WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, July 28, 2011

ออก พ.ร.ก.ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 50 ไปใช้ ปี 40 ทำไม่ได้

ที่มา ประชาไท

ชำนาญ จันทร์เรือง โต้ 'มานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ' กรณีเสนอให้มีการทำประชามติว่าจะเลือกใช้รัฐธรรมนูญปี 40 หรือ 50 และให้ฝ่ายบริหารออกพระราชกำหนดนำรัฐธรรมนูญปี 40 กลับมาใช้

ผมไม่ อยากเชื่อว่าข่าวจากคอลัมน์บุคคลในข่าวของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับประจำวันที่ 16 กรกฎาคม 2554 ที่รายงานว่า นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ ที่ปรึกษาคณะทำงานด้านกฎหมายของพรรคเพื่อไทย เสนอให้มีการทำประชามติว่าจะเลือกใช้รัฐธรรมนูญปี 40 หรือ 50 และเชื่อว่าประชาชนจะเลือกรัฐธรรมนูญปี 40 แล้วหลังจากนั้นก็ให้ฝ่ายบริหารออกพระราชกำหนดนำรัฐธรรมนูญปี 40 กลับมาใช้นั้นเป็นความจริง

ที่ผมไม่อยากจะเชื่อเพราะนายมานิตย์นั้น เป็นถึงอดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาล อาญา อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกาและเป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายที่มีคนเคารพ นับถืออยู่เป็นจำนวนมาก(หนึ่งในนั้นก็หมายความรวมถึงผมด้วย)จะเสนอความเห็น ออกมาเช่นนั้น เพราะด้วยเหตุหลักการพื้นฐานง่ายๆที่มีการเรียนการสอนอยู่ในวิชากฎหมาย เบื้องต้นว่าด้วยศักดิ์ของกฎหมายนั้นรัฐธรรมนูญอยู่ในลำดับศักดิ์ที่สูงกว่า พระราชกำหนดนั่นเอง

คำว่า “ศักดิ์ของกฎหมาย” (Hierarchy of Law) หมายถึงลำดับขั้นของกฎหมาย หรือ อีกนัยหนึ่ง คือ ลำดับความสูงต่ำของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งความไม่เท่าเทียมกันของกฎหมายแต่ละฉบับนั้น พิจารณาได้จากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย หมายความว่ากฎหมายแต่ละฉบับจะมีลำดับชั้นของกฎหมายในระดับใด ให้พิจารณาจากองค์กรที่ออกกฎหมายฉบับนั้น ตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่ออกโดยองค์กรนิติบัญญัติสูงสุดของประเทศ คือ รัฐสภา แต่บางกรณีในประเทศที่ด้อยพัฒนาและล้าหลังก็อาจมีองค์กรอื่นเป็นผู้จัดทำ กฎหมายในระดับรัฐธรรมนูญได้ เช่น คณะรัฐประหารออกธรรมนูญการปกครอง ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เป็นต้น

ผลของการจัดลำดับศักดิ์ของกฎหมาย
1. การออกกฎหมายที่มีศักดิ์ของกฎหมายต่ำกว่าจะออกได้โดยอาศัยอำนาจจากกฎหมายที่ มีศักดิ์ของกฎหมายสูงกว่า หรือกฎหมายที่มีศักดิ์ของกฎหมายสูงกว่าได้ให้อำนาจไว้ เช่น รัฐธรรมนูญให้อำนาจรัฐสภาในการออกพระราชบัญญัติ ซึ่งก็เท่ากับว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายแม่บท ส่วนพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดเป็นกฎหมายลูกบท

2. กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า จะมีเนื้อหาที่เกินขอบเขตอำนาจที่กฎหมายที่มีศักดิ์กฎหมายสูงกว่าให้ไว้ไม่ ได้ มิฉะนั้น จะไม่มีผลบังคับใช้

3. หากเนื้อหาของกฎหมายมีการขัดหรือแย้งกัน จะต้องใช้กฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่ามาใช้บังคับไม่ว่ากฎหมายที่มีศักดิ์สูง กว่าจะออกเป็นกฎหมายก่อนหรือหลังกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่า

ในส่วนของ กฎหมายไทยที่เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแต่ละฉบับจะมีศักดิ์ของ กฎหมายหรือ ลำดับชั้นของกฎหมายที่แตกต่างกัน โดยมีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดและเป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายทั้งหมด พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด เป็นกฎหมายลูกของกฎหมายรัฐธรรมนูญ

ส่วน พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง กฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เหล่านี้เป็นกฎหมายที่อาศัยพระราชบัญญัติในการออกเป็นกฎหมาย

เมื่อเป็นเช่นนี้ การจัดลำดับศักดิ์ของกฎหมายไทยจึงเรียงลำดับได้ดังต่อไปนี้
1) รัฐธรรมนูญ
2) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด ประมวลกฎหมาย
3) พระราชกฤษฎีกา
4) กฎกระทรวง
5) กฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

รัฐธรรมนูญ เป็น กฎหมายสูงสุดที่กำหนดรูปแบบการปกครอง และระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตลอดจนสิทธิต่าง ๆ ของประชาชนทั้งประเทศ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญมากกว่ากฎหมายฉบับใด กฎหมายฉบับอื่นจะบัญญัติโดยมีเนื้อหาที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา ฯลฯ หากขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติของกฎหมายฉบับนั้นจะถือว่าไม่มีผลบังคับใช้

พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่รัฐธรรมนูญมอบอำนาจในการบัญญัติให้กับฝ่ายบริหาร คือ คณะรัฐมนตรี จะมีอำนาจในการออกพระราชกำหนดเพื่อใช้บังคับแทนพระราชบัญญัติได้ในกรณี พิเศษตามที่รัฐธรรมนูญมอบอำนาจไว้เป็นการชั่วคราว เพื่อแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าที่ต้องการการดำเนินการที่จำเป็นและเร่งด่วน เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติโดยส่วนรวม โดยหลังจากมีการประกาศใช้พระราชกำหนดนั้นแล้ว จะต้องนำพระราชกำหนดมาให้รัฐสภาพิจารณาเพื่อขอความเห็นชอบ ถ้ารัฐสภาให้ความเห็นชอบ พระราชกำหนดก็จะกลายเป็นกฎหมายถาวร แต่หากรัฐสภาไม่ให้ความเห็นชอบ พระราชกำหนดก็จะสิ้นผลไป แต่ การดำเนินการใด ๆ ก่อนที่พระราชกำหนดจะสิ้นผลไป ถือว่าชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้ภายหลังจะปรากฏว่า พระราชกำหนดนั้นสิ้นผลไปก็ตาม

พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารเพื่อกำหนดรายละเอียดซึ่งเป็นหลักการย่อย ๆ โดยอาศัยอำนาจจากกฎหมายแม่บท คือ รัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่น ๆ เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด ฯลฯ พระราชกฤษฎีกาจะมีเนื้อหาที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นที่ออกโดยอาศัยอำนาจของรัฐธรรมนูญ ดังเช่นพระราชบัญญัติ พระราชกำหนดไม่ได้ รวมทั้งจะบัญญัติเนื้อหาที่เกินขอบเขตของกฎหมายแม่บทที่ให้อำนาจไว้ไม่ได้ ด้วย

ในอดีตรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเคยประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา ให้ปิด ประชุมสภาผู้แทนราษฎรและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราในวันที่ 1 เมษายน 2476 โดยรัฐบาลได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงเหตุผลของการประกาศพระราชกฤษฎีกาฉบับดัง กล่าวว่าเนื่องจากเกิดความแตกแยกในคณะรัฐมนตรีออกเป็น 2 ฝ่าย ด้วยเรื่องนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ ฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นเสียงส่วนน้อย(ฝ่ายหลวงประดิษฐ์มนูธรรม)ต้องการวางนโยบาย เศรษฐกิจใหม่ตามแนวทางอันเป็นคอมมิวนิสต์ แต่อีกฝ่ายซึ่งมีเสียงส่วนมากไม่ปรารถนาจะให้เป็นเช่นนั้น เพราะจะเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศชาติและความสงบสุขของประชาชน การที่สภาผู้แทนราษฎรพยายามดำเนินการวางนโยบายเศรษฐกิจใหม่โดยมีลักษณะ ประดุจการพลิกแผ่นดินเช่นนี้ จึงจำเป็นต้องปิดสภา ตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราเป็นการชั่วคราว

แต่ ผลที่ตามมาคือการรัฐประหาร 20 มิถุนายน 2476 ให้มีการเปิดสภาเหมือนเดิม จนในที่สุดพระยามโนปกรณ์ฯต้องไปสิ้นชีวิตที่ปีนังในท้ายที่สุด

ซึ่ง เป็นตัวอย่างของการรัฐประหารเงียบด้วยการใช้พระราชกฤษฎีกา ซึ่งเป็นกฎหมายในลำดับที่ต่ำกว่าไปยกเลิกหรืองดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราซึ่ง เป็นกฎหมายในลำดับศักดิ์ที่สูงกว่า ซึ่งไม่ถูกต้องตามลำดับศักดิ์ของกฎหมายดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

หรือว่าจะเอากันอย่างนั้น ผมคนหนึ่งล่ะที่ไม่เอาด้วยครับ

----------------
หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 27 กรกฎาคม 2554