WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, July 27, 2011

หนังสือที่"ยิ่งลักษณ์"ต้องอ่าน ก่อนเป็นนายกฯ จากบทเรียน 15 ปีของ"วิษณุ เครืองาม"

ที่มา มติชน











ดร.วิษณุ เครืองาม ได้สมญาจากนักข่าวทำเนียบรัฐบาลปี 2548 ว่า เนติบริกร

ดร. วิษณุ นั่งเป็นอยู่ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในตำแหน่งรองเลขาธิการ เลขาธิการ ครม. และรองนายกฯ ยาวนานกว่า 15 ปี

ทำงานกับรัฐบาลมาแล้ว 10 ชุด รับใช้นายกรัฐมนตรีมาแล้ว 7 คน

ไม่ว่าจะเป็น พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ นายอานันท์ ปันยารชุน พล.อ.สุจินดา คราประยูร นายชวน หลีกภัย นายบรรหาร ศิลปอาชา พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำให้เห็นอะไรทะลุปรุโปร่ง

ดร. วิษณุ ลาออกจากตำแหน่ง รองนายกฯ ในรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2549 เว้นวรรคการเมืองนับตั้งแต่นั้นเรื่อยมา

แต่เพราะคำโบราณที่ว่า "นักเลงกลอนนอนเปล่าก็เศร้าใจ " แล้ววันดีคืนดี ดร.วิษณุ ก็ลุกขึ้นมาเขียนหนังสือชุด "เรื่องเล่าจากเนติบริกร"

เล่มแรกที่เผยโฉม วางแผงหนังสือ แล้วคือ โลกนี้คือละคร เนื้อหาในเล่มนี้ มีหลายตอนน่าสนใจ เช่น ศิลปะการทำงานของรัฐมนตรี เรื่องของคณะรัฐมนตรี ว่าด้วยฯพณฯ ทำเนียบรัฐบาล เข็มคณะรัฐมนตรี
................

นับจากวันนี้ นับถอยหลังอีกไม่นาน คณะรัฐมนตรีของ"ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร "จะเผยโฉมหน้า

การเป็นนายกรัฐมนตรีมือใหม่ ที่แบกรับความคาดหวังอย่างมหาศาล ของประชาชนและมวลชน เสื้อแดง

บางที ถ้าได้อ่านคู่มือที่เขียนโดย เนติบริกร ผู้รู้จริง อาจทำให้ รัฐนาวาของ "ยิ่งลักษณ์" ราบรื่น ไม่มากก็น้อย

ตอนหนึ่งที่ ว่าที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ต้องอ่าน หลายรอบคือ "ศิลปะการทำงานของรัฐมนตรี"

เนติบริกรผู้ยิ่งใหญ่ สรุปศิลปะการเป็นรัฐมนตรี ไว้ดังนี้

1. ศิลปะในการใช้คน

คน เป็นผู้นำระดับกระทรวงหรือประเทศย่อมต้องมีสตาฟฟ์ ทีมงาน หรือผู้ช่วยเหลือเป็นธรรมดา การเลือกคนมาช่วยงานนับเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ถ้าเลือกได้ไม่ดีเราก็จะเหนื่อยอย่างเดิม บางทีมาเป็นภาระให้เราต้องอุ้มเสียอีก เลยไม่รู้ว่าใครช่วยใคร

คน มาช่วยงานอาจมาจากวงศาคณาญาติหรือพรรคพวกเพื่อนฝูงฝากฝังมา บางครั้งพรรคการเมืองส่งมา มีบ้างเหมือนกันที่คุณนายที่บ้านส่งมาคุม ถ้าคนเหล่านี้เราไม่ได้เป็นคนเลือกเองก็ควรต้องระวังระยะห่าง ระยะประชิด และมอบงานที่คนเหล่านี้ถนัดให้ทำเป็นเรื่องๆ ไป อย่าให้ไปก้าวก่ายงานอื่นของคนอื่น

ทางที่ดีควรมีหัว หน้าสำนักงานไว้คนหนึ่งเป็นผู้ใหญ่คอยจ่ายงาน ประสานงาน แก้ข้อขัดข้องในการทำงาน และคอยเป็นท้าวมาลีวราชห้ามทัพเวลาสตาฟฟ์ทะเลาะ กันเองจะได้ไม่ขึ้นมาปะทะถึงตัวนายเร็วเกินไป

พวกที่ มาช่วยงานเหล่านี้มีโอกาสจะขัดแย้งกันเองสูงมากเพราะมักแย่งกัน เป็น คนโปรดŽ หรือไม่ก็ความดีความชอบที่นายจะตอบแทน เช่นการให้สองขั้นการตามนายไปนอกก็มีจำกัด นอกจากนั้นต้องระวังประเภทนายไม่ทันใช้แต่ไปชิงทำเองเพราะจะเสียหายมาถึงนาย ได้

ทั้งนี้ มติคณะรัฐมนตรีว่าการที่รัฐมนตรีจะยืมตัวข้าราชการมาช่วยงานต้องไม่เกินซี 8 ต้องไม่ดำรงตำแหน่งบริหาร ถ้าเป็นตำรวจหรือทหารต้องไม่สูงกว่าพันโท นายกฯ ยืมได้ 3 คน รองนายกฯ และรัฐมนตรียืมได้ 2 คน การให้สองขั้นพิเศษต้องให้แก่คนที่มาช่วยงานเกิน 4 เดือน นอกจากนั้นการให้สองขั้นต้องประเมินร่วมกันกับผู้บังคับบัญชา เว้นแต่เป็นโควต้าตำรวจติดตามจึงเป็นสิทธิเฉพาะตัวรัฐมนตรีและให้มีได้คน เดียว

ทั้งต้องไม่ให้สองขั้นติดกันเกินสองปี เพราะไม่เป็นธรรมแก่เพื่อนที่หน่วยงานต้นสังกัดในการไปอยู่กับนักการเมือง แล้วได้สองขั้นบ่อยๆ ขณะที่เพื่อนทำงานหนักกว่า แต่โควต้าสองขั้นมีจำกัดต้องแบ่งๆ กัน ถ้าผิดไปจากนี้ต้องขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี


2 .ศิลปะในการสั่งงาน

รัฐมนตรี มีหน้าที่สำคัญคือการตัดสินใจและสั่งงาน บางครั้งเป็นการสั่งด้วยวาจา บางครั้งสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างนายกฯบรรหารมักจะมีบัญชีรายชื่อสั่งงานคนโน้นคนนี้ยาวเหยียดพก ติดกระเป๋าไว้ พอสั่งเสร็จท่านก็แจกสำเนาแก่ผู้รับคำสั่ง ตัวท่านมีต้นฉบับอีกใบเอาไว้ตามงาน ถ้าสั่งเป็นทางการแล้วต้องสั่งท้ายหนังสือที่เสนอขึ้นมาเป็นลำดับ ซึ่งกรณีนี้เรียกว่า เกษียนสั่งŽ เกษียนก็คือเขียนนั่นเอง

พวก ข้าราชการประจำมักจะจับผิดและเอานายไปนินทาเนืองๆ ว่านายคนโน้นนายคนนี้เกษียนสั่งงานไม่เป็น เรื่องอย่างนี้ก็ไม่เคยเปิดคอร์สสอนกันเสียด้วย จึงควรเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเองและผู้อื่นให้ดี รัฐมนตรีบางคนไม่รู้จะเกษียนสั่งตรงไหนในหน้ากระดาษ บางคนใช้มุมซ้าย บางคนใช้มุมขวา บางคนหาที่ว่างไม่ได้ก็พับหน้ากระดาษที่เสนอแล้วเกษียนข้อความข้างหลัง พอจะถ่ายเอกสารเก็บสำเนาไว้ก็ไม่ติดข้อความที่เกษียนไปด้วย

กลาย เป็นว่ารัฐมนตรียังไม่ได้สั่งอะไรบางทีเกษียนกันมาเป็นทอดๆ เช่น จาก ผอ.ถึงอธิบดี อธิบดีถึงรองปลัดฯ รองปลัดฯ ถึงปลัดฯ ปลัดฯ ถึงรัฐมนตรี ท่านรัฐมนตรีหาที่ว่างไม่ได้ก็ไปเกษียนแทรกระหว่างอธิบดีกับ รองปลัดฯ โดยไม่ได้ใส่เลข 1, 2, 3 , กำกับลำดับไว้เลยยุ่งกันใหญ่ ไม่รู้คำสั่งใครลบล้างใคร

บางคนเกษียนข้อความยาว เฟื้อยเป็นบทความต่อท้ายอีกเรื่องบางคนไม่ได้ สังเกตว่าเขาเสนอขึ้นมาเพื่ออะไรก็เกษียนไปอีกอย่างเช่นปลัดกระทรวงเสนอว่า จึงเสนอมาเพื่อโปรดพิจารณาว่าจะใช้แนวทางที่ 1 หรือ 2 Ž รัฐมนตรีเกษียนว่า ทราบŽ ทีนี้กลายเป็นปัญหากฎหมายสิครับว่ารัฐมนตรีสั่งการแล้วหรือยัง

ปลัด กระทรวงอีกคนเล่าว่ารัฐมนตรีของท่านเกษียนข้อความสั่งราชการอะไรไม่ มีคนเคยเข้าใจว่าจะเอาอย่างไรแน่ ดูแทงกั๊กชอบกล บางทีข้างล่างเสนอขึ้นมาว่า จึงเรียนมาเพื่อโปรดอนุมัติŽ รัฐมนตรีเกษียนว่า คิดดีแล้วหรือ ถ้าคิดดีแล้วก็ทำไปเถอะŽ

อ้อ! ผมเคยเห็นรองนายกฯ คนหนึ่งเกษียนท้ายหนังสือที่ผมเสนอว่า ! จนเดี๋ยวนี้ผมยังไม่รู้ว่าท่านตกใจหรือสงสัย

บาง ครั้งเขาเสนอขึ้นมาเพื่อให้ผ่านเรื่องขึ้นไปถึงนายกฯ ผมเคยเห็นรัฐมนตรีเผลอเกษียนว่า อนุมัติŽ ทั้งที่ไม่ใช่อำนาจอนุมัติของท่านบางท่านมีอารมณ์ขันหรือไม่ก็อารมณ์ค้างมา จากไหนไม่รู้ มีการเกษียนแปลกๆ เช่นอธิบดีคนหนึ่งขออนุมัติไปต่างประเทศ แต่ลงท้ายว่าขอแสดงความไม่นับถือŽ คงจะพิมพ์ผิด

ท่านรัฐมนตรีเกษียนว่า จะนับถือหรือไม่ก็เรื่องของคุณ แต่ที่ขอลาไปนอกนั้น อนุมัติŽ


3. ศิลปะในการทำงานกับข้าราชการประจำ

เรื่อง นี้จะกลับหัวข้อเป็นว่า ศิลปะของข้าราชการประจำในการทำงานกับนักการเมืองŽ ก็ได้ แต่เมื่อเอารัฐมนตรีหรือนักการเมืองเป็นตัวตั้ง ก็ต้องพูดถึงการทำงานกับข้าราชการประจำ ข้าราชการประจำนั้นเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของนักการเมืองจึงมีแนวโน้ม ที่จะปฏิบัติงานตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอยู่แล้ว

ผม เคยสังเกตว่าแม้จะไม่ชอบหน้าอย่างไร แต่ด้วยความเคยชินกับระเบียบวินัยและการมีผู้บังคับบัญชามามากต่อมากแล้ว ย่อมก้มหน้าก้มตาทำงานให้ทั้งนั้นตามประสา สีทนได้Ž อย่างน้อยก็ว่าไปตามกฎเกณฑ์ จะเกียร์ว่างบ้างอะไรบ้างก็ไม่ถึงกับดึงดันแข็งขืนชนิดเถียงไม่ตกฟาก

แต่ นักการเมืองที่ประสบความสำเร็จคือนักการเมืองที่ทำให้ข้าราชการประจำ ยอมทำงานแบบอุทิศเวลาและสติปัญญาเกินกว่าระดับสายงานธรรมดาให้ตนได้ ทั้งเมื่อเห็นว่าผิดหรือน่าจะพลาดก็จะคอยทักท้วง เมื่อเห็นว่ามีทางอื่นที่ดีกว่านี้ก็จะเสนอแนะ

นักการ เมืองนั้นโดยมากจะไม่ซึ้งในกฎระเบียบเรื่องงบประมาณเรื่องอำนาจ หน้าที่ตามกฎหมาย เรื่องการบริหารงานบุคคล เรื่องการพัสดุจัดซื้อจัดจ้าง และเรื่องปลีกย่อยๆ อื่น เช่นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเก่าๆ ตลอดจนพิธีรีตองต่างๆ เว้นแต่จะเคยทำราชการมาก่อน หากนักการเมืองเข้ากับข้าราชการประจำไม่ได้หรือถูก วางยาŽ แล้ว แม้จะมีอำนาจให้คุณให้โทษได้ในภายหลัง บางครั้งก็ไม่มีโอกาสแก้ตัวเสียแล้ว จึงควรรู้จักผูกใจฝ่ายประจำให้ได้เพื่อผลสัมฤทธิ์ในการทำงานร่วมกันตั้งแต่ แรก


สมัยหนึ่งเคยมีคำกล่าวด้วยซ้ำว่าข้าราชการมักให้เวลา รัฐมนตรีสัก พัก ถ้าเข้ากันได้ก็แล้วไป แต่ถ้ารัฐมนตรีเป็นคนอ่อนก็จะครอบงำถ้าอยู่ไปครอบงำไม่ได้และเข้ากันไม่ได้ ก็จะวางยาแล้วหาทางล้มเสียที่จริงพูดอย่างนี้ก็เกินไป ข้าราชการดีๆ ทำงานตรงไปตรงมามีอีกมาก

พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องอย่างนี้ไว้ในหมวดธรรมชื่อ สังคหวัตถุ 4 แปลว่าธรรมอันเป็นเครื่องสงเคราะห์กันสี่ประการ น่าจะเอามาใช้ในความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองกับข้าราชการประจำได้ดังนี้

(1) ทาน คือการให้ ในที่นี้หมายถึงทั้งการให้ตามควรแก่การสมาคม การให้ในสิ่งซึ่งอีกฝ่ายควรได้รับ การให้น้ำใจไมตรี การให้ความรู้ และการให้อภัยเมื่อทำผิด มีพุทธภาษิตว่า ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักŽนักการเมืองหลายคนจึงสละเวลาไปร่วมงานบวชนาค แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ งานศพงานเมรุ งานวันเกิดของผู้ใต้บังคับบัญชา นับว่าเป็นการผูกใจได้อย่างหนึ่ง

คุณสุเทพ เทือกสุบรรณเคยเล่าว่าตอนสมัครเลือกตั้งครั้งแรก ท่านไปงานศพทุกงาน จนพวกลูกหลานผู้ตายประทับใจแม้ไม่เคยรู้จักกันและกลายมาเป็นหัวคะแนนให้ท่าน มาจนบัดนี้ บ่อยครั้งที่การให้รวมถึงการ แจกซองŽ ให้ลูกน้อง ซึ่งก็ยังนับว่าผูกใจผู้ใต้บังคับบัญชาได้ถ้าทำถูกกาลเทศะ เช่นลูกน้องมาลาไปนอกแต่วันนี้ต้องระวังกฎเกณฑ์ของ กกต. และ ปปช. หรือไม่ก็หาว่าเป็นการซื้อข้าราชการไปโน่น!

แต่ ก็ยังนับว่าดีกว่าผู้บังคับบัญชาที่ให้ลูกน้อง ควักŽ อยู่ฝ่ายเดียว ไปตรวจราชการต่างจังหวัดบางทีตัวเบิกได้ก็ให้ลูกน้องออกค่าโรงแรม ค่าอาหาร ค่าพาหนะ บางทีไปต่างประเทศยังต้องมีหัวหน้ารัฐวิสาหกิจในสังกัดตามไปจ่ายเวลานายหรือ คุณนาย ช้อปปิ้งŽ อีกด้วย!


การให้ที่สำคัญน่าจะได้แก่การให้ น้ำใจ การให้ความเป็นธรรมและการให้อภัยมากกว่าอย่างอื่น รวมทั้งการไม่ผูกใจเจ็บ การไม่แค้นเคืองเรื่องเก่าๆ ด้วย


(2) ปิยวาจา คือการพูดจาสุภาพอ่อนโยน อ่อนหวาน ชมในสิ่งที่ควรชม ข่มในสิ่งที่ควรข่ม มีการแนะนำสอนงานผู้ใต้บังคับบัญชารู้จักการอันควรว่าสิ่งใดควรพูดต่อหน้า ธารกำนัลหรือควรว่ากล่าวเป็นส่วนตัว สิ่งใดควรพูดลับหลัง ข้าราชการนั้นว่าไปแล้วงานหนักไม่บ่นหรอก แต่นายด่าทอข่มเหงนี่สิทนไม่ได้


นักการ เมืองจึงควรพก ยาหอมŽ ให้มากและอ่านเรื่องโคนันทวิศาลให้ขึ้นใจเข้าไว้ แต่ก็ต้องใช้หลักปุคลัญญตาด้วย คือพูดให้เหมาะกับคน บางคนต้องให้เหตุผลจึงเข้าใจ บางคนสั่งอะไรก็สั่งอย่าไปสั่งยาวจะงง

(3) อัตถจริยา คือความประพฤติที่ดีซึ่งรวมถึงการไม่ประพฤติผิดกฎหมาย การซื่อสัตย์สุจริต การเป็นผู้รู้ การวางตัวดีสมกับเป็นผู้บังคับบัญชาหรือผู้นำ การเป็นที่พึ่งแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา คุณอุทัยพิมพ์ใจชนเคยพูดว่าอย่าคิดแต่ว่านักการเมืองรังแกข้าราชการ เพราะข้าราชการรังแกกันเองก็มี นักการเมืองจึงต้องคุ้มครองข้าราชการดีๆ ให้ได้


(4 ) สมานัตตตา คือความเป็นผู้ประพฤติตนเสมอต้นเสมอปลาย แม้จะต้องไว้ตัวบ้างในบางโอกาสแต่ก็ไม่ยกตนข่มท่าน หรือวางตัวบ้ายศบ้าเกียรติ นักการเมืองบางคนมักจะถูกข้าราชการประจำนินทาว่า พุทโธ่เอ๋ย! สมัยก่อนเจ้าคนนี้วิ่งด๊อกๆ มาของาน มาขอประมูลสมัยยังทำโรงสี สมัยยังวิ่งรถเมล์ สมัยยังรับเหมาก่อสร้าง เวลาบุญหล่นใส่ได้มาเป็นเลขารัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีกลายเป็น วัวลืมตีนŽปูวางก้ามŽ


ที่จริงคนเราย่อมต้องวางตัวเปลี่ยนไปตามโอกาสและตำแหน่งหน้าที่ การจะหวังให้นักการเมืองสมัยที่ทำธุรกิจกับสมัยเป็น ส.ส.ธรรมดา เป็นฝ่ายค้าน และเป็นรัฐมนตรีวางตัวเหมือนกันหมดคงไม่เป็นธรรมนัก แต่เสน่ห์ของนักการเมืองที่ประสบความสำเร็จอยู่ที่การรู้จักวางตัวให้เหมาะ แก่กาลเทศะไม่มากไม่น้อยเกินไปนี่เอง


รัฐมนตรีที่ประสบความ สำเร็จอย่างดีก็มีถมไป เช่น ยังคงยกมือไหว้หรือรับไหว้อธิบดีหรือปลัดกระทรวง ยังคงเรียกพี่เรียกน้องอย่างเดิม ยังคงรับฟังคำแนะนำอย่างเดิม ยังให้เข้าพบได้อย่างเดิม ข้าราชการรักใคร่พอพ้นตำแหน่งไปก็ยังอาลัยถึง ส่วนที่วางตัวตรงข้ามก็มี เช่น ไม่รับไหว้ข้าราชการ


เรียกปลัดกระทรวงว่า ลื้อŽ ทั้งที่เมื่อก่อนเคยเรียก ท่านปลัดฯŽ ทุกคำ บางทีใครไม่เรียก ฯพณฯ ก็โกรธเอาเป็นเอาตาย

ข้า ราชการประจำเองจะให้นักการเมืองนับถือก็ต้องวางตัวให้น่านับถือเหมือน กัน คนที่ยอมลงกราบนักการเมืองได้ อย่าว่าแต่คนภายนอกจะดูแคลน แม้แต่ผู้บังคับบัญชาก็จะดูถูกเอา บางคนแม้แต่กับลูกเมียนักการเมืองก็ยังสอพลอเอาใจราวกับเป็นนายอีกคนบางคน ถือหลักสมานัตตตาจนเกินงาม เคยเรียกรัฐมนตรีสมัยเป็นนักธุรกิจว่า ลื้อŽ จนเขามาเป็นรัฐมนตรีก็ยัง ลื้อŽ ต่อหน้าคนอื่นอย่างสม่ำเสมอ เรียกว่าไม่ให้เกียรติกันเลย เวลาพูดถึงลับหลังก็ใช้สรรพนามมันŽ หรือ ไอ้Ž ทุกคำ

ส่วนข้อ 4 คือ ศิลปะในการพูดŽ เรื่องการพูดเป็นเรื่องใหญ่ จึงขอยกไปว่ากล่าวต่างหากเป็นบทพิเศษว่าด้วยการพูดในสภา และการพูดนอกสภา

( โปรดติดตาม อ่านตอนต่อไป )