ที่มา บางกอกทูเดย์ อสส.ส่งไม้ต่อให้ศาลรัฐธรรมนูญ แต่รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ ยังสามารถที่ยืนหยัดเป็นรัฐบาลอยู่ได้ต่อไป ดังนั้นกรณีเรื่องการยุบพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งก่อนนี้ในช่วงที่กำลังเผชิญหน้ากับการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่แยกราชประสงค์ บรรดาคอการเมืองจำนวนมาก คิดว่าการยุบพรรคประชาธิปัตย์เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่พ้นแน่ๆ แถมกลับจะช่วยให้การเผชิญหน้าทางการเมืองในขณะนั้นลดอุณหภูมิลงได้ด้วย สำคัญที่สุดใครต่อใครล้วนเชื่อกันว่า ด้วยหลักฐานที่ชัดเจนแล้ว การที่จะอธิบายความในเรื่องการตัดสินใจยุบพรรคประชาธิปัตย์ ง่ายกว่าการที่จะพยายามอธิบายว่าทำไมถึงยุบพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้เยอะเลย แต่เมื่อเหตุการณ์เปลี่ยนไป จนกระทั่งมีการสลายการชุมนุม และรัฐบาลอยู่ได้หน้าตาเฉย เรื่องยุบพรรคประชาธิปัตย์พลายซาลงไปด้วย แต่ใครจะคิดว่า ในช่วงที่นายอภิสิทธิ์กำลังคิดว่าท๊อปฟอร์มเต็มที่ กลับปรากฏว่า ในวันที่ 9 ก.ค. ที่ผ่านมา คณะกรรมการร่วมระหว่างสำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.)กับ คณะกรรมการการเลือกตั้งตั้ง (กกต.) เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้มีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ กรณีรับเงินบริจาคจำนวน 258 ล้านบาท จากบริษัท พีทีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ผ่านบริษัท เมซไซอะ บิชิแนล แอนด์ ครีเอชั่น จำกัด ได้มีการประชุมกันเพื่อพิจารณารวบรวมพยานหลักฐานยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้มีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ กรณีรับเงินบริจาคจำนวน 258 ล้านบาท จากบริษัท พีทีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ผ่านบริษัท เมซไซอะ บิชิแนล แอนด์ ครีเอชั่น จำกัด ซึ่งนายวิจิตร วิชัยสาร ประธานคณะทำงานฯ ได้แถลงชัดเจนว่า ที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันว่าสมควรเสนอศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ โดยจากนี้จะเป็นการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารก่อนที่จะนำเสนอต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองก่อนวันที่ 13 ก.ค. ซึ่งเป็นวันครบกำหนดตามที่กฎหมายบัญญัติเอาไว้ ส่วนเรื่องที่คณะทำงานร่วมได้เชิญพยานปากสำคัญมาให้ถ้อยคำเพิ่มเติมอาทิเช่น นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ผู้บริหารบริษัท ทีพีไอโพลีน และนายประจวบ สังข์ขาว ผู้บริหารเมสไซอะ แต่ก็ปรากฏว่าไม่ได้มีการเข้ามาให้ปากคำแต่อย่างใด สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้คณะทำงานจะนำเสนอผลการหารือต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง เพื่อแจ้งต่ออัยการสูงสุดให้ดำเนินการยื่นเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ยุบ พรรคประชาธิปัตย์ต่อไป การเห็นพ้องต้องกันว่าสมควรเสนอศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ ในครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากการที่นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต.ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ได้รับความเห็นกรณีคดีเงินบริจาค จำนวน 258 ล้านบาท และ เงินกองทุนสนุบสนุนพรรคการเมืองจำนวน 29 ล้านบาท ที่พรรคประชาธิปัตย์ถูกกล่าวหาว่าอาจกระทำการเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.พรรคการเมืองจากคณะทำงานของนายทะเบียนพรรคการเมือง ซึ่งที่ประชุม กกต. ได้มีการพิจารณาใน 2 ข้อกล่าวหา โดยข้อกล่าวหาแรก กรณีพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเงินบริจาคจากบริษัททีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ผ่านทางบริษัท เมซไซอะ บิสิเนส แอนด์ ครีเอชั่น จำกัด เป็นจำนวนเงิน 258 ล้านบาท โดยทำสัญญาสื่อว่าจ้างทำสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ต่างๆเป็นนิติกรรมอำพราง เพื่อหลีกเลี่ยงการรายงานการรับบริจาคเงินตามที่กฎหมายกำหนด อาจเข้าข่ายกระทำผิดตามมาตรา 66 ( 2 ) ( 3 ) แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2541 และมาตรา 94 ( 3 ) ( 4 ) ( 5 ) แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2550 ส่วนข้อกล่าวหาที่สอง กรณีมีผู้แจ้งข้อกล้าวหาว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ใช้จ่ายเงินที่ได้รับจากเงินกองทุนสนับสนุนพรรคการเมืองจากสำนักงาน กกต.ให้เป็นไปตามบทบัญญัติตามกฎหมายและการจัดทำการใช้จ่ายและการจัดทำการรายงานใช้จ่ายเงินสนับสนุนพรรคการเมืองไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง ที่ยื่นต่อ กกต.อันเป็นการเข้าข่ายตามมาตาม มาตรา 62 และ 65 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมือง 2541 และมาตรา 82 และ 93 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2550 โดยที่ประชุม กกต.มีมติเอกฉันท์ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ โดยใช้มติเสียงข้างมากแจ้งต่ออัยการสูงสุดเพื่อส่งศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคประชาธิปัตย์ ตามมาตรา 95 ของพ.ร.บ.ประกอบรับธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2550 เรื่องนี้นายอภิสิทธิ์ เครียดหรือไม่ ยังเดาทางไม่ถูก เพราะนายอภิสิทธิ์อาจจะเชื่อมั่นในแบ็คอัพทีหนุนหลังอยู่ก็ได้ แต่ที่แน่ๆบรรดาผู้อาวุโสของพรรค โดยเฉพาะนายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ นั้นค่อนข้างเครียด เพราะคุมทีมทนายความของพรรคด้วยตนเองอย่างใกล้ชิด ล่าสุดก็ได้มีการนำทีมทนายความไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อเข้ารับฟังการดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีแล้ว โดยขั้นตอนก็คือ เมื่อผู้ถูกร้องได้ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาและคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย และผู้ร้องได้ยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายของผู้ถูกร้องแล้ว จากนั้นศาลจะนัดตรวจพยานในวันพุธที่ 28 กรกฎาคมนี้ และไต่สวนนัดแรก 9 ส.ค. สำหรับกระบวนวีธีพิจารณาคดี ของศาลรัฐธรรมนูญ จะมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัย คือ 1. กระบวนการยื่นคำร้องให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ 2. การกระทำของพรรคประชาธิปัตย์ตามคำร้องอยู่ในบังคับตามพ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2541 หรือพ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2550 หรือไม่ 3. พรรคประชาธิปัตย์ใช้จ่ายเงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมืองประจำปี 2548 เป็นไปตามแผนงานที่ขออนุมัติหรือไม่ 4. พรรคประชาธิปัตย์ทำรายการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ถูกต้องหรือไม่ 5. กรณีมีเหตุให้ต้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ กรรมการบริหารพรรคต้องถูกตัดสิทธิและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามพ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2541 หรือประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (คปค.) ฉบับที่ 27 ซึ่งแก้ไขประกาศคปค. หรือตามพ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2550 หรือไม่อย่างไร งานนี้พรรคประชาธิปัตย์ มีลุ้นร้อนๆหนาวๆ ใจเต้นตุ๊มๆต่อมๆไม่เป็นขบวนเลยทีเดียว เพราะแม้แต่นายชวนเอง ก็ยังถึงกับต้องกำชับให้ทีมฝ่ายกฎหมายของพรรคทุกคน ว่าอย่าได้ประมาทเป็นอันขาด เพราะเรื่องนี้เป็นกรณีที่ กกต.มีมติเป็นเอกฉันท์ เราจึงต้องพยายามนำหลักฐานมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ ฉะนั้นดูไปแล้วศึกครั้งนี้เดิมพันใหญ่หลวงนัก... หากหลักฐานต่างๆแน่นจริง จนทำให้ กกต.ต้องมีมติยืนยันว่าสมควรเสนอศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์เช่นนี้ ผู้ที่อยู่หลังนายอภิสิทธิ์ หากช่วยปัดเป่า เคลียร์กรณีนี้ให้เหมือนกับหลายๆเรื่องที่ผ่านมา กระแสเรื่อง 2 มาตรฐานก็จะดังก้องทั้งแผ่นดิน ชนิดที่ไม่จบสิ้นง่ายๆแน่!!! สู้ปล่อยให้พรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ แล้วใช้ชื่อพรรคใหม่ที่เตรียมการเอาไว้เรียบร้อยแล้วยังจะดีเสียกว่า งานนี้ลุ้นระทึกอย่ากระพริบตา!!!
ในภาวะที่ใครต่อใครล้วนเชื่อว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มีกำแพงเหล็กผนังทองแดงระดับมหากาฬให้พิงหลัง จนทำอะไรก็ได้ทุกอย่าง แม้แต่การสลายการชุมนุมจนกระทั่งมีคนตายกว่า 80 คน มีผู้บาดเจ็บร่วม 2,000 คน