ที่มา ประชาไท เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 รัฐบาลพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง วันชาติ ความว่า ด้วยคณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษา และลงมติว่า วันที่ 24 มิถุนายน ย่อมถือว่าเป็นวันชาติ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ดังนั้น ผู้เขียนอยากเล่าเรื่องสั้นสำหรับเรื่องเอกสารในวันประกาศเป็นวันชาติอย่างทางการ กับหนังสือมันสมองของหลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งสองเรื่องเล่า เป็นตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจง่ายในการนำเสนอภาพของเอกสารกับหนังสือ ในฐานะชีวประวัติอย่างหนึ่งว่าถ้าเราพัฒนามันสมองของคนในชาติ เหมือนกับไม่ให้วันชาติถูกลืม ดังนั้น หนังสือ “มันสมอง” เป็นภาพสะท้อนของคู่มือพัฒนามันสมองของคนในชาติ
คำนำสำนักพิมพ์
คำนำ
คำนำสำนักพิมพ์ครั้งที่ 12
คำนำสำนักพิมพ์ครั้งที่ 3
คำนำสำนักพิมพ์ครั้งที่ 2
คำนำสำนักพิมพ์ครั้งที่ 1
ประวัติพลตรี หลวงวิจิตรวาทการ
ประวัติโดยย่อของพลตรี หลวงวิจิตรวาทการ
ข้อความเบื้องต้น
1.มันสมองดี
2.ประโยชน์ของมันสมองที่ดี
3.เหตุที่ทำให้มันสมองของคนเราไม่ดี
4.มันสมองเป็นสิ่งที่เพาะปลูกได้
5.โรงเรียนเพาะปลูกมันสมองในประเทศต่างๆ
6.ตำราเกี่ยวกับการเพาะปลูกมันสมอง
7.วิธีเรียนตามหลักของหนังสือเล่มนี้
บทที่ 1 ความมุ่งหมายและความรู้
บทที่ 2 สัมปชัญญะ (Perception)
บทที่ 3 ความสังเกต (Observation)
บทที่ 4 สมาธิ (Concentration)
บทที่ 5 มโนคติ (Imagination)
บทที่ 6 ความจำ (Memory)
บทที่ 7 ความคิดปลอดโปร่ง (Clear Thinking)
บทที่ 8 การคิดหาเหตุผลให้ถูกทาง (Right Reasoning)
บทที่ 9 ความที่วินิจฉัยถูกต้อง (Good Judgment)
บทที่ 10 ความไหวพริบ (Intuition)
บทที่ 11 การโต้เถียง (Argument)
บทที่ 12 ความฉลาด (Intelligence)
บทที่ 13 การแนะนำตนเอง (Auto-Suggestion)
บทที่ 14 ความชนะตนเอง (Self – Control)
คำตอบแบบฝึกหัดบทที่ 7
คำตอบแบบฝึกหัดบทที่ 8
คำตอบแบบฝึกหัดบทที่ 9
คำตอบแบบฝึกหัดบทที่ 10
คำตอบแบบฝึกหัดบทที่ 11
คำตอบแบบฝึกหัดบทที่ 12
เพื่อไทย
Thursday, July 15, 2010
เล่าเรื่อง “เอกสารในวันประกาศเป็นวันชาติ” และ “หนังสือมันสมอง” ของ “หลวงวิจิตรวาทการ”
“วันชาติ” และวันประกาศอย่างเป็นทางการปรากฏเป็นเอกสาร
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 รัฐบาลพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง วันชาติ ความว่า ด้วยคณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษา และลงมติว่า วันที่ 24 มิถุนายน ย่อมถือว่าเป็นวันชาติ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ด้วยเหตุที่ว่า การปฏิวัติสยาม จากระบอบราชาธิปไตย (สมบูรณาญาสิทธิราชย์) มาเป็นระบอบประชาธิปไตย (อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) เกิดขึ้นโดยคณะราษฎร ในวันและเดือนดังกล่าว เมื่อปี พ.ศ. 2475 คณะรัฐมนตรีจึงกำหนดไว้ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น ซึ่งในบทความของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้กล่าวถึงวันที่ 24 มิถุนา ว่าเคยเป็นและเลิกเป็นวันชาติได้อย่างไรและก็กล่าวถึงตัวบทเอกสารที่กำหนดวันชาติดังกล่าวไว้ด้วย
โดยในบทความนี้ ผู้เขียนเพียงแต่อยากจะเล่าเพื่อเป็นความรู้ทางประวัติศาสตร์แก่สาธารณชน ว่าครั้งหนึ่ง 24 มิถุนายน “ถูกทำให้เป็นและถูกเลิกทำให้เป็น-วันชาติ” ได้อย่างไร เชื่อว่าผู้อ่านทุกคนไม่ว่าจะเห็นด้วยกับข้อเสนอเมื่อสักครู่หรือไม่ คงยอมรับว่านี่เป็นความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจในตัวเอง เรื่องนี้ความจริงถ้าจะเล่าให้ตลอด เป็นเรื่องยาว เช่น ต้องเท้าความถึงความสัมพันธ์ระหว่างคณะราษฎรกับรัชกาลที่ 7 และความสัมพันธ์ภายในคณะราษฎร เป็นต้น จึงขอเล่าสั้นๆ เฉพาะเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง พูดแบบภาษาวิชาการประวัติศาสตร์คือ เล่าแบบไม่มีบริบทหรือมีแต่น้อย
เอกสารที่กำหนดให้ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ คือ "[ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี] เรื่องวันชาติ ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2481"โปรดสังเกตว่าผู้เขียนใส่วงเล็บสี่เหลี่ยมข้างหน้าและหลัง "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี" เพราะถ้าใครไปเปิดดูในราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ลงประกาศนี้ (เล่ม 55 วันที่ 1 สิงหาคม 2481 หน้า 1322) จะพบเรื่องประหลาดมากๆ ว่าประกาศนี้ไม่มีหัวว่าเป็นประกาศประเภทไหน!
ที่ประหลาดมากยิ่งขึ้นคือ ประกาศที่ (ถ้ามองจากปัจจุบัน) น่าจะเป็นเรื่องใหญ่มาก(กำหนดวันชาติ) มีข้อความเพียงเท่านี้ คือ
เรื่องวันชาติ
ด้วยคณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาลงมติว่า วันที่ 24 มิถุนายน ย่อมถือว่าเป็นวันชาติ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศมา ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พุทธศักราช 2481
พ.อ.พหลพลพยุหเสนา
นายกรัฐมนตรี
ตอนที่เห็นประกาศนี้ครั้งแรก ผู้เขียนยืนงงเป็นไก่ตาแตกอยู่หลายนาที เพราะนึกไม่ถึงว่า จะมีข้อความเพียงเท่านี้(1)… และผู้อ่านคงอยากทราบว่า ปรีดี พนมยงค์ สมาชิกคณะราษฎรคนสำคัญ มีความเห็นว่าอย่างไร ปรากฏว่าขณะนั้นปรีดี ซึ่งเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศกำลังอยู่ในระหว่าง "ลาหยุดพักรักษาตัว" ไม่ได้เข้าประชุม (2) ขณะที่ปรีดี หรือ หลวงประดิษฐมนูธรรม ในฐานะมันสมองของคณะราษฎร์ ลาหยุดพักรักษาตัวนั้น ซึ่งผู้อ่านดูข้อมูลบทความของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เพิ่มเติม ก็จะรู้ว่า หลวงวิจิตรวาทการ ก็เป็นผู้เข้าร่วมประชุม ในเรื่องนี้ของ ครม.พระยาพหลฯ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2481และเสนอความคิดเห็นต่อวันชาติด้วย
ทั้งนี้หลวงวิจิตรวาทการ ก็มีฐานะเกี่ยวข้องทางศิลปะเป็นอย่างสูง ในยุคสมัยสร้างชาติ ทั้งการละคร ศิลปะ ต่างๆ ซึ่งผู้เขียนเคยกล่าวถึงไปแล้วในบทความหลายครั้งของผู้เขียน เช่น ภาพยนตร์เรื่องพระเจ้าช้างเผือก แต่ว่าเมื่อยุคสมัยของการเมืองเปลี่ยนไป หมดยุคของคณะราษฎร คือ จอมพล ป. ถูกรัฐประหารไป และต่อมา เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ใน พ.ศ.2501 หลวงวิจิตรวาทการก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เลขาธิการกับที่ปรึกษาหลักของจอมพลสฤษดิ์ (3) รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ คือ คณะกรรมการทำหน้าที่เปลี่ยนวันชาติไป แล้วขบวนการลืมวันชาติ จวบจนกระทั่ง เรารู้ว่าจากยุคสฤษดิ์ สิ้นสุดปี 2506 ต่อมาก็เกิดกลุ่มคนรุ่นใหม่ 14 ตุลา 2516 ต่างๆนานา แล้วปัจจุบันนี้ เมื่อคนยุคดังกล่าว ก็เติบโตเป็นผู้ใหญ่ นั่นคือ เรื่องราวของความทรงจำและช่วงเวลาของประวัติศาสตร์ เหมือนอยู่ในมันสมองของแต่ละคน
ย้อนดูหนังสือมันสมอง กับความทรงจำ
ผู้เขียนเป็นผู้อ่านหนังสือของหลวงวิจิตรวาทการ มาหลายเล่ม (*)ทั้งหนังสือของหลวงวิจิตรวาทการ เป็นแนวคลาสสิคHow to ต่างๆ ซึ่งสมัยตั้งแต่ผู้เขียนใช้คำนำหน้านามว่า “เด็กชาย” โดยเติบโตมาใช้คำนำหน้าว่า “นาย” แล้วต่อมา ผู้เขียนก็รับรู้ถึงการวิจารณ์ผลงานของหลวงวิจิตรวาทการมาเรื่อยๆ รวมทั้งผู้เขียนประเมินตนเอง ก็ไม่สามารถบรรลุถึงสิ่งที่หนังสือสื่อให้พัฒนามันสมองดีก็ตาม สำหรับผู้อ่านสนใจพัฒนามันสมองกับความทรงจำ ก็สามารถติดตามอ่านหนังสือมันสมอง พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2471 และหนังสือกำลังความคิด พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2494 เมื่อหลวงวิจิตรวาทการ กล่าวว่า หนังสือกำลังความคิด เป็นการฝึกสมอง สร้างกำลังความคิด สำหรับผู้ต่อสู้ความเป็นไปในชีวิต และสร้างอนาคตของตน โดยผู้เขียน เน้นร่วมเชิญชวนดูตัวบท สารบัญเนื้อหาในหนังสือ “มันสมอง”
สารบัญ
กระนั้น ถ้าผู้อ่านลองอ่านดูบทสำหรับการแนะนำหนังสือ “มันสมอง” คือ วิชาการอันทรงคุณค่าจากพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ที่จะช่วยเป็นคู่มือในการฝึกสมองของคุณสู่ความเป็นเลิศ เป็นคนฉลาด รอบรู้ มีวิจารณญาณ และเปี่ยมไหวพริบ เพียงคุณสละเวลาให้กับหนังสือเล่มนี้ คุณจะพบเนื้อหาที่เป็นสาระควรแก่การติดตาม ลองทำแบบฝึกหัดที่ท่านผู้ประพันธ์ได้แนะนำไว้ ด้วยความเพียรพยายาม แล้วคุณจะพบความมหัศจรรย์ของวิธีคิดที่จะช่วยพัฒนาสมองของคุณให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนยกตัวอย่างหนังสือมันสมอง เหมือนกับยุคสมัยปัจจุบัน ก็มีหนังสือ How to แนวอัจฉริยะสร้างได้…ที่นิยมอย่างมาก เพราะผู้เขียนตั้งใจเขียนเล่าเรื่องสั้นในบทความนี้ ก็ไม่ใช่ตัดสิน วิจารณ์หนังสือ แค่เล่าให้ผู้อ่านทราบไว้ เนื่องจากถ้าเราเชื่อในอุดมคติของคุณค่าสำหรับหนังสือ How to ก็เป็นตัวอย่างในปัจจุบัน ซึ่งหนังสือ “มันสมอง” เป็นเรื่องของความทรงจำ โดยดูจากการพิมพ์หนังสือเป็นข้อความแนะนำหนังสือ คือ คู่มือฝึกฝนสมองสู่ความเป็นเลิศ ฉลาด รอบรู้ มีสติ วิจารณญาณ เปี่ยมไหวพริบ ปฏิภาณ และความจำเป็นเยี่ยมเมื่อหนังสือยังถูกผลิตพิมพ์ซ้ำต่อเนื่องอันตรงข้ามกับการลืมวันชาติ 24 ในมันสมองของคน ถ้าไม่มีพื้นที่ของการสืบทอดประวัติศาสตร์ ในความทรงจำของคนไทย
ดังนั้น เราเห็นได้ว่าหนังสือมันสมองเป็น How to สำหรับสร้างคน โดยปัจเจกชน เป็นผู้สนใจพัฒนาตนเอง และผู้เขียนเคยเขียนถึงสำนึกของความเป็นชุมชนจินตกรรมของชาติ ว่า สารัตถะของแต่ละชาติ ก็คือ บรรดาปัจเจกของชาติทั้งมวล ต่างมีหลายสิ่งหลายอย่างร่วมกัน และในเวลาเดียวกันต่างก็ร่วมลืมหลายสิ่งหลายไปแล้ว ซึ่งเราต้องสร้างมันสมอง เพื่อเป็นความทรงจำไม่ให้หลงลืมไปเหมือนหนังสือมันสมองของหลวงวิจิตรวาทการ ผู้ร่วมเป็นมันสมองของส่วนหนึ่งสำหรับประกาศวันชาติ
อ้างอิง
(1) สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล 24 มิถุนา เคยเป็นและเลิกเป็นวันชาติได้อย่างไร?
มติชน วันที่ 02 กันยายน พ.ศ. 2546 ปีที่ 26 ฉบับที่ 9307
http://www.crma.ac.th/histdept/archives/viewpoint/thai-02-09-03.htm
(2) เพิ่งอ้าง
(3) รศ.สายชล สัตยานุรักษ์ : ผู้วิจัย ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การสืบทอดและการปรับเปลี่ยนความหมาย "ชาติไทย" และ "ความเป็นไทย"
แนวคิดเกี่ยวกับ"ชาติไทย"และ"ความเป็นไทย"ของ หลวงวิจิตรวาทการ (๑)-(๒)
http://www.midnightuniv.org/midnighttext/0009999888.html
(*) หมายเหตุ: "ขอให้ผู้อ่านของข้าพเจ้าจงเป็นนักทำงาน ขอให้เราสร้างชีวิต สร้างอนาคตของเราด้วยการทำงาน และขอให้การทำงานจงเป็นความผาสุกความสนุก และเป็นเกียรติ ขอให้หนังสือที่อยู่ในมือท่านนี้ จงเป็นเครื่องอุปกรณ์ให้ท่านประสบผลสำเร็จในการงานของท่าน" จากหนังสือ "วิธีการทำงานและสร้างอนาคต" และตัวอย่างผลงานของหลวงวิจิตรวาทการ ด้านวิชาการ คือ ประวัติศาสตร์สากล (12 เล่ม) ประชุมพงศาวดารฉบับความสำคัญ (8 เล่ม) ศาสนาสากล (5 เล่ม) วิชชาแปดประการ มหาบุรุษ มันสมอง ความฝัน พุทธานุภาพ กุศโลบาย กำลังใจ กำลังความคิด ฯลฯ เป็นต้น