WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, January 29, 2011

จาตุรนต์ ฉายแสง : ความเห็นต่อข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรฯ

ที่มา ประชาไท

ผมได้เคยให้ความเห็นไว้ว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “กลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติ” และกลุ่มพันธมิตรในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาเป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้ามละเลยได้ มาถึงเวลานี้ก็ชัดเจนแล้วว่าการเคลื่อนไหวนี้กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ทั้งต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและต่อสถานะและเสถียรภาพของรัฐบาลไทยเองอย่างที่หลายฝ่ายอาจคาดไม่ถึงมาก่อน

ล่าสุดกลุ่มพันธมิตร นำโดยพลตรีจำลอง ศรีเมืองได้เสนอข้อเรียกร้อง 3 ข้อให้รัฐบาลดำเนินการภายใน 2 วัน มิฉะนั้นก็จะดำเนินการขั้นต่อไป พร้อมทั้งได้ประกาศด้วยว่า ไม่ชนะไม่เลิก (อีกแล้ว) ข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อดั่งที่ทราบกันทั่วไปอยู่แล้วนั้น เป็นข้อเสนอที่รัฐบาลไทย ไม่ว่าใครมาเป็นรัฐบาลก็ไม่ควรทำตาม เพราะเป็นข้อเรียกร้องที่มีแต่จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเสียหายมากยิ่งขึ้น และอาจจะเสียหายมากถึงกับกลายเป็นการกระทบกระทั่งหรือการรบกันระหว่างทหารของทั้งสองประเทศ

ในความเห็นผม สิ่งที่จะเป็นประโยชน์ที่สุดสำหรับทั้งสองประเทศและสำหรับประเทศไทยเองด้วยก็คือ การมีสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้านทุกประเทศรวมทั้งกัมพูชาด้วย การมีความสัมพันธ์ที่ดีควรจะเกิดจากการพยายามของทั้งสองฝ่ายที่จะร่วมมือกันในด้านต่างๆ ให้มากขึ้น ทั้งในด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ฯลฯ ซึ่งทั้งสองประเทศมีศักยภาพที่ดีที่จะร่วมมือกันอยู่แล้ว รวมทั้งยังมีพื้นฐานที่ดีจากการที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลและประชาชนของทั้งสองประเทศได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีไว้แล้วด้วย รัฐบาลไทยก่อนการรัฐประหารเมื่อปี 2549 เคยมีนโยบายร่วมมือและช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านให้มากๆ ด้วยแนวความคิดว่ายิ่งประเทศเพื่อนบ้านดีขึ้นเท่าไร เราก็ดีขึ้นด้วยเท่านั้น

ผ่านมาเพียง 4-5 ปีเท่านั้น เรากลับกำลังมีปัญหากับกัมพูชามากขึ้นๆ และกำลังมีความพยายามที่จะผลักดันให้ทั้งสองประเทศขัดแย้งกันจนถึงขั้นรบราฆ่าฟันกันไปเสียแล้ว

ปัญหาเขตแดนระหว่างประเทศนั้นควรแก้ด้วยการเจรจาหารือกัน เหมือนอย่างที่เราทำกับประเทศรอบบ้านเราจนมีผลสำเร็จด้วยดีเสมอมาซึ่งก็รวมถึงกัมพูชาด้วย มาถึงตอนนี้วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายรวมทั้งประเทศไทยเองก็คือการเจรจาหารือ ไม่ใช่ใช้กำลังเข้าใส่กัน การยกเลิกเอ็มโอยู ปี 2543 จึงไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้สองประเทศถอยหลังกลับไปสู่ภาวะที่ตึงเครียดและเสี่ยงต่อการที่ปัญหาจะลุกลามบานปลายโดยไม่เป็นประโยชน์ต่อใครเลย

การถอนตัวจากการเป็นกรรมการมรดกโลกก็เป็นสิ่งที่ไทยไม่ควรทำ เพราะจะทำให้เสียโอกาสในการชี้แจงเรื่องราวต่างๆให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย และไทยก็ไม่ได้มีเรื่องปราสาทพระวิหารอยู่เพียงเรื่องเดียวที่ต้องอาศัยคณะกรรมการนี้ เรายังต้องร่วมมือกับนานาประเทศในเรื่องต่างๆอีกมาก ไทยเราจึงควรแสดงความมีวุฒิภาวะที่พร้อมจะร่วมมือแก้ปัญหาต่างๆ อย่างอารยประเทศเขาทำกัน

สำหรับข้อเสนอข้อที่ 3 ที่เสนอให้ทหารไทยผลักดันประชาชนกัมพูชาให้ออกจากพื้นที่พิพาทนั้น ฟังผิวเผินก็อาจหาเหตุผลมาโต้แย้งได้ยาก เพราะหากไม่ทำก็เหมือนกับยินยอมยกดินแดนตรงนั้นให้กัมพูชาไป แต่ความจริงการจะแก้ปัญหานี้ รัฐบาลไทยควรให้หลักการตามที่กำหนดไว้ในเอ็มโอยู ปี 2543 คือต้องใช้การเจรจาหารือบนพื้นฐานของการพยายามร่วมกันแก้ปัญหาอย่างมิตรต่อมิตรด้วยกัน จะดีกว่าการเผชิญหน้ากันด้วยกองกำลังทหารซึ่งอาจจะบานปลายเสียเปล่าๆ

สรุปว่าผมไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรทั้ง 3 ข้อ ไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลไทยจะทำตามข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตร และขอเสนอให้รัฐบาลพยายามแก้ปัญหาด้วยความรอบคอบ พยายามชี้แจงเหตุผลความเป็นมาให้ประชาชนเข้าใจ เคารพสิทธิของประชาชนในการชุมนุมและแสดงความคิดเห็น ไม่ใช้มาตรการหรือวิธีการใดๆ ที่รุนแรงเกินกว่าเหตุต่อประชาชนไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหนก็ตาม

ผมคิดว่าสังคมไทยควรมีการศึกษาทำความเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในกรณีของไทย-กัมพูชากันอย่างจริงจัง เพื่อจะได้มีทางแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม ไม่ไปผสมโรงกับการเคลื่อนไหวที่มีลักษณะคลั่งชาติ ช่วยกันรักษาผลประโยชน์ของประเทศและความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้านไว้บนหลักการที่ถูกต้อง

นอกจากนั้นยังควรช่วยกันติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด บางทีการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรในเรื่องนี้อาจไม่เพียงต้องการให้ไทยกับกัมพูชาขัดแย้งกันมากยิ่งขึ้นเท่านั้น แต่อาจแฝงความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่รุนแรงด้วยวัตถุประสงค์ที่ลึกลับซับซ้อนแบบที่หาเหตุหาผลตามปรกติไม่ได้ก็ได้