WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, January 25, 2011

สมศักดิ์ เจียมฯเขียนถึงทองใบ ทองเปาด์

ที่มา Thai E-News


โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ที่มา เฟซบุ๊คสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

หมายเหตุไทยอีนิวส์:บทความนี้มาจากบันทึกในเฟซบุ๊คของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ชื่อบทความเต็มๆคือ "พี่ใบ" คือ "มณี ศูทรวรรณ" ผู้เขียน "โฉมหน้าจักรวรรดิ์นิยม" บทความคู่กับ "โฉมหน้าศักดินาไทย" ใน นิติศาสตร์ 2500 อันลือลั่น ส่วนอีกบทความเป็นเรื่องต่อเนื่องกัน


"พี่ใบ" ถึงแก่กรรมแล้ว ผมคิดว่า น่าจะพอ "เปิดเผย" หรือบอกกันได้ (เผื่อที่ผมทราบมาผิด จะได้มีคนทักท้วง - แต่คิดว่า ไม่น่าจะผิด ดูข้างหน้า) ว่า "พี่ใบ" คือเจ้าของนามปากกา "มณี ศูทรวรรณ" ผู้เขียน "โฉมหน้าจักรวรรดิ์นิยม" ทีตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือ "นิติศาสตร์ 2500" อันลือลั่น

ในหนังสือเล่มดังกล่าว มีบทความที่ชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า "โฉมหน้า.." อยู่ 2 บทความ คือ "โฉมหน้าจักรวรรดิ์นิยม" (สะกดแบบนี้) อยู่ที่หน้า 137-176 ของหนังสือ กับ "โฉมหน้าของศักดินาไทยในปัจจุบัน" อยู่ที่หน้า 356-491

ผู้เขียนบทความแรก ใช้นามปากกา "มณี ศูทรวรรณ" ขณะที่ผู้เขียนบทความหลัง ใช้นามปากกา "สมสมัย ศรีศูทรพรรณ" ซึ่งเราทราบกันดีแล้วว่า คือ จิตร ภูมิศักดิ์

แต่ที่คนทั่วไปไม่ทราบคือ "มณี ศูทรวรรณ" คือ พี่ใบ นี่เอง

ขอให้สังเกตว่า ไม่เพียงแต่ชื่อบทความทีขึ้นต้นเหมือนกัน ("โฉมหน้า") อันที่จริง นามปากกาของคนเขียนทั้งสอง ก็คล้ายกันมาก เรียกได้ว่าเหมือนกันเลยก็ได้ คือ "ศูทรวรรณ" (วรรณะศูทร - คือชนชั้นต่ำสุด บวกกับชื่อต้นแปลว่า "แก้วงามของวรรณศูทร" หรือ "แก้วงามของชนชั้นล่าง") กับ "ศรีศูทรพรรณ" ("ความงามของวรรณะศูทร" หรือ "ความงามของชนชั้นล่าง") อันที่จริง แม้แต่ย่อหน้าขึ้นต้นแรกสุดของงานทั้งสอง ก็คล้ายๆกัน ดังนี้

ย่อหน้าแรกของ "โฉมหน้าจักรววดิ์นิยม" ของ "มณี ศูทรวรรณ":

จักรวรรดิ์นิยมเป็นคำที่เราได้ยินคุ้นหูในระยะนี้ ไม่ว่าจะเป็นในหน้าหนังสือพิมพ์หรือในการอภิปราย ในการพูด ในการชุมนุมสาธารณะ ในสภาของชาติ หรือในวงการกรรมกร เสียงสาปแช่งจักรวรรดิ์นิยมได้ดังขึันอย่างกึกก้องและกังวาฬไกลเช่นเดียวกับเสียงเรียกร้องให้ผู้รักชาติทั้งหลายสามัคคีกัน ผนึกกำลังต่อต้านและขับไล่ให้พ้นจากแผ่นดินไทย


ย่อหน้าแรกของ "โฉมหน้าของศักดินาไทยในปัจจุบัน" ของ "สมสมัย ศรีศูทรพรรณ" (ตัวเอนตามต้นฉบับ):

ในกระแสคลื่นแห่งความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ, การเมือง และวัฒนธรรมในปัจจุบันนี้ สิ่งที่ประชาชนไทยได้ยินและกล่าวขวัญถึงจำเจเป็นปัญหาประจำวันคือ จักรวรรดินิยม (ซึ่งรวมทั้ง นายทุนนายหน้า และ นายทุนขุนนาง ผู้เป็นสมุนของมัน) และ ศักดินา. สถาบันของประชาชนทั่วไป จะเป็นหนังสือพิมพ์ก็ดี, การอภิปรายในที่สาธารณะเช่นท้องสนามหลวง ของจังหวัดพระนครและในบริเวณศาลากลาง หรือตลาดของต่างจังหวัดก็ดี, และแม้ในความเคลื่อนไหวอื่นๆ ของประชาชน เป็นต้นว่า การเดินขบวนก็ดี เสียงที่ดังที่สุดก็คือ เสียงคัดค้านและประนามจักรวรรดินิยมและศักดินา


ผมได้รับการบอกเล่ามาว่า ช่วงนั้น "พี่ใบ" กับจิตร สนิทกันมาก และทั้งคู่ก็ตกลงกันที่จะเขียนบทความ 2 บทความนี้ เพื่อเปิดโปง "โฉมหน้า" ของ "ศัตรูประชาชน" ตามทฤษฎีกึ่งเมืองขึ้น-กึ่งศักดินา ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ฝ่ายซ้ายไทยทุกคนยึดถือกันในขณะนั้น (ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์หรือไม่ ไม่มีข้อยกเว้นในประเด็นนี้)

ความสนิทสนมของทั้งคู่ ดำเนินต่อไปถึงใน "คุกลาดยาว" เมื่อทั้ง "พี่ใบ" และจิตร อยู่ในกลุ่ม "ปีกซ้าย" ของนักโทษการเมืองในนั้น ในระหว่างการดีเบต (ทะเลาะ) ของคนในคุก ที่ "พี่ใบ" เขียนพาดพิงถึงบางส่วน ในหนังสือ "คอมมิวนิสต์ลาดยาว"

ผมเคยถาม "พี่ใบ" ตรงๆว่า ใช่เจ้าของนามปากกา "มณี ศูทรวรรณ" หรือไม่ "พี่ใบ" ไม่ตอบตรงๆว่า "ใช่" แต่หัวเราะแล้วพูดทำนองว่า "ใครบอกคุณนี่?" [หรือไม่ก้อ "คุณไปรู้มาได้ยังไงนี่?"] "อันนี้ความจริงเป็นความลับมากๆนะ" ซึ่งผมถือว่าเท่ากับยอมรับโดยปริยาย

อันที่จริง "พี่ใบ" ยังเล่า "เบื้องหลัง" บางอย่างเกียวกับการทะเลาะในคุกลาดยาว ทีแกไม่ได้เขียนไว้ใน "คอมมิวนิสต์ลาดยาว" ด้วย แต่เรื่องนี้ ผมขอคิดดูก่อนว่าจะเล่าหรือไม่ ยังไง

....................

การเป็นนักสู้เมื่อหนุ่มสาว กับการยังคงเป็น หรือเพิ่งเป็น เมื่อแก่ อย่างไหนสำคัญกว่ากัน? จากประเด็น"ทองใบ ทองเปาด์"ถึงแก่กรรม

(ภาพนักโทษการเมืองในเรือนจำลาดยาว สมัยการกวาดล้างของรัฐบาลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในภาพแถวกลาง คนที่สองจากซ้ายคือทองใบ ทองเปาด์ ส่วนคนที่สามจากซ้ายซึ่งนั่งติดกับทองใบ คือ จิตร ภูมิศักดิ์ (ภาพได้รับการเอื้อเฟื้อจาก http://bit.ly/jit_phumisak))

ที่มา เฟซบุ๊ค

ผมออกจากบ้านทั้งวัน เพิ่งกลับมาเมื่อครู่ ระหว่างอยู่นอกบ้าน ก็ทำธุระเยอะแยะ ตกใจเหมือนกัน ที่เห็นคุณ Oh Arthichart โพสต์ข้างล่างเรื่องกำหนดการสวดศพ "พี่ใบ" ทองใบ ทองเปาด์

ไม่กี่วันมานี้ เพิ่งจะ (ก) มีคนโพสต์ถามผมเรื่องลูกชายแก ยืนยันว่า "พี่ใบ" ไมใช่คอมมิวนิสต์ และผมเขียนอธิบายไปยืดยาวเหมือนกัน

เกี่ยวกับประวัติชีวิตการต่อสู้ ของ "พี่ใบ" และความสัมพันธ์ของแกกับ พคท. และ

(ข)วันก่อนที่ ทนายอานนท์ จะเปิดสำนักงาน ผมยังนึกถึง "พี่ใบ" (มาจากข้อสังเกตของ บ.ก. สมบัติ เรื่อง "อานนท์" เหมือน "ทองใบ" แห่งยุคนี้ ..

ผมยังนึกจะเขียนอะไรให้กับการเปิดสำนักงาน "ราษฎรประสงค์"

โดยอภิปรายประเด็นที่ "พี่ใบ" ในช่วงไม่กี่ปีหลัง มีจุดยืนทางการเมืองที่น่าเสียใจ

สรุปคือ เพิ่งพูดและคิดถึง "พี่ใบ" อยู่หยกๆ .. ตกใจเหมือนกันที่มารู้ว่าแกถึงแก่กรรมแล้ว ...

ไม่ว่าจะอย่างไร ในแง่ของการที่ "พี่ใบ" มีท่าทีทางการเมืองที่ผมไม่เห็น ด้วย และเสียใจ (เช่น กรณีที่ชัดๆ ที่ผมเสียใจมาก คือเมื่อเสื้อแดง เริ่มโจมตี เปรม "พี่ใบ" เขียนใน นสพ.ว่า องคมนตรี เป็นอำนาจในหลวง ดังนั้น การเคลื่อนไหวโจมตี เปรม จะเป็นการเสี่ยงต่อเรื่อง"หมิ่นฯ") แต่ "พี่ใบ" ก็มีบุญคุณกับผม และเพื่อนๆ 6 ตุลามากๆ และก็มีคุุณูปการ กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ในอดีตมาก...

ตอน ที่ผมคิดจะเขียนเรื่อง "พี่ใบ" กรณีทนายอานนท์ เปิดสำนักงานนั้น ผมคิดถึงประเด็นหนึ่งคือ "คนเรา การเป็นนักสู้ เพื่อเสรีภาพ ประชาธิปไตย ในวัยหนุ่ม กับการ ยังเป็นอยู่ หรือเพิ่งมาเป็น ในวัยแก่ อย่างไหนสำคัญ กว่ากัน" ผมมีคำตอบบางอย่างอยู่ วันหลังอยากเขียนออกมาเหมือนกัน (ผมนึกถึงกรณีอย่างเสกสรรค์ ธีรยุทธ ด้วย)

ที่จริง วันนี้ ผมเจอ "อ.ป๊อก" (ปิยบุตร) อยู่เหมือนกัน (ตอนเที่ยงๆ) สงสัย ถ้าไม่ใช่เพราะ อ.ป๊อก เองก็ไม่รู้ ก็คงเพราะเรามัวแต่คุยเรื่องอื่น จน อ.ป๊อก ถ้ารู้ก็ไม่มีโอกาสหยิบเรื่อง "พี่ใบ" ถึงแก่กรรม ขึ้นมาคุย .. (ไม่มีอะไรครับ เล่า เพราะยัง "ช้อค" ไม่หาย เรื่องจู่ๆ กลับมาก็ได้ข่าวนี้)

ผม hurt มากนะ อ่านที่พี่ใบเขียน วิพากษ์ คนที่ออกมาโจมตีเปรม แล้ว ตอนที่แกไปร่วมงานสัมมนา เรื่องกฎหมายหมิ่นฯ ที่นิติ มธ. (กับนิธิ เกษียร) แกบอกว่า ตัวกฎหมายไม่มีปัญหา อยู่ที่การใช้มากกว่า .. เฮ้อ ผมนึกว่า แกจะบอกว่า สนับสนุนให้เลิก ฟังแล้ว hurt มาก เสียดาย วันนั้น เขาไม่ยอมเปิดให้คนฟังพูด ไม่งัน ผมจะไปติงแกเรื่องนี้จริงๆ

การเป็นนักสู้เมื่อหนุ่มสาว กับการยังคงเป็น หรือเพิ่งเป็น เมื่อแก่" อย่างไหนสำคัญกว่ากัน?" อันนี้ "สืบเนื่อง" จากประเด็น ที่ผมเพิ่งเขียนในกรณีข่าวการถึงแก่กรรมของ "พี่ใบ" (ทองใบ ทองเปาด์) คือ หลังๆ ผมคิดเรือ่งนี้บ่อยเหมือนกัน .. สงสัยเพราะตัวเองแก่น่ะ แหะๆ

เปล่าหรอก จริงๆ ผมคิดนี่ไมใช่นึกถึงกรณีตัวเอง เพราะไม่คิดว่า ตัวเองตอนนี้ กับตอน "หนุ่ม" มีความเปลี่ยนอะไรเท่าไร (อาจจะไม่เปลี่ยน จน "ผิดปรกติ" ด้วยซ้ำ คือควรเปลี่ยนมากกว่านี้ตามวัย - ฮา) แต่ผมนึกถึงกรณี ธีรยุทธ, เสกสรรค์ และ ครับ กรณี "พี่ใบ" ด้วย ยิ่งวันก่อน คุณ "บ.ก.ลายจุด" ตั้่งข้อสังเกตเรือ่ง ทนายอานนท์ เหมือน "ทองใบ ทองเปาด์ ยุคนี้" ทำให้ผมคิดมากยิ่งขึ้น

(ภาพ ทองใบ ทองเปาด์ สมัยเป็นนักโทษการเมืองในเรือนจำลาดยาว สมัยการกวาดล้างของรัฐบาลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ภาพนี้ยังเป็นภาพประกอบปกหลังของหนังสือ "คอมมิวนิสต์ลาดยาว" ซึ่งเขาเป็นผู้เขียน หนังสือเล่มดังกล่าวตีพิมพ์เมื่อปี 2517)

ผม คิดว่า คำตอบสำหรับผม คือ บอกไม่ได้ว่า อย่างไหนสำคัญกว่ากัน คือ ผมว่า เราควรยอมรับว่า ต่อให้คนๆหนึ่ง เมื่อแก่แล้ว "เปลี่ยนไป" แทนที่จะยังคงต่อสู้เพื่อเสรีภาพ ประชาธิปไตย เหมือนเมื่อยังหนุ่มยังสาว กลับเลิก

หรือที่แย่กว่านั้นคือ หันไปอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับเสรีภาพ ประชาธิปไตย ก็ตาม .. เราก็ไม่ควรบอกว่า การเป็นนักสู้ของเขา สมัยหนุ่มสาว ไม่มีความสำคัญ หรือสำคัญน้อยกว่า การที่เขาเปลี่ยนไปตอนแก่ ..

คือผมคิดว่า "คุณูปการ" ที่คนๆหนึ่งทำไว้ ในวัยหนุ่มสาว ไม่ว่าจะ "สั้น" เพียงใด ก็ยังคงเป็น "คุณูปการ" ที่อยู่ในประวัติศาสตร์ ที่ควรนับถืออยู่นั่นเอง

อย่างกรณีธีรยุทธ หรือ เสกสรรค์ เป็นต้น คุณูปการของพวกเขาต่อการเคลื่อนไหว 14 ตุลาเป็นอะไรทีเราไม่ควรปฏิเสธ แต่ควรให้ความสำคัญ ยกย่องอยู่นันเอง ไม่ว่าตอนแก่แล้ว พวกเขาจะมีท่าที จุดยืนแย่อย่างไร

ที่ จริง ที่ผมคิดเรือ่งนี้ สาเหตุส่วนหนึ่ง ฟังแล้ว อาจจะแปลก คื่อเมื่อหลายอาทิตย์ก่อน ตอนผมดีเบตกับ บวร ที่ แอบอ้าง ตั้ง "ศนท." ขึ้นมาใหม่ แล้วคุณบวร ก็อ้างความที่ตัวเองเคยเป็นกรรมการ สจม.และ ศนท. มาก่อน ผมยังเขียนไปว่า แม้ว่า คุณบวร ถ้าพูดกันจริงๆ ในแง่บทบาทต่อการลุกขึ้นสู้นั้น ก็ไม่สามารถจะเทียบได้กับกรณี เสกสรรค์ ธีรยุทธ แต่ในฐานะหนึงในกรรมการ สจม. และ ศนท. ที่แม้จะเป็น "กระแสนิยมเจ้า" ในขณะนั้น (ศนท. มีหลายกระแส กระแสนิยมเจ้า นอกจากบวร ก็ได้แก่ สมบัติ อธิการบดี นิด้า ตอนนี้เป็นต้น)

แต่ก็เรียกได้ว่า มีด้านที่ต่อต้านรัฐบาลทหารอยู่ ซึงก็ยังเป็นด้านที่ผมให้ความนับถืออยู่ (แต่ด้านที่นิยมเจ้า ที่ทำให้เกิดเป็นกรณีที่มาคัดค้านเสกสรรค์ ในคืนวันที่ 13 ก็สะท้อนลักษณะด้านลบของกระแสแบบคุณบวร ในช่วงหน้าสิ่วหน้าขวานนั้น)

พูดง่ายๆคือ คนที่เคยมี "คุณูปการ" ต่อการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แล้วเปลี่ยนไป หรือกระทัง ในขณะที่มี ก็ยังไมใช่ มีแบบสุดๆ (อย่างกรณีบวร) เราก็ควรต้องยกย่องความเป็นจริงของคุณูปการของพวกเขาในอดีตอยู่นั่นเอง

สรุปแล้ว การเป็นนักต่อสู้เมื่อหนุ่มสาว กับการเลิกเป็น หรือเพิ่งมาเป็นในวัยแก่ บอกไม่ได้ (ในความเห็นของผม) ว่าอันไหนสำคัญกว่ากัน

แต่ที่บอกได้แน่ๆ คือ การเป็นในวัยหนุ่มสาว นั้น ง่าย กว่าการเป็นในวัยแก่

คง เคยได้ยินคำของฝรั่ง (เชอร์ชิลล์?) เรื่อง "ถ้าอายุ 20 ไม่เป็นนักปฏิวัติ แสดงว่าไม่มีหัวใจ แต่ถ้าอายุ 40 ยังไม่เป็นนักปฏิวัติ แสดงว่า ไม่มีหัว(คิด)" ผมคิดว่า คำพูดแบบนี้... มันสะท้อนความจริงในเรื่องนี้แหละ ว่า การเป็นในวัยหนุ่มสาวนั้น จริงๆแล้ว แม้จะเป็นเรื่องเสียสละ และควรยกย่อง แต่ก็ไมใช่เรืองที่ยาก เพราะอารมณ์ความรู้สึกเร่าร้อนในวัยหนุ่มสาวที่รู้กันดี (คือเป็นวัยที่ "มีหัวใจ") ที่ยากคือ ทำอย่างไร จึงจะยังรักษาจุดยืนเช่นนั้นได้ในอีก 30-40 ปีหลังจากนั้น

ผม จำได้ว่า เคยเขียนเรื่องนี้กับคุณ "สหายดอกหญ้า" ที่ตื่นตัวขึนมาจากการ รปห.19 กันยา ตั้งแต่ยังอยู่ปี 1 จุฬา ว่าผมดีใจมากๆเรื่องที่คนในวัย เขาตื่นตัว ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แต่ก็บอกด้วยว่า ถ้าให้ดีคือ ต้องให้ยาวๆ คือ อีก 30-40 ปีข้างหน้า หวังว่า เขาจะยังรักษาลักษณะเร่าร้อนของการไม่พอใจความไม่ชอบธรรม ทีเป็นอยู่ในขณะนี้ไว้ได้ ...

เพราะ ผมเห็นคนรุ่นเดียวกัน (หรือ "รุ่นพี่" ผมเล็กน้อย - เพราะผมนี่ "จูเนียร์" ที่สุดแล้ว ตอน 6 ตุลา) ที่ "เปลี่ยนไป" ด้วยความเสียใจ (ธีรยุทธ เสกสรรค์ เป็นตัวอย่างทีเด่น ยังมีอีกเยอะ พวกพันธมิตร ที่ตอนนี้ "เชียร์เจ้า" แบบสุดๆ ไม่มีเหตุผล อย่าง "พี่ชัช" (ชัชวาลย์ ปทุมวิทย์ - ตอนนี้ นามสกุล "ชาติสุทธิชัย"), และอีกหลายต่อหลายคน (อ.ชลธิราที่ขึ้นเวที เชียร์จำลอง ระหว่างชุมนุมพันธมิตร ทั้งๆที่ไม่กี่ปีที่แล้ว เพิ่งเป็น "ประธานคณะกรรมการหาความจริง 6 ตุลา" .. ไล่เรียงได้อีกเยอะ ..

และแน่นอน กรณี "พี่ใบ" ด้วย

-สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล-