WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, January 28, 2011

ประชนชนลุกฮือที่อียิปต์

ที่มา Thai E-News

โดย กองบรรณาธิการ นสพ. เลี้ยวซ้าย

27 มกราคม 2554


ไทย อีนิวส์ ขอขั้นจังหวะความร้อนแรงทางการเมืองไทยด้วยการนำเสนอภาพและข่าว สถานการณ์การลุกขึ้นสู้ที่อียิปต์ ขอบคุณกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เลี้ยวซ้าย สำหรับบทความที่ช่วยทำให้เราเข้าใจสถานการณ์ในอียิปต์ได้ดีขึ้น






ภาพประกอบ The Gazette


หลังจากที่ประชาชนตูนีเซียลุกฮือล้มเผด็จการในกลางเดือนมกราคม วิญญาณเสรีภาพก็แพร่กระจายสู่ประเทศอื่นๆ ในอัฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ในอียิปต์มวลชนออกมาสู้กับตำรวจปราบจลาจลอย่างดุเดือด หลายร้อยคนถูกจับ บางคนเสียชีวิต และขณะนี้เราไม่ทราบว่าจะจบอย่างไร แต่การต่อสู้ของมวลชนแบบนี้ย่อมสร้างความเกรงกลัวกับอำมาตย์ทั่วโลก

ประเทศอียิปต์มีความสำคัญมากในแถบนี้เพราะเป็นประเทศใหญ่ มีประชากรเกือบ 80 ล้านคน มีกรรมาชีพโรงงานและกรรมาชีพภาคบริการจำนวนมากด้วย ทั้งนี้เพราะเกษตรกรรายย่อยถูกผลักออกจากที่ดินไปและมากระจุกในเมืองไคโร เมืองอาเลคซานตรา และเมืองอื่นๆ การเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงาน ซึ่งให้พลังกับการต่อสู้ของชาวตูนีเซีย ยังไม่ปรากฏให้เห็นชัดที่อียิปต์ อาจเป็นเพราะสหภาพเสรีถูกปราบและต้องทำงานกึ่งใต้ดิน อย่างไรก็ตาม เมื่อ ปี 2008 มีการรวมตัวกันและลุกฮือนัดหยุดงานของคนงานสิ่งทอจำนวนมากที่ Mahalla

อียิปต์มีความสำคัญในแง่อื่นด้วย คือเป็นประเทศที่ได้รับเงินสนับสนุนจากสหรัฐสูงเป็นอันดับสองรองจากอิสราเอล การที่สหรัฐสนับสนุนเผด็จการในอียิปต์ ก็เพื่อหวังควบคุมน้ำมันในตะวันออกกลางและคลองซุเอส ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งทางทะเลที่สำคัญ อียิปต์เป็นประเทศที่เชื่อมอย่างใกล้ชิดกับชาวปาเลสไตน์ในแถบกาซา และมวลชนอียิปต์มักจะลุกฮือต้านเผด็จการของตนเองพร้อมกับเรียกร้องเสรีภาพ ให้ชาวปาเลสไตน์

อียิปต์ถูกยึดครองโดยจักรวรรดินิยมฝรั่งเศสและอังกฤษซึ่งพยายามแทรกแซง การเมืองในประเทศนั้นเรื่อยมาจนถึงทศวรรษที่ 50 หลังจากนั้นสหรัฐก็เข้ามามีบทบาท เดิมเมื่ออียิปต์ได้เอกราชจะมีกษัตริย์ปกครอง แต่ถูกกลุ่มทหารหนุ่มโค่นล้มในปี1952 ในที่สุด Gamal Abdel Nasser แกนนำของขบวนการกู้ชาติและล้มเจ้า ก็ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีเผด็จการ Nasser เป็นนักการเมืองเอียงซ้ายชาตินิยม ที่ต่อต้านจักรวรรดินิยมตะวันตก และทุกวันนี้พวก “นิยมนัสเซอร์” ก็มีจุดยืนแบบนั้น แต่ในปี 1970 เมื่อ Nasser เสียชีวิต การเมืองอียิปต์เริ่มเปลี่ยนไปเข้าค่ายสหรัฐอเมริกาและใช้แนวเสรีนิยมกลไก ตลาดซึ่งทำให้คนธรรมดายากจนลงและเดือดร้อน

ผู้นำเผด็จการปัจจุบันของอียิปต์คือประธานาธิบดี Hosni Mubarak ซึ่งเข้ามามีอำนาจในปี ค.ศ. 1981 และครองอำนาจเผด็จการมา 30 ปีผ่านการโกงการเลือกตั้งและการปราบปรามฝ่ายตรงข้าม ในปัจจุบันมีความพยายามที่จะเตรียมลูกชาย Gamal Mubarak เพื่อสืบทอดอำนาจ และตามถนนหนทางมักจะมีภาพขนาดใหญ่ของ Mubarak แต่เมื่อประชาชนลุกฮือมีการฉีกภาพและใช้เท้ากระทืบเพื่อแสดงความไม่พอใจ

ขบวนการประชาธิปไตยในอียิปต์ เริ่มรวมตัวกันในองค์กร Kefaya ในปี 2004 และมีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง องค์กรนี้เป็นแนวร่วมระหว่างฝ่ายซ้ายกับแนว “นิยมนัสเซอร์” โดยที่พรรคอิสลามมีบทบาทน้อย สิ่งที่น่าสังเกตคือในการลุกฮือที่ตูนีเซีย และอียิปต์ปีนี้ ขบวนการอิสลามไม่มีส่วนในการนำ ในอียิปต์พรรค “พี่น้องมุสลิม” เคยเป็นฝ่ายค้านหลักที่ถูกปราบปรามบ่อย แต่ตอนนี้เลือกที่จะประนีประนอมกับรัฐ

การลุกฮือของมวลชนอัฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง เป็นสิ่งที่ให้กำลังใจกับเราได้ มันพิสูจน์ว่ามวลชนในทุกประเทศลุกฮือและเป็นพลังสำหรับประชาธิปไตยได้ แต่เรามีเรื่องเตือนใจด้วย เพราะตราบใดที่มวลชนไม่จัดตั้งทางการเมืองอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะในรูปแบบสังคมนิยมปฏิวัติ ฝ่ายอำนาจเก่ากลับเข้ามาได้เสมอ การต่อสู้ในแถบนี้ยังไม่จบ และจะไม่จบง่ายๆ เราต้องสนับสนุนและให้กำลังใจกับพี่น้องเราจนกว่าเขาจะชนะ