WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, July 29, 2011

ใบตองแห้งออนไลน์: ไปสู่การแก้รัฐธรรมนูญ

ที่มา ประชาไท

หลายวันก่อน ผมเดินไปกินข้าวริมฟุตบาท ได้ยินอาเฮีย 2 คนคุยกัน จับความได้ว่าเป็นเรื่องจตุพร พรหมพันธ์

“กกต.ต้องประกาศรับรองจตุพรเป็น ส.ส.คนแรก เพราะมันไม่ได้ไปซื้อเสียง มันไม่ได้ไปใส่ร้ายป้ายสีใคร มันอยู่ในคุกตลอด”
ผมฟังแล้วก็ขำ จริงแฮะ ชาวบ้านยังเข้าใจเจตนารมณ์ของกฎหมายมากกว่า กกต.หรือพวกนักอวิชาที่สอนกฎหมายในมหาวิทยาลัยเสียอีก
กก ต.ประกาศรับรองจตุพรเป็นผู้สมัครไปแล้ว จตุพรขาดคุณสมบัติหรือไม่ พ้นอำนาจ กกต.ไปแล้ว ถ้ายังกังขาก็ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ ขณะนี้ กกต.มีอำนาจวินิจฉัยเพียงว่า ผู้ชนะการเลือกตั้งชนะโดยทุจริตผิดกฎหมายหรือเปล่า ซึ่งถ้าวินิจฉัยเฉพาะเรื่องนี้ ก็จริงอย่างอาเฮีย 2 คนว่า คือจตุพรควรจะได้รับการประกาศชื่อคนแรก
แต่ กกต.กลับกั๊กจตุพรไว้เป็นคนสุดท้าย ให้นอนคุกต่ออย่างไม่มีกำหนด ขณะที่การรับรอง ส.ส.496 คน กลับง่ายดายเสียจนน่าขัน กกต.เก๊กท่าเป็นองค์กรศักดิ์สิทธิ์ แต่เอาเข้าจริงเป็นเสือกระบาก ทำได้แค่ให้ใบเหลืองเลือกตั้งใหม่ 2 เขต นับคะแนนใหม่ 1 เขต ที่เหลือไม่กล้าตัดสินใจ ทั้งที่ถ้า กกต.ใช้มาตรฐานเดียวกับที่เคยแจกใบแดงเมี่อปี 2550 ก็คงจะโดนอย่างน้อย 5-6 เขต
จำได้ไหมว่าที่บุรีรัมย์ ผู้สมัครพรรคพลังประชาชน เด็กเนวิน โดนใบแดงยกพวง เพราะคนใกล้ชิดไปแจกเงิน แม้ผู้สมัครปัดว่าไม่เกี่ยว กกต.ก็ยังแจกใบแดง ครั้งนี้ก็มีผู้สมัครโดนกล่าวหาทำนองเดียวกันหลายราย แต่ กกต.ปล่อยไปเฉย ไม่ว่าจะเป็นพรรคไหน
เห็นได้ว่า กกต.แหยงจนป๊อด แล้วก็ทำยึกยักไปงั้น เช่นกั๊กยิ่งลักษณ์ไว้ 7 วัน สุดท้ายบอกว่าไม่ผิด มีตัวอย่างที่เคยวินิจฉัยไปแล้ว อ้าว แล้วทำไมไม่วินิจฉัยเสียตั้งแต่วันนั้น อ้างว่าให้ฝ่ายกฎหมายไปพิจารณา ฝ่ายกฎหมายที่ไหนกัน ก็ 5 กกต.มีอดีตผู้พิพากษา 3 คน อดีตรองอัยการสูงสุด 1 คน เมื่อเข้ากรณีที่เคยวินิจฉัยแล้วก็น่าจะฟันธงได้เลย
แต่ กกต.ไม่กล้าฟันธง ไม่กล้าคอนเฟิร์ม เพราะกลัวครหาว่าปล่อยง่ายเกิน ไหนๆ กั๊กยิ่งลักษณ์แล้ว ก็เลยกั๊กอภิสิทธิ์ด้วย คนจะได้ไม่หาว่าลำเอียง ทั้งที่การจัดงานสินค้าราคาถูกเป็นข้อร้องเรียนงี่เง่า
ที่ พูดเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าผมสนับสนุนให้ กกต.ใช้ “อำนาจศักดิ์สิทธิ์” ตามความเพ้อฝันของพวกคนชั้นกลางรถบ้านขับมือเดียว แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมันสะท้อนให้เห็นความเสื่อมจนเข้าสู่ภาวะล้มละลาย (ยิ่งกว่าหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่) ของ กกต.ต่างหาก
รัฐ ธรรมนูญ 2540 ออกแบบ กกต.โดยก๊อปมาจากอินเดีย ไม่ได้ให้อำนาจแจกใบแดง แค่มีอำนาจสั่งเลือกตั้งใหม่ แต่พอได้ กกต.ขั้นเทพ 5 คนแรก สังคมก็หลงระเริงไปกับความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แก้ไขกฎหมายเลือกตั้งปี 2543 ให้ กกต.มีอำนาจเสมือนศาลเลือกตั้ง แต่ความจริงเป็น “ศาลเตี้ย” เพราะวินิจฉัยโดยความเชื่อ “มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า” ไม่ใช่การพิจารณาตามกระบวนการของศาลจนได้ข้อยุติ “มีหลักฐานชัดเจนว่า”
กก ต.ที่ตั้งใจจะให้มาดูแลการเลือกตั้งอย่างเป็นกลาง “ขยายอาณาจักร” จนเป็นมหาดไทย 2 จัดเลือกตั้งเอง แล้วก็เป็นศาลเตี้ย ตัดสิทธิผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเสียเอง เมื่อ กกต.มีอำนาจมากขนาดนี้ ทั้งจัดการเลือกตั้ง ทั้งสอบสวน ทั้งวินิจฉัย แจกใบแดงแล้วรัฐธรรมนูญ 2550 ยังเพิ่มให้ยุบพรรค ก็เป็นธรรมดาที่ขั้วอำนาจต่างๆ ต้องเข้ามาแทรกแซง ทักษิณก็เคยแทรกแซงในยุค “3 หนา” แล้วฝ่ายอำมาตย์ก็เข้ามากินรวบในยุคปัจจุบัน
เมื่อ กกต.มีอำนาจมากขนาดนี้ ก็เป็นธรรมดาที่จะมีการยืมมือ กกต.ทำลายล้างกันทางกฎหมาย แทนที่จะเอาชนะกันด้วยคะแนนนิยม ก็ใช้วิธีร้องเรียนหวังจะให้ตัดสิทธิ ยุบพรรค ด้วยข้อหาบ้าจี้ต่างๆนานา เช่น ผัดหมี่ ไปจนถึง “ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ” ว่าทำให้ประชาชนสำคัญผิดในคะแนนนิยม (สำคัญผิดที่ไหน ก็ชาวบ้านเขาเลือกทักษิณนั่นแหละ เขาเลือกยิ่งลักษณ์เพราะเป็นโคลนนิงของทักษิณ)
พอ กกต.ใช้อำนาจมากๆ เข้า ตัดสิทธิผู้ที่รับเลือกตั้งจากประชาชน ยุบพรรคที่ประชาชนเลือกมาบริหารประเทศ ไม่ยุบพรรคแมลงสาบ ฯลฯ อำนาจนั้นก็ไม่เป็นที่ยอมรับ เจอแรงต้านหนักๆ เข้า กกต.ก็ไปไม่เป็น ท้ายที่สุดก็โดนกระหนาบจากมวลชน 2 ข้าง ขั้วอำนาจ 2 ฝั่ง จนแหยง ป๊อด กอดเก้าอี้โดยไม่กล้าตัดสินใจ
“อำนาจศักดิ์สิทธิ์” ของ กกต.จึงล้มละลายสิ้นเชิงใน กกต.รุ่นที่ 3 คอยดูสิว่าต่อให้คุณไปสรรหาเทวดาที่ไหนมาเป็น 5 เสือกระบาก กกต.รุ่นต่อไป ก็ใช้อำนาจไม่ได้อยู่ดี จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ จับจ้อง จับผิด ครหา นินทา ร่ำลือ ฯลฯ เพราะอำนาจนั้นมันเป็นอำนาจทื่ฝืนธรรมชาติ ขัดต่อวิถีประชาธิปไตย
ตุลาการ: อุปสรรคประชาธิปไตย
แกน นำเสื้อแดงบางคนปรามมวลชน ไม่ให้เคลื่อนไหวเรื่องจตุพร กลัวนำไปสู่รัฐประหาร ขอบอกว่าไม่ต้องกลัว ทหารไม่สามารถทำรัฐประหารได้ อย่างน้อยก็ใน 1-2 ปีข้างหน้า ถ้ารัฐบาลไม่ทำให้ตัวเองเสื่อม
หรืออย่างน้อยก็ใน 1 เดือน ที่กำหนดเขตห้าม ฮ.บินทั่วประเทศ (ฮาไม่ออก)
ท่า ทีของ UN ท่าทีของทูตานุทูต ตั้งแต่สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ไปจนอินเดีย ออสเตรเลีย ฯลฯ หรือเรียกได้ว่าทั่วโลก ที่เข้าพบยิ่งลักษณ์ ไม่ได้แปลว่าเขาเชียร์ทักษิณหรือพรรคเพื่อไทย แต่เขาต้องการให้การเมืองเดินไปตามวิถีประชาธิปไตย ไม่มีปฏิวัติรัฐประหารอีก ถ้าเมริงทำอีก คราวนี้เจอดีแน่ ต่อให้ขนคณบดีรัฐศาสตร์ทุกมหา’ลัยไปโรดโชว์ ก็มีแต่จะโดนโห่กลับ เผลอๆ จะถูกถอดถอนปริญญารัฐศาสตร์ที่ได้จากต่างประเทศ
ฉะนั้น ต่อให้ยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯ แล้วปลด ผบ.ทบ.ควบ ผบ.ทอ.ตั้งแต่วันแรก ทหารก็ไม่กล้าหือ เพียงแต่ต้องดูจังหวะก้าว ความเหมาะสม วัดกระแสสังคม เหมือนการเคลื่อนไหวของเสื้อแดงนั่นแหละ
ทหารทำ อะไรไม่ได้ มีปืนเหมือนมีกระบาก มี ฮ.เหมือนมีซาเล้ง เก่งแต่ระบายอารมณ์ ลูกน้องตาย 17 คน นึกว่าประชาชนจะแซ่ซ้องสดุดีกองทัพ พอโดนจี้ถามความรับผิดชอบ กลับยัวะ ก็จะไม่ให้ชาวบ้านสงสัยได้ไงละครับ ในเมื่อวันรุ่งขึ้นหลังจากแบลคฮอว์คตก ฮ.กระทรวงทรัพย์ ฮ.กระทรวงเกษตร ลำเล็กๆ เก่าๆ เขายังไปรับศพนายทหาร 5 นายออกมาได้
เอ้า พอ “อ้อน” รัฐบาลใหม่ขอซื้อ ฮ.30 ลำ ก็ยัวะนักข่าวอีก หาว่าพาดหัวข่าวให้เสียศักดิ์ศรี ผบ.ทบ.ต้องไปอ้อนผู้หญิง ทำเป็นวัยทองไปได้ ก่อนหน้านี้ก็ออกมาเรียกร้องว่ารัฐมนตรีกลาโหมต้องเป็นคนที่ทหารยอมรับได้ แหม อธิบดีกรมการข้าวเขาก็อยากเรียกร้องเหมือนกันว่ารัฐมนตรีเกษตรฯ ต้องเป็นที่ข้าราชการยอมรับได้ แพ้เลือกตั้งแล้วยังทำเป็นหือ (ถือว่าแพ้เลือกตั้งนะครับ เพราะออกมาเรียกร้องให้ประชาชนเลือกคนดี เลือกเพื่อสถาบัน แล้วไม่มีใครฟัง แม้แต่เขตทหาร เขตดุสิต พรรคเพื่อไทยยังชนะ)
แต่ไม่เป็นไร ผมสนับสนุนให้รัฐบาลจัดซื้อ (หรือจัดซ่อม) ฮ.ให้กองทัพอย่างเพียงพอ เพราะภารกิจของกองทัพไทยปัจจุบัน ฮ.มีความจำเป็น ใช้ในการเคลื่อนที่เร็ว ขณะเดียวกันก็ต้องยกเลิกการสั่งซื้อยุทโธปกรณ์ที่เปล่าประโยชน์ เช่น GT200 หรือเรือเหาะ
รัฐบาลต้องสนับสนุนยุทโธปกรณ์ให้กอง ทัพไทยก้าวไปสู่ความทันสมัย แต่ต้องแลกกับการปฏิรูปกองทัพ ลดกำลังพล โดยเฉพาะกำลังนายพลที่ล้นเกิน ลดหน่วยบริการ สนับสนุน หางเครื่อง หิ้วกระเป๋า ฯลฯ แค่มีนายพลน้อยลงซักครึ่งหนึ่ง ก็มีเงินซื้อ ฮ.เหลือเฟือ
ที่ สำคัญคือการปฏิรูปอำนาจบังคับบัญชา และแยกกองทัพออกจากข้ออ้าง “ทหารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ที่เอามาเป็นเงื่อนไขปฏิวัติรัฐประหารทุกครั้ง ซึ่งรัฐบาลควรต้องตั้งคณะทำงานศึกษาปฏิรูปกองทัพขึ้นทันที
เมื่อ กองทัพไม่สามารถทำรัฐประหารได้ พวกคนชั้นกลางรถบ้านขับมือเดียวก็จะฝากความหวังการเตะสกัดตัดขารัฐบาลพรรค เพื่อไทย ไว้ที่อำนาจตุลาการและองค์กรอิสระ ซึ่งแม้ในช่วงต้นๆ ไม่กล้าฝืนกระแส แต่พวกเขาก็จะรอจังหวะ รอให้รัฐบาลถูกถล่มจากสื่อ นักอวิชา และบุคคลสาธารณะทั้งหลาย จนอ่วมเสียก่อน (พันธมิตรฯ คงไม่สามารถแสดงบทบาทในระยะอันใกล้ แต่แนวร่วมของพันธมิตรจะแปลงร่างออกมาทำเป็นหน้าซื่อตาใส)
ลอง ตั้งสมมติฐานดูนะครับ สมมติรัฐบาลบริหารประเทศไป แต่มีคนไปแจ้งจับแกนนำเสื้อแดง หรือแกนนำพรรคเพื่อไทยเป็นรายๆ แล้วศาลไม่ให้ประกันตัว ขังยาวไม่แยแสใคร อ้างความเป็นอิสระของอำนาจตุลาการ รัฐบาลทำอะไรไม่ได้ ก็จะจุดชนวนความอึดอัดคับแค้นของมวลชน
นับ แต่ยังไม่ตั้งรัฐบาล เราก็เห็นแล้วว่ามีข้อหาต่างๆ รออยู่มากมาย เช่น ยิ่งลักษณ์เบิกความเท็จ ยิ่งลักษณ์ซุกหุ้นให้พี่ชาย ต่อไปก็อาจจะมียิ่งลักษณ์ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ตามจับ นช.ทักษิณ หรือเปิดดิกชันนารีตีความว่า “โคลนนิง” ทำให้ขาดคุณสมบัติขัดรัฐธรรมนูญ
หรือ ถ้ารัฐบาลใหม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลโลก ตกลงกับฮุนเซน ถอนทหารออกจากพื้นที่ 17 ตารางกิโลเมตร ก็อาจจะมีคนไปฟ้องศาลปกครอง ฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ ว่าไม่เอาเรื่องเข้าสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ทั้งๆ ที่รัฐบาลมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติ จะเอาเข้าสภาไปให้ฝ่ายค้านกับ สว.ลากตั้งอภิปรายเพื่ออะไร เพื่อไม่ทำตามคำสั่งศาลโลกหรือ
คำสั่งคุ้มครองชั่ว คราวของศาลโลก ไม่ได้เกี่ยวข้องกับดินแดน เป็นแค่มาตรการป้องกันการปะทะกันด้วยอาวุธ ขนาดนั้นก็ยังมีอาจารย์สอนกฎหมายออกมาบอกว่าไทยไม่ต้องปฏิบัติตามก็ได้ ที่ผ่านมาหลายประเทศก็ไม่ปฏิบัติตาม นี่อาจารย์สอนกฎหมายนะครับ ท่านไม่ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย แล้วท่านจะสอนลูกศิษย์อย่างไร
รัฐบาล จึงประมาทไม่ได้ ต้องสรุปบทเรียนจากรัฐบาลสมัคร-สมชาย รีบแก้ไขรัฐธรรมนูญ รื้ออำนาจและที่มาขององค์กรอิสระ ให้เร็วที่สุด อย่างช้า 3 เดือนต้องเป็นรูปเป็นร่าง เห็นทิศทาง ที่จะนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยลงประชามติ
ทั้ง ยังจะต้องรุกไปสู่การตรวจสอบอำนาจตุลาการ ทำให้อำนาจสถาบันขุนนางที่ไม่มีความยึดโยงกับอำนาจประชาชน เป็นอำนาจที่เปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้ วิพากษ์วิจารณ์ได้ ซึ่งอาจจะต้องแก้ไขโครงสร้างทั้งส่วนบนส่วนล่าง ตั้งแต่การสอบผู้พิพากษา ไปจนกำหนดให้ประธานศาลฎีกา รองประธาน หรือประธานแผนก ต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา
ที่พูดเช่นนี้ไม่ใช่ สนับสนุนให้อำนาจบริหาร หรือ “ระบอบทักษิณ” เข้าไปแทรกแซงตุลาการ แต่ต้องทำให้อำนาจตุลาการเป็นอำนาจอธิปไตยของปวงชน ไม่ใช่ของชนชั้นนำ ไม่ใช่อำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนต้องกลัวจนหัวหด แต่มีความศักดิ์สิทธิ์จากการอำนวยความยุติธรรม
สถาบัน ตุลาการจะต้องมีความเป็นประชาธิปไตยทั้งภายนอกและภายในมากขึ้น เช่นภายในศาลจะต้องมีการกระจายอำนาจ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นหลังรัฐประหาร 49 คือความพยายามรวบอำนาจไว้ในมือตุลาการระดับสูง คนรุ่นเก่า อนุรักษ์นิยม เช่น แก้ไขกฎหมายให้ตุลาการเกษียณอายุ 70 โดยทยอยเพิ่มอายุทีละ 1 ปีนับแต่ปี 2550 ทำให้พวกเด็กโบงอกราก คนรุ่นหลังเหงือกแห้งกว่าได้ขึ้นถึงประธานศาลฎีกา
หรือ สัดส่วน ก.ต.ที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งแก้ไขกฎหมายลิดรอนสิทธิเสียงของตุลาการระดับล่าง โดยลดจำนวน ก.ต.ที่มาจากศาลชั้นต้น ก่อนหน้านี้เคยมีการแก้ไขกฎหมายให้ศาลชั้นต้นปกครองกันเอง อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญามาจากผู้พิพากษารุ่นใหม่ คนรุ่นเก่าก็ไล่ลำดับขึ้นไปเป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา แต่หลังรัฐประหารตุลาการภิวัตน์ ก็แก้กลับไปเหมือนเดิม คือเอาตุลาการรุ่นเก่าลงมานั่งเป็นอธิบดีศาลชั้นต้น
ตำแหน่ง อธิบดีหรือประธานศาล มีความสำคัญมากนะครับ แม้ผู้พิพากษามีอิสระในการพิจารณาคดี แต่ก็ขึ้นกับอธิบดีว่าจะมอบสำนวนไหนให้ใครทำ มอบให้คนที่รู้มือรู้ใจกันหรือเปล่า
ก็ดูอย่างกรณี ที่ ปปช.ได้รับเรื่องร้องเรียนว่า อ.อักขราทร จุฬารัตน์ อดีตประธานศาลปกครองสูงสุด ถูกกล่าวหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เรียกสำนวนคดีกลับ ทั้งที่องค์คณะลงมติไปแล้ว แต่ศาลปกครองกลับไม่ยอมให้สอบสวน อ้างว่า ปปช.ไม่มีอำนาจ ศาลสอบกันเองแล้วก็สรุปว่าไม่ผิด
คดีนี้คือคดี แถลงการณ์ร่วมปราสาทพระวิหาร ที่ส่งผลสะเทือนทางการเมืองอย่างรุนแรง ต่อรัฐบาลสมัคร ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ระงับแถลงการณ์ร่วมกลางดึก (ศาลทำโอที) รัฐบาลอุทธรณ์ มีข้อกล่าวหาว่า ศาลปกครองสูงสุดองค์คณะที่รับเรื่อง ลงมติไปแล้ว เสียงข้างมากให้ยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว แต่ตุลาการหัวหน้าคณะกลับส่งสำนวนคืนให้ประธาน แล้วประธานก็รับไปเข้าองค์คณะของตัวเอง มีมติให้ยืนคำสั่งคุ้มครองต่อไป
เรา ลองย้อนนึกถึงบรรยากาศการเมืองขณะนั้นดู ถ้าศาลปกครองสูงสุด ยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว พวกพันธมิตรฯ และพรรคแมลงสาบที่รุมถล่ม “สมัคร-นพดล” ว่า “ขายชาติ” คงเสียศูนย์ไปไม่เป็น
อ.อักข ราทรทุกวันนี้ท่านก็ไม่ได้ไปไหนหรอกนะครับ เกษียณแล้ว แต่ท่านก็ยังเป็นปู่โสมอยู่ที่ศาลปกครองนั่นเอง เพราะประธานคนใหม่ตั้งท่านกลับมาเป็นที่ปรึกษา เงินเดือน 6 หมื่น ไม่เกี่ยวกับบำนาญที่รับอยู่แล้ว
แก้รัฐธรรมนูญเริ่มตรงไหน
กระแส “ปรองดอง” ต้องการความสงบสุข แม้มีส่วนทำให้พรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง ก็มีด้านที่เป็นผลลบ คือประชาชนทั่วไปเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ไม่อยากให้มีความขัดแย้งทางการเมืองอีก อยากให้รัฐบาลตั้งหน้าตั้งตาทำงาน อย่าเพิ่งแตะเรื่องการเมืองเรื่องนิรโทษกรรม เดี๋ยวพวกขวาจัดโรคจิตจะออกมายิงกราดค่ายเยาวชน-เอ๊ย ออกมายึดทำเนียบยึดสนามบินอีก
กระแสนี้มีทั้ง ประชาชนทั่วไปที่บริสุทธิ์ใจ และพวกเสื้อเหลืองเสื้อสี หรือสาวกแมลงสาบ มุดลงใต้ท่อ แปลงร่างเป็นผู้รักสันติ มาแอบอ้าง “ปรองดอง” เช่น เรียกร้องให้ม็อบเสื้อแดงหยุดเคลื่อนไหว ให้ยุบหมู่บ้านแดง ให้เคารพกฎหมาย ระเบียบ กฎเกณฑ์ อย่ากดดัน กกต.อย่าเข้ามารบรากับองค์กรอิสระ
แน่ นอน รัฐบาลก็ต้องไม่ผลีผลามฝืนความรู้สึกประชาชน แต่ก็ต้องชี้ให้สังคมเห็นว่าความคิดที่จะให้รัฐบาลตั้งหน้าตั้งตาทำงานอย่าง เดียว โดยไม่แก้ปัญหาทางการเมืองนั้น เป็นไปไม่ได้ เพราะต่อให้เราหยุดแล้ว ท่านก็ยังไม่หยุด จะต้องมีการตั้งแง่ยืมมืออำนาจตุลาการและองค์กรอิสระมาคอยเตะตัดขาจนรัฐบาล ทำงานไม่ได้
การแก้ไขรัฐธรรมนูญมีประเด็นที่น่าคิด 2 แง่ ว่าควรจะแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ทั้งฉบับ หรือแก้เฉพาะประเด็นก่อน แน่นอนว่าการแก้ให้สมบูรณ์ทั้งฉบับ เป็นสิ่งที่ดีกว่า แต่ต้องใช้เวลาและต้องผ่านกระบวนการ โดยต้องแก้ไขมาตรา 291 ให้จัดตั้ง สสร.ขึ้น ซึ่งแม้จะมีการเปลี่ยนรัฐบาล สสร.ก็จะทำงานต่อไป
แง่ ที่สอง การแก้เฉพาะประเด็น อาจจะไม่สมบูรณ์ในหลักกฎหมาย แต่สามารถทำได้รวดเร็ว ทันการณ์ ตั้งประเด็นให้ลงประชามติในข้อสำคัญๆ เกี่ยวกับโครงสร้างอำนาจ เช่น ที่มาของวุฒิสมาชิก, ที่มาขององค์กรอิสระ, อำนาจ กกต.ตามมาตรา 237, บทเฉพาะกาลมาตรา 309 พร้อมกับมาตรา 291 ตั้ง สสร.ขึ้นร่างรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์
นี่เป็นข้อเสนอ เพื่อกระตุ้นให้ช่วยกันคิด ผมก็มองไม่ออกว่าแก้แบบไหนดี เพราะพูดไปแล้วโดยเนื้อหามันยังมีอะไรอีกเยอะ ที่ควรจะแก้ เช่น ยุบองค์กรปาหี่อย่างผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา หรือสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจสังคมเสีย หรือยุบศาลรัฐธรรมนูญ ให้มีแค่ตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่เลือกมาพิจารณาเฉพาะคดี หรือแม้กระทั่งยุบวุฒิสภาไปเสียเลย เพราะมันไม่พ้นวนเวียนอยู่กับสภาผัวสภาเมียหรือขั้วอำนาจลากตั้ง
คือ รัฐธรรมนูญ 2540 ก็มีแนวคิดที่ผิดพลาดอยู่แล้วในเรื่องหวังพึ่งองค์กรอิสระ หวังว่าจะมีผู้วิเศษลอยลงมาใช้อำนาจ รัฐธรรมนูญ 2550 ยิ่งวางกับดักไว้พะรุงพะรัง แถมยังผิดเพี้ยน เช่น ให้อัยการเป็นอิสระ ซึ่งไม่มีที่ไหนในโลก อัยการต้องอยู่กับอำนาจบริหาร เป็นทนายของรัฐ รัฐบาลมีหน้าที่รับผิดชอบความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินประชาชน เมื่อตำรวจจับผู้ต้องหามาได้อัยการก็ส่งฟ้องศาล แล้วอำนาจตุลาการซึ่งเป็นอิสระจึงเข้ามาตัดสิน
ถ้า เราตั้ง สสร.แล้วแก้รัฐธรรมนูญได้อย่างรวดเร็ว ภายใน 6 เดือน หรือไม่เกิน 1 ปี ก็ควรตั้ง สสร.เพราะอันที่จริง ประเด็นต่างๆ ก็ถกเถียงกันจนตกผลึกพอสมควร อยู่ที่จะมีพวกกวนน้ำให้ขุ่นมากแค่ไหน เพราะถ้าตั้ง สสร.เราก็ต้องยอมรับว่าต้องเปิดกว้าง ให้โอกาสพวกแมลงสาบ พวกเสื้อเหลือง เสื้อหลากสี เข้ามาร่วมด้วยช่วยกันวุ่น
แต่ อย่างน้อยก็ต้องตั้งคณะทำงาน ศึกษาแนวทางแก้ไขมาตรา 291 หาวิธีจัดตั้ง สสร.หรือถ้าจะเลือกแก้เฉพาะประเด็นก่อน ก็ให้คณะทำงานเสนอมาเป็นประเด็น แล้วเปิดให้สังคมดีเบท เชิญพวกสื่อ นักอวิชา แมลงสาบ เสื้อเหลือง เสื้อหลากสี ดีเบทกันตามสบาย ให้เวลาเป็นเดือนๆ ก่อนไปสู่การลงประชามติ
อย่าง น้อยก็ยังดีกว่าความคิดอดีตอธิบดีศาลอาญาเสื้อแดง ที่ให้ออกพระราชกำหนดนำรัฐธรรมนูญ 40 มาใช้ก่อน เลอะแล้วครับท่าน เลอะเหลือเชื่อ (นี่เป็นข้อพิสูจน์ว่า ตุลาการก็เป็นคนธรรมดา ไม่ใช่เชื่อถือได้ทั้งหมด)
การแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจ ไม่สามารถเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ในครั้งเดียว ก็ได้ แต่บางครั้งวิธีการก็สำคัญกว่าเนื้อหา สมมติเช่น รัฐบาลพรรคเพื่อไทยคงไม่กล้าแตะต้องมาตรา 8 เราก็คงไม่หวังให้แก้ไขมาตรา 8 ในทันที แต่อย่างน้อยขอให้มีการดีเบท ความฝันอันสูงสุดคือ ถ้าประเทศนี้ยอมให้มีการลงประชามติมาตรา 8 หรือกฎหมายอาญามาตรา 112 เมื่อไหร่ ต่อให้ฝ่ายต้องการแก้ไขแพ้ถล่มทลาย ก็ถือว่าประชาธิปไตยเปิดกว้างขึ้นแล้ว
อ้าว วกมาลงเรื่องนี้จนได้ สรุปว่าผมยังไม่ได้เสนอแนวทางอะไรเลย แต่โยนหินถามทาง อยากให้นักวิชาการ ผู้รู้ ผู้รักประชาธิปไตยทั้งหลายช่วยกันคิดนะครับ ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเริ่มอย่างไร ต้องเร่ง ต้องรีบ และด่วนด้วย
เพราะ ในทางกลับกัน เราจะไว้วางใจรัฐบาลพรรคเพื่อไทยมากก็ไม่ได้ อยู่ๆ ไป 3 เดือน 6 เดือน เสือกทำเรื่องฉาวโฉ่คำโตขึ้นมา ก็พา chip หายทั้งกระบวน
ใบตองแห้ง
28 ก.ค.54