WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, July 17, 2010

อวสานประชาธิปัตย์ ?

ที่มา มติชน

โดย ประสงค์ วิสุทธิ์

ได้อ่านคำร้องคดีที่อัยการสูงสุดยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์กรณีการรับเงินจากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) จำนวน 258 ล้านบาทในลักษณะนิติกรรมอำพรางผ่าน บริษัทเมซไซอะ บิซิเนส แอนด์ ครีเอชั่น จำกัดแล้ว เห็นว่า ชะตาของพรรรคการเมืองเก่าแก่แห่งนี้อาจถึงกาลอาสานในอนาคตอันใกล้เพราะมีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานค่อนข้างแน่นหนา


คำร้องดังกล่าวแบ่งการพิจารณาออกเป็น 5 ประเด็นคือ


หนึ่ง มีการจ่ายเงินจากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ให้บริษัท เมซไซอะฯจริงหรือไม่


สอง การทำสัญญาจ้างระหว่างบริษัท ทีพีไอฯ กับบริษัท เมซไซอะฯ ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่


สาม บริษัท เมซไซอะฯดำเนินกิจกรรมตามสัญญาจ้างทั้ง 8 โครงการให้กับบริษัททีพีไอ จริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงการทำนิติกรรมอำพราง


สี่ พรรคประชาธิปัตย์ได้รับประโยชน์จากกรณีที่บริษัท ทีพีไอฯโอนเงินผ่านบริษัท เมซไซอะฯ หรือไม่ อย่างไร


ห้า พรรคประชาธิปัตย์ได้กระทำผิดหรือไม่ หากพรรคกระทำผิดต้องรับโทษใด


ทั้ง 5 ประเด็นนั้น ในคำร้องของอัยการสูงสุดพยายามเรียงร้อยเชื่อมโยงจนทำให้เห็นว่านายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เลขาธิการพรรคในขณะนั้น(ปี 2547-2548)กับนายธงชัย คลศรีชัย ลูกพี่ลูกน้องของนายประดิษฐ์(เป็น ลูกของนางเยาวลักษณ์ น้องสาวของนายวิศาล ภัทรประสิทธิ์ บิดาของนายประดิษฐ์) เป็นตัวการสำคัญในการรับเงินจำนวน 258 ล้านบาทจากบริษัท ทีพีไอฯโดยใช้นายประจวบ สังขาว กรรมการผู้จัดการบริษัท เมซไซอะฯเป็นตัวกลางทำสัญญา 8 สัญญา(ปลอม)โดยที่ไม่มีการทำธุรกรรมกันจริงเพื่อปกปิดหรืออำพราง


จากนำเงินส่วนหนึ่งไปทำป้ายหาเสียงให้กับ ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ประมาณ 42.4 ล้านบาท


อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐาน(ในคำร้อง)ว่า เงินอีกนับร้อยล้านบาทหายไปไหน(เข้ากระเป๋าใคร?) เพราะเมื่อมีการนำเงินจากของทีพีไอฯโอนเข้าบัญชีของบริษัทเมซไซอะฯแล้ว มีการกระจายเงินทั้งในรูปเงินสด-เช็คไปยังบุคคลต่างๆ 4 กลุ่มคือ


กลุ่มนายประจวบ สังขาวกรรมการผู้จัดการบริษัท เมซไซอะฯ และเครือญาติ และคนใกล้ชิด ประมาณ 155.6 ล้านบาทซึ่งนายประจวบอ้างว่า มีการถอนเป็นเงินสดๆไปให้กับผู้บริหารพรรคประชาธิปัตย์


กลุ่มนายธงชัย คลศรีชัย และคนใกล้ชิด 33.7 ล้านบาท


กลุ่มบุคคลใกล้ชิด นายนิพนธ์ บุญญามณี รองเลขาธิการพรรคในขณะนั้น 46.4 ล้านบาท


กลุ่ม บริษัทห้างร้านที่มีการทำธุรกรรมการค้ากับบริษัท เมซไซอะฯจริงประมาณ 42.4 ล้านบาท

พยานหลักฐานที่สำคัญที่สนับสนุนข้อกล่าวหาดังกล่าวได้แก่


1.คำให้การของพยาน ซึ่งนอกจากนายประจวบ สังขาวที่ระบุว่า"นายธงชัย คลศรีชัย" (มีนายประดิษฐเป็นผู้สั่งการ)เป็นผู้จัดการเรื่องเงินที่ได้รับจากทีพีไอฯทั้งหมดแล้ว พยานอื่นๆล้วนให้การที่สอดคล้องต้องกัน


แม้แต่พยานซึ่งเป็นคนใกล้ชิดนายธงชัยเองคือนางพัชราภรณ์ ถิรเลิศพานิชย์ ซึ่งเป็นดองผ่าน"นายนคร คลศรีชัย"พี่ชายนายธงชัยว่า ได้รับโอนเงินจากบริษัท เมซไซอะฯ 20 ล้านบาทโดยไม่มีมูลหนี้ จากนั้น ได้ทยอยถอนเงินสดครั้งละไม่เกิน 2 ล้านบาท(เพื่อหลีกเลี่ยงการต้องรายงานต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน)คืนให้แก่นายธงชัยจนครบ


2.หลักฐานจากกรมสรรพากรในเรื่องใบกำกับภาษีปลอม 3 บริษัทคือ บริษัทชัยชวโรจน์ บริษัท พีจีซี อินเตอร์เนชั่นแนล และ หจก.สินวัฒนาเอเชีย เอ็นเตอร์ไพร์สที่ออกให้แก่บริษัท เมซไซอะฯเพื่อใช้เป็นหลักฐานเพื่ออ้างว่า บริษษัทเมซไซอะฯมีการทำธุรกรรมกับบริษัททั้งสามในการจัดป้ายหาเสียงให้แก่พรรคประชาธิปัตย์จริง


แต่จากการตรวจสอบพบว่า บริษัททั้งสามไม่มีการทำธุรกรรมใดๆ และยังถูกเพิกถอนการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วย


3.ในการจัดทำป้ายหาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ 50,000 แผ่น มีการใช้เงินจากบริษัททีพีไอฯดำเนินการไปก่อน เมื่อทางพรรคได้รับเงินจากกองทุนพัฒนาการพรรคการเมืองของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) แทนที่จะมาดำเนินการจัดทำป้ายหาเสียงให้ตรงตามวัตถุประสงค์ แต่กลับนำมาจ่าย ให้กับบริษัท เมซไซอะ ฯ 23,314,200 บาท และให้บริษัท เมซไซอะฯ ออกใบเสร็จ(ปลอม?)ให้กับพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อเป็นหลักฐานแสดงการใช้จ่ายเงินรายงานแก่ กกต.


จากนั้นนายประจวบได้โอนเงิน 23 ล้านบาทเศษไปยังบุคคลกลุ่มต่างๆ แล้วให้บุคคลดังกล่าวถอนเป็นเงินสดมอบกลับคืนให้กับนายธงชัย คลศรีชัย


จากข้อเท็จจริงข้างต้นอาจสรุปได้ว่า เงินจากกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง แทนที่จะนำไปใช้ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ตามที่แจ้ง กกต.กลับนำเข้ากระเป๋าส่วนตัว?


น่าเสียดายที่ กกต.ใจเร็วขาดความรอบคอบ ถ้ารวมคดีการใช้เงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง 29 ล้านบาทเข้ากับคดีนี้และเชื่อมโยงให้เห็นว่า มีการนำเงินจากกองทุนเพื่อพัฒนาพรรคการเมืองเข้ากระเป๋าส่วนตัวของผุ้บริหารพรรคได้


ชะตากรรมของพรรคประชาธิปัตย์คงริบหรี่เต็มที