WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, January 28, 2011

หมู่บ้านไม่สงบ

ที่มา มติชน



โดย ปราปต์ บุนปาน

(ที่มา คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 27 มกราคม 2554)

ได้อ่านบทความน่าสนใจ ในหนังสือ "...หมู่บ้าน...ไม่สงบ": ภาพความรุนแรงภาคใต้ในมิติ ชาติ, นานาชาติ และ อนาคต ซึ่งมี อ.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เป็นบรรณาธิการ

บทความแรกชื่อ "นักรบกลับบ้าน : ประสบการณ์จากสมรภูมิ" โดย พันเอกหญิงพิมลพรรณ อุโฆษกิจ

บทความชิ้นต่อมา คือ "ความรุนแรงในภาคใต้กับความคิดของเด็ก : ศึกษากรณีเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ" โดย ซากีย์ พิทักษ์คุมพล

พันเอกหญิงพิมลพรรณทำการเก็บข้อมูลจากนายทหารที่เคยเดินทางไปปฏิบัติราชการในพื้นที่ชายแดนใต้

เมื่อพูดคุยถึงประเด็น "ยกทัพดับไฟใต้อย่างไรไม่ให้แตกแยก"

เจ้าหน้าที่ระดับนโยบายผู้หนึ่งกล่าวว่า เจ้าหน้าที่ต้องไม่ไป "สะกิดหนอง" ของคนที่มีทัศนคติไม่ดีต่อฝ่ายรัฐ แต่ต้องพยายามทำความเข้าใจกับบุคคลเหล่านั้น

"...เราจะเอายังไง เอาเขาตกทะเลเลยไหม ... โดยพฤติกรรมมันต้องอยู่กับเราแต่ว่าความคิดน่ะมันไม่เปลี่ยนหรอกจนกว่าจะตายไป ถ้าบอกว่าคนพวกนี้ที่เราบอกว่ารู้จัก 20 คนเนี่ย เอาให้ตายหมดนี้ ไม่เกิน 5 วัน แล้วเราได้อะไร ถ้าต้องการเป็นพระเอกอย่างนั้นนะ 2 ปีนี้สงบไปแล้ว แต่สงบปีเดียว"

ด้านซากีย์ก็ขึ้นต้นบทความผ่านคำสัมภาษณ์ขอครูผู้หนึ่ง ถึงเหตุผลซึ่งทำให้เขาตัดสินใจย้ายครอบครัวออกจากพื้นที่สีแดง ในจังหวัดปัตตานี

วันหนึ่ง คุณครูลองถามเด็ก ป.6 ในชั้นเรียนว่า "หากวันนี้มีคนมารับสมัครนักรบพลีชีพเพื่อต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ มีใครในห้องนี้จะสมัครบ้าง?"

ปรากฏว่าเด็กผู้ชายร้อยเปอร์เซ็นต์ในห้องต่างยกมือขึ้นพร้อมกัน ทำให้คุณครูตระหนักว่าสิ่งที่ตนเองเฝ้าสอนเด็กกลุ่มนี้มาเป็นเวลาเกือบ 8 ปี ตั้งแต่ชั้นอนุบาล ไม่มีผลอะไรต่อพวกเขาเลย

ครูท่านนี้จึงทำเรื่องขอย้ายตนเองออกมาจากโรงเรียนแห่งนั้น

อย่างไรก็ตาม เนื้อหาในบทความส่วนที่เหลือ ซึ่งทำการเก็บข้อมูลและสัมภาษณ์เด็กนักเรียนในเขตเทศบาลเมือง อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส กลับไม่ได้ทำให้พื้นที่ชายแดนใต้กลายเป็นโลกมืดที่ร้างไร้ความหวังจนเกินไป

ดังความเห็นของเด็กหญิงชาวพุทธคนหนึ่งซึ่งมีผู้ปกครองตกเป็น "เหยื่อ" ความรุนแรง

ซากีย์ถามเด็กหญิงคนนั้นว่า ในสถานการณ์รุนแรง หากมีคนเอาปืนมาให้เธอ เธอจะรับเอาไว้หรือไม่?

เด็กหญิงตอบว่า "ไม่รับ เพราะหนูเชื่อว่าการมีปืนจะสร้างปัญหามากกว่าการไม่มีปืน"

แน่นอนว่ากลุ่มผู้ให้ข้อมูลแก่ผู้วิจัยทั้งสอง คือคนเพียงบางส่วนที่มิสามารถเป็น "ภาพแทน" ของผู้คนทั้งหมดที่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ได้อย่างสมบูรณ์

เช่นเดียวกับการคัดเลือกข้อความจากบทความทั้งคู่มาเผยแพร่ในพื้นที่คอลัมน์นี้ ซึ่งย่อมทำได้เพียงแค่การเลือกสรรเอาบางเสี้ยวอารมณ์ความรู้สึกของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลบางส่วนมานำเสนอ

แต่นี่ก็อาจเป็นอารมณ์ความรู้สึกชนิดหนึ่งที่คล้ายจะจางหายไปจากความรับรู้ของบางเรา

ยามต้องเผชิญหน้ากับข่าวคราวสถานการณ์ไฟใต้ระลอกล่าสุดด้วยอารมณ์ร้อนระอุคุกรุ่น