ที่มา ข่าวสด
การปรากฏขึ้นของคำสั่งศอฉ.ฉบับลงวันที่ 10 เมษายน 2553 และการปรากฏขึ้นของคำสั่งศอฉ.ฉบับลงวันที่ 13 เมษายน 2553
เป็นเรื่องธรรมดาอย่างปกติยิ่ง
มิ ได้เป็นเรื่องของ "การทรยศ" มิได้เป็นเรื่องอันกระทำ ไปโดยไร้ "เกียรติ" ไร้ "ศักดิ์ศรี" อย่างที่ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด พยายามจะยัดเยียดให้แต่อย่างใด
ที่ว่าเป็นเรื่องธรรมดาอย่างปกติยิ่ง เพราะมิได้เป็นเรื่องอันเพิ่งเกิดขึ้นมีขึ้น
ตรง กันข้าม สมัยที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นฝ่ายค้านและอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการอันเกี่ยวกับธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การหรือบีบีซี ข้อมูลก็ได้มาจาก "คนใน"
เป็นคนในธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นคนในกระทรวงการคลัง เป็นคนในสำนักงานกำกับและควบคุมตลาดหลักทรัพย์
อย่างนี้แหละที่โบราณเขาสรุปอย่างรวบรัดว่า "น้ำลดตอผุด"
ถึงแม้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ พยายามเฉไฉออกไปว่า คำสั่งศอฉ.มีการบิดเบือนทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงมิได้มีการบิดเบือนอะไรเลย
ที่เป็นคำสั่งวันที่ 10 เมษายน 2553 ก็เป็นของวันที่ 10 เมษายน 2553
ที่เป็นคำสั่งวันที่ 13 เมษายน 2553 ก็เป็นของวันที่ 13 เมษายน 2553
ต้องชมเชย พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด ซึ่งแถลงในสถานะแห่งโฆษกกองทัพบก ที่ยอมรับความเป็นจริงอย่างชายชาติทหาร
"เป็นเอกสารของศอฉ.จริง"
เป็น เอกสารจริงเหมือนกับที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ เคยได้สำนวนการสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษมาอยู่ในมือ รู้หมดว่ามีการใช้อาวุธอะไร ยิงไปอย่างไร
เมื่อเป็นเอกสารจริงแล้วใครจะสามารถไปบิดเบือนอะไรได้
ความเป็นจริงที่ยอมรับร่วมกันก็คือ สถานการณ์เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 มีผู้เสียชีวิตจริง 26 คน มีผู้บาดเจ็บจริง 800 คน
ผู้เสียชีวิตคนหนึ่งเป็นช่างภาพสำนักข่าวรอยเตอร์ เป็นคนญี่ปุ่น
จาก เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 กระทั่งวันที่ 9 สิงหาคม 2554 เป็นเวลา 1 ปีเศษแล้วรัฐบาลไทยยังไม่สามารถให้คำตอบกับครอบครัวช่างภาพและสำนักข่าวรอย เตอร์ได้
หากอ้างว่าเป็นฝีมือ "คนชุดดำ" แล้วทำไมไม่จับมาฟ้องต่อศาลเล่า
ความ เป็นจริงนี้จึงเป็นความเป็นจริงซึ่งต้องพิสูจน์ไม่ว่าโดยกระบวนการศาล ไม่ว่าโดยกระบวนการสอบของคณะกรรมการอิสระ ไม่ควรปล่อยให้ผ่านเลยไป
และหากเมื่อ "ความจริง" ที่จริงแท้ปรากฏขึ้น ก็ต้องมีผู้รับผิดชอบ
ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี มีฐานะผู้อำนวยการศอฉ. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ต้องรับผิดชอบ
รับ ผิดชอบในฐานะที่สั่งการแล้วมีคนตาย 26 คน บาดเจ็บ 800 คน รับผิดชอบในการเสาะหาคนทำความผิด คนก่อเรื่องมาขึ้นศาลและให้ศาลพิพากษาไปตามความเป็นจริง
เป็นความรับผิดชอบในทางการเมือง เป็นความรับผิดในทางคดีความ