ที่มา มติชน วัน ที่29ก.ค. ในระหว่างวันที่ 15-21 ก.ค. ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ได้เปิดเผยผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ และวิจัยเศรษฐกิจ ระดับชั้นนำของประเทศ เกี่ยวกับเรื่อง "ดัชนีคาดการณ์เศรษฐกิจไทย 3 เดือนข้างหน้า" จาก 26 แห่ง จำนวน 62 คน ตาราง ปัจจัยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน และคาดการณ์อนาคตอีก 3 เดือนข้างหน้า เปรียบเทียบย้อนหลัง 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน และ 1 ปี ดังนี้ การสำรวจดังกล่าว ทำให้สรุปได้ว่า เศร ษฐกิจไทยอยู่ในสถานะที่แข็งแกร่ง แนวโน้ม 3 เดือนข้างหน้าก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้น หมายเหตุ: ค่าดัชนีเท่ากับ 50 หมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ในสถานะปกติ (สำหรับสถานะปัจจุบัน) ค่าดัชนีสูงกว่า 50 หมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ในสถานะแข็ง แกร่ง (สำหรับสถานะปัจจุบัน) ค่าดัชนีต่ำกว่า 50 หมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ในสถานะ อ่อนแอ (สำหรับสถานะปัจจุบัน)
ทั้งนี้ เพื่อต้องการสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ต่อสถานะทางเศรษฐกิจของไทยใน ปัจจุบันและทิศทางในอนาคตอีก 3 เดือนข้างหน้า และต้องการทราบสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจว่าจะส่งผลอย่างไร เพื่อเสนอแนะประเด็นเศรษฐกิจของนักเศรษฐศาสตร์ไปยังรัฐบาลและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง
จากการสำรวจ พบว่า ดัชนี คาดการณ์ เศรษฐกิจไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ 62.11 (ค่าดัชนีจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0-100) ซึ่งเป็นระดับที่เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในครั้งก่อนหน้า และเป็นการปรับเพิ่มมาอยู่ในระดับสูงสุดในรอบปี ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนมุมมองนักเศรษฐศาตร์ที่มีต่อเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าที่ยังคงสดใส โดยเฉพาะการคลายความกังวลจากปัจจัยการเมืองภายหลังการเลือกตั้งที่ผ่านมาได้ ด้วยดี
มากกว่านั้น ดัชนี สถานะทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันยังคงอยู่ในสถานะที่แข็งแกร่งเห็นได้จาก ค่าดัชนีที่อยู่ในระดับ 56.94 ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่า 50 เมื่อพิจารณาในแต่ละปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พบว่า ค่าดัชนีอยู่ในระดับสูงกว่า 50 ทุกปัจจัยเช่นกัน โดยเฉพาะปัจจัยด้านการส่งออกและการท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ค่าดัชนีอยู่ ในระดับที่สูงกว่า 50 ค่อนข้างมาก คือเท่ากับ 69.17 และ 59.68 ตามลำดับ
ส่วน การคาดการณ์ในแต่ละปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พบว่า การปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีคาดการณ์เป็นผลมาจาก (1) การท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ในอีก 3 เดือนข้างหน้าจะเริ่มเข้าสู่ฤดูการท่องเที่ยวในช่วงหน้าหนาว (2) การบริโภคภาคเอกชนที่จะได้รับผลดีจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับนโยบายของรัฐบาลใหม่ (3) การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ได้ผลดีจากการมีรัฐบาล ใหม่และโครงการต่างๆ ที่จะเริ่มดำเนินการตามที่ได้หาเสียงไว้