WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, July 30, 2011

อดีตสสร.ฟันธงกกต.เข้ามุมอับต้องรับรองจตุพรเท่านั้น แจกใบแดงเลื่อนตัวสำรองเสียบแทนผิดกม.

ที่มา Thai E-News



สรุป กกต.พลาดเอง ก็คงไม่มีทางเลือกอื่นที่จะต้องประกาศรับรองการเป็น ส.ส. ของ นายจตุพร ไปก่อน รอให้มีประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วจึงยื่นให้ประธานสภาส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดว่า นายจตุพร จะต้องพ้นจาก ส.ส. เนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือไม่ หากทำนอกจากนี้ผิดหมด

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา Asia Update TV


นาย คณิน บุญสุวรรณ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และนักกฎหมาย กล่าวในรายการประชาธิปไตยที่ปลายอุโมงค์ ทางโทรทัศน์เอเชียอัพเดต เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม กรณีที่กกต.มีมติด้วยเสียงข้างมากเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ยังไม่รับรองนายจตุพร พรหมพันธุ์ ให้เป็นส.ส.ในระบบบัญชีรายว่า เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจาก

ประการที่ 1 รัฐ ธรรมนูญมาตรา 98 กำหนดชัดเจนว่า กกต.ต้องประกาศรับรองส.ส.ตามบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองเรียงตามลำดับ หมายเลขของพรรคการเมืองนั้น

แล้วทำไมไม่รับรองในเมื่อนายจตุพรมีชื่อในลำดับที่ 8

ประการที่ 2 เมื่อกกต.คำนวณว่าพรรคเพื่อไทยได้ส.ส. 61 คน

ทำไมรับรองแค่ 60 คน ไม่รับรองนายจตุพร

ประการที่ 3 มาตรา 45 กฎหมายประกอบรธน.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.กำหนดไว้ชัดเจนว่า หากกกต.สงสัยว่าผู้ใดขาดคุณสมบัติ ต้องพิจารณาโดยเร็วและยื่นต่อศาลฎีกาให้เพิกถอนก่อนวันเลือกตั้ง

แล้วเหตุไฉนจะมายื่นเอาทีหลังเลือกตั้งเป็นเดือน กกต.จะใช้อำนาจแทนศาลฎีกาได้หรือ

ประการที่ 4 หากกกต.ให้ใบแดงจตุพร กกต.จะจัดเลือกตั้งใหม่ได้อย่างไร

ในเมื่อจัดการเลือกตั้งซ่อมในกรณีบัญชีรายชื่อไม่ได้ ตามที่กฎหมายกำหนด

ประการที่ 5 ในเมื่อกกต.ให้ใบแดงไม่ได้ หรือยื่นศาลฎีกาเพิกถอนไม่ได้ ก็เหลือช่องทางเดียวคือยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยสถานภาพของนายจตุพร หลังประกาศรับรองให้เป็นส.ส.แล้วเท่านั้น ช่องทางระหว่างที่พ้นจากอำนาจศาลฎีกาเพิกถอนก่อนวันเลือกตั้งกับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญหลังประกาศผลย่อมไม่มีแน่นอน

ประการสุดท้าย หาก กกต.ไม่รับรอง โดยการให้ใบแดงไม่รับรองนายจตุพรแล้วเลื่อนผู้มีบัญชีรายชื่ออันดับที่ 62 ขึ้นมาแทน ย่อมไม่มีทางเป็นไปไม่ได้แน่นอน

เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 99 วงเล็บสอง รธน.กำหนดไว้ชัดเจนว่า หากจะเลื่อนขึ้นมาก็ต้องเป็นกรณีมีส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อว่างลง จึงเลื่อนขึ้นมาแทนได้

แต่กรณีนี้นายจตุพรยังไม่ได้เป็นส.ส. แล้วตำแหน่งจะว่างลงได้อย่างไร

และ หากไปบอกว่านายจตุพรถูกเพิกถอนเพราะขาดคุณสมบัติ ก็ต้องถามว่านายจตุพรถูกเพิกถอนไปเมื่อไหร่ เพราะศาลฎีกาไม่เคยเพิกถอนก่อนวันเลือกตั้ง และผลการเลือกตั้งปรากฎว่าพรรคเพื่อไทยได้ส.ส.61ราย นายจตุพรอยู่ในลำดับที่8จะไม่รับรองได้อย่างไร

ดังนั้นการที่กกต.คิดจะไม่ยอมรับรองนายจตุพรเป็นส.ส.แล้วจะเลื่อนอันดับที่62ขึ้นมาแทนจึงผิดกฎหมาย

ผิดกฎหมายอาญามาตรา 157 ฐานเป็นเจ้าหน้าที่พนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

ผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจถูกยื่นถอดถอนออกจากตำแหน่งกกต.ได้

**********
รายละเอียดเพิ่มเติมจากเวบไซต์ www.kaninboonsuwan.com

โต้แย้ง กกต. กรณีนายจตุพร พรหมพันธุ์


กรณีที่ กกต. มีมติด้วยเสียงข้างมากไม่รับรองการเป็น ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม นั้น ผมมีข้อโต้แย้ง ทั้งในทางวิชาการ และโดยหลักกฎหมาย ดังต่อไปนี้

ประการที่หนึ่ง ใน เมื่อรัฐธรรมนูญมาตรา ๙๘ บัญญัติไว้ชัดเจนว่า กกต. จะต้องประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการ เมือง ตามเกณฑ์คะแนนที่คำนวณได้เรียงตามลำดับหมายเลข ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง นั้น

แล้วเหตุไฉน กกต. จึงไม่รับรองการเป็น ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ซึ่งมีชื่ออยู่ในลำดับ ๘ ของบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย ?

ประการที่สอง ในเมื่อ กกต. ได้คำนวณเกณฑ์คะแนนที่พรรคเพื่อไทยได้รับเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อว่าได้ ๖๑ คน

แล้วเหตุไฉน กกต. จึงรับรองการเป็น ส.ส. ของระบบบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย เพียงแค่ ๖๐ คน ?

ประการที่สาม ในเมื่อมาตรา ๔๕ ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ถ้า กกต. สงสัยว่าผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนโดยเร็ว และยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณาวินิจฉัยให้เพิกถอนการสมัครรับเลือก ตั้งของผู้นั้นก่อนวันเลือกตั้ง

แล้วเหตุไฉน กกต. จึงเพิ่งจะมาถอนการสมัครรับเลือกตั้งของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ฐานขาดคุณสมบัติ เนื่องจากขาดจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง เอาเมื่อผ่านวันเลือกตั้งมาแล้วตั้งเกือบเดือน ถามว่า กกต. ใช้อำนาจแทนศาลฎีกาได้หรือ ?

ประการที่สี่ ใน กรณีการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ถ้า กกต. จะให้ใบแดงผู้สมัครที่ได้รับเลือกตั้ง กกต. ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งนั้น แต่ในกรณีการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ถ้า กกต. ให้ใบแดง นายจตุพร พรหมพันธุ์ ซึ่งอยู่ในอันดับ ๘ ในบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย

แล้ว กกต. จะจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้อย่างไร เมื่อจัดการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อใหม่ไม่ได้ แล้ว กกต. ไปให้ใบแดง นายจตุพร พรหมพันธุ์ ได้อย่างไร ?

ประการที่ห้า การ ที่ กกต. บอกว่า ไม่รับรองการเป็น ส.ส. ของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นั้น ถามว่า นายจตุพร พรหมพันธุ์ มีสถานภาพทางกฎหมายอย่างไร เป็นผู้ถูกให้ใบแดงก็ไม่ใช่ เพราะล่วงเลยวันเลือกตั้ง ซึ่งพ้นจากอำนาจของ กกต. และศาลฎีกามาแล้ว ช่อง ทางทางกฎหมายที่จะเล่นงาน นายจตุพร พรหมพันธุ์ จึงเหลืออยู่ทางเดียว คือ ต้องยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสถานภาพของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ หลังประกาศให้ นายจตุพร พรหมพันธุ์ เป็น ส.ส. ไปแล้ว เท่านั้น

ช่องทางระหว่างที่พ้นจากอำนาจของศาลฎีกาก่อนวันเลือกตั้ง กับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญหลังการประกาศผล ย่อมไม่มีอย่างแน่นอน

ประการที่หก กรณี ที่ กกต. อ้างว่า จะไม่รับรองการเป็น ส.ส. ของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ แล้วจะเลื่อนบุคคลในบัญชีรายชื่อลำดับที่ ๖๒ ของพรรคเพื่อไทยขึ้นมาแทน นั้น ถ้าดูตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแล้ว ไม่มีทางที่จะเป็นเช่นนั้นได้ เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๐๙ (๒) บัญญัติไว้ชัดเจนว่า กรณีที่จะเลื่อนผู้มีรายชื่อในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคเดียวกันขึ้น มาเป็น ส.ส. แทนได้ จะต้องเป็นกรณีที่มี ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อพ้นจากตำแหน่งซึ่งทำให้ตำแหน่ง ส.ส. ว่างลงหนึ่งตำแหน่ง จึงเลื่อนขึ้นไปได้

แค่กรณีนี้ ถามว่า นายจตุพร พรหมพันธุ์ มีตำแหน่งเป็น ส.ส. หรือยัง ถ้า นายจตุพร พรหมพันธุ์ ยังไม่ได้เป็น ส.ส. ตำแหน่ง ส.ส. ของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ จะว่างลงได้อย่างไร

ในทางกลับกัน ถ้าบอกว่า นายจตุพร พรหมพันธุ์ ขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้สมัคร ก็ถามว่า นายจตุพร พรหมพันธุ์ ถูกถอนการเป็นผู้สมัครไปตั้งแต่เมื่อไร ดังนั้น ในเมื่อ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ไม่เคยถูกศาลฎีกาสั่งถอนการสมัครก่อนวันเลือกตั้ง และผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคเพื่อไทยได้รับเลือกตั้ง ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ ๖๑ คน กกต. จะไม่ให้ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ซึ่งอยู่ในลำดับที่ ๘ เป็น ส.ส. ได้อย่างไร

เพราะฉะนั้น จึงสรุปได้ว่า การที่ กกต. ไม่ยอมให้นายจตุพร พรหมพันธุ์ เป็น ส.ส. แล้วสั่งเลื่อนบุคคลในลำดับที่ ๖๒ ขึ้นมารับรองเป็น ส.ส. แทน จึงเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

อย่างน้อยที่สุด ก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๕๗ ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด “หรือไม่ก็เข้าข่ายส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย” ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๗๐ ซึ่งอาจถูกยื่นถอดถอนออกจากตำแหน่งได้

ประการที่เจ็ด กรณี ที่ กกต. อ้างว่า นายจตุพร พรหมพันธุ์ ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม เนื่องจากถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล จึงขาดสมาชิกภาพของพรรคเพื่อไทย และดังนั้น จึงต้องพ้นจาก ส.ส. นั้น

คำถามง่ายๆ คือ ในเมื่อ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ยังไม่ได้เป็น ส.ส. แล้ว จะพ้นจาก ส.ส. ได้อย่างไร

และ ที่ กกต. อ้างว่า เนื่องจาก นายจตุพร พรหมพันธุ์ ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ ๓ กรกฎาคม จึงทำให้ขาดคุณสมบัติเพราะขาดจากสมาชิกภาพของพรรคเพื่อไทยตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา ๒๐ (๓) นั้น

ก็ ถามง่ายๆ เช่นเดียวกันว่า พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง จะมาใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญได้อย่างไร ในเมื่อ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ในฐานะที่เป็นผู้ที่ถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล ไม่มีลักษณะต้องห้ามในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา ๑๐๒ (๓)

ดังนั้น ในเมื่อตามรัฐธรรมนูญ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ไม่มีลักษณะต้องห้ามและได้เป็นผู้สมัครมาตลอดจนถึงวันเลือกตั้งและจนถึงทุกวันนี้
จะไปเอาข้อความในกฎหมายลูก ซึ่งยังไม่ชัดเจนด้วยซ้ำ มาลบล้างบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญได้อย่างไร ?

และประการสุดท้าย กรณี ที่คุณสดศรี สัตยธรรม กกต. อ้างว่า เรื่อง นายจตุพร พรหมพันธุ์ เป็นเรื่องการขัดกันระหว่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ กับรัฐธรรมนูญ จึงต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดเสียก่อน นั้น

คุณสดศรี พูดเองนะครับว่า เป็นเรื่องขัดกันระหว่างกฎหมายลูกกับรัฐธรรมนูญ แล้ว กฎหมายลูกจะไปขัดกับกฎหมายแม่ได้อย่างไร

และการที่คุณสดศรี อ้างว่าจะต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย นั้น คุณสดศรี และ กกต. ทุกคน ย่อมทราบดีว่า อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในการชี้ขาดว่า ผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ซึ่งจะทำให้ผู้นั้นต้องพ้นจาก ส.ส. นั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๙๑
คือ กกต. ส่งเรื่องไปที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญอีกทอดหนึ่ง ในเมื่อตอนนี้ยังไม่มีประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายจตุพร ก็ยังไม่ได้รับการรับรองให้เป็น ส.ส. แล้ว กกต. จะส่งเรื่องให้ใคร ?

สรุป กกต. พลาดเอง (หรือ อาจจะไม่ได้พลาดก็ได้ เพราะรู้อยู่แล้ว) ที่ไม่ส่งเรื่องการขาดคุณสมบัติของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ให้ศาลฎีกาวินิจฉัยเสียก่อนวันเลือกตั้งตามมาตรา ๔๕ ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

ดังนั้น จะชอบหรือไม่ชอบ เต็มใจหรือไม่เต็มใจ หรือจะมีอะไรหรือไม่มีอะไรแอบแฝงอยู่เบื้องหลังก็ตาม กกต. ก็คงไม่มีทางเลือกอื่นที่จะต้องประกาศรับรองการเป็น ส.ส. ของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ไปก่อน รอให้มีประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วจึงยื่นให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดว่า นายจตุพร พรหมพันธุ์จะต้องพ้นจาก ส.ส. เนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ หรือไม่