WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, July 30, 2011

ความเป็นอนิจจังของรัฐ

ที่มา มติชน



โดยวีรพงษ์ รามางกูร

(คอลัมน์ "คนเดินตรอก" ในประชาชาติธุรกิจ ฉบับ1-3ส.ค. 2554)



วันนี้ จะคุยกันเรื่อง "รัฐ" ต่อ อย่างที่ทราบกันดีแล้วว่ามนุษย์ทุกคนทุกสังคมต้องอยู่และคุ้นเคยกับรัฐ รัฐเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเพราะธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องการรัฐ อย่างนักปราชญ์กรีกว่า หรือเกิดจากการใช้อำนาจบีบบังคับเอา หรือเกิดจากการประสงค์ของสวรรค์ หรือเพราะ พระอิศวร พระวิษณุ แบ่งภาคมาเกิดเพื่อปราบยุคเข็ญ หรือเกิดจากความประสงค์ของพระเจ้าหรือสวรรค์ หรือเกิดจากสัญญาประชาคมก็ดี อย่างไรเสียมนุษย์ต้องอยู่ในสังคม และสังคมก็ต้องมีรัฐ เพราะรัฐมีประโยชน์สำหรับมนุษย์ที่จะพัฒนาตัวเองและสังคม รัฐจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีอยู่เสมอ

ปัญหาแรกที่ถกเถียงก็คือ รัฐควรมีอำนาจมากน้อยเหนือบุคคลอย่างไร ฝ่ายที่เห็นว่ารัฐควรมีรัฐบาลที่เข้มแข็ง มีอำนาจมาก เพราะจะทำให้รัฐบาลสามารถทำงานทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและการทหารได้อย่างมี ประสิทธิภาพ พวกที่เห็นอย่างนี้ภาษาฝรั่งมักเรียกว่าเป็นพวก "นักรัฐนิยม" หรือ "statist" พวกเผด็จการทั้งหมดเป็นนักรัฐนิยม แม้แต่นักประชาธิปไตย เช่น แฮมมิลตัน หนึ่งในบิดาผู้ก่อตั้งสหรัฐ อเมริกา และมีบทบาทสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญอเมริกันก็ต้องการให้สหรัฐ อเมริกามีรัฐบาลที่เข้มแข็ง ไม่อ่อนแอแบบรัฐบาลที่มาจากรัฐสภาแบบอังกฤษ

นัก ประชาธิปไตยเห็นว่า ถ้าบุคคล ในสังคมมีสิทธิเสรีภาพ ปราศจากความเกรงกลัว "รัฐ" แล้วมนุษย์จะมีความคิดสร้างสรรค์ในทุกด้าน สามารถพัฒนา ให้เจริญก้าวหน้าได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ประเทศจะพัฒนาตรงกันข้ามถ้าสังคมปราศจากสิทธิเสรีภาพ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ก็จะไม่เกิด ประเทศก็จะหยุดอยู่กับที่ ความพอดีอยู่ตรงไหนไม่มีสูตรสำเร็จ เพราะความเป็นอนิจจังของรัฐ กล่าวคือ รัฐจะต้องปรับตัวแก้ไขสิ่งที่ผิดที่ล้าสมัยแล้วให้เหมาะสมที่จะรับใช้และ เป็นประโยชน์ต่อสังคมเสมอ จะหยุดอยู่กับที่ไม่ได้ เพราะสังคมก็เป็นอนิจจัง เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

มีนักปราชญ์หลายคนที่คิดว่า "รัฐ" เป็นสิ่งชั่วร้าย เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อกดขี่ข่มเหงกัน มนุษย์สามารถมีความสุข มีอิสระ มีสิทธิเสรีภาพมากที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องเป็นอนารยะหรือป่าเถื่อน ไม่ต้องมีรัฐเป็นผู้คอยจัดการสังคมได้ ผู้ที่เห็นอย่างนี้ เช่น รุสโซ และคาร์ล มาร์กซ์ เป็นต้น

ไม่ว่าจะเป็นรัฐที่ก่อกำเนิดขึ้นมาด้วย ทฤษฎีใดก็ตาม สิ่งที่รัฐนั้น ๆ ต้องดำรงให้คงอยู่เสมอ เพื่อให้ความเป็นรัฐอยู่ได้ต้องมี 3 สิ่งด้วยกัน คือ

1.ความชอบธรรม หรือ legitimacy ความชอบธรรมนั้นเป็นสิ่งที่อธิบายยาก แต่ทุกสังคมต่างก็มีสิ่งที่เชื่อ ที่ยึดถือปฏิบัติกัน ทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับการกำเนิดของรัฐล้วนเป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐและผู้ปกครอง ทิ้งสิ้น

เมื่อสังคมเปลี่ยนไป ความเชื่อเปลี่ยนไป ความชอบธรรมก็เปลี่ยนไปด้วย เช่น สมัยหนึ่งความชอบธรรมขององค์อธิปัตย์มาจากสวรรค์ หรือพระเจ้า ความเชื่อนี้ก็ล้าสมัยไปแล้ว ทางพุทธศาสนาของเราก็มีทฤษฎีที่สร้างความชอบธรรมว่าเป็นเพราะบุพเพกตปุญญตา ผู้ปกครองจึงได้มีบุญญาบารมีมาสร้างธรรมะและปราบฝ่ายอธรรม

ผู้ ปกครอง ต้องอาศัยความชอบธรรมในการดำรงอยู่ในอำนาจ นอกจากสร้างความชอบธรรมแล้วยังต้องรักษาความชอบธรรมไว้ให้ได้เสมอ เมื่อสังคมเปลี่ยนไปเพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนไป ก็ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

ความชอบธรรมพื้นฐานก็คือ การอ้างกฎหมายธรรมเนียมประเพณี หลักเกณฑ์ เหตุผล และโน้มน้าวให้คนในสังคมยอมรับความเชื่อ

แม้ในหน่วยการปกครองระดับล่าง ลงมา ความชอบธรรมก็เป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้ผู้อยู่ใต้ปกครองยอมรับ และต้องปรับตัวปรับปรุงอยู่เสมอ

2.การ เป็นนิติรัฐหรือการปกครองด้วยกฎหมาย หรือที่เรียกกันว่า rule of law เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าที่มาของกฎหมายมาจากที่ใด เช่น มาจากสวรรค์ พระเจ้า จากองค์อธิปัตย์ หรือจากรัฐสภา หรือจากการออกเสียงโดยตรง กฎหมายต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอหน้ากัน

ตรงกันข้ามกับการปกครอง โดยกฎหมายก็คือ การปกครองตามอำเภอใจ หรือ arbitrary rule การปกครองตามอำเภอใจผู้ปกครอง หรือองค์อธิปัตย์ การปกครองตามอำเภอใจก็คือ การกระทำตามใจชอบ ไม่สนใจ ไม่เคารพต่อกฎหมาย หรือการบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นธรรม มีหลายมาตรฐานในการใช้กฎหมาย ใช้กฎหมายกับบุคคลไม่เสมอหน้ากัน

การเป็นนิติรัฐ หรือการปกครองโดยกฎหมายเป็นหลักสำคัญมาเป็นเวลานานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมาเป็นเมื่อมีการตื่นตัวเรื่องประชาธิปไตย

การ ละเมิดกฎหมาย แม้ว่าจะมีกันทุกสังคมทุกประเทศ แต่ถ้าถูกเปิดเผย เปิดโปง ก็จะบั่นทอนความชอบธรรมของผู้ปกครองทันที บางครั้งถึงกับอยู่ไม่ได้ เช่น กรณีวอเตอร์เกต เรื่องกบฏคอนทรา เป็นต้น

3.ความสามารถอธิบายได้ด้วย ความ รับผิดชอบ หรือ accountability และความโปร่งใส รัฐสมัยใหม่ เรื่องทุกเรื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่สังคมภายในและสังคมระหว่างประเทศ เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ "รัฐ" โดยรัฐบาลต้องรับผิดชอบสามารถอธิบายเรื่องต่าง ๆ ได้

การที่จะต้อง รับผิดชอบอธิบายได้ "รัฐ" จะต้องมีความโปร่งใส หรือ transparency คำพูดที่ว่า "รัฐบาลรู้อะไรประชาชนต้องรู้ด้วย" เป็นวาทะที่ถูกต้องและต้องทำให้ได้ไม่ใช่ "ดีแต่พูด"

การกระทำของรัฐ ที่ไม่ต้องรับผิดชอบ ไม่ต้องอธิบาย ไม่ต้องให้ความจริง ไม่โปร่งใส หรือปิดบังซ่อนเร้นการกระทำของตัว จะเป็นบ่อเกิดของระบอบการปกครองโดยอำเภอใจ หรือ arbitrary rule ได้โดยง่าย และเมื่อเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็จะเกิดข่าวลือทำลายความเชื่อมั่น ความเชื่อถือศรัทธา ทำลายความชอบธรรมลงได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้รัฐอ่อนแอลง ความสงบสุขเสื่อมสลายไปเพราะต่างใช้ "อำนาจ" เข้ามาแทนที่ "การยอมรับ" ในที่สุดความขัดแย้งทาง การเมืองก็จะเกิดขึ้นและรุนแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึงขั้นต้องใช้กำลังทหารเข้าบังคับ และในที่สุดก็จะบังคับไม่ได้

ความ โปร่งใสก็เป็นเครื่องมืออันสำคัญ เพื่อให้เกิดความเชื่อว่า "รัฐ" มีความรับผิดชอบ การกระทำทุกอย่างสามารถอธิบายได้ ถ้าความโปร่งใสถูกปิดกั้น เช่น การปิดข่าว การตรวจข่าว สื่อมวลชนไม่มีอิสระเสรีภาพ ซึ่งแสดงว่ารัฐไม่สามารถรับผิดชอบหรือไม่สามารถอธิบายสิ่งที่ตนทำได้ "นิติรัฐ" ก็ไม่เกิดความชอบธรรม ไม่ว่าจะอธิบายด้วยทฤษฎีอำนาจ "รัฐ" ใด ๆ ก็ตาม ความชอบธรรมก็จะเสื่อมทรุดลง

ความจริง "reality" กับการรับรู้ "perception" 2 คำนี้มีความสำคัญมากในการปกครอง หรือการสร้างความชอบธรรมให้กับผู้ปกครอง ความจริงนั้นอาจจะมี 2 อย่าง คือ ความจริงที่พิสูจน์ได้ และความจริงที่พิสูจน์ไม่ได้ หรือไม่ต้องการพิสูจน์ ในโลกสมัยใหม่ที่วิทยาศาสตร์เจริญขึ้น เทคโนโลยีเจริญขึ้น ความจริงทุกอย่างก็สามารถพิสูจน์ได้ ไม่เหมือนกับสมัยโบราณที่หลาย อย่างพิสูจน์ไม่ได้ หรือไม่ต้องการการพิสูจน์ เช่น ศรัทธาในเรื่องศาสนา ความเชื่อเรื่องปรัมปรา หรือ myth ไม่ต้องการการพิสูจน์ เพราะมนุษย์ไม่ได้เชื่อ เพราะความเป็นจริงเป็นอย่างนั้น แต่เชื่อด้วยศรัทธา

แม้ จนทุกวันนี้ความเชื่อว่าเป็นจริงจะด้วยการได้ข้อมูลที่สุด หรือเชื่อจากการโฆษณาชวนเชื่อ หรือเชื่อจากข่าวลือเพราะ "รัฐ" ไม่มีความโปร่งใส ปิดกั้น หรือปิดบังข้อมูลข่าวสาร ยิ่งผู้คนขาดข้อมูลข่าวสารมากเพียงใด ข่าวลือก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพียงนั้น

เป็นที่ทราบกันในวิชา รัฐศาสตร์ว่า ในระยะสั้นหรือปานกลาง สิ่งที่ประชาชนรับรู้และเชื่อว่าเป็นจริงย่อมมีความสำคัญกว่าความจริง ดังนั้นการปล่อยข่าวการสร้างกระแสทำลายความชอบธรรมของผู้ปกครองจึงสามารถทำ ได้

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการรับรู้และความเชื่อของประชาชนนั้น ในระยะยาวต้องมีความสัมพันธ์กับความจริง และข้อเท็จจริงเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยปัจจุบันที่มีวิทยาการ เทคโนโลยี ตรรกะ และความเจริญทั้งทางวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และด้วยความต้องการความเป็นจริงของกระแสโลกที่อารยะ

ผู้คนในสังคม ส่วนใหญ่มีทัศนคติไปในทางอนุรักษนิยม ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนส่วนบนของสังคม ความเปลี่ยนแปลงจึงมาจากการกดดันของ คนชั้นล่าง สหรัฐอเมริกาเป็นตัวอย่าง อันดี ฝรั่งเศส อังกฤษ และยุโรปก็มีลักษณะอย่างเดียวกัน ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นจึงมีอยู่เสมอ "รัฐ" โดยรัฐบาลจึงต้องปรับตัวอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ความขัดแย้งต่าง ๆ กลายเป็นความรุนแรงในสังคม

การรับรู้ที่เชื่อว่าเป็นความจริง ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงมิได้เป็นเช่นนั้น ในระยะสั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการรับรู้ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงมักจะตามมาด้วยอารมณ์ร่วม เมื่อเกิดอารมณ์ร่วมถ้ายิ่งถูกสนับสนุนด้วยข้อเท็จจริงบางส่วน partial information ในสังคมที่ยังไม่เป็นผู้ใหญ่ทางการเมือง ก็ยิ่งจะใช้อารมณ์มาก การชั่งข้อดีข้อเสียผลประโยชน์ของชาติ การบริหารจัดการกับอารมณ์ของคนในสังคมจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ บทบาทของ "ปัญญาชน" นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่มีสติปัญญา มีวิจารณญาณที่สังคมยอมรับจึงมีความสำคัญมาก หากเกิดกระแสการใช้อารมณ์กดดันไปในทางที่จะสร้างความเสียหายให้กับประเทศ ชาติในระยะยาว

ทุกประเทศที่เป็นอารยะ กลุ่มคนที่เรียกว่าเป็นปัญญาชน ที่เป็นชนชั้นนำที่เป็นที่ยอมรับ จะมีบทบาทอย่างมากในการเตือนสติสังคมในระยะเวลาที่เกิดอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง ให้สังคมเกิดสติ ยั้งคิดไม่ตัดสินใจไปตามกระแส เพราะอารมณ์เป็นเรื่องระยะสั้นอย่างมาก เกิดขึ้นง่าย ตอบสนองต่อการรับรู้เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไปอารมณ์อันเกิดจากการรับรู้ก็จะค่อย ๆ เบาบางลงเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏ หรือเมื่อสติปัญญากลับคืนให้สามารถหาเหตุผลซึ่งเป็นผลดีผลเสียในระยะยาวได้

ที่ ว่ากลุ่มคนที่เป็นที่ยอมรับว่าเป็นปัญญาชนนั้นมีความจำเป็นต้องมีในทุกสังคม ยิ่งสังคมที่เจริญแล้วยิ่งมีบทบาทมาก ภาระหน้าที่ของกลุ่มชนกลุ่มนี้จึงมีความสำคัญ เพราะในกรณีที่สังคมใช้อารมณ์จะพึ่งพานักการเมืองและสถาบันการเมืองใด ๆ ไม่ได้ เพราะมีผลประโยชน์ในการแสวงหาอำนาจ การดำรงรักษาอำนาจมาเกี่ยวข้อง

"รัฐ" ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของสังคมจึงมีลักษณะเป็นอนิจจังอย่างยิ่ง เมื่อเป็นอนิจจังก็ย่อมไม่มีตนที่ความต้องการการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ใครไปยึดถือยึดติดว่าเป็นตัวตนถาวรไม่เปลี่ยนแปลงปรับปรุงก็ย่อมเป็นทุกข์ ตามหลักของศาสนาพุทธของเรา

หลักอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ย่อมเป็นจริงอยู่เสมอ