินิจฉัยไว้ว่าแม้การกระทำผิดจะอยู่ระหว่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มีผลใช้บังคับ แต่หาก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 ที่เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในภายหลังมิได้บัญญัติให้มีผลแตกต่างกัน จนทำให้ไม่เป็นเหตุยุบพรรคการเมืองในเหตุเดียวกันได้ ศาลรัฐธรรมนูญสามารถที่จะใช้บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 พิจารณาวินิจฉัยคดีได้


กกต.ได้ประชุมพิจารณาแล้วมีมติ ดังนี้

ข้อกล่าวหาที่ 1 กรณีกล่าวหาว่า พรรคประชาธิปัตย์รับบริจาคเงินจากบริษัท ทีพีไอฯผ่านบริษัท เมซไซอะฯ จำนวน 258 ล้านบาท โดยทำสัญญาว่าจ้างทำสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ตามโครงการต่างๆ เป็นนิติกรรมอำพรางเพื่อหลีกเลี่ยงการรายงานการรับบริจาคเงินตามที่กฎหมายกำหนด อันอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 66 (2) และ (3) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 และ มาตรา 94 (3) (4) และ (5) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550

ที่ประชุมมีมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากให้นายทะเบียนพรรคการเมืองแจ้งต่ออัยการสูงสุดพร้อมด้วยหลักฐาน เพื่อให้อัยการสูงสุดยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ต่อไป ตามมาตรา 95 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 นายทะเบียนพรรคการเมืองจึงส่งพยานหลักฐานพร้อมสำนวนการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวข้างต้นมาให้อัยการสูงสุดพิจารณาดำเนินการยื่นคำร้อง อัยการสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่าพยานหลักฐานยังไม่สมบูรณ์เพียงพอ จึงตั้งคณะทำงานร่วมดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติมจนแล้วเสร็จ และมีมติว่าได้ข้อยุติให้อัยการสูงสุดยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญต่อไป

ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 มาตรา 63 รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 68, 236 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 20, 65, 66(2) (3), 67 และ 69 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 17, 44, 94(3), (4), (5), 95, 97 และ 98 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มาตรา 10 ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2549 ข้อ 3 ดังนี้

1.มีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้อง เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์รับบริจาคเงินจากบริษัทพีทีไอฯ ผ่านบริษัท เมซไซอะฯ เป็นเงิน 263,151,000 บาท โดยทำสัญญาว่าจ้างทำสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ตามโครงการต่างๆ เป็นนิติกรรมอำพราง เพื่อหลีกเลี่ยงการรายงานการรับบริจาคเงินตามที่กฎหมายกำหนดและได้กระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการ ซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

2.มีคำสั่งให้ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารของพรรคประชาธิปัตย์ที่ถูกยุบไป เนื่องจากกระทำการตามมาตรา 66 ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี

3.มีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ตามบัญชีรายชื่อท้ายคำร้องมีกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้ยุบพรรค เนื่องจากขณะเกิดเหตุที่เป็นผู้มีส่วนร่วม รู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย หรือทราบถึงการกระทำดังกล่าวแล้วมิได้ยับยั้ง หรือแก้ไขการกระทำดังกล่าว ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 98