WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, July 30, 2011

′ชนชั้น, ประชาธิปไตยและการซื้อเสียง: ข้อคิดจากฟิลิปปินส์′

ที่มา มติชน



โดย เกษียร เตชะพีระ



Frederic C. Schaffer



แผ่นพับรณรงค์เลือกตั้งของเครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย

สาย วันก่อน ขณะจะเดินเข้าชั้นไปสอนหนังสือ ตาก็เผอิญเหลือบเห็นแผ่นพับของเครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย (www.tpd.in.th) ที่เพื่อนอาจารย์บางท่านไปร่วมผลักดันเคลื่อนไหวช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ที่ผ่านมาติดอยู่บนบอร์ดข้างทางเดิน

จ่าหัวว่า "ผู้แทน (ส.ส.) ที่ดี" ในสายตาคุณ เป็นคนแบบไหน มีช่องให้ผู้อ่านเลือกกาคุณสมบัติของผู้แทน/ส.ส. ตามคำบรรยายสรรพคุณต่างๆ ทางหน้าขวาอยู่ 18 ข้อ พร้อมกันนั้นก็มีคำเฉลยอยู่ทางหน้าซ้ายว่าคุณสมบัติข้อไหนบ้างใน จำนวน 18 ข้อนั้นที่ต้องสงสัยและพึงทบทวนว่าดีจริงหรือเปล่า? รวม 9 ข้อด้วยกัน พอแยกแยะเป็นตารางได้ดังนี้:

คุณสมบัติที่ต้องสงสัย

1) พบเห็นทุกงานบุญ งานศพ ร่วมงานแต่ง งานบวช ขึ้นบ้านใหม่ เปิดงานต่างๆ

2) พบง่าย ไม่ถือตัว เป็นคนธรรมดา น่ารักดี

3) พึ่งได้ ช่วยประกันผู้ต้องหา ฝากลูกเข้าเรียน ฝาก หลานเข้าทำงาน

4) ช่วยวิ่งเต้นให้ได้เลื่อนขั้น ย้าย โอน โน่นนี่

5) เป็นญาติพี่น้อง พวกกันเอง

6) วิ่งเต้นหางบประมาณลงจังหวัด ลงพื้นที่

7) ใจกว้าง สนับสนุนงานสาธารณะ บริจาคเงิน เป็นประธาน-ที่ปรึกษา-ผู้จัดการทีมฟุตบอลจังหวัด นายกสมาคมโรงเรียนประจำจังหวัด

8) มีเงิน มีฐานะ มีการศึกษาสูง น่าเชื่อถือ

9) กว้างขวาง มีเพื่อนฝูงมาก

คุณสมบัติที่ไม่ต้องสงสัย

1) จัดเวทีชุมชนหรือร่วมเวทีชุมชน ถกปัญหาในท้องถิ่นเป็นประจำ

2) ไม่แสวงหาประโยชน์จากงบประมาณของรัฐ

3) ไม่บุกรุกที่สาธารณะ ทำลายป่า ทำลายทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

4) ยึดหลักสันติในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคม

5) มีความรู้ความสามารถ มีประวัติดี ประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงาน

6) มีความคิดความอ่าน แสดงให้เห็นชัดเจนว่ารู้-เข้าใจ ปัญหาของประชาชนในพื้นที่

7) มีทักษะในการสื่อสารกับสาธารณชน

8) อยู่ในศีลธรรมอันดี ไม่พัวพันกับสิ่งผิดกฎหมายหรือ ผิดศีลธรรม เช่น บ่อน หวย ยาเสพติด

9) มีสำนักงาน ส.ส. เพื่อเปิดรับฟังปัญหาจากประชาชนและเผยแพร่ข้อมูลสม่ำเสมอ

(ดูแผ่นพับได้ที่ http://www.tpd.in.th/v2/pdffile/ส.ส.ที่ดี.pdf)

อ่าน แล้วอดรู้สึกไม่ได้ว่าช่อง "ต้องสงสัย" ทางซ้ายดูจะตรงกับคุณสมบัติที่เป็นจริงของ ผู้แทน/ส.ส.ส่วนใหญ่ซึ่งได้รับเลือกตั้งมาจากเสียงข้างมาก ส่วนช่อง "ไม่ต้องสงสัย" ทางขวาค่อนข้างจะสะท้อนภาพลักษณ์ผู้แทน/ส.ส. ในฝันของคนชั้นกลางชาวเมืองผู้มีการศึกษาที่อยากเห็นการเลือกตั้งสะอาดและ การเมืองบริสุทธิ์ตามเจตคติของตน

ทำให้นึกได้ว่าอะไรบางอย่างทำนองนี้ก็เกิดขึ้นที่ฟิลิปปินส์เหมือนกัน.....


แผ่นพับรณรงค์เลือกตั้งของเครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย





Frederic C. Schaffer รองศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์แห่ง University of Massachusetts at Amherst สหรัฐอเมริกาได้ตีพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งออกมาเมื่อ 3 ปีก่อนชื่อ The Hidden Costs of Clean Election Reform (2008 , ต้นทุนแอบแฝงของการปฏิรูปการเลือกตั้งให้ใสสะอาด) อันมาจากการค้นคว้าวิจัยภาคสนามของเขาเรื่องประชาธิปไตย, การเลือกตั้ง, การซื้อเสียงและการรณรงค์ให้การเลือกตั้งใสสะอาดในฟิลิปปินส์โดยให้ความ สำคัญกับภาษาและทัศนคติทางการเมืองของชาวบ้านรากหญ้าผ่านการสัมภาษณ์เจาะลึก กลุ่มตัวอย่างผู้ลงทะเบียนเลือกตั้ง 139 รายในย่านคนจน เขตเคซอน ซิตี้ของกรุงมะนิลา

แชฟเฟอร์พบว่าการรณรงค์ให้การเลือกตั้งใสสะอาด ของเอ็นจีโอคนชั้นกลางและชั้นสูงชาวฟิลิปปินส์ส่งผลโอละพ่อกลับตาลปัตรให้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ซึ่งเป็นคนจนคนรากหญ้ารู้สึกแปลกแยกจาก ประชาธิปไตยในความหมายของกลุ่มผู้รณรงค์, ไม่ค่อยร่วมมือกับการรณรงค์, กระทั่งแสดงพฤติกรรมประชดประชันไปในทางตรงข้ามกับที่การรณรงค์เรียกร้องหนัก ข้อขึ้น

กลายเป็นว่าการรณรงค์ให้การเลือกตั้งใส สะอาดซึ่งกลุ่มผู้จัดมุ่ง หมายให้เป็นยาบำรุงรักษาประชาธิปไตยกลับส่งผลเสียต่อประชาธิปไตยเองให้ป่วย ไข้ไปอีกแบบ (an iatrogenic or treatment induced illness) !?!

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? เหตุปัจจัยแกนกลางในคำตอบของแชฟเฟอร์คือชนชั้น

เขา ชี้ว่าโดยทั่วไปนักสำรวจหยั่งเสียงและนักวิจัยตลาดจะแบ่งชาวฟิลิปปินส์ตาม ระดับราย ได้ออกคร่าวๆ เป็น 5 ชนชั้นได้แก่: A = รวยมาก, B = รวยพอควร, C = คนชั้นกลาง, D = ค่อนข้างจน, E = จนมาก หากคิดเป็นร้อยละของจำนวนประชากร พบว่า

ชนชั้น A+B+C ซึ่งก็คือคนชั้นกลางและชั้นสูงรวมกันจะมีสัดส่วนราว 7-11%

ชนชั้น D ที่ค่อนข้างจนมีประมาณ 58-73%

ชนชั้น E ที่จนมากมีประมาณ 18-32%

เห็น ได้ชัดว่าในแง่ชนชั้น คนชั้นกลางและชั้นสูงเป็นเสียงข้างน้อยในสังคมฟิลิปปินส์ ส่วนคนจนคนรากหญ้าเป็นเสียงข้างมากอย่างท่วมท้น แน่นอนว่าในบริบทของการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ถือหลัก "เมื่อคนเราเท่ากัน อำนาจย่อมเกิดจากตัวเลข, ตัวเลขมากมีอำนาจมาก ตัวเลขน้อยมีอำนาจน้อย" ความแตกต่างของตัวเลขจำนวนคนดังกล่าวย่อมมีนัยต่อเนื่องสำคัญ ยิ่งทางการเมือง

แต่ชนชั้นไม่ได้เป็นปรากฏการณ์ทางภาววิสัยที่วัดกัน ด้วยทรัพย์สินหรือฐานะตำแหน่งในระบบเศรษฐกิจเท่านั้น หากมันยังถูกสร้างขึ้นในทางอัตวิสัยผ่านการเผยแพร่ปลูกฝังค่านิยม, รสนิยม, อุปนิสัยและจุดยืนการเมืองที่มีร่วมกันในกลุ่มพวก "ชนชั้น" เดียวกันด้วย

ในความหมายหลังนี้ "ชนชั้น" จึงมีลักษณะเป็นเสมือนโครงการ (project) ในทางการเมือง วัฒนธรรมที่ชนกลุ่มหนึ่งใช้มันมานิยามตนเอง (ว่าชนชั้นเราเป็นใคร? สีอะไร? เราเหมือนกันเองแต่แตกต่างจากคนชั้นอื่นตรงไหนอย่างไร?) พร้อมกับสถาปนาอำนาจนำเหนือชนชั้นอื่น (พยายามยัดเยียดวิถีชีวิต, ทีทรรศน์ และเจตคติของชนชั้นตนให้) ไปด้วยในเวลาเดียวกัน

แช ฟเฟอร์วิเคราะห์ฟันธงว่า การรณรงค์ให้การเลือกตั้งใสสะอาดก็คือโครงการในลักษณะดังกล่าวของคนชั้นกลาง และชั้นสูงชาวฟิลิปปินส์ที่ใช้มันมานิยามความเป็นตัวตนของชนชั้นตนเองในทาง การเมืองวัฒนธรรม พร้อมทั้งกำหนดวินัยจัดระเบียบพฤติกรรมทางการเมืองที่ชอบที่ควรในระบอบ ประชาธิปไตยให้กับคนจนคนรากหญ้าด้วยนั่นเอง

ปัญหาอยู่ตรงโครงการ กำหนดวินัยจัดระเบียบพฤติกรรมให้คนจนคนรากหญ้าดังกล่าวตั้งอยู่บนมิจฉาทิฐิ ทางชนชั้น (class-bound misperception) ที่เอาเข้าจริงเอ็นจีโอปฏิรูปการเมืองซึ่งเป็นคนชั้นกลางและชั้นสูงชาว ฟิลิปปินส์นั้นไม่รู้จักไม่เข้าใจคนจนคนรากหญ้า เสมือนหนึ่งฝ่ายหลังเป็น "เกาะแก่งหรืออาณานิคมที่ยังไม่ถูกค้นพบในหมู่เกาะ (ฟิลิปปินส์) ของเรา"

จึง ทำให้การรณรงค์ที่เริ่มด้วยเจตนาดีกลับนำไปสู่การปะทะกันของ ศีลธรรมสองชุด (a clash of moral codes) ซึ่งจัดวางนักปฏิรูปคนชั้นสูงและชั้นกลางให้ประจัญหน้ากับ "ผู้กระทำผิด" ที่เป็นคนชั้นล่างทั้งหลาย

เหล่านี้แสดงออกผ่านความเข้าใจการเมืองและประชาธิปไตยที่ต่างกันระหว่างสองฝ่าย

ฝ่ายคนชั้นกลางและชั้นสูง (ซึ่งเป็นกำลังหลักเบื้องหลังองค์กรรณรงค์ให้การเลือกตั้งใสสะอาดของ ฟิลิปปินส์ไม่ว่า Namfrel-National Citizens Movement for Free Elections หรือ Ppcrv-Parish Pastoral Council for Responsible Voting) มองประชาธิปไตยและการเลือกตั้งด้วยความหงุดหงิดและวิตกกังวล ก่อนอื่นเพราะพวกตนเป็นเสียงข้างน้อยและหวาดเสียวว่าเสียงข้างมากซึ่งเป็นคน จนคนรากหญ้าที่กุมอำนาจปกครองในระบอบประชาธิปไตยจะลากพาบ้านเมือง (ของกู) ไปทางไหน

นอกจากนั้นก็คือเหม็นเบื่อพฤติกรรมของนักการเมืองจากการ เลือกตั้งที่มุ่งหาเสียงเอาใจคนจนคนรากหญ้าด้วยนโยบายประชานิยมและระบบ อุปถัมภ์ พวกนี้พอชนะเลือกตั้งได้อำนาจมาก็พากันทุจริตคอร์รัปชั่นโกงบ้านกินเมือง ด้วยความหิวกระหาย ฉะนั้นถ้าไม่กำหนดวินัยจัดระเบียบพฤติกรรมการเลือกตั้งของชาวบ้านเสียงข้าง มากให้ดีและใสสะอาดแล้ว ประชาธิปไตยก็อาจเสื่อมถอย กลายเป็นระบอบทรราชย์ของเสียงข้างมากในทางปฏิบัติได้

ในทางกลับกัน คนจนคนรากหญ้าเสียง ข้างมากผู้ตกเป็นเป้าของการณรงค์จัดระเบียบให้ การเลือกตั้งใสสะอาดนั้นก็รู้สึกว่าระบอบประชาธิปไตยแบบของ "พวกมึง" (คนชั้นกลางและชั้นสูง) ไม่เคารพและไม่เอื้อเฟื้อ "พวกกู", คนที่มีอำนาจและเงินทองทำตัวหยาบช้า, หมิ่นหยามน้ำใจกันหรือเหนือกฎหมาย ประชาธิปไตยจะมีจริงได้อย่างไรเมื่อคนรวยดูหมิ่นถิ่นแคลนและไม่ฟังเสียงคนจน เลย ทำราวกับคนจนเป็นนกหนูหมูหมากาไก่หรือวัวควาย นึกจะว่ากล่าวอบรมสั่งสอนหรือทุบตีเราอย่างไรก็ทำเอาๆ ตามอำเภอใจ

การเมืองของคนจนคนรากหญ้าจึงเป็นการเมืองเรื่องของศักดิ์ศรี (the politics of dignity) ซึ่งให้คุณค่าความสำคัญกับผู้สมัคร ส.ส./ผู้แทนที่มีน้ำใจห่วงใยดูแล, ช่วยเหลือเกื้อกูล, ไม่ถือเนื้อ ถือตัว, นอบน้อมเคารพนับถือให้เกียรติแก่คนจนคนรากหญ้าฉันเพื่อนมนุษย์ด้วยกันดัง ญาติมิตร, หรือนัยหนึ่งมันเป็นการเมืองของการเห็นหัวกูนั่นเอง

จึง ขณะที่คนชั้น ABC ในฟิลิปปินส์มองการซื้อสิทธิขายเสียงจากมุมธุรกิจในตลาดล้วนๆ เหมือนธุรกรรมซื้อขายสินค้าธรรมดาทั่วไปและพิพากษาว่ามันผิดเพราะขายสิ่งที่ ไม่ควรขาย ได้แก่ ขายสิทธิหรือขายชาติเป็นต้นนั้น

คนชั้น D และ E กลับมองมันต่างออกไป การรับเงินจากผู้สมัคร ส.ส. มีบ้างที่เกิดจากความจำเป็นทางเศรษฐกิจ แต่ก็มีเหตุอื่นซึ่งซึมซับด้วยนัยทางศีลธรรม-วัฒนธรรมเช่นกัน อาทิ เกรงใจผู้หยิบยื่นเงินให้ ไม่อยากให้เขาเสียหน้าถ้าถูกปฏิเสธ, รู้สึกว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาที่ชอบที่ควรแล้วที่ผู้สมัครจะให้ "สินน้ำใจ" (goodwill money) แก่ผู้สนับสนุนตน

โดยที่ "สินน้ำใจ" ต่างจาก "การซื้อเสียง" เพราะไม่มีข้อผูกมัด เอาเข้าจริงจากการสำรวจของแชฟเฟอร์พบว่าส่วนใหญ่ของผู้ลงคะแนนเสียงเลือก ตั้งในหมู่คนจนคนรากหญ้าที่รับเงินจากผู้สมัคร (70%) ยังคงเลือกลงคะแนนอย่างเสรี

ทัศนคติต่อการเมืองที่ดี/เลวใน ฟิลิปปินส์จึงมีลักษณะแตกต่างทางชนชั้นเด่นชัด กล่าวคือ คนจนคนรากหญ้ามองว่าการเมืองที่เลวคือการเมืองของการดูหมิ่นถิ่นแคลนและไม่ เห็นหัวคนอื่น ส่วนการเมืองที่ดีคือการเมืองของการเกรงอกเกรงใจและมีน้ำใจ

ใน ทางตัดกัน คนชั้นกลางและชั้นสูงกลับเห็นว่าการเมืองที่เลวคือการเมืองสกปรกของการ อุปถัมภ์และทุจริตคอร์รัปชั่น ส่วนการเมืองที่ดีคือการเมืองสะอาดที่ว่าด้วยประเด็นนโยบายต่างๆ, ความพร้อมรับผิดและความโปร่งใส

พูดแบบนี้หมายความว่าจะปล่อยให้การเลือกตั้งสกปรกซื้อสิทธิขายเสียงกันต่อไปตามใจชอบกระนั้นหรือ?

เปล่า เลย ประเด็นของแชฟเฟอร์อยู่ที่ว่าถ้าคิดจะแก้เรื่องนี้ให้ตรงจุดและได้ผล ก็ต้องเรียนรู้เข้าใจความเป็นจริงและทัศนคติที่แตกต่างกันในหมู่ชนกลุ่ม ต่างๆ ของสังคมเสียก่อน

การดื้อดึงรณรงค์ทื่อๆ ไปตามอคติเฉพาะของชนชั้นตนรังแต่ส่งผลเสียให้กลุ่มเป้าหมายไม่เพียงปฏิเสธ สารที่ส่งไป หากพลอยแปลกแยกจากการเมืองในระบอบประชาธิปไตยด้วย

ใน ความหมายนี้ จุดเริ่มของการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงก็คือทัศนคติของคนชั้นกลางและชั้นสูงที่ฉาบ ทาด้วยอคติอย่างหนาและความไม่รู้จักไม่เข้าใจทั้งต่อคนชั้นล่างและต่อระบอบ ประชาธิปไตยนั้นเอง